ข้อปฏิบัติก่อนอาบน้ำศพ การระลึกถึงความตาย ศาสนาส่งเสริม (สุนัต) ให้มนุษย์ทุกคนรำลึกถึงความตายมาก ๆ เพราะหะดีษที่ว่า

((أَكْثِرُوا مِنْ ذِكْرِ هَاذِمِ اللَّذَّاتِ ))

رواه ابن حبان وغيره

“ท่านทั้งหลายจงระลึกถึงสิ่งที่จะมาตัดความสุขต่าง ๆ ให้มากเถิด” กล่าวคือ สิ่งที่จะมาตัดความสุขนั้นหมายถึงความตายนั่นเอง บันทึกโดย อิบนุฮิบบานและท่านอื่น ๆ

สิ่งที่มุสลิมควรปฏิบัติขณะใกล้ตาย

อาการใกล้ตายก็คือ ปรากฏเครื่องหมายความตายที่ตัวผู้ป่วยเริ่มมีอาการทุรนทุกราย

1. เมื่อผู้ป่วยตกอยู่ในอาการใกล้ตาย สุนัตแก่ญาติสนิทของผู้ป่วยจับเขานอนตะแคงทับสีข้างขวาและหันหน้าไปทางกิบละฮฺ  ถ้าหากลำบากก็ให้นอนหงายและยกศรีษะสูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้ใบหน้าหันไปสู่กิบละฮฺ และฝ่าเท้าทั้งสองข้างก็สุนัตให้หันไปทางกิบละฮฺเช่นเดียวกัน

2. สุนัตให้สอนกะลิมะฮฺ ชะฮาดะฮฺ คือประโยคที่ว่า “ลาอิลาฮะอิ้ลลั่ลลอฮฺ” เบา ๆ โดยไม่เร่งเร้า และสุนัตให้กล่าวซ้ำหลาย ๆ ครั้งที่หูผู้ป่วย เพราะมีหะดีษมุสลิม (916, 917) ระบุไว้ว่า

((لَقِّنُوا مَوْتَاكُمْ : لاَ إِلهَ إِلاَّ اللهُ))

“ท่านทั้งหลายจงสอนคนใกล้ตายของพวกท่านด้วยคำว่า ลาอิลาฮ่า อิ้ลลั่ลลอฮฺ”

3. สุนัตให้อ่านซูเราะฮฺยาซีนที่คนใกล้ตาย เพราะมีหะดีษระบุว่า

((اِقْرَأُوا عَلىَ مَوْتَاكُمْ  يس))

رواه أبو داود : 3121 ، وابن حبان : 720 ، وصححه

“ท่านทั้งหลายจงอ่านซูเราะฮฺยาซีนที่คนใกล้ตายของพวกท่าน”

รายงานโดย อบู ดาวุด (3121) และอิบนุฮิบบาน (720) ว่าเป็นหะดีษเศาะเฮี๊ยะห์

4. สุนัตให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าความตายและอาการทุรนทุรายได้เกิดกับเขาแล้ว และตั้งเจตนาที่ดีต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา ให้เขาทิ้งภาพบาปและความชั่วต่าง ๆ ของเขาไว้ข้างหลัง ให้วาดภาพว่าเขากำลังมุ่งสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา ผู้ทรงกรุณาและพระองค์ได้อภัยบาปต่าง ๆ ให้แก่เขาหมดสิ้นแล้วตราบที่เขายังคงอยู่ในสภาพผู้มีศรัทธาต่อพระองค์ เพราะมีหะดีษเศาะเฮี๊ยะห์ระบุว่า

((أَنَا عِنْدَ ظَنِّ عَبْدِي بِي))

رواه البخاري 6970، ومسلم : 2675

“เรา (หมายถึงอัลลอฮฺ) จะเป็นไปตามที่บ่าวของเราคาดหมายต่อเรา”

บันทึกโดยบุคอรี (6970) และมุสลิม (2675)

 

สิ่งที่ควรปฏิบัติแก่มุสลิมภายหลังเสียชีวิต

1. ทำให้ตาทั้งสองข้างของผู้ตายปิดสนิทและผูกขากรรไกรทั้งสองด้วยผ้า

2. ทำให้ข้อต่อต่าง ๆ อ่อนตัวลง และทำให้มันกลับเข้าสู่สภาพเดิม

3. วางสิ่งที่มีน้ำหนักลงบนท้องศพ เพื่อมิให้ขึ้นอืด  และสุนัตให้นำผ้าเบา ๆ ทั่วร่างของศพ

4. สุนัตให้ถอดเสื้อผ้าศพออกทั้งหมด และวางศพลงบนเตียงหรือสิ่งที่สูงกว่าพื้น หันหน้าศพไปทางกิบละฮฺเหมือนตอนใกล้ตาย และให้ญาติสนิทที่สุดทำสิ่งดังกล่าว

 

การจัดการศพ สุนัตให้รีบจัดการศพ การจัดการศพหมายถึง

1. การอาบน้ำศพ

2. ห่อศพ

3. ละหมาดญะนาซะฮฺ

4. ฝังศพ

นักวิชาการอิสลามมีมติ (อิจญมาอฺ) ว่า ทั้งสี่ประการดังกล่าวนี้เป็นฟัรฺดูกิฟายะฮฺ  ซึ่งถ้าหากไม่มีผู้ใดกระทำสิ่งเหล่าให้แก่ศพเลย คนในชุมชนนั้นทั้งหมดก็มีบาป

ขั้นตอนและกฎเกณฑ์การจัดการศพ

การจัดการศพประการแรกคือ การอาบน้ำศพ ซึ่งมีสองวิธี

วิธีที่หนึ่ง เป็นวิธีที่พอใช้ได้และพ้นบาป กล่าวคือ ขจัดสิ่งสกปรก (นะยิส) ออกไปจากร่างศพให้หมด และรดน้ำให้ทั่วร่าง

วิธีที่สอง เป็นวิธีที่ได้สุนัตอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ให้ผู้ที่ทำการอาบน้ำแก่ศพปฏิบัติดังต่อไปนี้

หนึ่ง

• วางศพลงบนที่ว่าง สูงกว่าพื้น

• และปกปิดอวัยวะพึงสงวน (เอาเราะฮฺ) ของศพ

สอง

• ผู้ทำหน้าที่อาบน้ำศพจับศพนั่งเอนหลัง โดยใช้มือขวาจับศีรษะของศพไว้

• ใช้มือซ้ายลูบไปบนท้องของศพพร้อมกับกด เพื่อให้สิ่งที่อาจค้างอยู่ในท้องนั้นได้ออกมา

• ให้พันมือด้วยผ้าหรือสวมถุงมือ หลังจากนั้นให้ล้างทวารหนักและทวารเบา

• เอาใจใส่ปากและรูจมูกของศพและทำความสะอาดมัน

• หลังจากนั้นจึงอาบน้ำละหมาดให้แก่ศพเหมือนกับที่คนเป็นอาบน้ำละหมาด

สาม

• ล้างศีรษะและใบหน้าของศพด้วยสบู่หรือสิ่งที่ใช้ทำความสะอาดชนิดอื่น

• หวีผมถ้าหากมีผม และถ้ามีผมหลุดออกมาก็ให้ใส่คืนไป เพื่อมันจะได้ถูกฝังไปพร้อมกับศพ

สี่

• อาบน้ำซีกด้านขวาของศพจากส่วนที่ถัดจากใบหน้า (คือด้านหน้า) ให้สมบูรณ์

• จากนั้นจึงอาบน้ำซีกด้านซ้ายที่ถัดจากใบหน้าเช่นเดียวกัน

• อาบน้ำซีกด้านขวาถัดจากต้นคอ (คือด้านหลัง)

• จากนั้นจึงอาบซีกด้านซ้ายที่ถัดจากต้นคออีกเช่นกัน และด้วยการกระทำเช่นที่กล่าวมานี้น้ำก็จะทั่วร่างศพ นี่เป็นการอาบน้ำครั้งที่หนึ่ง

• และสุนัตให้กระทำซ้ำเช่นเดียวกันอีกสองครั้ง และเมื่อได้กระทำแล้วก็จะเป็นอาบน้ำศพสามครั้ง

• ส่วนในครั้งสุดท้ายให้ปนพิมเสนลงไปในน้ำที่ใช้อาบ ถ้าหากศพนั้นไม่ใช่ผู้ครองเอี๊ยะห์รอมในพิธีฮัจญ์

 

ข้อควรจำ

• ถือเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) ที่ผู้ชายจะต้องอาบน้ำให้แก่ศพผู้ชายด้วยกันและผู้หญิงจะต้องอาบน้ำให้แก่ศพผู้หญิงด้วยกัน ยกเว้นกรณีที่สามีอาบน้ำให้ภรรยา หรือภรรยาอาบน้ำให้สามี

• ในกรณีที่ไม่มีผู้ที่จะอาบน้ำให้แก่ศพหญิง นอกจากผู้ชายที่ศาสนายินยอมให้นิกาฮฺกับหญิงนั้นได้ (ขณะมีชีวิต) หรือไม่มีผู้ที่อาบน้ำให้แก่ศพชาย นอกจากผู้หญิงที่สาสนายินยอมให้แต่งงานกับชายคนนั้นได้ (ในขณะที่มีชีวิต) ในกรณีดังกล่าวนี้ ถือว่าไม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้ศพ แต่ให้ทำการตะยัมมุมแทนการอาบน้ำ

การจัดการศพประการที่สองคือ การห่อศพ ซึ่งมีสองวิธี

วิธีที่หนึ่ง เป็นวิธีที่พอใช้ได้ กล่าวคือ การห่อศพอย่างน้อยที่สุด ต้องใช้ผ้าที่สามารถปิดศพได้หมดทั้งร่าง พันให้รอบศพตลอดทั้งศีรษะ (ในกรณีที่ไม่ได้อยู่ในสภาพของผู้ที่ครองเอี๊ยะห์รอม)

วิธีที่สอง เป็นวิธีที่สมบูรณ์ที่สุด ให้พิจารณาดังต่อไปนี้

หากศพเป็นชาย

- ให้ห่อด้วยผ้าขาวสามชิ้น โดยแต่ละชั้นยาวเท่าตัวศพและมีความกว้างพอที่จะคลุมศพได้ทั้งร่าง

- ถือว่าน่ารังเกียจ (มักโร๊ะฮฺ) ที่จะห่อศพโดยไม่ใช้ผ้าขาว

- เช่นเดียวกันถือว่าน่ารังเกียจ (มักโร๊ะฮฺ) ที่จะห่อศพด้วยสิ่งที่คล้ายเสื้อ หรือปกปิดศีรษะด้วยสิ่งคล้ายผ้าโพกศีรษะ (อิมามาะฮฺ/สะระบั่น)

หากศพเป็นหญิง

- สุนัตให้ห่อด้วยผ้าขาวห้าชั้น กล่าวคือ

• ผ้านุ่งที่ปิดตั้งแต่สะดือของนางจนถึงส่วนล่างสุดของร่างกาย

• ผ้าคลุมศีรษะ

• เสื้อที่ปกปิดส่วนบนของร่างกายจนกระทั่งทับผ้านุ่ง

• และอีกสองชิ้นที่สามารถปกปิดได้ทั่วร่างของนาง

ข้อควรจำ

• ที่กล่าวมานี้สำหรับผู้ที่ไม่ได้เสียชีวิตในสภาพที่ครองเอี๊ยะห์รอม

• ถ้าหากเป็นศพชายซึ่งเสียชีวิตในสภาพที่ครองเอี๊ยะห์รอม ก็จำเป็นต้องเปิดศีรษะของศพชายนั้น

• และถ้าศพนั้นเป็นหญิงซึ่งเสียชีวิตในสภาพที่ครองเอี๊ยะห์รอม ก็จำเป็นต้องเปิดใบหน้าของศพหญิงนั้น

• ผ้าที่ใช้ห่อศพนั้นจำเป็น (วาญิบ) ต้องเป็นผ้าชนิดที่ศาสนายินยอมให้ใช้ได้ในขณะที่เขามีชีวิตอยู่ ดังนั้นไม่ยินยอมให้ห่อศพชายด้วยผ้าไหม

• สมควรเอาสำลีพร้อมด้วยเครื่องหอมอุดรูทวารต่าง ๆ ในร่างของศพและอวัยวะที่สุญูด

• ให้ใช้เศษผ้ามัดผ้าห่อศพและให้แก้ออกเมื่อถึงหลุมฝังศพ

 

การจัดการศพประการที่สามคือ การละหมาดแก่ศพ

การละหมาดแก่ศพจะใช้ไม่ได้ ยกเว้นภายหลังจากได้อาบน้ำศพแล้ว และวิธีละหมาดมีดังนี้

1. ยืนตรง หันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ

2. ตั้งเจตนา (เหนียต) พร้อมด้วยตักบีร่อตุ้ลเอี๊ยะห์รอม โดยตั้งเจตนาในใจว่า “ข้าพเจ้าละหมาดศพนี้สี่ตักบีรฺ ฟัรฺดูกิฟายะฮ์ เพื่ออัลลอฮฺ ตะอาลา”

3. อ่านซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺ (และบิสมิ่ลลาฮฺถือเป็นส่วนหนึ่งของซูเราะฮฺอัลฟาติฮะฮฺ)

4. ตักบีรฺครั้งที่สอง และอ่านศ้อละวาตนบี ดังนี้

اَللَّهُمَّ صَلِّ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، وَبَارِكْ عَلَى مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إِبْرَاهِيْمَ وَعَلَى آلِ إِبْرَاهِيْمَ ، فِي الْعَالَمِيْنَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ.

5. ตักบีรฺครั้งที่สาม อ่านดุอาอฺให้แก่ศพชายดังนี้

اَللّهُمَّ اْغفِرْ لَهُ وَارْحَمْهُ وَعاَفِهِ وَاعْفُ عَنْهُ وَأَكْرِمْ نُزُلَهُ وَوَسِّعْ مَدْخَلَهُ وَاغْسِلْهُ بِالْماَءِ وَالثَّلْجِ وَاْلبَرَدِ وَنَقِّهِ مِنَ الْخَطَايَا كَماَ يُنَقَّى الثَّوْبُ اْلأَبْيَضُ مِنَ الدَّنَسِ وَأَبْدِلْهُ دَارًا خَيْرًا مِنْ دَارِهِ وَأَهْلاً خَيْرًا مِنْ أَهْلِهِ وَزَوْجًا خَيْرًا مِنْ زَوْجِهِ وَأَدْخِلْهُ الْجَنَّةَ وَأَعِذْهُ مِنْ عَذاَبِ الْقَبْرِ وَفِتْنَتِهِ وَمِنْ عَذَابِ النَّارِ.

ถ้าเป็นศพหญิงให้อ่านดังนี้

اَللّهُمَّ اْغفِرْ لَهاَ وَارْحَمْهاَ وَعاَفِِهاَ وَاعْفُ عَنْهاَ وَأَكْرِمْ نُزُلَهاَ وَوَسِّعْ مَدْخَلَهاَ وَاغْسِلْهاَ بِالْماَءِ وَالثَّلْجِ وَاْلبَرَدِ وَنَقِّهاَ مِنَ الْخَطَايَا كَماَ يُنَقَّى الثَّوْبُ اْلأَبْيَضُ مِنَ الدَّنَسِ وَأَبْدِلْهاَ دَارًا خَيْرًا مِنْ دَارِهاَ وَأَهْلاً خَيْرًا مِنْ أَهْلِهاَِ وَزَوْجًا خَيْرًا مِنْ زَوْجِهاَ وَأَدْخِلْهاَ الْجَنَّةَ وَأَعِذْهاَ مِنْ عَذاَبِ الْقَبْرِ وَفِتْنَتِهِ وَمِنْ عَذَابِ النَّارِ

6. ตักบีรฺครั้งที่สี่ อ่านดุอาอฺให้แก่ศพชายดังนี้

اَللّهُمَّ لاَ تَحْرِمْناَ أَجْرَهُ وَلاَ تَفْتِنَّا بَعْدَهُ وَاغْفِرْ لَنَا وَلَهُ وَلِإِخْوَانِناَ الَّذِيْنَ سَبَقُوْناَ بِاْلإِيْماَنِ وَلاَ تَجْعَلْ فِي قُلُوْبِناَ غِلاًّ لِلَّذِيْنَ آمَنُوا رَبَّناَ إِنَّكَ رَؤُوْفٌ رَّحِيْمٌ.

หากเป็นศพหญิงให้อ่าน

اَللّهُمَّ لاَ تَحْرِمْناَ أَجْرَهاَ وَلاَ تَفْتِنَّا بَعْدَهاَ وَاغْفِرْ لَنَا وَلَهاَ وَلِإِخْوَانِناَ الَّذِيْنَ سَبَقُوْناَ بِاْلإِيْماَنِ وَلاَ تَجْعَلْ فِي قُلُوْبِناَ غِلاًّ لِلَّذِيْنَ آمَنُوا رَبَّناَ إِنَّكَ رَؤُوْفٌ رَّحِيْمٌ

7. ให้กล่าวสลามสองครั้ง ครั้งที่หนึ่งหันไปทางขวา และครั้งที่สองหันไปทางซ้าย ในแต่ละครั้งให้กล่าวว่า

اَلسَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ

การจัดการศพประการที่สี่คือ การฝังศพ

หลุมศพและการฝังศพ (الدفنُ)

อย่างน้อยที่สุดของการฝังศพคือ ฝังในหลุมที่สามารถป้องกันกลิ่นศพและป้องกันการขุดคุ้ยของสัตว์ร้าย โดยให้ศพหันหน้าไปสู่ทิศกิบละฮฺ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 30 •กันยายน• 2013 เวลา 21:00 น.• )