ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้508
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้682
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้4139
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3015
mod_vvisit_counterเดือนนี้9565
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2257796

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 14
หมายเลข IP : 3.128.200.68
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 20 •เม.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •15 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๖

วิพากษ์ตำนานเมืองลอง  (ต่อ) ส่วนตำนานตอนที่ ๒ ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง  สันนิษฐานว่าเป็นพระภิกษุอยู่ในเมืองลองอีกเช่นกัน  เพราะตำนานนี้เป็นตำนานที่กล่าวถึงมูลเหตุและเหตุการณ์ในการก่อสร้างพระธาตุศรีดอนคำเพียงระยะเวลาสั้นๆ  ๗๓  ปี  คือช่วงพ.ศ.๒๑๔๒ – ๒๒๑๕และผู้แต่งตำนานทราบเหตุการณ์ต่างๆ  ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี  อาจมาจากการบอกเล่าหรือจากการจดบันทึกไว้  เพราะตำนานกล่าวว่า “ผู้รู้กล่าวไว้ว่า” และภายหลังจากที่สร้างเสร็จก็นำเอาบันทึกมาเขียนเป็นตำนานขึ้นเพราะมีระบุปีศักราช วันยาม  และข้างขึ้นข้างแรมอย่างละเอียด ส่วนตำนานพระนางจามเทวีนำพระธาตุมาบรรจุไว้ที่ดอนคำพงอ้อ  สันนิษฐานว่าเป็นเรื่องเล่าที่แพร่หลายในเมืองลองอยู่แล้ว  ดังนั้นผู้เขียนตำนานจึงนำเรื่องเล่าและบันทึกมาเขียนขึ้นเป็นตำนาน  และผู้เขียนตำนานอาจเขียนหลังพระธาตุสร้างเสร็จนานหลายปีเพราะไม่เช่นนั้นต้องระบุปีที่สร้างเสร็จไว้ในตำนานด้วย  แต่ที่ปรากฏในตำนานกล่าวถึงเพียงปีที่ก่อสร้างครั้งสุดท้ายเป็นองค์พระธาตุที่ปรากฏดังในปัจจุบัน  และลักษณะของตำนานกล่าวเริ่มด้วยปีศักราชเป็นตอนๆ คล้ายการจดบันทึกหรือปูมโหร  คือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 03 •ตุลาคม• 2013 เวลา 13:37 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ข่าวเมืองสอง กันยายน ๒๕๕๖

วันศุกร์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖ นายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง เป็นประธานงานส่งเสริมศิลธรรมฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระสังฆราชฯ ณ ศาลาวัดทุ่งน้าว ตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง จังหวัดแพร่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 30 •กันยายน• 2013 เวลา 15:01 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การจัดการศพในอิสลาม

ข้อปฏิบัติก่อนอาบน้ำศพ การระลึกถึงความตาย ศาสนาส่งเสริม (สุนัต) ให้มนุษย์ทุกคนรำลึกถึงความตายมาก ๆ เพราะหะดีษที่ว่า

((أَكْثِرُوا مِنْ ذِكْرِ هَاذِمِ اللَّذَّاتِ ))

رواه ابن حبان وغيره

“ท่านทั้งหลายจงระลึกถึงสิ่งที่จะมาตัดความสุขต่าง ๆ ให้มากเถิด” กล่าวคือ สิ่งที่จะมาตัดความสุขนั้นหมายถึงความตายนั่นเอง บันทึกโดย อิบนุฮิบบานและท่านอื่น ๆ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 30 •กันยายน• 2013 เวลา 21:00 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เผยแพร่พุทธศาสนา ตอนที่ ๓ พระมหากัสสปะ

เผยแพร่พุทธศาสนา ครั้งที่ ๓ ตอน พระมหากัสสปะ วันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๐ ตรงกับวันศุกร์ ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๓๐ น. ณ วัดวังฟ่อน โครงการนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีผู้จัดทำเว็บขอบคุณน้ำปานะมอบให้แก่เทวดาทั้งหลายจากน้อง Koi Duncan คุณรามิน พันธุ์เลิศวิถี และเครื่องฉายจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังฟ่อน โดยคุณรามิน พันธุ์เลิศวิถี เป็นผู้ติดตั้ง พระมหากัสสปะ เป็นพระสาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระที่รวบรวมพระธรรมหลักคำสอนเพื่อบันทึกไว้เป็นหมวดหมู่ เรียกว่าการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก เป็นพระสาวกที่ยกย่อง และถือเป็นแบบอย่างในศาสนาพุทธ ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในด้าน ผู้มีธุดงค์มาก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •กันยายน• 2013 เวลา 22:45 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติของนายภูเดช แสนสา

โทร 081 - 5307861 E - mail •อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน•

ภูเดช แสนสา ผู้เขียนประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศ ประวัติ 1. ข้อมูลทั่วไป นายภูเดช แสนสา บ้านเลขที่ 44/4 หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 20 •มิถุนายน• 2014 เวลา 13:47 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พิธีกรรมศพแบบพุทธแท้ ตอนที่ ๑

ในอรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔ ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์ ณ หมู่บ้านใกล้ประตูเมืองพาราณสี สั่งสมทรัพย์สมบัติไว้เลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม. พระโพธิสัตว์นั้นได้มีทารก ๒ คน คือ บุตร ๑ ธิดา ๑. พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อบุตรเจริญวัยแล้ว ได้นำนางกุมาริกามาจากสกุลที่เสมอกัน. ดังนั้น ชนเหล่านั้นได้เป็น ๖ คนด้วยกันกับนางทาสี คือ พระโพธิสัตว์ ภรรยา บุตร ธิดา ลูกสะใภ้ และทาสี. ชนเหล่านั้นได้เป็นผู้สมัครสมานยินดีอยู่กันด้วยความรัก. พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่คนทั้ง ๕ ที่เหลืออย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานโดยนิยามตามทำนองที่หาได้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 26 •กันยายน• 2013 เวลา 19:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๕

วิพากษ์ตำนานเมืองลอง เมืองลองเป็นหัวเมืองขนาดเล็กของอาณาจักรล้านนา ไม่มีบทบาทปรากฏเด่นชัดดั่งเมืองอื่นๆ เช่น เมืองเชียงของ เมืองฝาง เมืองเทิง เมืองพาน และเมืองลอ ประกอบกับตำนานพื้นเมืองต่างๆ ทั้งตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่(ในช่วงราชวงศ์มังราย) ตำนานพื้นเมืองเชียงแสน ตำนานพื้นเมืองเชียงราย ตลอดถึงตำนานพื้นเมืองน่าน ตำนานพื้นเมืองเหล่านี้ก็มีศูนย์กลางการแต่งอยู่ห่างไกลจากเมืองลองและไม่มีความสัมพันธ์กับเมืองลองโดยตรง ส่วนเมืองลำปางที่เมืองลองขึ้นอยู่หรือเมืองแพร่ที่มีอาณาเขตติดต่อกันกับเมืองลอง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 24 •กันยายน• 2013 เวลา 21:20 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง ฯ 3

เราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง จากโรงเรียนเราะมะฎอน ? ตอนที่ 3 บทเรียนด้านจรรยามารยาท

7. การระวังคำพูด มีหะดีษหลายบทที่กล่าวถึงมารยาทอันงดงามข้อนี้ และข้อพึงปฏิบัติเกี่ยวกับคำพูดขณะถือศีลอด เพื่อให้การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนและการปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านั้น ได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นอุปนิสัยและจรรยามารยาทติดตัวไปตลอดชีวิต มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«الصِّيَامُ جُنَّةٌ، فَإِذَا كانَ يَوْمُ صَومِ أَحَدِكُم فَلا يَرْفث، وَلا يَصْخَب» [رواه البخاري]

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •กันยายน• 2013 เวลา 14:45 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ ก.ย. ๕๖

นายเอกชัย วงศ์วรกุล ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ประกอบการใหม่ และบรรยาย หัวข้อ แรงบันดาลใจในการประกอบธุรกิจ และการบริหารจัดธุรกิจ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๖ ณ ห้องประชุมพระลอ วิทยาลัยชุมชนแพร่ จังหวัดแพร่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 24 •กันยายน• 2013 เวลา 13:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วิบากกรรมอย่างเบาของหมู่สัตว์

ภิกษุ ทั้งหลาย ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ มีอายุสั้น.

ภิกษุ ทั้งหลาย อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 20 •กันยายน• 2013 เวลา 20:35 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เผยแพร่พุทธศาสนา ตอนที่ ๒ พระอุบาลีเถระ

เผยแพร่พุทธศาสนา ครั้งที่ ๒ ตอน พระอุบาลีเถระ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ตรงกับวันพฤหัสบดี ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๓๐ น.  ณ วัดวังฟ่อน โครงการนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีผู้จัดทำเว็บขอบคุณน้ำปานะมอบให้แก่เทวดาทั้งหลายจากคุณครูหทัยชนก ปวงกันคำ และเครื่องฉายบ้านวังฟ่อนหมู่ ๒ จากคุณรามิน พันธุ์เลิศวิถี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 15 •ตุลาคม• 2013 เวลา 20:16 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การเรียกร้องราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตกต่ำ

เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๖ นายสมพล พุ่มพวง กำนันตำบลหัวเมืองชี้เจงเรื่องการเรียกร้องราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาตกต่ำตามที่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดแพร่ ชุมนุมร้องเรียนให้ช่วยเหลือเรื่องราคาตกต่ำ เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๖ จำนวน ๑๐ ข้อย่อย คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้แทนนายอำเภอทุกอำเภอ ได้ประชุมเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๖ เพื่อพิจารณาข้อร้องเรียน โดยสรุปรวมข้อร้องเรียนแล้วเหลือ ๖ ข้อดังนี้ ขอราคาชดเชยกิโลกรัมละ ๑.๕๐ บาท ระยะเวลาของการขายผลผลิตจากธันวาคม ๒๕๕๖ เป็นกุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ น้ำหนักให้ยึดตามใบเสร็จรับเงิน ไม่จำกัดปริมาณรับซื้อผลผลิต รับซื้อผลผลิตความชื้นร้อยละ ๓๕ ในราคา ๗ บาท โดยบวกส่วนต่าง ๑.๕๐ บาท ขอให้เกษตรกรที่ไม่มีสิทธิ์สามารถเข้าร่วมมาตรการได้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 18 •กันยายน• 2013 เวลา 16:38 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง ตอนที่ ๔

ตำนานบ่อเหล็กลองและบ้านนาตุ้ม เมืองลอง ตำนานบ่อเหล็กและบ้านนาตุ้ม เป็นตำนานที่มีต้นเค้ามาจากเรื่องเล่าภายในท้องถิ่น ก่อนมีการจดบันทึกเป็นอักษรธรรมล้านนาลงในใบลานก้อมจำนวน ๑๗ ลาน และคัดลอกอีกทอดใส่สมุดโหราโดยหมื่นกลางโฮง(พ่อน้อยแก้ว จาอาบาล เกิดพ.ศ.๒๔๒๘) ตำนานได้กล่าวถึงการเสด็จขึ้นมาของพระนางจามเทวีทางแม่น้ำยม มาขึ้นฝั่งที่วังต๊ะครัวหน้าวัดพระธาตุไฮสร้อย แล้วเสด็จขึ้นไปตามน้ำแม่ลอง และกล่าวถึงความสันพันธ์ในการสร้างเวียงลอง(บริเวณบ้านในสร้อยในปัจจุบัน) ก่อตั้งบ้านนาตุ้ม ที่มาของบ่อเหล็กเมืองลอง ตลอดถึงเชื่อมความสัมพันธ์กับการก่อสร้างพระธาตุศรีดอนคำ(วัดหลวงฮ่องอ้อ) ซึ่งตำนานฉบับนี้คล้ายกับตำนานบอกเล่า ต่างกันเพียงตำนานเรื่องนี้ได้ถูกนำมาเรียบเรียงจารลงในใบลานให้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่กระนั้นก็ยังคงกลิ่นอายของตำนานบอกเล่าอยู่อย่างมาก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กันยายน• 2013 เวลา 16:00 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

คัมภีร์ใบลานเอกสารสำคัญ

คัมภีร์ใบลานเอกสารสำคัญที่ได้จากการสำรวจวัดสะปุ๋งหลวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ในระหว่างวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๔ - ๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๕ ผู้เขียนได้ร่วมกับคุณเจษฎา อิ่นคำ เข้าทำการสำรวจคัมภีร์ใบลานของวัดสะปุ๋งหลวง ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน (การสำรวจบางช่วงเว้นระยะเวลาร่วมเดือนหรือหลายสัปดาห์และแต่ละสัปดาห์ไม่ได้สำรวจทุกวัน) มีคัมภีร์ใบลานทั้งหมดจำนวน ๑,๕๒๔ ผูก(ฉบับ) พบเอกสารที่สำคัญจำนวนหลายฉบับ ที่สำคัญที่สุดฉบับแรก คือ คัมภีร์จรุกกนิบาตชาตกะ จารเมื่อพ.ศ.๒๐๘๐ อายุ ๔๗๕ ปี มีจารึกท้ายลานว่า “ส้างปีเมืองเร้า สักกราช ๘๙๙ ตัว จรุกนิบาตชาดกอันนี้เจ้าแก้วปะขา เจ้าผัวเมียส้างไว้กับวัดพันคล้าวแล ผูก ๑ จรุกนิบาตชาดก เจ้าแก้วปะขา เจ้าผัวเมียส้างไว้กับวัดพันคล้าว ในปีเมืองเร้า สักกราชได้ ๘๙๙ ตัว” คัมภีร์จรุกกนิบาตชาตกะผูกนี้แม้ว่าจะมีอายุเก่าเป็นอันดับที่ ๑๐ ของล้านนาเท่าที่มีการสำรวจในขณะนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 13 •กันยายน• 2013 เวลา 16:15 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง ฯ 2

เราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง จากโรงเรียนเราะมะฎอน ? ตอนที่ 2 บทเรียนด้านการอบรมขัดเกลา

5. ความอดทน เราะมะฎอนคือเดือนแห่งการอดทน ดังจะเห็นว่าจุดเด่นสำคัญของเดือนนี้คือ การควบคุมอารมณ์ความต้องการด้านอาหารควบคู่ไปกับความต้องการทางเพศ ในเดือนนี้ผู้ศรัทธาจะควบคุมตัวเองมิให้กระทำสิ่งที่เป็นการละเมิดข้อห้ามต่างๆ เพื่อให้การถือศีลอดของเขาเป็นการถือศีลอดที่เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธาและหวังในผลบุญ อันจะส่งผลให้เขาได้รับผลบุญที่ผู้ถือศีลอดพึงได้รับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 09 •กันยายน• 2013 เวลา 14:41 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สวนศิลปกรรมธารตาดหมอก

นครแห่งนี้ที่พักจิต เมืองพระลอแห่งนี้ที่พักใจ บุญญาสัยศิลปะไทย ฝากชื่อไว้ในแผ่นดิน เมื่อวันศุกร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๖ ณ สวนศิลปกรรมธารตาดหมอก “นิทรรศการศิลปะ ป่าดง พงไพร เชื่อมฟ้าเชื่อมท้องถิ่น สู่เมือง” เลขที่ ๗๘ หมู่ ๕ ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ กับการพรรณนาถึงแก่นศิลปะแบบธรรมชาติ เรียบง่ายแฝงไปด้วยความคมเหมือนลายเส้นที่ใช้สองมือวาดลงพื้นผิว เสียงบรรเลงจากสายธารที่ไหลไม่ขาดสาย โอบกอดด้วยขุนเขาและป่าไม้ ทำให้เกิดศิลปะในแผ่นดินนี้ ตรงนี้ อำเภอสอง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 07 •กันยายน• 2013 เวลา 16:06 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผลแห่งทาน

คหบดี ! คน ให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีต ก็ตาม แต่ ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ ไม่ทำความนอบน้อมให้ ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ให้ของที่เหลือ ไม่เชื่อกรรม และผลของกรรม ให้ทานทานนั้นๆ ย่อมบังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ จิตของผู้ให้ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟังไม่เงี่ยหูฟัง ส่งจิตไปที่อื่นเสีย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะ ผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ ฯ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 07 •กันยายน• 2013 เวลา 16:50 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เผยแพร่พุทธศาสนา ตอนที่ ๑

ผู้จัดทำเว็บไซต์ได้จัดทำโครงการเผยแพร่พุทธศาสนา ครั้งที่ ๑ ตอน ประวัติพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมคำอธิบายถึงการเกิดอริยสัจ ๔ เบื้องต้นในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ตรงกับวันพุธ ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๒.๐๐ น. โครงการนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีผู้จัดทำเว็บขอบคุณน้ำปานะมอบให้แก่เทวดาทั้งหลายจากคุณครูวัชรี วังแก้ว คุณครูพัชยา วังกาวรรณ์ เครื่องฉายจาก คุณหมอสมคิด ฟูคำมี คุณรามิน พันธุ์เลิศวิถี ให้บริการความสะดวกคุณจันทร์ทอง สมบูรณ์ ท่านที่สนใจร่วมเป็นผู้สนับสนุนสามารถติดต่อได้ที่ผู้จัดทำเว็บไซต์เพื่อเป็นธรรมทานต่อไป

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

หมู่ ๗ พัฒนาพื้นที่ป่าไม้ปลูกใหม่

เมื่อวันพุธที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๖ ประชาชนหมู่บ้านวังฟ่อนหมู่ที่ ๗ พัฒนาพื้นที่ป่าปลูกใหม่ ตามโครงการประชาอาสาปลูกป่า ๘๐๐ ล้านกล้า ๘๐ พรรษา มหาราชินี เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ โดยได้มีการกำจัดวัชพืชและปลูกต้นไม้แทนต้นที่ล้มตาย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 04 •กันยายน• 2013 เวลา 21:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ค้นพบพระเจ้าไม้มีจารึกเก่าแก่ที่สุด

ค้นพบพระเจ้าไม้มีจารึกเก่าแก่ที่สุดของล้านนาในขณะนี้ อายุ ๓๐๐ กว่าปีที่วัดคัวะ เมืองน่าน ภูเดช แสนสา อาจารย์สาขาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พระเจ้าไม้ ๒ องค์ที่สร้างเมื่อพ.ศ.๒๒๔๗ ปัจจุบันมีอายุ ๓๐๗ ปี องค์ภาพซ้ายแกะสลักจากไม้ท่อนเดียวสร้างโดย “อ้ายชุ่ม”  องค์ภาพขวาแกะสลักประกอบจาก ๒ ส่วน คือ ส่วนองค์พระกับส่วนฐาน ใต้องค์พระมีช่องสันนิษฐานว่าเจาะไว้บรรจุแผ่นดวงชะตาของผู้สร้าง คือ “แสนอินทร์” คำว่า “พระเจ้าไม้” เป็นภาษาล้านนา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 02 •กันยายน• 2013 เวลา 23:23 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 6 จาก 33•