วัดสำเภา ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นวัดร้าง เพราะมีเจดีย์ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นฐานเจดีย์ของวัด อยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ พระครูมหาญาณสิทธิ์ (ครูบาคันธา) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลเหมืองหม้อ ได้นำพระภิกษุ สามเณร พร้อมทั้งศรัทธาชาวบ้านมาพัฒนาแผ้วถางบริเวณวัดแห่งนี้ ซึ่งเป็นป่าทึบรกร้างมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นทั่วบริเวณให้เป็นที่โปร่งโล่งเตียนราบพอถึงวันเทศกาลวันตรุษสงกรานต์ ชาวบ้านก็ให้เป็นที่ฝึกวิทยายุทธการต่อสู้ มีการฝึกดาบ ตีมะผาบ โดยใช้สติปัญญาไหวพริบที่รวดเร็วต่อสู้กัน ชาวบ้านเรียกสถานที่นี้ว่า “ข่วงเจิง”  กาลต่อมามีหลวงพ่อมังกาละ พระธุดงค์จากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ขอพักวัดแห่งนี้ทางคณะศรัทธาชาวบ้าน โดยการนำของนายยศ บ่อคำ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านสำเภาได้นิมนต์ท่านจำพรรษา และได้ช่วยสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ต่อมาก้ได้ช่วยกันปั้นอิฐ เพื่อที่จพสร้างวิหารโดยใช้น้ำเมือกจากต้นเมือกมาตำและแช่ดองผสมกับทรายใช้ในการก่อสร้าง ต่อมาพ่อมหาวัน เหมือหม้อ พ่อวัง เหมืองหม้อ พ่อวงจักร เหมืองหม้อ สามพี่น้องได้ช่วยกันสร้างพระพุทธรูป ๓ องค์ ขึ้นในวิหารสำเภา เพื่อเป็นการที่กราบไหว้บูชาของพุทธศาสนิกชน และเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ครูบารส ดวงแก้ว เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฉลองสมโภช พอมาถึงสมัยครูบาทอง ชุ่มเย็น ได้สร้างกุฏิ ๑ หลัง เสาก่ออิฐเป็นปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ๕ ห้อง ต่อมาหลังคารั่วและเริ่มชำรุดทรุดโทรมลงและได้รื้อสร้างกุฏิใหม่ ๒ ชั้น ๑๑ ห้อง

ลำดับเจ้าอาวาส

๑ หลวงพ่อมังกาละ (บ่อคำ) พ.ศ. ๒๔๕๗

๒ ครูบารส (ดวงแก้ว) พ.ศ. ๒๔๗๖

๓ ครูบาทอง (ชุ่มเย็น) พ.ศ. ๒๔๗๖

๔ พระครูสันติธรรมานุยุต พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๓๘

๕ พระครูใบฎีกาเสรี กตปุญฺโญ พ.ศ. ๒๕๓๘ – ปัจจุบัน

วัดสำเภา ตั้งอยู่เลขที่ ๑ ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ริมฝั่งแม่น้ำแคมทิศใต้ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิงสูงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ เขตวิสูงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗ ไร่ ๖๑.๐๔ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๑.๐๑

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 03 •มิถุนายน• 2013 เวลา 10:36 น.• )