ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้8
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้584
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3220
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4095
mod_vvisit_counterเดือนนี้12277
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2260508

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 8
หมายเลข IP : 3.17.154.171
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 26 •เม.ย.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •14 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๔

การรื้อฟื้นเมืองลองผ่าน “ผ้าจกเมืองลอง” : มรดกทุนทางวัฒนธรรม “เจ้า” ทุนวัฒนธรรมความเป็นเจ้าของเมืองลองที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นอันดับแรกคือ “ซิ่นตีนจกเมืองลอง” ที่เริ่มปรากฏนำมาผูกติดกับเศรษฐกิจเป็นสินค้ามาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ ๒๔๘๐ แต่ซื้อขายระหว่างกันเฉพาะคนภายในอำเภอลองเท่านั้นและราคาไม่สูงมากเพียงผืนละ ๑ บาทจนกระทั่งทศวรรษ ๒๕๒๐ จึงเริ่มแพร่หลายสู่ภายนอกด้วยการส่งเสริมของสมเด็จพระนางเจ้าบรมราชินีนาถ และค่อยตื่นตัวอย่างมากในช่วงทศวรรษ ๒๕๔๐ เมื่อมีหลายหน่วยงานต่างเข้ามาให้การผลักดันทั้งศูนย์ศิลปาชีพบางไทร มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ที่เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่แต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบไปทั่ว จึงมีการโหยหาย้อนกลับไปอดีตรวมถึงการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างเป็นสินค้าขึ้น “ซิ่นตีนจกเมืองลอง” เกิดจากการผสมผสานระหว่างตีนจกของท้องถิ่นเมืองลองกับตีนจก เมืองลำปาง และภายหลังผสมผสานกับตีนจกเมืองเชียงแสนมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๔ ดังชื่อลวดลายตีนจกเมืองลองปรากฏชื่อเมืองลำปางและเชียงแสน เช่น ลายขันละกอน ลายขันเชียงแสน ฯลฯ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 13 •มิถุนายน• 2013 เวลา 14:42 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เฮือนคำแสน ฮอมศิลป์สู่ถิ่นเกิด

ผมได้รู้จักและได้เป็นศิษย์ของอาจารย์ นคร บุญญาสัย ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มัธยมเห็นการทำงานของอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นการเขียนป้าย เขียนรูปภาพต่าง ๆ และที่ประทับใจมากก็คือ การเขียนรูปสองมือ จึงทำให้ผมมีความสนใจงานด้านศิลปะด้านนี้มากขึ้น ซึ่งเดิมก็ชอบวาดรูปมาตั้งแต่เล็ก ๆ อยู่แล้ว หลังจากจบ ม. ๓ ผมก็ได้เรียนแกะสลักไม้กับอา ทวี วังสาคร ที่เชียงใหม่จนขาดความชำนาญจึงได้กลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด ทราบข่าวว่าพี่วินัย (นาญ) ถึงการสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้าน ที่โรงเรียนสองพิทยาคม ของอาจารย์นครก็เลยถือโอกาสเข้าไปกราบคาราวะท่าน พอย่างก้าวถึงบริเวณพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ผมก็ถึงกับตะลึงถึงความอลังการทั้งงานจิตกรรมและการจัดข้าวของเครื่องใช้ของโบราณต่างๆอีกมากมายทำให้ผมเกิดแนวความคิดได้หลายอย่างจากนั้นผมก็ได้ศึกษาศิลปะอย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้น ทั้งจากตำรับตำราและจากการศึกษาดูงานของศิลปินรุ่นใหญ่หลาย ๆ ท่าน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2014 เวลา 14:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

โลภะ ความโลภ โทสะ

ศัตรูภายใน "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินภายใน อมิตรภายใน ศัตรูภายใน ผู้ฆ่าภายใน ข้าศึกภายใน ๓ ประการ ได้แก่ โลภะ ความโลภ โทสะ ความคิดประทุษร้าย โมหะ ความหลง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินภายใน อมิตรภายใน ศัตรูภายใน ผู้ฆ่าภายใน ข้าศึกภายใน ๓ ประการเหล่านี้แล." อิติวุตตก ๒๕/๒๙

มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่าง "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ๑. โลภะ ความอยากได้ เป็นมูลรากแห่งอกุศล ๒. โทสะ ความคิดประทุกษร้าย เป็นมูลรากแห่งอกุศล ๓. โมหะ ความหลง เป็นมูลรากแห่งอกุศล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มูลรากแห่งอกุศล ๓ อย่างเหล่านี้แล." อิติวุตตก ๒๕/๒๖๔

อะไรเป็นหัวหน้าอกุศลธรรมและกุศลธรรม "ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชา (ความไม่รู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยอกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา วิชชา(ความรู้) เป็นหัวหน้าแห่งความพรั่งพร้อมด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย ความละอายใจ ความเกรงกลัวต่อบาป ย่อมตามหลังมา." อิติวุตตก ๒๕/๒๕๕

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 10 •มิถุนายน• 2013 เวลา 12:52 น.• )

 

หนีจากอิทธิพลของจอมโกงลาบัน

สวัสดีครับพี่น้องชาวจังหวัดแพร่ที่เคารพครับ และพี่น้องชาวไทยทั่วประเทศและทั่วโลก ขอขอบคุณที่ยังคงติดตามผลงานและบทความของผมนะครับ ซึ่งในคราวที่แล้วได้พูดถึงลาบันพ่อตาจอมแสบโคตรโกงขั้นเทพ ขนาดยาโคบคิดว่าเป็นผู้ที่มีความโกงระดับหนึ่งแล้วนะครับ แต่ในที่สุดโยบก็ได้บทเรียนที่มาจากพระเจ้า ทำให้ยาโคบรู้แล้วว่าการโกงใครเนี่ยะมันไม่ดี โดยเฉพาะโกงพระเจ้า แต่ถึงกระนั้นก็ดีครับ ยาโคบก็รู้สำนึกแล้วแต่ลาบันซึ่งเป็นพ่อตาของยาโคบก็เริ่มได้ใจโกงเขาได้ครั้งนึงจะโกงอีก แต่คราวนี้พระเจ้าไม่อนุญาติเลยเจอยาโคบหักมุมเลยทำให้ลุงลาบันร้องออกมาว่าโอ้ย!แบบนี้มันเจ็บจุงเบย เพราะคิดว่าตัวจะได้ประโยชน์เต็มๆแต่กลับกลายเป็นว่า ยาโคบได้ประโยชน์ไปแบบเต็มๆเพราะพระเจ้าอวยพรยาโคบ พอลาบันเริ่มสูญเสียประโยชน์ก็เริ่มคิดริษยายาโคบซะแล้ว และ บัดนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ยาโคบต้องเผ่นแล้วครับ และสิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องยืนยันคือความฝันของยาโคบที่ถึงเวลาต้องกลับไปยังดินแดนบ้านเก่าที่เขาจากมาแล้ว คือ ในความฝันทูตสวรรค์ได้บอกว่าให้กลับไปบ้านได้แล้ว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 08 •มิถุนายน• 2013 เวลา 12:12 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดนาแหลมเหนือ อำเภอเมืองแพร่

วัดนาแหลมเหนือ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓ กิโลเมตร แต่เดิมสภาพพื้นที่บ้านนาแหลมเป็นพื้นที่ทำนา เมื่อถึงฤดูทำนาต้องมีการพักแรมกันนานหลายเดือน คำว่านาแหมสันนิฐานว่า หมู่บ้านตั้งอยู่เรียงรายแบบชายธงแหลมลงมา ในอดีตบ้านนาแหลมเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนดังปรากฏซากปรักหักพังของวัดวาอารามของหมู่บ้านทั้งสี่ทิศ แต่ช่วงที่เกิดความไม่สงบของภัยสงครามจึงทำให้ชาวบ้านอพยพไปอยู่ที่อื่นระยะหนึ่ง วัดนาแหลมเหนือ เกิดจากการนำของพ่อหนานปัญญา เดชธรรม ได้พาชาวบ้านมาจับจองพื้นที่สาธารประโยชน์ ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้านเดิม แล้วสร้างวัดขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ โดยมีพ่อเจ้าหน้อยคำมูล และคณะศรัทธาจากในเมืองช่วยบริจาคทรัพย์ในการสร้างเดิมมีชื่อว่า “วัดดอนแกแร้งพัก” เพราะสมัยนั้นมีนกแร้งจำนวนมากพักอาศัยอยูที่ต้นดอกแก (ต้นชงโค) แถบบริเวณนั้น และชาวบ้านได้นิมนต์ท่านครูบาอนุมาประดิษฐานในวิหาร องค์ใหญ่มีขนาดหน้าตักประมาณ ๔๐ นิ้ว องค์เล็กมีขนาดหน้าตักประมาณ ๒๕ นิ้ว ภายหลังพระพุทธรูปองค์ใหญ่สูญหายในปัจจุบันเหลือแต่องค์เล็กเท่านั้น พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่ครูบาเต็ม อินฺทจกฺโก พร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกันรื้อถอนวิหารหลังเก่าเพื่อสร้างใหม่ ฉาบด้วยปูน พ.ศ. ๒๔๘๗ ให้สล่าผิ้ว ชาวบ้านกวาว ปั้นพระพุทธรูปปูนเป็นพระประธานในวิหารและเปลี่ยนชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านเป็น วัดนาแหลมเหนือ จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๑๙ พระอธิการบุญเส่ง ปญญาสาโร และคณะศรัทธาได้สร้างวิหารหลังใหม่แทนหลังเก่า และสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ จึงได้มีงานฉลองพร้อมกันกับศาลากสนเปรียญหลังใหม่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 07 •มิถุนายน• 2013 เวลา 11:55 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ความขัดแย้งของทฤษฏีวิวัฒนาการ

- การกำเนิดชีวิต นับตั้งแต่ที่ทฤษฏีวิวัฒนาการของชาลส์ ดาร์วิน ได้ถือกำเนิดขึ้นมา สิ่งสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้กลายเป็นประเด็นหลักในโลกวิทยาศาสตร์ก็คือตำราของ ชาลส์ ดาร์วิน ที่เขียนถึงเรื่อง “จุดกำเนิดของสิ่งมีชีวิต” (The Original of Species) ในหนังสือเล่มนี้ ชาลส์ ดาร์วิน ได้ปฏิเสธว่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ ในโลกมิได้เกิดจากการสร้างสรรค์โดยเอกเทศของพระเจ้า เขาเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายมีกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน แต่วิวัฒนาการไปตามกาลเวลาจนมีลักษณะที่ต่างกัน ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน เป็นแนวความคิดวัตถุนิยมที่ยึดถือเป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ในการอธิบายหลักการของตน ทฤษฎีนี้อ้างว่าสิ่งมีชีวิตถือกำเนิดจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่างบังเอิญ แต่ข้ออ้างนั้นก็ตกไปอย่างสิ้นเชิงโดยข้อเท็จจริงที่หนักแน่นกว่าคือจักรวาลถูกสร้างสรรค์โดยพระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าทรงสร้างสรรค์จักรวาล และทรงออกแบบแม้รายละเอียดที่เล็กที่สุด ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ทฤษฎีวิวัฒนาการจะอธิบายว่า การกำเนิดของสิ่งมีชีวิตไม่ได้มาจากการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้าแต่เกิดขึ้นจากเหตุบังเอิญ ทฤษฎีของชาลส์ ดาร์วิน ไม่ได้มีพื้นฐานที่เป็นรูปธรรมทางวิทยาศาสตร์ และเขาก็ยอมรับว่ายังคงเป็นแค่เพียง “สมมติฐาน” ยิ่งไปกว่านั้น ตัวดาร์วินเอง ได้สารภาพไว้ในตำราของเขาในบทที่ชื่อ “ความยากลำบากแห่งทฤษฎี” ว่าทฤษฎีของเขาไม่สามารถตอบคำถามสำคัญๆ ได้ ดาร์วิน ฝากความหวังของเขาทั้งหมดไว้กับการค้นพบของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งเขาคาดว่าจะเป็นผู้เฉลย “ความยากลำบากแห่งทฤษฎี” แต่ทว่าการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ขยายมิติต่างๆ ได้กลับกลายเป็นข้อโต้แย้งสำหรับดาร์วินไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •มิถุนายน• 2013 เวลา 12:36 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๓

พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ : วีรบุรุษเมืองลองผู้ภักดีต่อชาติไทย พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ(เจ้าหนานคันธิยะ โลหะ) เป็นเจ้าเมืองลองคนสุดท้าย ที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญประการหนึ่งของความเมืองลอง ขณะเดียวกันด้วยโลกทัศน์ของคนรุ่นปัจจุบันแทบทั้งหมดมองว่าเมืองลองคืออำเภอลอง เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย และมีพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรีเป็นประมุข ดังนั้นวิธีการรื้อฟื้นให้เจ้าเมืองลองมีบทบาทมีสถานะความสำคัญได้อย่างมีอิทธิพลที่สุด คือเชื่อมโยงให้เข้ากับพระมหากษัตริย์ผู้เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเมื่อเจ้าเมืองลองเป็นผู้มีความสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของชาติไทย จึงเท่ากับยกสถานะของ “เมืองลอง” ตลอดจนทายาทให้มีความสำคัญขึ้นตามไปด้วย การสร้างรูปปั้นของพญาขัณฑสีมาโลหะกิจ ที่มีขนาดใหญ่เกือบสองเท่าคนจริงขึ้นในพ.ศ.๒๕๔๑ พร้อมกับแผ่นป้ายแสดงประวัติ ต้นสกุลวงศ์ และผลงานต่างๆ ที่พญาขัณฑสีมาโลหะกิจได้กระทำไว้ โดยเฉพาะเรื่องรัชกาลที่ ๔ ทรงแต่งตั้งพญาขัณฑสีมาโลหะกิจ ขึ้นเป็นเจ้าเมืองลอง การส่งเหล็กลองและไม้สักซาวก๋ำซาววา(๒๐ กำ ๒๐ วา)จำนวน ๒ ต้นลงไปถวายรัชกาลที่ ๔ ให้สร้างเสาชิงช้าที่กรุงเทพฯ ที่มีการบอกเล่าและผลิตซ้ำอยู่เสมอภายในอำเภอลอง ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วพญาขัณฑสีมาโลหะกิจได้รับการรับรองแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าเมืองลอง จากเจ้าหลวงนรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕ - ๒๔๔๐) ในราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ ๕ ราชวงศ์จักรีของสยาม และพญาขัณฑสีมาโลหะกิจก็นำเอาเหล็กลองและไม้สักลงไปถวายรัชกาลที่ ๕ ที่กรุงเทพฯ จริงด้วยเหตุผลทางการเมือง(ดังกล่าวแล้วในบทที่ ๒) แต่ไปถวายเมื่อยังไม่ได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองลองและนำไม้สักขนาดใหญ่ ๒๒ กำ ๘ วาลงไปถวายเพียงต้นเดียว ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการนำเอาไม้ท่อนนี้ไปทำเสาชิงช้า

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดสำเภา อำเภอเมืองแพร่

วัดสำเภา ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นวัดร้าง เพราะมีเจดีย์ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นฐานเจดีย์ของวัด อยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ พระครูมหาญาณสิทธิ์ (ครูบาคันธา) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลเหมืองหม้อ ได้นำพระภิกษุ สามเณร พร้อมทั้งศรัทธาชาวบ้านมาพัฒนาแผ้วถางบริเวณวัดแห่งนี้ ซึ่งเป็นป่าทึบรกร้างมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นทั่วบริเวณให้เป็นที่โปร่งโล่งเตียนราบพอถึงวันเทศกาลวันตรุษสงกรานต์ ชาวบ้านก็ให้เป็นที่ฝึกวิทยายุทธการต่อสู้ มีการฝึกดาบ ตีมะผาบ โดยใช้สติปัญญาไหวพริบที่รวดเร็วต่อสู้กัน ชาวบ้านเรียกสถานที่นี้ว่า “ข่วงเจิง”  กาลต่อมามีหลวงพ่อมังกาละ พระธุดงค์จากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ขอพักวัดแห่งนี้ทางคณะศรัทธาชาวบ้าน โดยการนำของนายยศ บ่อคำ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านสำเภาได้นิมนต์ท่านจำพรรษา และได้ช่วยสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ต่อมาก้ได้ช่วยกันปั้นอิฐ เพื่อที่จพสร้างวิหารโดยใช้น้ำเมือกจากต้นเมือกมาตำและแช่ดองผสมกับทรายใช้ในการก่อสร้าง ต่อมาพ่อมหาวัน เหมือหม้อ พ่อวัง เหมืองหม้อ พ่อวงจักร เหมืองหม้อ สามพี่น้องได้ช่วยกันสร้างพระพุทธรูป ๓ องค์ ขึ้นในวิหารสำเภา เพื่อเป็นการที่กราบไหว้บูชาของพุทธศาสนิกชน และเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ครูบารส ดวงแก้ว เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฉลองสมโภช พอมาถึงสมัยครูบาทอง ชุ่มเย็น ได้สร้างกุฏิ ๑ หลัง เสาก่ออิฐเป็นปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ๕ ห้อง ต่อมาหลังคารั่วและเริ่มชำรุดทรุดโทรมลงและได้รื้อสร้างกุฏิใหม่ ๒ ชั้น ๑๑ ห้อง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 03 •มิถุนายน• 2013 เวลา 10:36 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๒

การสร้างตัวตนของเมืองลองผ่าน “อนุสาวรีย์” ผีเมืองและเจ้าเมืองลอง “อนุสาวรีย์” ตามความหมายของภาครัฐ คือ เน้นให้เป็นสื่อของ “ความเป็นชาติไทย” เพื่อระลึกถึงคุณความดีของบุคคลผู้ทำประโยชน์ต่อประเทศชาติ ด้วยการสละกำลังกาย กำลังความคิด หรือแม้ชีวิตเพื่อปกป้องชาติไทย และต้องเป็นอนุสาวรีย์บุคคลที่รัฐบาลเห็นว่ามีความ สำคัญอย่างแท้จริง แต่ทว่า “อนุสาวรีย์” ในตามแบบของคนท้องถิ่นเมืองลองนั้น อาจหมายถึง “รูปเคารพ” บุคคลสำคัญของท้องถิ่นที่ถูกสร้างขึ้น ซึ่งสามารถสื่อสารเรื่องราวให้ผู้ที่ได้สัมผัส โดยเฉพาะเกียรติประวัติคุณงามความดีของผู้เป็นเจ้าของให้เห็นเป็นรูปธรรม ดังนั้นรูปเคารพที่ถูกสร้างขึ้นภายในอำเภอลอง โดยคนในพื้นที่และสื่อ “ความเป็นเมืองลอง” ให้แก่คนในท้องที่หรือผู้พบเห็น “รูปเคารพบุคคล” จึงจัดว่าเป็น “อนุสาวรีย์” ประเภทหนึ่งในแง่ของความหมายนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 29 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 18:20 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ขอบคุณพระมหาวัฒนา ธมฺมานุสารี

ผู้จัดทำเว็บไซต์ขอบคุณพระมหาวัฒนา ธมฺมานุสารี ที่ได้มอบหนังสือพุทธวจน หรือคำที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสสอนไว้ เนื่องในโอกาสฉลองพัดยศเปรียญธรรม ๗ ประโยค ณ วัดบุญชุม บ้านห้วยลาน ต.ห้วยลาน อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา วันที่ ๒๓ - ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา จำนวน ๘ เล่ม ดังต่อไปนี้ พุทธวจน ๑ ตามรอยธรรม พุทธวจน ๒ คู่มือโสดาบัน พุทธวจน ๓ ก้าวย่าง อย่างพุทธะ พุทธวจน ๔ มรรค (วิธีที่) ง่าย พุทธวจน ๖ อานาปานสติ  พุทธวจน ๗ ฆารวาสชั้นเลิศ  พุทธวจน ๘ อินทรียสังวร พุทธวจน ๙ ปฐมธรรม จัดทำ โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และคณะธรรมวัดนาป่าพง ทางเว็บไซต์ขอนำบทความในหนังสือเป็นแนวทางในการเผยแพร่พุทธศาสนาต่อไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 28 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 15:53 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

๘๐๐ ล้านกล้า ๘๐ พรรษา มหาราชินี

วันเสาร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เวลา ๙.๐๐ น. นายวิชชา จิรภิญญกุล นายอำเภอสอง  เปิดโครงการประชาอาสาปลูกป่า ๘๐๐ ล้านกล้า ๘๐ พรรษา มหาราชินี เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พื้นที่ปลูกป่าของอำเภอสอง ณ ดงอาฮัก บ้านวังฟ่อน ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นสถานที่ธรณีสงฆ์ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ป่าได้ถูกประชาชนถางปลูกพืชผลทางการเกษตรเป็นเวลานาน โครงการขอคืนผืนป่าจำนวน ๕ ไร่ รวมกับดงอาฮักซึ่งเป็นป่าชุมชนติดแม่น้ำยมเดิมอีก ๓๕ ไร่ โดยมีหน่วยงานราชการ และประชาชนร่วมกันปลูกป่าเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 27 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 14:19 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เรื่องของพราหมณ์ผู้กระด้างเพราะถือตัว

สมัยนั้น พราหมณ์ผู้กระด้างเพราะถือตัว อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี พราหมณ์นั้นไม่ไหว้มารดา ไม่ไหว้บิดา ไม่ไหว้อาจารย์ ไม่ไหว้พี่ชาย. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค อันบริษัทใหญ่แวดล้อมทรง แสดงธรรมอยู่. ขณะนั้นพราหมณ์ผู้กระด้างเพราะถือตัว คิดว่า พระสมณโคดมนี้ อันบริษัทใหญ่แวดล้อม ทรงแสดงธรรมอยู่ ถ้าอย่างไรเราพึงเข้าไปหาพระสมณโคดม ถ้าพระสมณโคดมจักพูดกับเรา เราก็จักพูดด้วย ถ้าพระสมณโคดมจักไม่พูดกับเรา เราก็จักไม่พูดด้วย.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 25 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 15:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันวิสาขบูชา ๒๕๕๖

ภาพกิจกรรมทำบุญระลึกถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่ง วันวิสาขบูชา ปี ๒๕๕๖ ตรงกับวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖  เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน (ดับสังขารไม่กลับมาเกิดสร้างชาติ สร้างภพอีกต่อไป)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 24 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 12:21 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๑

ก้อนแร่เหล็กลอง “ตับเหล็กลอง” และก้อนหินรูปลักษณะเหมือนขมิ้น “ขมิ้นหิน” : ทุนวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องผีเมืองสู่สัญลักษณ์ของเมืองลอง วัตถุมงคลและเครื่องลางของขลังได้กลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ โดยเฉพาะของคนในพื้นที่ เป็นทุนมรดกทางวัฒนธรรมอีกสิ่งหนึ่งของเมืองลองที่ถูกนำมาผูกติดกับเศรษฐกิจ ขณะ เดียวกันก็ประทับตรา “เมืองลอง” ให้เป็นที่รับรู้ติดไปด้วยทุกหนแห่ง ช่วงก่อนหน้านี้นิยมขุดหาพระเครื่องจากกรุวัดร้างภายในอำเภอลองและวังชิ้น แต่เมื่อเริ่มหายากและมีราคาสูงจึงจัดสร้างพระใหม่ขึ้นแทนโดยใช้พระจากกรุเก่าของเมืองลองเป็นต้นแบบ การสร้างพระเครื่อง วัตถุมงคล และเครื่องรางของขลังเหล่านี้ จึงมีส่วนในการสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองด้วย เพราะสามารถเป็นตัวที่บ่งชี้ถึงความสำคัญของสถานที่ ตลอดจนเจ้าพิธี และผู้จัดทำ ซึ่งในอำเภอลองมีการสร้างเหรียญพระเครื่องขึ้นครั้งแรกในพ.ศ.๒๕๐๐ หลังจากนั้นก็มีประปราย เช่น สร้างเหรียญครูบาสมจิตรุ่น ๑ พ.ศ.๒๕๑๔ ซึ่งเป็นครั้งแรกในอำเภอลองที่สร้างเหรียญพระเถระที่ยังมีชีวิตอยู่ และรุ่น ๒ พ.ศ.๒๕๑๘ หรือสร้างเหรียญครูบาอินทจักร วัดต้าเวียง บ้านม่อน ตำบลเวียงต้า พ.ศ.๒๕๑๗ แต่มาในช่วงทศวรรษ ๒๕๔๐ เป็นต้นมาประเทศไทยเกิดเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลทำเกิดวิกฤตทางความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจหน้าที่การงาน ผู้คนจึงนิยมแสวงหาพระเครื่องเครื่องรางของขลังเพื่อเพิ่มความมั่นใจ วงการพระเครื่อง วัตถุมงคล และเครื่องรางของขลังจึงมีความตื่นตัว ส่งผลถึงในอำเภอลองก็เกิดการตื่นตัวขึ้นด้วย ดังนั้นช่วงนี้ภายในอำเภอลองจึงมีการสร้างวัตถุมงคลที่หลากหลายมากกว่าช่วงก่อนที่ผ่านมา ที่จำกัดอยู่เฉพาะสร้างเหรียญพระพุทธรูป พระมหาครูบาเถระ แต่ช่วงนี้ได้มีการนำผีบ้านผีเมือง ผีเจ้าเมืองนำมาสร้างเป็นวัตถุมงคล หรือแม้แต่วัตถุของขลังภายในท้องถิ่นก็ถูกนำขึ้นมาทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

รับบริจาคหนังสือคำสอนศาสดา

เนื่องจากเว็บไซต์ได้นำเสนอเกี่ยวกับศาสนาที่มีอยู่ในจังหวัดแพร่อันได้แก่ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เพื่อให้ศาสนิกชน คือ ปวงชนที่ให้การยอมรับนับถือในคำสั่งสอนศาสนา  ได้มีแหล่งศึกษาศาสนาของตนเองในแบบที่เข้าใจง่าย และตรงต่อหลักคำสอน ซึ่งปัจจุบันได้มีคำสอนอยู่อย่างแพร่หลายที่ให้ศาสนิกชนได้ศึกษาเรียนรู้ เราก็เป็นส่วนหนึ่งในสื่อนั้น ๆ เพื่อทำให้หลักศาสนาที่เราได้นำเสนอไปถูกต้องทางผู้จัดทำเว็บจึงขอรับบริจาคหนังสือคำสอนของแต่ละศาสนาคือ พระไตรปิฎก (หรือพุทธวจนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) คําภีร์ ไบเบิ้ล คัมภีร์อัลกุรอาน เพื่อเป็นเอกสารตรวจสอบบทความที่ำนำเผยแพร่ เพื่อให้บทความนั้น ๆ ถูกต้องไม่บิดเบือนคำสอน ผู้มีจิตศรัทธาสามารถทำบุญบริจาคในครั้งนี้ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือใหม่ สามารถติดต่อได้เบอร์โทรศัพท์ ๐๘ ๖๗๒๘ ๗๕๔๘ หรือส่งมาที่ บ้านเลขที่ ๑๒ หมู่ ๑๑ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ๕๔๑๒๐

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 23 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 11:33 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระราชปฏิญาณ กับพระพุทธศาสนา

"ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้าที่จะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาถาวรพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนเฉพาะหน้าพระสงฆ์เถรานุเถระทั้งหลาย อันประชุมอยู่ ณ ที่ว่านั้น การที่ข้าพเจ้าคิดจะไปประเทศยุโรป ณ ครั้งนี้ ด้วยข้าพเจ้ามุ่งต่อความดีแห่งพระราชอาณาจักรและด้วยความหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าตั้งใจจะรักษาตนให้สมควรแก่ที่เป็นเจ้าของประชาชนชาวสยามทั้งปวง จะรักษาเกียรติยศแห่งพระราชอาณาจักรอันเป็นเอกราชนครนี้ จนสุดกำลังที่ข้าพเจ้าจะป้องก้นได้ "และเพื่อจะให้เป็นเครื่องเตือนใจตัวข้าพเจ้า และเป็นเครื่องเย็นใจแห่งผู้ซึ่งมีความรักใคร่มุ่งหมายความดีต่อข้าพเจ้า ปราศจากวิตกกังวลใจด้วยความประพฤติรักษาของข้าพเจ้า ๆ จึงขอสมาทานข้อทั้งหลายที่จะกล่าวต่อไปนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 19 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 10:01 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

คนสร้างศิลป์ ศิลป์สร้างเวียง ครังที่ ๑

เนื่องในวาระครบรอบ ๙ ปีของกลุ่มคนสร้างศิลป์เมืองแพร่ จึงได้ถือโอกาสอันดีนี้จัดงานแสดงนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย “คนสร้างศิลป์ ศิลป์สร้างเวียง ครั้งที่ ๑” ขึ้นมาเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง ๙ ปีของการเดินทางอันยาวนานของวงการคนทำงานศิลปะในเมืองแพร่ ซึ่งการจัดงานนิทรรศการครั้งนี้ ทางกลุ่ม ฯ ได้ร่วมมือกับจินเจอร์เบรดเฮ้าท์ แกลเลอรี่ จัดงานนี้ขึ้นและหวังว่างานนิทรรศการเช่นนี้ จะมีการจัดเป็นประจำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี เพื่อเป็นแบบอย่างอันดีงามต่อสังคม เป็นแรงบันดาลใจต่อเยาวชน รวมถึงเพื่อเป็นการยกระดับวงการศิลปะในเมืองแพร่ให้กว้างขวาง และเป็นที่รู้จักแพร่หลายต่อไปในอนาคต

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 21 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 21:56 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๔๐

“พุทธศาสนา” “ผีบ้านผีเมือง” และ”เจ้าเมือง” หัวใจความเป็นเมืองลองในยุคจารีต กับการสร้างและรื้อฟื้นความเป็นเมืองลองอย่างเข้มข้น ช่วงพ.ศ.๒๕๓๘ - พ.ศ.๒๕๕๔ การสร้างและรื้อฟื้นของเมืองลองในช่วงก่อนหน้านี้ ได้นำเอาเฉพาะทุนวัฒนธรรมทางพุทธศาสนาหรือที่เกี่ยวพันมาสร้างและรื้อฟื้น ด้วยเป็นความเชื่อสากลและเป็นที่ยอมรับนับถือของคนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย และมีพลังในการประสานคนท้องถิ่นกลุ่มต่างๆ ได้กว้างขวางมากกว่าทุนวัฒนธรรมส่วนอื่น พอมาถึงในช่วงนี้ส่วนกลางได้เปิดพื้นที่ให้กับท้องถิ่นได้แสดงความมีอยู่ของท้องถิ่นมากขึ้น เนื่องด้วยสังคมโลกที่นำโดยองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปีพ.ศ.๒๕๓๑ เป็นปีเริ่มต้นทศวรรษโลกในการพัฒนาวัฒนธรรม เพื่อสร้างสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพแก่มวลมนุษย์ ดังนั้นสังคมไทยที่ผูกติดอยู่กับสังคมโลก รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายให้จัดตั้งสภาวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมอำเภอ และสภาวัฒนธรรมตำบลขึ้นในพ.ศ.๒๕๓๘ ตามประกาศของคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อกระจายอำนาจการดำเนินงานวัฒนธรรมให้ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ.๒๕๔๐ หลายมาตราได้เปิดโอกาสและให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของท้องถิ่น เช่น มาตราที่ ๔๖ “บุคคลที่รวมตัวกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและชาติ...” หรือมาตราที่ ๕๖ “สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง...”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 12 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 17:48 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เหนือจอมโกงยังมีสติปัญญาของพระเจ้า

สวัสดีครับพี่น้องชาวจังหวัดแพร่และพี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่านที่ทั้งทุกภาคในประเทศไทยและในต่างแดนครับ หลังจากที่ทราบเรื่องความวุ่นวายของครอบครัวของยาโคบและเรื่องราวของภรรยาทั้งสองกับการปรารถนามีบุตรของเธอทั้งสองต่อยาโคบอันแสนน่าปวดหัวแล้ว ขอให้ทุกท่านรับทราบว่าพระเจ้ายังรักยาโคบอยู่เสมอและคำสัญญาของพระเจ้าต่อยาโคบยังคงเหมือนเดิม และจะคงตลอดไปเสมอไม่เปลี่ยนแปลงชั่วนิรันดร์ มาสัปดาห์นี้ก็คงถึงเวลาแล้ว นี้ก็ถึงเวลาแล้วที่ยาโคบก็ได้ทำงานชดใช้จนครบเพื่อที่จะได้ภรรยาทั้งสองมาและบัดนี้เขาได้คิดถึงอิสอัคผู้เป็นบิดา และ เรเบคาห์ผู้มารดา จึงได้บอกกล่าวแก่ลุงลาบันว่า “ผมก็ทำงานให้คุณพ่อตามานานแล้วเพื่อที่จะได้ภรรยาและลูกๆของผมแล้ว ถึงเวลาที่ผมต้องจากไป ณ ที่บ้านเกิดเมืองนอน แต่ปัญหาของลุงลาบันผู้เป็นพ่อตาได้ ต่อรองขอให้อยู่ต่อ ด้วยเหตุผลที่น่าสนใจทีเดียวครับ เราลองมาติดตามกันดูว่า นี่มันเกิดอะไรขึ้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 12 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 17:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อย่าโกรธเมื่อใครติเตียนพระพุทธเจ้า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าอื่นอาจกล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์. ท่านทั้งหลายไม่พึงผูกอาฆาต ขุ่นเคือง ไม่พอใจในบุคคลเหล่านั้น. เพราะถ้าท่านทั้งหลายโกรธเคือง หรือไม่พอใจในบุคคลที่กล่าวติเตียนเรา ติเตียนพระธรรม หรือติเตียนพระสงฆ์นั้น, อันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้น ก็จะพึงเป็นของท่านทั้งหลายเอง.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 10 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 11:28 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 9 จาก 33•