ครั้งนั้นเจ้าท้าวลกได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าติโลกราช เป็นบุตรองค์ที่หกของพระเจ้าสามฝั่งแกนในราชวงศ์เมงราย เป็นเจ้าเหนือหัวเมืองเชียงใหม่ที่ทรงพระปรีชาสามารถและมีบุญญาธิการยิ่งนัก ในรัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยเหตุการณ์อันน่าสนใจหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในด้านการเมืองและการศาสนา และการศึกสงครามซึ่งยุคนั้นไทยยังไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะในแว่นแคว้นแดนล้านนาไทยเองก็ยังแยกกันครอบครองนครเป็นเอกเทศไม่ขึ้นต่อกันที่ตำหนักของพระมหาเทวีซึ่งดำรงตำแหน่งพระราชชนนีรัชกาลพระเจ้าติโลกราชคงร่ำตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นน้ำอบน้ำปรุงและกลิ่นสุคนธรสเฟื่องฟุ้งขจรขจายนางข้าหลวงปะรจำพระองค์ต่างก็สาละวนกับการปักสะดึงตรึงไหมบ้างก็ปั่นด้ายบ้างก็ทอผ้าบ้างก็ปักลวดลายลงพื้นไหมปนกำมะหยี่เป็นลวดลายอันบรรเจิดตระการตา

มีเสียงซุบซิบในหมู่นางข้าหลวงว่าพระเจ้าเหนือหัวอาจจะต้องทรงออกศึกสงครามอีกเนื่องด้วยมีผู้เข้ามากราบทูลว่า “ศึกแกวจะมาตกเมืองน่าน” (แกวในที่นี้หมายถึงพวกญวนอานาม)และพระเจ้าติโลกราชอาจต้องยกทัพไปปราบแกว “พระเจ้าเหนือหัวของเรานับแต่ขึ้นครองราชก็มิทรงหยุดยั้งราชภารกิจที่มักจะมีมากมายอยู่เสมอเมื่อปีที่แล้วก็ได้ทรงบำเพ็ญราชกุศลยิ่งใหญ่คือบวชกุลบุตรเป็นภิกษุถึง ๕๐๐ รูปปีก่อนโน้นก็เผชิญศึกทางใต้เดชะอำนาจพระบารมีปกเกล้าฝ่ายเราจึงได้รับชัยชนะทุกครั้ง” “แต่พระราชมารดาของพระองค์ท่านก็ทรงห่วงใยในองค์พระเจ้าเหนือหัวเป็นยิ่งนัก” ขณะนั้นนางกำนัลคนหนึ่งมาจากตำหนักหลวงขึ้นไปทูลความบางข้อแต่พระชนนีแล้วก็แวะเข้ามาทักทายประสานคนรู้จัก ลือกันว่าพระยาเมืองน่านส่งข่าวมาว่าศึกแกวมาประชิดติดเมืองน่านให้หมื่นแก่งพร้าวถือพลสี่หมื่นทัพหลวงยกไปเมืองน่านแล้ว” หลังจากนั้นต่อมาไม่นานนักในคุ้มหลวงก็ปรากฏข่าวอันควรตระหนกแพร่หลายไปทั่ว “เจ้าเหนือหัวพิโรธหนักสาเหตุเพราะเจ้าเมืองน่านทำอุบายหลอกลวงว่ามีศึกแกวมาประชิด ที่แท้ก็ความลวงทั้งสิ้น ฝ่ายเราหลงยกทัพไปช่วยตั้งห้าทัพหกทัพ ไปตั้งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำน่านเป็นหลายวันก็มิได้เห็นพวกแกวยกมา พระยาน่านที่กล่าวความเท็จน่ากลัวจะต้องพระราชอาญาหนักคราวนี้” พระองค์จึงมีกระแสรับสั่งให้เตรียมทัพหลวง พระเจ้าเหนือหัวจะยกไปด้วยพระองค์เอง จะไปตีเมืองน่านในฐานที่ทำอุบายหลอกลวง พระองค์ได้เสด็จไปยังตำหนักพระชนนีเป็นส่วนพระองค์ “พระลูกเจ้าประสงค์สิ่งใดจากแม่หรือ” พระนางตรัสปราศรัยภายหลังที่ได้ทรงปฏิสันถาร โดยสมควรเสร็จแล้ว ทรงพิศพระราชบุตรด้วยแววพระเนตรอันเต็มไปด้วยความเสน่หาปราณีระคนด้วยศรัทธาในสมรรถภาพ “ลูกต้องขอประทานอภัยที่บังอาจรบกวนเจ้าแม่ครั้งนี้” จอมคนของนครพิงค์ตรัสด้วยอาการคารวะ แล้วก็ทรงเล่าถึงเหตุการณ์บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในพระราชมารดาฟังอย่าละเอียด แล้วตรัสเสริมในตอนท้าย “ลูกขออัญเชิญเจ้าแม่เสด็จไปเป็นจอมทัพที่จะยกไปตีเมืองแพร่ โดยที่ลูกเองจะยกไปตีเมืองน่าน ลูกหวังในพระบารมีของเจ้าแม่ว่าคงจะได้ชัยชนะไม่ยาก” พระราชชนนีทรงตอบตกลง ดังนั้น ในวันขึ้นสิบค่ำเดือนยี่ปีกุน เบญจศก พระเจ้าติโลกราชก็ทรงยาตราทัพกลวงและทัพสำหรับพระชนนีของพระองค์พร้อมกัน เสด็จออกเดินทางไปทางทิศใต้ตามเส้นทางที่จะไปสู่เมืองแพร่และเมืองน่านนั้น

ทัพของพระชนนียกไปถึงเมืองแพร่ก็เข้าล้อมไว้ พระนางเจ้าได้ทรงมีสาส์นส่งเข้าไปให้เจ้าเมืองแพร่ ออกมาถวายบังคมตามประเพณีฝ่ายท้าวแม่คุณผู้ครองนครเมืองแพร่ ได้รับสาส์นแล้วก็นิ่งเฉยอยู่มิดได้ออกไปถวายบังคมตามคำสั่งแต่ได้สั่งให้ไพร่พลเสนามาตย์แต่งพลรักษาเมืองไว้อย่างแน่นหนาพระชนนีเห็นดังนั้นก็มีรับสั่งให้นายทัพนายกองตั้งกองทำปืนผู้เจ้ายิงเข้าไปในเมืองแพร่ลูกปืนนัดแรกยิ่งเข้าไปถูกต้นตาลในเวียงแพร่หักเพียงคอนัดที่สองถูกกลางลำต้นหักโค่นลงเสียงปืนที่ยิงก่อความสะท้านหวาดกลัวแก่ชาวเมืองเป็นอันมากท้าวแม่คุณเจ้าเมืองแพร่ก็ตกใจกลัวอำนาจของทัพพระชนนีจึงพาครองครัวออกมาอ่อนน้อมถวายบังคมต่อพระชนนีผู้เป็นพระราชมารดาของพระเจ้าติโลกราชแต่โดยดีพระชนนีเห็นว่าเจ้าเมืองแพร่ยอมอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เช่นนั้นจึงให้ครองเมืองดังเก่าแล้วสั่งให้เลิกยกทัพคืนยังเมืองเชียงใหม่พร้อมด้วยชัยชนะ ฝ่ายพระเจ้าติโลกราชซึ่งยกทัพไปตีเมืองน่านได้ตั้งล้อมขับเคี่ยวอยู่แรมปีเพราะเจ้าเมืองน่านได้ตั้งทัพรับอย่างแน่นหนามั่นคงมิอาจตีหักเอาได้โดยง่ายแต่ด้วยกำลังทหารและพระสมภารบารมีของพระเจ้าติโลกราชก็ตีหัดเข้าเมืองน่านได้ในเวลาต่อมาพระแก่นท้าวเจ้าเมืองน่านทิ้งเมืองหนีลงไปพึ่งพรเจ้ากรุงศรีอยุธยาพระเจ้าติโลกราชจึงตั้งให้ท้าวผาแสนผู้เป็นน้องชายของแพร่แก่นท้าวขึ้นครองเมืองน่านแทนพระยาแก่นท้าวที่หนีไปได้เสร็จแล้วพระองค์ก็เลิกทัพกลับคืนสู่นครเชียงใหม่ ฝ่ายทางเมืองน่านครั้นกองทัพเชียงใหม่กลับคืนไปแล้วก็เกิดมีกองทัพของเมืองหลวงพระบางยกมาติดเองตั้งกองทัพอยู่ทางทุ่งส้มป่อยท้าวผาแสนเจ้าเมืองน่านจึงได้ให้คนนำข่าวไปแจ้งแก่เจ้าเมืองเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชได้ทรงทราบก็สั่งให้หมื่นเงินยกไปถึงเมืองน่านได้เข้าสู้รบกับทหารในกองทัพหลวงพระบางเป็นสามารถแต่ไม่ถึงแพ้ชนะกันหมื่นเงินจึงส่งม้าเร็วกลับไปทูลพระเจ้าติโลกราชที่เมืองเชียงใหม่พระเจ้าติโลกราชจึงสั่งให้ยกทัพหนุนไปช่วยหมื่นเงินที่เมืองน่านได้ระดมกำลังเข้าตีทัพหลวงพระบางล่าหนีไป ต่อมาปีเถาะนพศก เจ้าสามฝั่งแกนพระราชบิดดาถึงแก่พิราลับพระเจ้าติโลกราชก็จัดการปลงพระศพ ณ ที่วัดป่าแดงหลวงแล้วสถาปนาพระสถูปบรรจุอัฐิธาตุไว้ยังสถานที่นั้นสถูปที่นั้นสูง ๙๒ ศอก กว้าง ๕๒ ศอก บุด้วยแผ่นทองแดงปิดทองทั้งองค์ในปี้นั้นพระเจ้าติโลกราชก็มอบเวนราชสมบัติให้พระชนนีว่าราชการแทนพระองค์แล้วทรงผนวชแล้วก็ลาผนวชกลับขึ้นครองราชสมบัติราชาภิเษกเป็นครั้งที่สอง