อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยสำนักงานอำเภอเมืองแพร่ มกราคม ๒๕๕๕ โทร ๐-๕๔๕๑-๑๐๕๔ ที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ สถานที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่เดิม ตั้งอยู่บริเวณที่ดินข้างถนนไชยบูรณ์ ห่างจากประตูใหม่ (กำแพงเมืองเก่าของเมืองแพร่) ประมาณ ๓๐๐ เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ประมาณ ๓๐ เมตร (ตรงข้ามกับสำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ปัจจุบัน) เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองไปตั้งที่ดินบริเวณข้างสนามบิน (หน้าโรงพยาบาลแพร่ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเหมืองหม้อ) เหตุที่ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอ ก็เพราะเกรงว่าน้ำจะท่วม เนื่องจากอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำยม ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ทางราชการเห็นว่า สถานที่ที่ย้ายมาใหม่ห่างไกลจากชุมนุมชนตลาดการค้าประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขต้องการที่ดินจัดสร้างโรงพยาบาลด้วย จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่กลับไปตั้ง ณ สถานที่เดิม คือ ที่ดินบริเวณถนนไชยบูรณ์ ตำบลในเวียง จนถึงปัจจุบันอำเภอเมืองแพร่ มีพระคัณทคีรี พัฒนเสนา เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาอาคารเก่าถูกไฟไหม้หมดทั้งหลัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้สร้างอาคารที่ว่าการอำเภอเมืองขึ้นมาใหม่เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น ตั้งอยู่ติดถนนไชยบูรณ์ ตรงกันข้ามกับเทศบาลเมืองแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ในปัจจุบันได้สร้างเป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น ณ สถานที่เดิม โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ เวลา ๑๐ นาฬิกา ๒๙ นาที และพิธีเปิดอาคารที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เนื้อที่ของอำเภอเมืองแพร่รวมทั้งสิ้น ประมาณ ๘๒๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๑๖,๒๑๐ ไร่

คำขวัญประจำอำเภอ : พระธาตุช่อแฮคู่เมือง นามกระเดื่องแพะเมืองผี ผ้าดีหม้อห้อม ถึงพร้อมวัฒนธรรม สวยล้ำธรรมชาติ

สถานที่ตั้ง เลขที่ ๑ ถนนไชยบูรณ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ ๕๔๐๐๐ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน และอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอลอง จังหวัดแพร่

ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ราบ มีภูเขาล้อมรอบ ตอนกลางเป็นที่ราบ เหมาะแก่การเพาะปลูก ทำนา ปลูกพืชไร่ ภูเขาเป็นภูเขาสูงใหญ่ล้อมรอบ โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันตก มีป่าไม้สักบนภูเขาสูง แม่น้ำ มีแม่น้ำสายหลัก คือ แม่น้ำยม ไหลผ่านตำบลวังหงส์ ท่าข้าม แม่ยม วังธง และตำบลป่าแมต และลำน้ำสาขาที่ไหลลงสู่ลำน้ำยม มีลำน้ำแม่แคม แม่ก๋อน แม่สาย แม่หล่าย และแม่คำมี ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป เป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู ฤดูร้อน อากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าว เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม - มิถุนายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน- ตุลาคมฝนจะตกชุกระหว่างเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม ฤดูหนาว อากาศหนาวถึงหนาวจัดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์

ประชากร อำเภอเมืองแพร่ มีประชากรทั้งสิ้น ๑๒๑,๐๖๘ คน ชาย ๕๗,๗๖๗ คน หญิง ๖๓,๓๐๑ คน ดังนี้ อำเภอเมืองแพร่ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น ๔๖,๙๔๙ ครัวเรือน ประชากรตำบลในเวียง จำนวน ๑๗,๑๔๑ คน ชาย ๗,๙๘๔ คน หญิง ๙,๑๕๗ คน ประชากรอำเภอเมือง จำนวน ๑๐๓,๙๒๗ คน ชาย ๔๙,๗๘๓ คน หญิง ๕๔,๑๔๔ คน จำนวนครัวเรือนตำบลในเวียง ๘,๑๖๔ ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนอำเภอเมือง ๓๘,๗๘๕ ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ย ๑๔๗ คน / ตารางกิโลเมตร

การปกครอง แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็น ๒๐ ตำบล ๑๖๖ หมู่บ้าน ดังนี้ ๑. ตำบลในเวียง (อยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพร่ ทั้งหมด ประกอบด้วยชุมชน ๑๘ ชุมชน) ๒. ตำบลป่าแมต ประกอบด้วย ๑๕ หมู่บ้าน ๓. ตำบลห้วยม้า ประกอบด้วย ๑๔ หมู่บ้าน ๔. ตำบลช่อแฮ ประกอบด้วย ๑๒ หมู่บ้าน ๕. ตำบลเหมืองหม้อ ประกอบด้วย ๑๒ หมู่บ้าน ๖. ตำบลแม่คำมี ประกอบด้วย ๑๒ หมู่บ้าน ๗. ตำบลบ้านถิ่น ประกอบด้วย ๑๑ หมู่บ้าน ๘. ตำบลป่าแดง ประกอบด้วย ๑๐ หมู่บ้าน ๙. ตำบลสวนเขื่อน ประกอบด้วย ๑๐ หมู่บ้าน ๑๐. ตำบลกาญจนา ประกอบด้วย ๙ หมู่บ้าน ๑๑. ตำบลนาจักร ประกอบด้วย ๙ หมู่บ้าน ๑๒. ตำบลแม่หล่าย ประกอบด้วย ๘ หมู่บ้าน ๑๓. ตำบลวังหงส์ ประกอบด้วย ๗ หมู่บ้าน ๑๔. ตำบลทุ่งโฮ้ง ประกอบด้วย ๗ หมู่บ้าน ๑๕. ตำบลทุ่งกวาว ประกอบด้วย ๖ หมู่บ้าน ๑๖. ตำบลวังธง ประกอบด้วย ๖ หมู่บ้าน ๑๗. ตำบลร่องฟอง ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน ๑๘. ตำบลท่าข้าม ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน ๑๙. ตำบลแม่ยม ประกอบด้วย ๔ หมู่บ้าน ๒๐. ตำบลน้ำชำ ประกอบด้วย ๔ หมู่บ้าน

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ๑.เทศบาลเมือง จำนวน ๑ แห่ง คือ เทศบาลเมืองแพร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเวียงทั้งหมด ๒. เทศบาลตำบล จำนวน ๘ แห่ง ประกอบด้วย ๑. เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง ๒ . เทศบาลตำบลช่อแฮ ๓. เทศบาลตำบลแม่หล่าย  ๔. เทศบาลตำบลแม่คำมี ๕. เทศบาลตำบลป่าแมต ๖. เทศบาลตำบลสวนเขื่อน ๗. เทศบาลตำบลวังหงส์ ๘. เทศบาลตำบลบ้านถิ่น

องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๑๐ แห่ง คือ ๑. องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม้า ๒. องค์การบริหารส่วนตำบลเหมืองหม้อ ๓. องค์การบริหารส่วนตำบลกาญจนา ๔. องค์การบริหารส่วนตำบลนาจักร ๕. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งกวาว ๖. องค์การบริหารส่วนตำบลร่องฟอง ๗. องค์การบริหารส่วนตำบลวังธง ๘. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยม ๙. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ๑๐. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าแดง

ข้อมูลทางการเกษตร อำเภอเมืองแพร่มีพื้นที่ถือครองการเกษตร จำนวน ๑๒๒,๘๗๕ ไร่ เป็นพื้นที่การเกษตร ๑๑๙,๕๑๖ ไร่  - พื้นที่นา ๗๕,๙๘๓ ไร่ - พื้นที่ไร่ ๑๖,๙๐๓ ไร่  - ไม้ผลยืนต้น ๑๓,๙๖๗ ไร่  - พื้นที่ปลูกพืชผัก ๓,๐๑๔ ไร่ - พื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๙,๖๔๙ ไร่ ขนาดพื้นที่ถือครองการเกษตรโดยเฉลี่ย ๗.๑๑ ไร่ / ครัวเรือน จำนวนครัวเรือนเกษตรกร ๑๖,๘๑๙ ครัวเรือน เกษตรหมู่บ้าน ๑๖๖ หมู่บ้าน

ข้อมูลแหล่งน้ำในการเกษตร มีแม่น้ำยมไหลผ่านและมีคลองชลประทานฝั่งซ้ายและฝั่งขวาส่งน้ำทำการเกษตร มีอ่างเก็บน้ำส่งน้ำเพื่อการเกษตร ดังนี้ - อ่างเก็บน้ำห้วยผักหละ บ้านถิ่นนอก ม.๓ ต.บ้านถิ่น พื้นที่รับประโยชน์ ๔,๐๐๐ ไร่ ความจุ ๐.๑๖๐๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำห้วยผาคำ บ้านมณีวรรณ ม.๔ ต.ป่าแมต พื้นที่รับประโยชน์ ๑,๔๐๐ ไร่ ความจุ ๑.๐๗๔๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำน้ำปึง บ้านน้ำชำ ม.๑ ต.น้ำชำ พื้นที่รับประโยชน์ ๒,๐๐๐ ไร่ ความจุ ๐.๖๓๓๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำร่องฮ่าง บ้านถิ่นใน ม.๑ ต.บ้านถิ่น พื้นที่รับประโยชน์ ๑,๐๐๐ ไร่ ความจุ ๐.๓๐๐๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำห้วยยางงา บ้านถิ่นนอก ม.๒ ต.บ้านถิ่น พื้นที่รับประโยชน์ ๑,๐๐๐ ไร่ ความจุ ๐.๐๗๗๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำห้วยขมิ้น บ้านมณีวรรณ ม.๔ ต.ป่าแมต พื้นที่รับประโยชน์ ๖๖๐ ไร่ ความจุ ๑.๐๕๐๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำห้วยเบี้ย บ้านปากห้วย ม.๕ ต.วังธง พื้นที่รับประโยชน์ ๕๒๐ ไร่ ความจุ ๐.๓๙๐๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำห้วยมิ่ง บ้านถิ่นนอก ม.๓ ต.บ้านถิ่น พื้นที่รับประโยชน์ ๕๐๐ ไร่ ความจุ ๐.๔๙๘๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำห้วยหิน บ้านทุ่งล้อม ม.๙ ต.ห้วยม้า พื้นที่รับประโยชน์ - ไร่ ความจุ ๐.๐๓๔๐๐ ล้าน ลบ.ม. - อ่างเก็บน้ำห้วยรากไม้ บ้านท่าขวัญ ม.๕ ต.ท่าข้าม พื้นที่รับประโยชน์ - ไร่ ความจุ - ล้าน ลบ.ม.

ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้และหน่วยงานที่รับผิดชอบ พื้นที่ป่าของอำเภอเมืองแพร่ พื้นที่จำนวน ๔๙๖,๗๓๒ ไร่ แยกเป็น พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ๑. ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ก๋อน-แม่สาย อยู่ในพื้นที่ ตำบลป่าแดง ตำบลช่อแฮ เนื้อที่ ๑๖๒,๘๕๐ ไร่ ๒. ป่าแม่แคม อยู่ในพื้นที่ ตำบลบ้านถิ่น ตำบลสวนเขื่อน เนื้อที่ ๖๒,๗๑๔ ไร่ ๓. ป่าแม่เติ๊ก-แม่ถาง และป่าแม่คำปอง อยู่ในพื้นที่ ตำบลห้วยม้า ตำบลน้ำชำ ตำบลบ้านถิ่น เนื้อที่ ๑๖,๙๒๔ ไร่ ๔. ป่าห้วยเบี้ย ห้วยบ่อทอง อยู่ในพื้นที่ ตำบลวังหงส์ ตำบลท่าข้าม ตำบลวังธง ตำบลป่าแมต เนื้อที่ ๔๖,๖๕๘ ไร่ ๕. ป่าแม่แฮด อยู่ในพื้นที่ ตำบลวังหงส์ เนื้อที่ ๒,๖๓๐ ไร่ ๖. พื้นที่กันออก เนื้อที่ ๖,๑๓๙,๒๒๙ ไร่

หน่วยงานที่รับผิดชอบ (กรมป่าไม้) ๑. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ พร.๘ (ห้วยขมิ้น) รับผิดชอบป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ก๋อน-แม่สาย ในพื้นที่ตำบล ป่าแดง ตำบลช่อแฮ ป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเบี้ยห้วยบ่อทอง ตำบลวังหงส์ ตำบลทาข้าม ตำบลวังธง ตำบลป่าแมต ป่าแม่แฮด ตำบลวังหงส์ ๒. หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ๑๘ (น้ำเลา) รับผิดชอบป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่เติ๊ก-แม่ถาง แม่คำปอง ตำบล ห้วยม้า ตำบลน้ำชำ ตำบลบ้านถิ่น ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แคม ตำบลสวนเขื่อน ตำบลบ้านถิ่น

พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ๑. อุทยานแห่งชาติดอยผากลอง พื้นที่ทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยเบี้ย ห้วยบ่อทอง ตำบลวังหงส์ ตำบล ท่าข้าม ตำบลวังธง ตำบลป่าแมต เนื้อที่ ๓๒,๒๙๕ ไร่ ๒. อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน พื้นที่ทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ก๋อน-แม่สาย ตำบลป่าแดง เนื้อที่ ๑๖๓,๖๑๐ ไร่ ๓. วนอุทยานแพะเมืองผี ตำบลน้ำชำ เนื้อที่ ๒๑๗ ไร่ ๔. วนอุทยานม่อนแก้ว-ม่อนเด็ง ตำบลห้วยม้า เนื้อที่ ๕๖๓ ไร่ ๕. สวนรุกขชาติช่อแฮ ตำบลช่อแฮ เนื้อที่ ๕๒ ไร่ ๖. เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา พื้นที่ทับซ้อนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ก๋อน-แม่สาย ตำบลช่อแฮ เนื้อที่ ๓,๕๐๖ ไร่

หน่วยงานรับผิดชอบ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช) พื้นที่ Zone A ป่าแม่ก๋อน,ป่าแม่สาย เนื้อที่ ๙๘๔ ไร่ พื้นที่ Zone C เนื้อที่ ๒๔๙,๑๒๑ ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ Zone C ป่าแม่แฮด เนื้อที่ ๒,๖๓๐ ไร่  พื้นที่ Zone C ป่าห้วยเบี้ย-ห้วยบ่อทอง เนื้อที่ ๓๖,๙๓๙ ไร่  พื้นที่ Zone C ป่าแม่เติ๊ก-แม่ถาง เนื้อที่ ๑๐,๙๙๘ ไร่  พื้นที่ Zone C ป่าแม่แคม เนื้อที่ ๕๐,๔๔๑ ไร่  พื้นที่ Zone C ป่าแม่ก๋อน-แม่สาย เนื้อที่ ๑๔๗,๗๓๓ ไร่  พื้นที่ Zone E เนื้อที่ ๔๕,๑๙๔ ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ Zone E ป่าห้วยเบี้ย-ห้วยบ่อทอง เนื้อที่ ๙,๗๑๙ ไร่  พื้นที่ Zone E ป่าแม่เติ๊ก-แม่ถาง เนื้อที่ ๑๑,๔๖๓ ไร่  พื้นที่ Zone E ป่าแม่แคม เนื้อที่ ๑๑,๘๕๕ ไร่  พื้นที่ Zone E ป่าแม่ก๋อน-แม่สาย เนื้อที่ ๑๒,๑๕๖ ไร่  พื้นที่กันออก เนื้อที่ ๑๒,๓๙๖ ไร่

ข้อมูลสถานบริการสาธารณสุข- โรงพยาบาลของรัฐ ๑ แห่ง (โรงพยาบาลแพร่) - โรงพยาบาลเอกชน ๒ แห่ง (โรงพยาบาลแพร่-ราม , โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน) - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๒๗ แห่ง - กองสาธารณสุขเทศบาล ๑ แห่ง

ข้อมูลด้านสังคม สถานศึกษา ๑) ระดับประถมศึกษา ๕๑ แห่ง (ขยายโอกาส ๔ แห่ง) ๒) ระดับมัธยมศึกษา ๖ แห่ง ๓) สถาบันการศึกษาสายอาชีพ ๔ แห่ง ๔) ระดับมหาวิทยาลัย ๑ แห่ง (ม.รามคำแหงฯ)

สถานที่ทางศาสนา ๑) วัด (วิสุงคามสีมา) ๘๒ แห่ง ๒) สำนักสงฆ์ ๖ แห่ง ๓) ที่พักสงฆ์ ๘ แห่ง ๔) โบสถ์คริสต์ ๗ แห่ง ๕) มัสยิด - แห่ง

การคมนาคม เดินทางโดยรถยนต์ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๑ แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๑ ที่อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ผ่านจังหวัดพิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเข้าสู่จังหวัดแพร่ มีรถโดยสารประจำทางธรรมดาและปรับอากาศออกจากกรุงเทพฯ ที่สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต) บริการทุกวัน

งานประเพณี/งานประจำปี

๑. งานนมัสการพระธาตุช่อแฮ พระธาตุช่อแฮเป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญยิ่งของจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่บนเนินเขา โกสิยธชัค ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำนาน มีงานนมัสการเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่โบราณมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ระหว่างวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ (เดือน ๔ ใต้) ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ รวม ๕ วัน ๕ คืน

๒. งานกำฟ้าไทยพวน ประเพณีกำฟ้า นับว่ามีความสำคัญต่อชาวไทยพวน ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้ยึดถือมาตลอดและได้จัดประจำทุกปีด้วยความเชื่อถือว่าผู้เข้าร่วมพิธีจะไม่ถูกฟ้าผ่าตายได้ ชาวหมู่บ้านใกล้เคียงที่ยอมรับเชื่อถือเขาก็จะเข้าร่วมพิธีนี้ด้วยเหมือนกัน จัดในห้วงเดือนมกราคมของทุกปี

๓. งานไทลื้อ นับว่ามีความสำคัญต่อชาวไทลื้อ ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ งานไทลื้อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของชนเผ่าไทลื้อ จัดในวันที่ ๑๒ เมษายนของทุกปี

สถานที่ท่องเที่ยว ๑. วัดพระธาตุช่อแฮ ๒. วัดพระธาตุจอมแจ้ง ๓. วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ๔. อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ ๕. อนุสาวรีย์สถานมหาวีรบุรุษเมืองแพร่ ๖. วัดพระนอน ๗. คุ้มเจ้าหลวง ๘. บ้านวงศ์บุรี ๙. วัดจอมสวรรค์ ๑๐. หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง (ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อฮ้อม) ๑๑. บ้านประทับใจ (บ้านเสาร้อยต้น) ๑๒. วนอุทยานแพะเมืองผี ๑๓. น้ำตกแม่แคม หรือน้ำตกสวนเขื่อน ๑๔. น้ำตกตาดหมอก หรือน้ำตกแม่คอย

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP) ระดับ ๒ ดาว จำนวน ๑๑ กลุ่มผลิตภัณฑ์ ระดับ ๓ ดาว จำนวน ๑๐ กลุ่มผลิตภัณฑ์ ระดับ ๔ ดาว จำนวน ๓๐ กลุ่มผลิตภัณฑ์

ระดับ ๕ ดาว จำนวน ๑๑ กลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้ - ผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมเตียง บ้านเลขที่ ๒/๒ ม.๕ ต.ช่อแฮ - ผลิตภัณฑ์เสื้อหม้อห้อมบาติก บ้านเลขที่ ๒๒๗ ม.๖ ต.ทุ่งโฮ้ง - ผลิตภัณฑ์เสื้อหม้อห้องสำเร็จรูปคอเชิ้ตแขน ๓ ส่วน บ้านเลขที่ ๒๘/๑ ม.๕ ต.ทุ่งโฮ้ง - ผลิตภัณฑ์เสื้อหม้อห้อมบาติก บ้านเลขที่ ๒๗๔ ม.๖ ต.ทุ่งโฮ้ง - ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกเป็นชิ้น บ้านเลขที่ ๕๔/๔ ม.๕ ต.ป่าแมต - ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าหม้อห้อม บ้านเลขที่ ๒๒๑/๒ ม.๑ ต.ทุ่งโฮ้ง - ผลิตภัณฑ์เสื้อหม้อห้อม บ้านเลขที่ ๙๖ ม.๒ ต.ทุ่งโฮ้ง - ผลิตภัณฑ์เสื้อสูทหม้อห้อม บ้านเลขที่ ๘๘ ม.๒ ต.ทุ่งโฮ้ง - ผลิตภัณฑ์ผ้ายกดอก บ้านเลขที่ ๑๐๓ ม.๕ ต.ป่าแมต - ผลิตภัณฑ์เสื้อหม้อห้อมบุรุษ บ้านเลขที่ ๒๓๙ ม.๖ ต.ทุ่งโฮ้ง - ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง บ้านเลขที่ ๑๒๗ ม.๕ ต.วังธง ¬นโยบายสำคัญ

ทำเนียบนายอำเภอเมืองแพร่

๑. พระคัณทคีรี พัฒนเสนา

๒. หลวงสุสถาน

๓. พระภูธร ธนารักษ์

๔. พระประธาน ธนารักษ์

๕. หลวงบันเทิง ทักษิณเขต

๖. พระไพบูลย์ คณารักษ์

๗. ขุนคุปตพงษ์ ประพัฒน์

๘. ขุนสังข์ ศิริพงษ์

๙. นายวิชาญ ปรัมราช

๑๐. นายชนะ เกตทัต

๑๑. ร.ต.ท. ชาญ เวชัชเจริญ

๑๒. นายสงวน จรณทต

๑๓. นายพิมพ์ โสมนัส

๑๔. นายอเนก ปริยานนท์

๑๕. นายสวัสดิ์ เฉลิมพงษ์ พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๕

๑๖. นายสุนทร สังขนนท์ พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๘

๑๗. นายสำราญ เครือนิล พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๔๙๙

๑๘. นายสินธุ์ ศรศรีวิชัย พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๒

๑๙. นายอนันต์ หิรัญชาติธาดา พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๓

๒๐. นายชื่น บุญยจันทรานนท์ พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๙

๒๑. นายวิบูล อินทรา พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๕

๒๒. นายประมณฑ์ วสุวัต พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๗

๒๓. ร.ต. ชาญชัย ใจใส พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๑

๒๔. นายทองใบ วงษ์เชษฐา พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๓

๒๕. ร.ต. บุญนพ ถปะติวงศ์ พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๖

๒๖. นายเทียม ธิตะจารี พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๒๗

๒๗. นายชวพงษ์ วัฒนสินธุ์ พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๓๐

๒๘. เรือตรี ชัชวาล อุตะเดช พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๐

๒๙. นายยุทธนินทร์ วีระบุตร พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๑

๓๐. นายนรินทร์ พาณิชกิจ พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๒

๓๑. นายบุญยืน ศุภสารสาทร พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๔

๓๒. นายทวีวัฒน์ โกไสยกานนท์ พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๓๘

๓๓. นายประดิษฐ์ แป้นแก้ว พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๓๙

๓๔. นายเจริญสุข ชุมศรี พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๒

๓๕. นายอเนก คุ้มพงษ์ พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๓

๓๖. นายประวิตร อังศุนาค พ.ศ. ๒๕๔๓-๒๕๔๕

๓๗. นายชวลิต เมฆจำเริญ พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๕๐

๓๘. นายมนัททวี วจนะเสถียร พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๑

๓๙. นายอาณัติ วิทยานุกูล พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๓

๔๐. นายชวลิต เมฆจำเริญ พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๔

๔๑. นายวิชิต บุญกังวาน พ.ศ. ๒๕๕๔-ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 24 •มกราคม• 2013 เวลา 11:58 น.• )