ความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเสี้ยว   ตำบลหัวเมือง   อำเภอสอง   จังหวัดแพร่   แต่เดิมที่ตั้งของหมุ่บ้านอยุ่ติดกับฝั่งแม่น้ำยม  ในปัจจุบัน  ต่อมาได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยุ่รวมกันในหมุ่บ้านปัจจุบันสาเหตุเพื่ออพยพเพราะเห็นว่าเป็นเนื้อที่สำหรับ ทำนา ทำสวน ทำไร่ อาศัยว่าพื้นที่นี้อุดมสมบุญทั้งอาหารและที่ทำกินจึงได้พากันอยพพาข้ามมาจากบ้านต้นหนุนคนแรกได้แก่พ่อเฒ่าหน้อยยวนค์ แพทย์สมาน

เป็นกำนันบ้านต้นหนุนในสมัยนั้นพ่อเฒ่าหมื่น  ใจตุรงค์ และพ่อเฒ่าหน้อยวงค์  อินทะวิชัย พ่อเฒ่ายอด ปัญจะรา พ่อเฒ่าสุก ศรีนวล พ่อเฒ่ายอด หนองสิงห์ พ่อเฒ่าลือ   หนองสิงห์ ทั้งเจ็ดครัวเรือนได้จับจองที่ทำมาหากิน ร่วมกับหมู่บ้าน เพราะพื้นที่บริเวณโดยรอบของที่ตั้งหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นที่ราบมีพื้นที่ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมมากจึงพากันอพยพข้ามแม่น้ำยมมาอยู่รวมกับประชากรที่อยุ่แต่ดัง่เดิม ซึ้งการรวมตัวกันตั้งหมู่บ้านขึ้นสันนิษฐานว่าจะตั้งขึ้นก่อนปี พ.ศ.2470บ้านหนองเสี้ยวได้ชื่อว่าบ้านหนองเสี้ยวนั้นเนื่องจากเดิมบริเวณใกล้กับที่ตั้งหมู่บ้านมีลักษณะคล้ายกับเดือนเสี้ยว  มีบัวชนิดต่างๆขึ้นอยู่จำนวนมากจึงได้ชื่อว่าบ้านหนองเสี้ยวและตั้งชื่อวัดว่า วัดหนองบัวปัจจุบันยังคงมีร่องรอยให้เห็นอยู่บ้างคือหนองโบสถ์ ส่วนหนองอืนที่อยู่บริเวณใกล้กันถูกถม หรือเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรในหมู่บ้านหรือสาธรณะในปัจจุบันประชากรหมู่บานเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งการขยายตัวของประชากรในหมู่บ้านจึงได้มีการเลือกผู้นำหมู่บ้านเป็นกำนันคนแรกของตำบลเป็นคนแรกจนถืงปัจจุบันมีผู้ปกครองหรือผู้นำของหมู่บ้านดังต่อไปนี้
1. นายมา         วรรณสาร    ตำแหน่งกำนันเป็นคนแรกของหมู่บ้าน
2. นายรินทร์     ใจระงับ            ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
3. นายทอง        คุณชน             ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
4. นายสว่าง      กลิ่นประทุม       ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน                                                        
5. นายศรีนวล     เชิดสาร           ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
6. นายประยงค์     เสนวิรัช         ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
7. นายผาบ      ใจตุรงค์                 ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
8. นายจำเรียน   เสนวิรัช            ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
9. ศรีนวล       ศิริแก้ว                ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน
10. นายยอด     สายสอด            ตำแหน่งผุ้ใหญ่บ้าน

ด้านที่1
สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
1.1 ที่ตั้งบ้านหนองเสี้ยว หมู่ที่4 ตำบลหัวเมือง อยู่หางจากอำเภอสองไปทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 1.7กิโลเมตรมีเนื้อที่ประมาณ301ไร่
1.2 ภูมิประเทศสภาพพื้นที่เป็นที่ราบ   ในที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่สูงกว่าหมู่อื่นของตำบลหัวเมือง ทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นที่ราบมีทุ้งหญ้าเป็นที่เลี้ยงสัตว์และปลูกพืชผลทางการเกษตร   มีลำน้ำเหมือง ชลประธานอยู่ติดทิศตะวันออกของหมุ่บ้านและมีแม่น้ำไหลผ่านทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน
1.3 อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ              ติดต่อกับหมุ่บ้านสันปุ่สีหมู่ 6           ตำบลหัวเมือง
ทิศตะวัน ออก       ติดต่อกับหมู่บ้านแม่ทะหมู่ 5            ตำบลหัวเมือง และเขตหมู่บ้านโทกค่าตำบลแดนชุมพล
ทิศใต้                  ติดต่อกับหมู่บ้านวังฟ่อนหมู่11 หมู่ 2  ตำบลหัวเมือง
ทิศตะวันตก          ติดกับลำน้ำยม
1.4 สภาพดิน
ลักษณะโดยดินทั้วไป เป็นดินร่วนเหนียว  ดินเหนียวและลูกรังมีความสมบูรณ์ปานกลางเหมาะสำหรับการปลูกพืชทุกชนิดตามสภำพพื้นที่
1.5 อานุภาพภูมิศาสตร์
บ้านหนองเสี้ยว หม่4 ตำบลหัวเมืองมี3ฤดูกาล  
ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือน        มิถุนายน-เมษายน
ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือน    ตุลาคม-มกราคม
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือน      กุมภาพันธ์-พฤษภาคม
อุณหภูมิเฉี่ลย71-36 องศาเซลเซียส
1.6 เส้นทางคมนาคม
มีเส้นทางคมนาคมติดต่อและส่งผลผลิตทางการเกษตรได้สะดวกตลอดปีสามารถติดต่อกันและตำบลใกล้เคียงได้สะดวกโดยมีถนนผ่ากลางของหมู่บ้านและมีถนนคลอนกรีตและลูกรังประมาณ400เมตรเชื่อมต่อหมู่บ้านไปยังพื้นที่ทางการ เกษตร
โครงสร้างและจำนวนประชากร                                                                                        
2.1 ลักษณะชุมชน
บ้านหนองเสี้ยว ตำบลหัวเมืองมีลักษณะชุมชนเป็นชาวพื้นเมืองแต่ดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่รวมกันอยู่เป็นกลุ่ม พูดภาษาท้องถิ่น(ภาษาไทยล้านนาหรือไทยเหนือ)และมีคนผูกพันกันเหมือนพี่น้องซึ้งเป็นวัฒนธรรมประเพณีและนับถือศาสนาพุทธและการประเกอบอาชีพด้วยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรโดยพึงพาอาศัยกันกับเพื่อนบ้านเหมือนพี่น้องหรือญาติ แท้ กำลังจะขยายมาเป็นชุมชนใหญ่มีการเคารพผู้อาวุโสตลอดจนนับถือผีปู่ ผีย่า ผีเจ้าบ้าน และยึดถือเป็นประเพณี ความเชื่อของหมู่บ้าน
2.2 จำนวนประชากร
ประชากรบ้านหนองเสี้ยว หมู่ที่4 ตำบลหัวเมือง มีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 137 ครัวเรือนประชากรชาย 376 คนหญิง 375 คนรวมประชากร761 คนมีนายยอด   สายสอด เป็นผุ้ใหญ่บ้าน
2.3 สภาพเศรษฐกิจ
อาชีพราษฎรส่วนใหญ่ประกอบทำการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด  ยาสูบ  พริก  ถั่วเหลือง มีราษฎรบางส่วนที่ได้ทำเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อตำบล
หน่วยธุรกิจในหมู่บ้าน
ปั้มน้ำมัน 1 แห่ง
โรงอุสาหกรรม -
โรงสีข้าว 4 แห่ง
ร้านค้าขายของชำ 7 แห่ง
2.4 การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง (เปิดสอนตั้งแต่ระดัยอนุบาลถึงประภมศึกษาปีที่ 6)
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง ศูนพัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว
ราษฎรษ์ในหมู่บ้านที่พลาดโอกาสทางการศึกษา ได้ศึกษากับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
2.5  สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด 1 แห่ง(วัดหนองบัว หมู่ที่ 4 ต.หัวเมือง อ. สอง จ.แพร่
ด้านที่ 2
1.1 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในหมู่บ้านหนองเสี้ยวมีหมอสมุนไพรพื้นบ้านมีพิธีตามความเชื่อ ดังต่อไปนี้
- พิธีสะเดาะเคราะห์
- ส่งเคราะห์
- บูชาเท้าทั้งสี่ ฯลฯ
1.2 วัฒนธรรมประเพณี มีวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษมีประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา ฯลฯ
1.3 ระบบสังคม เป็นระบบเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สามัคคีในหมู่คณะ มองเห็นได้จากประเพณีต่าว ๆ รวมถึงการร่วมงานกิจกรรมในหมู่บ้าน
1.4 การประกอบอาชีพ ราษฎร์ส่วนใหญ่ประกอบด้วย อาชีพทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ รายได้ส่วนใหญ่มาจากการทำการเกษตร พืชที่ปลูกคือ  ข้าว ข้าวโพด  ยาสูบ  พริก  ถั่วเหลือง สัตว์ที่เลี้ยงคือวัว  หมู  ไก่
1.5 การบริหารจัดการชุมชน เป็นการบริหารงานแบบบูรณาการระบบฝ่ายปกครองและฝ่ายท้องถิ่นทำงานเพื่อรับใช้ราษฎร์ให้มีความสุข สามัคคีในชุมชน และยังมีการตั้งระเบียบเพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน ของผู้นำ
ด้านที่ 3
วิสัยทัศน์ในการพัฒนาหมู่บ้าน
ครอบครัวอบอุ่น  ชุมชนเข้มแข็ง
แหล่งน้ำสมบูรณ์  การคมนาคมสะดวก
สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ    เพิ่มพูนเศรษฐกิจ
สุขภาพชีวิตดี  เทคโนโลยีก้าวหน้า
การศึกษากว้างไกล  อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

 

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •กันยายน• 2011 เวลา 18:39 น.• )