ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้359
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3591
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13359
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261590

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 16
หมายเลข IP : 3.145.105.105
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
จังหวัดแพร่
ประวัติการสร้างเมืองแป้(โกศัยนคร) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 31 •ธันวาคม• 2014 เวลา 00:00 น.•

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 04 •เมษายน• 2013 เวลา 07:52 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าผู้ครองนครแพร่ยุคประเทศราชของสยาม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 28 •มกราคม• 2013 เวลา 12:55 น.•

เจ้าผู้ครองนครใน “ล้านนาประเทศ” ช่วงเป็นประเทศราชของ “สยามประเทศ” หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า “เจ้าหลวง” ในมุมมองของสยามผู้เป็นเจ้าอธิราชถือว่าเป็น “เจ้าเมือง(เจ้าประเทศราช)” ส่วนมุมมองของล้านนารวมถึงในเมืองนครแพร่ถือว่าเป็น “กษัตริย์” ดังปรากฏพระนามแทนเจ้าหลวงนครแพร่แต่ละองค์ว่า “พระกระสัตราธิราช” หรือ “พระองค์สมเด็จพระบรมบัวพิตองค์เปนเจ้า”(เจ้าหลวงอินทวิไชยราชา) หรือ “องค์สมเด็จมหาราชหลวง” หรือ “สมเด็จพิมพิสารมหาราช”(เจ้าหลวงพิมพิสารราชา) แต่ทว่าเท่าที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันเจ้าหลวงนครแพร่ยังมีความคลาดเคลื่อน ทั้งที่มาของต้นปฐมราชวงศ์ จำนวนองค์เจ้าหลวงที่ขึ้นครองนคร ลำดับการครองนคร ระยะเวลาที่ขึ้นครองนคร ตลอดจนถึงความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเจ้าหลวงองค์ก่อนหน้า เนื่องจากข้อจำกัดด้านหลักฐานและในเมืองแพร่เพิ่งเริ่มค้นคว้าถึงเจ้าหลวงองค์ก่อนเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าหลวงนครแพร่องค์สุดท้ายช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 01 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 13:11 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 12 •มกราคม• 2013 เวลา 22:55 น.•

วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖ ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของศาลากลางจังหวัด เป็นวันที่เกิดจากการรวม ๒ วัดคือ วัดพระบาทและวัดมิ่งเมือง เป็นวัดพระบาทมิ่งเมือง ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะจากวัดราษฎ์ ให้เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร มีพื้นที่ ๖ ไร่ ๓๒ ตรารางวา (โฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๑๕) มีอาณาเขตทิศเหนือติดถนนเจริญเมือง ความยาว ๑๔๘ เมตร อยู่ตรงข้ามสำนักงานที่ดินจังหวัดแพร่ ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดแพร่ และสำนักงานพาณิชย์จังกวัดแพร่ ทิศใต้ติดกับถนนพระบาทมิ่งเมือง ความยาว ๑๕๖ เมตร อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออก ติดถนนพระร่วงความยาว ๕๒ เมตร อยู่ตรงข้ามกับร้านคาพาณิชย์ ทิศตะวันตก ติดถนนคุ้มเดิม ความยาว ๗๖ เมตร อยู่ตรงข้ามสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ร.๙

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 08:41 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การเสด็จพระราชดำเนินจังหวัดแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 04 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:35 น.•

การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพื้นที่จังหวัดแพร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร รวม ๘ ครั้ง ๑. วันที่ ๑๕ - ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ๒. วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๔ ๓. วันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๖ ๔. วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ ๕. วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๒ ๖. วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๓ ๗. วันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๔ ๘. วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 05 •ธันวาคม• 2012 เวลา 22:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เมืองแพร่มหันตภัยธรรมชาติ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 18 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 13:03 น.•

มหันตภัยธรรมชาติ ภัยธรรมชาติที่ชาวแพร่หวาดสะดุ้งทุกฤดูลงนาเกณฑ์ชะตาน้ำมาก แม้นน้ำเหนือไหลหลากถึงท่วมท้นล้นฝั่งก็มักจะพาให้เมืองจม น้ำท่วมครั้งใหญ่เคยประสบมา ๔ ครั้ง ในปี ๒๔๗๒, ๒๔๗๖, ๒๔๘๒ และ ๒๕๓๘ แต่ละครั้งแต่ละคราวร้ายกาจทารุนเหลือที่จะพรรณนา สายน้ำไหลบ่าด้วยกำลังแรงเชี่ยว ราวกับว่าเกิดแต่อำนาจเจ้าป่าผีปันน้ำ พัดพาห้างร้านโรงเรือนถึงพังทะลายให้ผู้คนและสัตว์ถึงกับตายลอยเป็นแพ โดยเฉพาะที่ตั้งบริเวณตัวเมืองเป็นที่ลุ่มล้อมด้วยกำแพง ดินมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ ขังน้ำไว้กว่าจะแห้งก็นานวัน ระดับน้ำท่วมสูงสุดเมื่อปี ๒๔๘๒ วัดได้ถึง ๓.๗๕ เมตร

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 22 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 21:06 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดพระธาตุจอมแจ้ง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 04 •มีนาคม• 2012 เวลา 20:23 น.•

ตำนานพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พุทโธ ภะคะวา อะหัง วันทามิ สิระสา เทฺว(เทวะ) เกสาธาตุ ปะติฏฐิตา เสสะ ปัพพะตัง อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สะทาโสตถิ ภะวันตุเม “ว่า ๓ หน” พระธาตุจอมแจ้งมีประวัติการณ์เป็นมาดังนี้ กล่าวคือ ในสมัยปัจฉิมโพธิกาลก่อนที่พระสัพพัญญูตญาณเจ้าจะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน พระองค์ทรงพิจารณาใคร่ครวญจินตนาการพึงหมู่สัตว์ที่ตกค้างอยู่ในวัฏฏะสงสารแห่งห้องอันกันดารกล่าวคือ การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะสงสารให้เขาได้ไปสู่สถานที่อันเกษมจากโยคะ กล่าวคือ พระนิพพานอันเป็นสถานอันปราศจากเสียซึ่งความเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ล้วนเต็มไปด้วยความสุขไม่มีทุกข์เจือปนเป็นยอดปราถนาของปวงขนผู้ใฝ่สันติสุขทั้งหลายเมื่อพระองค์ประทับอยู่ในเขตมหาวิหารของนายอนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐีสร้างถวายในกรุง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 05 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:50 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดพงษ์สุนันท์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 23 •มกราคม• 2012 เวลา 11:09 น.•

วัดพงษ์สุนันท์ ตั้งอยู่บนถนนคำลือ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดิน ของวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓๑.๔๐ ตารางวา โฉนดที่ ๑๖๖๔๙ วัดนี้สร้างมาก่อนปี ๒๔๗๒ แต่เดิมเรียกว่า วัดปงสนุก มีวัดร้างอยู่ปงนี้ แผ่จากวัดไปถึงเขตบ้านพ่อมา แม่เกี๋ยง วังซ้าย อยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณด้านใต้ของวัดมีสระลึกเล่ากันว่ามี เต่าน้อย อองคำอยู่ แม่คำปวน ซึ่งเป็นชาวหงสาวดีมีความประสงค์อยากได้เต่าน้อย จึงลงสระไปหา แต่ก็ประสบอุบัติเหตุจมน้ำตายส่างตาด เพื่อนของแม่นางจึงสร้างเจดีย์ขนาดเล็กไว้และ สร้างเต่า ๔ ตัว ประดิษฐานรอบเจดีย์ กาลต่อมาพ่อเจ้าบุรีศรีปัญญาได้สร้างวิหารขึ้น โดยใช้หญ้าคามุงหลังคา เพราะสมัยก่อนบ้านเมืองยังไม่เจริญ และต่อมาเกิดอัคคีภัย เกิดจากการจุดเทียนบูชาพระทิ้งไว้ พระยาบุรีรัตน์ (บุตรชายเจ้าบุรีศรีปัญญา) จึงบูรณปฏิสังขรณ์วัดต่อ เพื่อใช้ในการทำสังฆกรรมได้ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๒ ผนังวิหารได้พังทลายลงเพราะ เกิดน้ำท่วมทำสังฆกรรมไม่ได้หลายปี หลวงพงษ์พิบูลย์ (พรหม วงศ์พระถาง) และภรรยาของท่าน คือ เจ้าสุนันตา มหายศปัญญา จึงได้เป็นผู้นำ ในการก่อสร้างวิหารใหม่ และพระมหาโกศล อคฺควีโรได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดพงษ์สุนันท์ถึงปัจจุบันและได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ จากเจ้าไข่มุกต์และเจ้าทองด้วง วงษ์บุรีซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงพงษ์พิบูลย์ และแม่เจ้าสุนันตา วงศ์บุรี ได้ร่วมกับคณะศรัทธาทั่วไปอุปถัมภ์วัดนี้ตลอดมาถึงปัจจุบัน ภายในอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมราวิชัย ชื่อว่าพระเจ้าแสนสุข มีอายุราว ๕๖๘ ปี เสนาสนะภายในบริเวณวัด มีพระนอนสีทองอร่าม ซุ้มประตูมงคล ๑๙ ยอด และเจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปเก่าแก่ และวัตถุมงคลต่างๆ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ผู้มากราบสักการบูชา โดยได้มีการจัดงานสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ งานไหว้สาพระธาตุพงษ์สุนันท์มงคลเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดสวรรคนิเวศ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 19 •มกราคม• 2012 เวลา 11:41 น.•

วัดสวรรคนิเวศก่อสร้างโดยพระครูอุทธิยะ เจ้าอาวาสวัดศรีชุม ได้รับบริจาคที่ดินจากพ่อเลี้ยงเขียว แม่เลี้ยงนวล ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ วิหารเริ่มแรกมุงด้วยหญ้าคาพื้นปูด้วยฟาก ต่อมามีพ่อค้าชาวอังกฤษ “มิสเตอร์ เอสยาส” พ่อเจ้าแก้ว เมืองมา แม่เจ้าคำ ปันดี (ขัติยวงศษา) สระแสง ไดร่วมกันสร้างพระอุโบสถสถาปัตยกรรมแบบล้านนา สร้างด้วยไม้สัก วัดสรรคนิเวศเป็นวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองแพร่ทางทิศเหนือ แต่เดิมเป็นที่อยู่ของพวกชาวไทยพรวน ต่อมาเจ้าหลวงเมืองแพร่ ได้สั่งให้พวกชาวไทยพรวนอพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านทุ้งโฮ้งในปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 21 •มกราคม• 2012 เวลา 23:20 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระพุทธวิชิตมาร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 11 •มกราคม• 2012 เวลา 21:18 น.•

พระพุทธวิชิตมาร" เดิมเรียกว่า "ตุ๊เจ้าหัวกุด"  "หลวงพ่อเศียรขาด" เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียนการป่าไม้แพร่ ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของนักศึกษาที่เข้าไปเรียนในโรงเรียนป่าไม้แพร่ หรือโรงเรียนการป่าไม้ ปัจจุบัน ได้ยกเลิกโรงเรียนป่าไม้แพร่เปลี่ยนสถานะไปเป็นศูนย์อบรมและพัฒนาข้าราชการสังกัดกรมป่าไม้กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พระพุทธวิชิตมารประดิษฐานอยู่ ณ บริเวณโรงเรียนการป่าไม้แพร่ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๓ ถนนคุ้มเดิม ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงาม ๑ ใน ๒๐ พระพุทธรูปของประเทศไทย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:21 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ฤาเสด็จพ่อ ร.๕ จักเคยเสด็จแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 23 •ตุลาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

พระบรมฉายาลักษณ์ ของราชกาลที่ ๕ ที่พระราชทานให้ พระวิชัยราชา เจ้าของคุ้มวิชัยราชา และในยุคของเจ้าวงค์ แสนศิริพันธุ์ ยังเห็นแขวนอยู่ที่โถงชั้นสองแต่ไม่ทราบว่าหายไปไหน โชคดีเมื่อพี่พิชิต แวะมาเยี่ยมจึงรู้ว่ารูป พระบรมฉายาลักษณ์ ของราชกาลที่ ๕ อยู่ที่ท่าน จะเป็นรูปถ่ายหรือวาดไม่มีใครทราบได้ แต่มีความสวยงามมาก และเป็นรูปแบบซึ่ง “ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน” ๒๕๔๘ กระผมได้พบปะกับคุณสุเทพ สมบูรณ์เพชร  อดีตนายอำเภอ สองแคว จังหวัดน่าน ท่านยืนยันว่าเรื่องราชกาลที่ ๕ เสด็จแพร่นี้เป็นไปได้สูง  เพราะพระองค์เคยเสด็จไปน่าน เพราะสมัยก่อนไปน่านต้องผ่านแพร่แน่นอน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 01 •พฤศจิกายน• 2011 เวลา 18:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (ทายาท) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 30 •กันยายน• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (พระยาพิริยวิไชย)  เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของเมืองแพร่ (พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๔๕) เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เป็นโอรสเจ้าหลวงพิมพิสาร (พิมสาร) กับแม่เจ้าธิดา มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยเทพวงศ์ เมื่อได้รับการสถาปนาขึ้นครองเมืองแพร่ พ.ศ. ๒๔๓๒ ในฐานะหัวเมืองประเทศราชของสยาม มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิริยวิไชย จนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “เจ้าพิริยเทพวงศ์” เจ้าผู้ครองนครแพร่ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ มีชายาคนแรกนาม “แม่เจ้าบัวถา” มหายศปัญญา (ธิดา เจ้าบุรีเฒ่า กับแม่เจ้าเฮือนแก้ว) ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ได้รับเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี (ธิดา เจ้าบุรีรัตน์ กับแม่เจ้าคำ มาเป็นบุตรบุญธรรม)  เจ้าเทพวงศ์กับชายาคนที่สองมีนามว่า “แม่เจ้าบัวไหล” หรือแม่เจ้าหลวง เป็นธิดาเจ้าไชยสงครามกับแม่เจ้าอิ่น  มีโอรสธิดาด้วยกัน ๗ คน คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 06 •ตุลาคม• 2011 เวลา 16:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหลวงพิมพิสาร (พิมสาร หรือขาเค) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 18 •สิงหาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงพิมพิสาร เป็นโอรสของเจ้าวังขวาเฒ่า กับแม่เจ้าปิ่นแก้ว ซึ่งเป็นน้องสาวของเจ้าอินทวิชัย ได้ประสูติและเจริญวัยในเมืองแพร่อย่างเต็มตัว ปกครองเมืองแพร่ต่อจากเจ้าหลวงอินทวิชัยผู้เป็นลุง ระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๕ – ๒๔๓๑ เจ้าหลวงพิมพิสาร เป็นเจ้าเมืองที่ปลูกฝังนิสัยเรื่องการประหยัด และการรู้จักประมาณตนแก่ชาวเมืองแพร่เป็นอย่างดี ดังมีเรื่องเล่ากันว่า หม้อน้ำที่ท่านตั้งไว้ข้างถนนสำหรับผู้สัญจรนั้น จะมีกระบวยใหญ่และกระบวยเล็กอย่างละ ๑ หากใครใช้กระบวยใหญ่ตักดื่มน้ำแล้ว

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 20 •กันยายน• 2011 เวลา 14:52 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 22 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงอินทวิชัย (อินต๊ะวิชัย) มีชื่อและตำแหน่งเดิมว่า หลวงวิชัย หรือหลวงวิชัยราชา เป็นโอรสของเจ้าทพวงศ์และแม่เจ้าสุชาดา เกิดที่ลำปางแล้วมาช่วยเจ้าเทพวงศ์ทำงานในเมืองแพร่ได้ปกครองเมืองแพร่ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๗๓ – ๒๔๑๔ ในยุคที่พวกยุโรปกำลังล่างเมืองขึ้นและต้องการเมืองไทยเป็นอาณานิคมอังกฤษพยายามอย่างยิ่งที่จะยึดเมืองแพร่ เพราะมีป่าไม้สักกที่อุดมสมบูรณ์จำนวนมหาศาล จึงขอเข้าทำกิจการป่าไม้ในเมืองแพร่คือบริษัท อิสต์ เอเชียติก เจ้าหลวงอินทวิชัย ดำเนินวิทโยบายอย่างสุขมรอบคอบ พยายามมิให้เกิดปัญหาขัดแย้งกับชนต่างชาติ อันเป็นชนวนให้เกิดสงคราม เมืองแพร่จึงอยู่รอดปลอดภัยตลอดมา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 17 •กันยายน• 2011 เวลา 17:38 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าเจ็ดตน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 20 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

หลังจากพม่าครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองในอาณาจักรล้านนาเป็นระยะเวลากว่า ๒๑๖ ปี (พ.ศ. ๒๑๐๑ – ๒๓๑๗) ล้านนาได้หมดสภาพเป็นอาณาจักร แต่ละเมืองปกครองกันโดยอิสระขึ้นต่อพม่า จนถึงช่วงปลายอาณาจักรพม่าอ่อนแอลง มีการต่อต้านอำนาจพม่าของชาวล้านนานั้นก็คือเมืองเชียงใหม่ เป็นการก่อการกบฏต่อพม่า และต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวสาเหตุเนื่องจากโดนกดขี่ข่มแหงจากข้าหลวงพม่า ส่วนเมืองลำพูนนั้น ท้าวมหายศซึ่งเป็นเจ้าเมืองได้เรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านอย่างน่าเลือดใครบ้านไหนไม่ให้ก็ทำร้าย ส่วนกลุ่มผู้นำเมืองลำปางได้อ้างอิงอำนาจพม่า พ่อเจ้าทิพย์ช้างต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนเดิมเป็นพรานป่าได้อาสาชาวเมืองลำปางต่อสู้กับกองทัพท้าวมหายศแห่งเมืองลำพูนจนได้รับชัยชนะชาวเมืองลำปางจึงยกพ่อเจ้าทิพย์ช้างเป็นเจ้าเมืองลำปาง โดยครองเมือง ๒๗ ปี (พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๒) พ่อเจ้าทิพย์ช้างยังอิงอำนาจพม่าเพราะกลุ่มอำนาจเก่า “ท้าวลิ้นก่าน” ซึ่งเป็นบุตรเจ้าเมืองลำปางเดิม พยายามกลับสู่อำนาจ เพื่อความชอบธรรมในการปกครอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 01 •กันยายน• 2011 เวลา 21:30 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าเมืองแพร่ตอนที่ ๑ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

ก่อนที่พญามังรายเริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ และสถาปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นมาใน พ.ศ. ๑๘๓๙ ดินแดนในภาคเหนือของประเทศไทย(ตอนนั้นยังไม่เกิดอาณาจักรสุโขทัย) มีนครอิสระก่อตั้งขึ้นก่อนแล้ว ได้แก่ เมืองพะเยา เมืองลำพูน เมืองลำปาง เมืองน่าน และเมืองแพร่ บรรดาเมืองโบราณดังกล่าวส่วนใหญ่ต่างมีตำนานเล่าขาน จารึก เอกสารอ้างอิงถึงประวัติความเป็นมาของเมืองเป็นจำนวนมาก ตลอดจนมีหลักฐานโบราณคดีสนับสนุนอย่างชัดเจน ทำให้นักประวัติศาสตร์สรุปเรื่องราวการก่อตั้งเมือง วิวัฒนาการของเมืองในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับเมืองแพร่เป็นชุมชนขนาดใหญ่เมืองหนึ่งกลับขาดข้อมูลหลักฐานที่แสดงถึงประวัติศาสตรความเป็นมาของการตั้งเมืองที่ชัดเจน ประกอบการขาดผู้สนใจศึกษารวบรวมความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองทำให้ชาวแพร่ส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงเรื่องราวบรรพบุรุษของตน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 22 •กุมภาพันธ์• 2014 เวลา 18:30 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
"ยาขอบ" คำนึงถึงเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

“เขาเป็นบุคคลที่สวรรค์ให้ลงมาเกิดเป็นจาวแพร่ หากวาสนาหายอมให้เขาเป็นเช่นนั้นไม่ ทั้ง ๆ ที่เมื่อลำดับศักดิ์ในสกุลวงศ์แล้วเขาก็คือทายาทโดยชอบธรรมของผู้เจ้าครองนครแพร่ แต่เมือเขาไม่ได้เป็นจ้าวในราชวงษ์ครองนคร เขากลับเป็นได้ยิ่งใหญ่กว่า คือเป็นราชาแห่งวงการประพันธ์ภายใต้นามปากกา “ยาขอบ” คนผู้นั้นคือ “โชติ แพร่พันธุ์” ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในหนังสือ “นครแพร่” ยาขอบได้เปิดเผยและประกาศตนเป็นลูกหลานเมืองแพร่โดยสมบูรณ์ เขามีความรู้สึกอย่างไรต่อปิตุภูมินั้น จากข้อเขียนสั้น ๆ ของ “ยาขอบ” ชิ้นนี้คงจะได้ทิ้งความสะเทือนอย่างรุนแรงไว้ด้วยถ้อยคำจากน้ำใจจริง” ต่อหน้ากองทัพข้าศึกซึ่งกำลังจะเข้าประจัญบานกันนั้น มาควิสแห่งชานปิงให้ชักธงประจำตัวขึ้น จารึกว่า จูล่ง ชาวเมืองเสียงสาน เขามิได้สนใจแก่ตำแหน่งยศแต่เขาหยิ่งต่อกำพืชเดิม และอยากให้ขึ้นชื่อลือชาปรากฏไปว่าเป็นฝีมือของชาวเมืองใด หากมาควิสแห่งชานปิงกระทำเช่นนั้นในสนามรบเป็นการถูกต้อง ในสนามหนังสือข้าพเจ้าก็ควรที่จะชักธงขึ้นว่า โชติชาวเมืองแพร่ แทนที่จะบอกว่า โชติ แพร่พันธุ์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:53 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงเทพวงศ์ หรือเจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) ตระกูลเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ องค์สุดท้าย เป็นตระกูลใหญ่สืบเชื้อสายมาจากเชื้อเจ้าเจ็ดตน ที่ปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือ หรือล้านนา เจ้าหลวงเทพวงศ์ หรือเจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง (ลิ้นทอง) (พ.ศ. ๒๓๖๑ – ๒๓๗๓) เป็นโอรสเจ้าฟ้าชายสามแห่งนครเชียงตุง (ไทยเขิน) เจ้ากาวิละ เจ้าหลวงนครลำปาง (ภายหลังได้ไปปกครองเมืองเชียงใหม่) ได้ไปรับมาไว้ที่ลำปางเนื่องจากเป็นญาติกันแล้วส่งมาปกครองที่เมืองแพร่เมื่อ พ.ศ.๒๓๖๑ (จากหนังสือฉลองเมืองแพร่ ๗๐๕ ปี) ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของเจ้าน้อยหนู รสเข้ม มหาเสวกเอกพระยาบุรุษรัตน์ราชวัลลภเป็นผู้บันทึก (ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามที่ค้นพบบ้าง)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 09 •ตุลาคม• 2012 เวลา 22:46 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ถึงคุณโชติ แพร่พันธุ์ (ยาขอบ) •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 16 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

“ทุกคนต้องอดทนต้องรับผิดชอบตัวของตัวเอง การที่หนังสือพิมพ์ทุกวันนี้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ และได้ประโคมข่าวกันอย่างครึกโครมตลอดเวลา ข้าพเจ้าไม่เห็นจะรู้สึกผิดระบอบการปกครองแต่อย่างใด ตรงกันข้ามเห็นเป็นการกันมิให้ใคร ๆ ทำอะไรผิดตามใจตัวเอง แต่ต้องตามใจประชาชนในทางเป็นธรรม” ตามที่คุณโชติ แพร่พันธุ์จะได้พิมพ์หนังสือ “นครแพร่” ขึ้น และได้ให้เกียรติยศอย่างสูงแก่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในการเขียนด้วย ข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง แต่การเขียนอะไรให้มากไป ก็มีความสงสัยอยู่มาก เพราะท่านยาขอบซึ่งได้ประพันธ์เรื่อง ผู้ชนะสิบทิศนั้น ถ้าเป็นจริงดังที่ในวงสังคมกล่าวว่าคือคุณ โชติ แพร่พันธุ์ และหากเป็นจริงดังที่กล่าวนี้แล้ว การเขียนของข้าพเจ้าก็ยังห่างไกลกับท่านผู้เขียนผู้ชนะสิบทิศนั้นมาก ข้าพเจ้าได้ยินการชมเชยท่านยาขอบในเรื่องผู้ชนะสิบทิศอยู่ทั่วไป แม้ภรรยาข้าพเจ้ายังชมเชยในถ้อยคำหลายตอนอยู่จนกระทั้งบัดนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 21 •สิงหาคม• 2011 เวลา 14:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ศาลหลักเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 13 •กรกฏาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

หลักเมืองแพร่ พื้นที่ภายในเขตกำแพงเมืองแพร่มีบริเวณหนึ่งติดกับโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ใกล้กับศาลากลางจังหวัด ในอดีตบริเวณนี้เรียกว่า สะดือเมือง เดิมมีสภาพเป็นพื้นที่ร่มรื่นมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่เป็นที่ตั้งของศาลเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านเรียกว่า ตูบผี ต่อมาพื้นที่นี้ได้ถูกถางตัดต้นไม้ใหญ่ออกและนำเอาหลักศิลาจารึกหลักหนึ่งที่พบในวัดร้างศรีบุญเริงบริเวณเรือนจำจังหวัดแพร่มาไว้ แล้วยึดถือเป็นหลักเมืองแพร่ภายหลังจึงได้มีการสร้างศาลหลักเมืองเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขึ้น พ.ศ. ๒๕๓๕ กระทรวงมหาดไทยได้สั่งการให้จังหวัดที่ไม่มีหลักเมืองให้จัดหาและสร้างหลักเมือง ตลอดจนปรับปรุงศาลหลักเมืองที่มีอยู่ให้เด่นสง่า จังหวัดแพร่จึงได้จัดสร้างเสาหลักเมืองด้วยไม้ยมหินซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ตลอดจนรื้อศาลหลักเมืองเดิมแล้วจัดสร้างใหม่เป็นแบบจัตุรมุข

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 06 •พฤศจิกายน• 2011 เวลา 12:54 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าเมืองแพร่ ยุคปู่พญาพล •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 01 •มิถุนายน• 2011 เวลา 17:23 น.•

ย้อนอดีตก่อนก่อตั้งเมืองแพร่ เป็นชุมชนเมืองเก่าอยู่ในลักษณะเมืองทางผ่านเหมือนปัจจุบัน โดยเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ซึ่งแต่ละเมืองปกครองอิสระมีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง ไม่ขึ้นต่อเมืองใด แนวคิดนี้เห็นได้จากวันพระนอนซึ่งมีอายุมากกว่าเมืองแพร่ แน่นอนต้องมีชมชนที่ตั้งอยู่ก่อนแล้ว อาจจะเป็นเพราะการประสบกับภัยธรรมชาติ โรคระบาด รวมถึงสงคราม ซึ่งยุคนั้นมีจีนแผ่นดินใหญ่เทียบได้ว่าเป็นผู้ครองโลกอยู่ก็ว่าได้ ดังนั้นสภาพของชุมชนเมืองแพร่คงไม่ใช่ชนเผ่าอย่างแน่นอนเห็นได้จากวัดพระ นอน(สร้างขึ้น พ.ศ. ๑๑๘๑) กำแพงเมืองเก่าซึ่งหลวงพลได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่จากยุคหลวงพลจนถึงลูกใน ช่วงเวลานั้นปรากฎหลักฐานกำแพงเมืองที่สูง ๗ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๔,๐๐๐ เมตร

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:11 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระธาตุช่อแฮ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 24 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ ๑๑ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่  อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ประมาณ ๘ กิโลเมตร  ในบริเวณวัด ประดิษฐานพระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นหนึ่งในพระธาตุประจำปีเกิดสิบสองราศี   คือพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล (ปีเสือ) องค์พระธาตุช่อแฮ  มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบ สูง ๓๓ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๑๑ เมตร ศิลปะแบบเชียงแสน ตามหนังสือตำนานพระเจ้าเลียบโลก  กล่าวว่าสมัยครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ดอยโกสิยะแห่งนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:12 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดพระนอน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 23 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

บันทึกที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นบันทึกที่ได้จากการบอกเล่าของเจ้าอาวาสวัดพระนอน รูปปัจจุบัน คือ ท่ารพระครูนิพันพธ์กิจจาทร ซึ่งท่านได้เล่าไว้ดังนี้  ท่านพระครูได้พบตำนานวัดพระนอนจากหนานขัดซึ่งเป็นคนเชียงใหม่และเคยอยู่วัดพระสิงห์ ได้พบตำนานวัดพระนอนจากใบลาน ซึ่งได้บันทึกเกี่ยวกับวัดพระนอนไว้ว่าวัดพระนอนสร้างโดยเจ้าพระยาชัยชนะสงครามและพระนางเจ้าอู่ทองศรีพิมพา เมื่อ จ.ศ.๒๓๖ (ปีจุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๑๑๘๑ (ค.ศ. ๖๓๘) นับรอบปีตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ จะประสูติ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระธาตุดอยเล็ง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 23 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

พระธาตุดอยเล็ง อยู่บนภูเขา(ดอย) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮ ประมาณ ๒ กิโลเมตร มีงานนมัสการพระธาตุเป็นประเพณีทุกปี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ โดยมีธรรมเนียมว่า เมื่อมาสักการะพระธาต ุช่อแฮ แล้วในวันสุดท้าย(วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖) พระธาตุดอยเล็ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดแพร่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮประมาณ ๓ กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ พระธาตุจอมแจ้งประมาณ ๔ กิโลเมตร สร้างมาพ.ศ. ใด นั้น ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีมาคู่กับพระธาตุช่อแฮและพระธาตุจอมแจ้ง ทั้ง ๓ พระธาตุนี้จะคู่กันมาหลายร้อยปี

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:30 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดหัวข่วง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 19 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

วัดหัวข่วง คาดว่าสร้างขึ้นในสมัย พ่อขุนหลวงพล เมื่อท่าน อพยพ มาจากเมืองสิบสิงปันนา (น่านเจ้า) ทางตอนใต้ของ จีน ท่าน ลงมาตั้งที่ บริเวณ อำเภอร้องกวาง แต่ก็ พบว่ามีผู้ปกครองอยู่แล้ว คือ เจ้าวงพระถางเฒ่า จึง ย้ายมาบริเวณอำเภอเมืองแพร่ เมื่อท่านมาสร้างชุมชน ใน บริเวณ ลุ่มน้ำยมแล้ว ท่านแม่ของ พ่อขุนหลวงพล ท่านเป็น คนที่รักเด็ก มาก ให้เด็กๆ มาเรียนหนังสือ แล้ว หาที่บริเวณที่เป็น ข่วง หรือแปล ว่าที่ลานกว้าง สร้างวัดหัวข่วง เอาไว้ ก่อนหน้านั้น ท่านได้สร้าง วัดหลวงไว้ ก่อนด้วย ( วัดหลวง คือ บริเวณ หน้า ศาลเาวชนและครอบครัวจังหวัดแพร่ ในปัจจุบัน) ที่ตั้งวัด อยู่ที่ตำบลในเวียง  อำเภอเมือง  เป็นวัดเก่าแก่เชื่อกันว่าสร้างในสมัยเดียวกันกับพระธาตุช่อแฮ และวัดพระหลวงธาตุเนิ้ง เมื่อปี พ.ศ. ๑๓๘๗ ขุนหลวงเจ้าเมืองพล (เมืองแพร่)  ชราภาพแล้ว

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:22 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดหลวง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 18 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 23:23 น.•

วัดหลวงเป็นวัดที่ชาวแพร่รู้จักกันดีในฐานเป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติการก่อสร้างคู่กับเมืองแพร่ กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดโบราณสถานของชาติที่มีอายุนับพันปี และเป็นที่ตั้งหอวัฒนธรรมเมืองแพร่ซึ่งรวบรวมศิลปวัตถุในท้องถิ่นซึ่งมีมาแต่อดีต วัดหลวงเป็นวัดเก่าแก่ของแพร่ ประวัติความเป็นมาของวัดกล่าวไว้ว่าวัดหลวงสร้างมานานนับพันปี โดยในระยะเริ่มแรกของการสร้างเมืองในบริเวณที่ราบฝั่งแม่นำยมซึ่งมีชื่อว่าเมืองพลนคร โดยพ่อขุนหลวงพล มีการสร้างวัดขึ้นในบริเวณทิศตะวันตกของคุ้มเจ้าหลวง เมื่อปี พ . ศ . ๑๓๗๒ คือมีการสร้างวิหารหลวงพลนคร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวงพระประธานของเมืองพลนคร

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:24 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
บ้านวงศ์บุรี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 03 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

วังฟ่อนดอทคอมได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมบ้านบ้านวงศ์บุรี ซึ่งเป็นบ้านของแม่เจ้าบัวถา มหายศปัญญา ภรรยาคนแรกของเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้ามือแพร่องค์สุดท้าย ซึ่งได้แยกมาจากคุ้มเจ้าหลวงแล้วมาสร้างบ้าน วงศ์บุรี  ตอนนี้ยังเป็นสมบัติของทายาทที่ยังดูแลบ้านให้อยู่ในสภาพเดิมที่สุด ในเมืองแพร่ยังมีศิลปกรรมแบบกึ่งคลาสสิคที่สร้างเมื่อราวร้อยกว่านี่เองก็คือ บ้านวงศ์บุรี เป็นบ้านของเจ้าพรหมสุนันตา วงศ์บุรี (หลวงพงษ์พิบูลย์) ผู้สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่ บ้านหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยช่างชาวจีนมาจากมณฑลกวางตุ้ง เมือง แพร่ก็เหมือนกับหัวเมืองต่าง ๆ ในเขตแคว้นแดนล้านนา สิทธิและอำนาจการปกครองและการบริหารบ้านเมืองทั้งหมดตกอยู่กับเจ้าผู้ครอง นครแต่ผู้เดียว มีขุนนางระดับพญา หรือ แสนหลวง เป็นผู้กำกับดูแล

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:33 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 03 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยเทพวงศ์ เป็นราชบุตรของ เจ้าหลวงพิมพิสาน กับ แม่เจ้าธิดา มีอัคคชายาเป็นแม่เจ้าทั้งสิ้น ๓ นาง คือ แม่เจ้าบัวถา แม่เจ้าบัวไหล แม่เจ้าบัวแก้ว มีเพียงแม่เจ้าบัวไหลเท่านั้นที่มีบุตรและธิดา ส่วนแม่เจ้าอีกสองนางไม่มี ส่วนบุตรธิดาอื่นๆนั้นกำเนิดแต่ภรรยาสามัญชนทั้งหมด เจ้าน้อยเทพวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระยาอุปราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๑ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ มีนามพระราชทานว่า พระยาพิริยวิไชย อุดรพิสัย วิบผารเดช สยามมิศร์สุจริตภักดี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงถือเสมือนเป็นขุนนางในราชสำนักสยาม เพราะมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษ สืบเนื่องจากเจ้าหลวงพิมพิสานพระบิดาของเจ้าน้อยเทพวงศ์ขาพิการข้างหนึ่ง ไม่สะดวกไปเฝ้าที่กรุงเทพ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 01 •ตุลาคม• 2011 เวลา 12:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดศรีบุญเรือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 03 •พฤษภาคม• 2011 เวลา 00:00 น.•

ประวัติผู้สร้างวัด จากการสืบค้นหาประวัติของการสร้างวัดศรีบุญเรืองไม่ปรากฏเอกสาร หรือหลักฐานใด ๆ ยืนยันแน่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้สร้างและสร้างในสมัยใด แต่จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เชื่อถือได้ วัดศรีบุญเรืองสร้างมานานกว่า ๒๐๐ ปีขึ้นไป และได้มีการเริ่มต้นบันทึกกันเริ่มที่ พญาแสนศรีขวาเป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์  บุตรของพญาแสนศรีขวาคือ พญาประเสริฐชนะสงครามราชภักดีต่อมา “แม่เจ้าคำป้อ” ซึ่งเป็นบุตรของพระยาประเสริฐฯ ได้สมรสกับ “พระวิชัยราชา” (นามเดิมว่า ขัติ หรือเจ้าหนานขัติ) เป็นกำลังสำคัญในการบูรณะซ่อมแซม และอุปการะวัดนี้มาตลอดอายุขัยของท่านทั้งสอง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:35 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
คุ้มวิชัยราชา •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 28 •เมษายน• 2011 เวลา 21:11 น.•

จากหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานฉลองวัดศรีบุญเรือง อำเภอเมืองแพร่ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้กล่าวถึงประวัติวัดไว้ตอนหนึ่งว่า ไม่ปรากฏหลังฐานแน่ชัดว่า ใครเป็นผู้สร้างวัดนี้และสร้างในสมัยใด แต่ประมาณว่า สร้างกันมาหลายร้อยปีแล้ว จาการบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ที่มีอายุยืนยาวและพอชื่อถือได้ว่า ประมาณ ๒๐๐ ปีเศษที่ล่วงมาแล้ว ผู้บูรณะซ่อมแซมวัดในครั้งกระโน้น คือ “พญาแสนศรีขวา”   ผู้เป็นเชื้อพระวงศ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือ และบุตรของท่านชื่อ “พระยาประเสริฐชนะสงครามราชภัคดี” ได้เป็นผู้อุปถัมภ์ บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้สืบเรื่อยมา ต่อมา “แม้เจ้าคำป้อ” ซึ่งเป็นบุตรของพระยาประเสริฐฯ  ได้สมรสกับ “พระวิชัยราชา” (นามเดิมว่า ขัติ หรือเจ้าหนานขัติ) ผู้เป็นบุตรของเจ้าแสนเสมอใจลูกหลานคนหนึ่งของเจ้าหลวงเทพวงศ์ ลิ้นทอง เจ้าผู้ครองนครเมืองแพร่ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๑ ถึง ๒๓๗๓ เจ้าหนานขัติเองเป็นต้นตระกูล “แสนสิริพันธ์”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:49 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 26 •เมษายน• 2011 เวลา 19:17 น.•

คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเจ้าหลวงพิริยชัยเทพวงศ์ คุ้มหลวงถูกรัฐบาลสยามยึด..และเปลี่ยนเป็นที่ว่าการเมือง...จนมาถึงยุคของผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ได้ใช้เป็นจวนผู้ว่าฯ... แต่ไม่มีผู้ใดจะอาศัยอยู่ได้..เนื่องจากข้างล่างใต้ดินเป็นคุกขังนักโทษ...จึงร่ำลือกันว่า ผีดุนัก... ปัจจุบันจวนผู้ว่าฯสร้างขึ้นใหม่ใกล้ๆกับคุ้มหลวง..ส่วนคุ้มหลวงกลายเป็นพิพิธภัณฑ์..แต่ไม่มีสิ่งของที่เป็นสมบัติของเจ้านายเหลืออยู่เลย....เนื่องจากถูกนำไปเป็นของใช้ส่วนตัวของผู้ที่ผลัดกันเข้ามาอยู่อาศัย..ถูกหยิบยืมไปบ้าง... ของที่อยู่ในคุ้มตอนนี้..ได้มาจากการบริจาคของชาวบ้าน...และมีแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จเยี่ยมเมืองแพร่เท่านั้น... จึงเป็นที่อนาถใจยิ่งนัก.... ทางจังหวัดได้วิงวอนร้องขอให้ผู้ที่นำไปเอามาส่งคืน แต่ ๓ ปีผ่านไปแล้ว..ยังไม่มีผู้ใดนำมาแสดงสักชิ้นเดียว คุ้มหลวงดังกล่าวนี้....หากรัฐบาลไม่ยึดเสีย..ก็คงตกเป็นสมบัติของเจ้าอินแปลง...และอาจสืบทอดต่อมายังคุณโชติ....แต่ทว่า....คงเป็นไปไม่ได้... หากไม่มีกบฎเจ้าหลวงเมืองแพร่...เจ้าอินแปลงคงไม่ได้ลงมาอยู่ที่กรุงเทพฯ..คงไม่ได้พบนางจ้อย....และคงไม่มีโชติ แพร่พันธุ์...หรือ ยาขอบ นักประพันธ์ผู้โด่งดัง..โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:54 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วนอุทยานแพะเมืองผี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •กุมภาพันธ์• 2011 เวลา 15:55 น.•

• วนอุทยานแพะเมืองผี อยู่ในท้องที่ตำบลแม่หล่าย ตำบลน้ำชำ ตำบลทุ่งทุ่งโฮ่ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2524
ลักษณะภูมิประเทศ
• วนอุทยานแพะเมืองผีมีสภาพเป็นป่าบนที่ราบลอนคลื่นบริเวณรอบนอกมีความลาดเทของพื้นที่น้อย สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200-210 เมตร

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
• ป่าไม้เป็นป่าเต็งรัง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยางเหียง พะยอม งิ้ว เปล้า สะแก ไผ่ไร่ และป่าที่ปลูกเพิ่มเติม ได้แก่ กระถินณรงค์ กัลปพฤกษ์ หางนกยูง
• สัตว์ป่าที่พบได้แก่ งู กิ้งก่า แย้ กระต่ายป่า และนกชนิดต่าง ๆ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:50 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เมืองแพร่แห่ระเบิด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 30 •พฤศจิกายน• 2010 เวลา 10:24 น.•

คำกล่าวนี้ได้ยินเมื่อประมาณ ๕๐ ปีที่แล้ว ไม่ใช่พึ่งเกิดพูดต่อ ๆ กันมา เมื่องแป้แห่ระเบิด, เมือง...กิ๋นขี้ไก่ต๋างฮ้า, เมือง...กิ๋นขี้ม้าต๋างเมี้ยง, เมือง...ห้องแถวไหล, เมือง...ข้าวหลามแจ้ง อีกหลาย ๆ คำ แต่วันนี้เรามากล่าวเรื่องเมืองแพร่กันก่อน เหตุเกิดขึ้นในท้องที่ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ หลังสงครามโลกทั้งที่ ๒ ได้สงบ เริ่มแรกนายหลง มโนมูล คนงานรถไฟสถานีแก่งหลวงได้ไปพบลูกระเบิดที่ทิ้งจากเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรจุดประสงค์เพื่อระเบิดทำลายสะพานรถไฟข้ามน้ำห้วยแม่ต้า (อยู่ระหว่างสถานีรถไฟเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ กับสถานีรถไฟบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2011 เวลา 13:25 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดศรีชุม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 18 •พฤษภาคม• 2010 เวลา 00:00 น.•

บริเวณที่ตั้งวัดศรีชุม แต่เดิมนั้นคงเป็นไม้สักที่มีความร่มเย็น และอุดมสมบูรณ์ มีฤๅษีจำนวน ๕ ตน บำเพ็ญตบะ อยู่ที่แห่งนี้ ฤๅษีได้ใช้ความรู้ด้านยาสมุนไพรช่วยรักษาชาวบ้านที่เจ็บป่วยโดยไม่หวังผลตอบแทน ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้นประชาชนชาวเมืองได้ตั้งบ้านเรือนเยอะขึ้นทำให้บริเวณแห่งนี้ไม่เหมาะกับการบำเพ็ญสมาธิภาวนา จึงได้ย้ายที่บำเพ็ญในสถานที่แห่งใหม่ ในสมัยขุนหลวงพล เจ้าผู้ครองนครแพร่ได้สร้างวัดและเจดีย์ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ทรงโปรดให้ชื่อว่า “วัดฤๅษีชุม” กล่าวว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมาก เจดีย์ห่มด้วยทองคำและมีความยิ่งใหญ่ประชากรอยู่เย็นเป็นสุข กาลเวลาต่อมากองทัพพม่ายึดอาณาจักรล้านนาแล้วยกทัพบุกเมืองแพร่ซึ่งเป็นเมืองประเทศราชได้ทำลายวัดและได้ลอกเอาทองคำกลับไปทำให้วัดศรีชุมกลายเป็นวัดร้างจากการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:40 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•