พระธาตุดอยเล็ง อยู่บนภูเขา(ดอย) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮ ประมาณ ๒ กิโลเมตร มีงานนมัสการพระธาตุเป็นประเพณีทุกปี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ โดยมีธรรมเนียมว่า เมื่อมาสักการะพระธาต ุช่อแฮ แล้วในวันสุดท้าย(วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) พระธาตุดอยเล็ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดแพร่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ พระธาตุจอมแจ้งประมาณ ๔ กิโลเมตร สร้างมาพ.ศ. ใด นั้น ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีมาคู่กับพระธาตุช่อแฮและพระธาตุจอมแจ้ง ทั้ง ๓ พระธาตุนี้จะคู่กันมาหลายร้อยปี

คำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในตำบลป่าแดง และตำบลป่าแดงและตำบลช่อแฮได้เล่าไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์มาดอยลูกหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของดอยธชัคคะบรรพตเสด็จมาถึงจวนแจ้งณ ที่นั้นเรียกว่าดอยจวนแจ้ง (ใกล้ว่าง) ปัจจุบันเรียกว่าพระธาตุจอมแจ้ง หลังจากนั้นจึงได้เสด็จมาทางทิศเหนือถึงธชัคคะบรรพตได้มาประทับอยู่ที่นั่นได้มีขุนลัวะอ้ายก้อมเป็นผู้อุปฐากทรงมอบพระเกศาธาตุุไว้ที่ธชัคคะบรรพตลูกนั้ปัจจุบันนี้เรียกว่าพระธาตุช่อแฮแล้วได้เสด็จขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทรงประทับอยู่ ณ ดอยลูกหนึ่งซึ่งสูงกว่าดอยทั้งหมดในเมืองโกศัย จึงเอาบาตรวางไว้ใกล้ๆ ดอยลูกนั้น ปัจจุบันเรียกว่า ดอยภูกวาง (รอยบาตรนั้นชาวบ้านได้เอาก้อนหินใส่จนเต็มหมด) แล้วจึงเสด็จมาดอยอีกลูกหนึ่ง จึงได้ประทับแลดู ภูมิประเทศของเมือง แพร่หรือเมืองโกศัย และทรงตรัสว่า "ที่นี่เป็นเมืองที่น่ารื่นรมย์เหมาะแก่การสร้างบ้านสร้างเมืองเพราะ ว่ามีแม่น้ำยมไหลผ่าน จึงให้ชื่อดอยลูกนี้ว่า ดอยเล็ง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:30 น.• )