วังฟ่อนดอทคอมได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมบ้านบ้านวงศ์บุรี ซึ่งเป็นบ้านของแม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา ภรรยาคนแรกของเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้ามือแพร่องค์สุดท้าย ซึ่งได้แยกมาจากคุ้มเจ้าหลวงแล้วมาสร้างบ้าน วงศ์บุรี  ตอนนี้ยังเป็นสมบัติของทายาทที่ยังดูแลบ้านให้อยู่ในสภาพเดิมที่สุด ในเมืองแพร่ยังมีศิลปกรรมแบบกึ่งคลาสสิคที่สร้างเมื่อราวร้อยกว่านี่เองก็คือ บ้านวงศ์บุรี เป็นบ้านของเจ้าพรหมสุนันตา วงศ์บุรี (หลวงพงษ์พิบูลย์) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ บ้านหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยช่างชาวจีนมาจากมณฑลกวางตุ้ง เมือง แพร่ก็เหมือนกับหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตแคว้นแดนล้านนา สิทธิและอำนาจการปกครองและการบริหารบ้านเมืองทั้งหมดตกอยู่กับเจ้าผู้ครอง นครแต่ผู้เดียว มีขุนนางระดับพญา หรือ แสนหลวง เป็นผู้กำกับดูแล

โดยขึ้นตรงต่ออัครมหาเสนา ซึ่งมีบรรดาศักดิ์ในทำเนียบว่า พญาปื้น หรือ พญาจ่าแสนบดี ที่ว่าการของเสนาบดีนั้นเรียกว่า เค้าสนามหลวง พญาปื้นเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ขึ้นตรงต่อเจ้าหลวงหรือเจ้าครองนครแต่เพียงผู้เดียว การสืบสันติวงศ์ของเจ้าผู้ครองนครนั้นให้เป็นไปตามสายเลือดลดหลั่นกันไปตาม อาวุโส คือรองจากเจ้าหลวงก็จะมี เจ้าอุปราช เจ้าราชวงศ์ เจ้าบุรีรัตน์ เจ้าสุริยวงศ์ เจ้าราชภาคิวงศ์ เจ้าราชภาคินัย เจ้าราชดนัย เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์และเจ้าราชบุตร

นอกจากนี้ในเมืองแพร่ยังมีศิลปกรรม แบบกึ่งคลาสสิคที่สร้างเมื่อราวร้อยกว่านี่เองก็คือ "บ้านวงศ์บุรี" เป็นบ้านของเจ้าพรหมสุนันตา วงศ์บุรี (หลวงพงษ์พิบูลย์) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ บ้านหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2440 โดยช่างชาวจีนมาจากมณฑลกวางตุ้ง เป็นบ้านแบบยุโรปประยุกต์หลังคาสูงทรงปันหยา 2 ชั้น มีลวดลายเถาไม้แกะสลักประดับตัวบ้าน เช่นที่หน้าจั่ว ช่องลม ชายน้ำ ประตู หน้าต่างเป็นต้น ภายในบ้านตกแต่งด้วยสิ่งของเครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูลที่ตกทอดสืบต่อมาหลาย ชั่วอายุ

 

บ้านวงศ์บุรีเป็นบ้านไม้ขนาดใหญ่ 2 ชั้น มีลวดลายไม้แกะสลักเป็นส่วนประกอบ ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลายเครือเถาว์ที่เรียกว่า ทรงขนมปังขิง ซึ่งได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 บ้านวงศ์บุรีหลังนี้ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 3 ปี ในสมัยของแม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา ภรรยาคนแรกของเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่องค์สุดท้าย และเป็นพี่สาวของพระยาบุรีรัตน์ ภายในบ้านมีการจัดแสดงให้ชมสิ่งของเครื่องใช้ในอดีต เช่น เตียงนอน ตู้ โต๊ะเครื่องแป้ง เครื่องเงินต่าง ๆ ถ้วยชาม คนโท กำปั่นเหล็ก แหย่งช้าง อาวุธโบราณ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนและสุโขทัย รวมถึงเอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น สัญญาบัตรที่ได้รับการโปรดเกล้าฯจากรัชกาลที่ 5 เอกสารการซื้อขายทาสอายุกว่า 100 ปี เอกสารการสัมปทานป่าไม้ ตั๋วรูปพรรณช้าง วัว เป็นต้น

 

ความโดดเด่นของบ้านวงศ์บุรี ที่สวยงามด้วยศิลปกรรมและมีอายุเก่าแก่ ทำให้บ้านหลังนี้ได้รับรางวัล บ้านอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี 2536 จากสมาคมสถาปนิคสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมทั้งยังมีการเผยแพร่บ้านวงศ์บุรีในหนังสือต่าง ๆ จำนวนมาก อาทิ หนังสือบ้านมรดกไทย ,อนุสาร อ.ส.ท.ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2535 ,นิตยสารลลนา ,ผู้หญิง, แพรว
บ้านวงศ์บุรี ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนคำลือ (ถนนหลังจวนผู้ว่า สี่แยกพระนอนเหนือ ใกล้กับวัดพงษ์สุนันท์ ) อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นบ้านของเจ้าพรหม(หลวงพงษ์พิบูลย์) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ และ เจ้าสุนันทา วงศ์บุรี ธิดาเจ้าบุรี (พระยาบุรีรัตน์) ก่อสร้างในปี พ.ศ. 2440 เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 08.30 - 17.00 น. ค่าเข้าชมคนละ 30 บาท เด็ก 10 บาท นักเรียน นักศึกษาตามจิตศรัทธา ค่าเยี่ยมชมนำไปบำรุงตัวบ้านเพราะไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนเนื่องจากเป็น ของเอกชน

 

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:33 น.• )