ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้414
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3646
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13414
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261645

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 6
หมายเลข IP : 18.117.107.90
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอสอง
บ้านลองลือบุญ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2014 เวลา 18:17 น.•

ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อาจารย์พัฒน์ คำเหลือง เรียบเรียง บ้านลองลือบุญ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2435 โดยกลุ่มบุคคลกลุ่มใหญ่ที่เป็นแกนนำในการจัดตั้งหมู่บ้าน เป็นผู้ที่อาศัยอพยพครอบครัว มาจากอำเภอลอง จังหวัดแพร่ เท่าที่ผู้เฒ่า ผู้แก่ได้เล่าสืบ ๆ กันมาได้ความว่า พื้นเพเดิมของบุคคลกลุ่มนี้อยู่ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย แล้วอพยพไปอยู่อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางและอำเภอลอง จังหวัดแพร่ตามลำดับ ต่อมาบริษัททำไม้ชื่อบริษัทเอเชียติค ได้รับสัมปทานในการทำไม้ที่จังหวัดแพร่จึงได้ว่าจ้างคนงานตัดฟันไม้ จากอำเภอลอง ไปตัดฟันไม้ที่ห้อยแม่มาน และบริเวณป่าอื่น ๆ ในอำเภอสูงเม่น โดยให้คนงานพักอยู่ที่บ้านหัวดง ตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น เมื่อทำไม้ที่อำเภอสูงเม่นเสร็จแล้ว ก็ได้ย้ายมาทำต่อที่อำเภอสอง โดยอาศัยพื้นที่ใกล้บริเวณแม่น้ำยม เป็นแหล่งรวมหมอนไม้ นอกจากนั้นบริษัทยังได้ว่าจ้างคนงานจากอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ และบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัย มาทำไม้ด้วย โดยคนงานจากอำเภอลองส่วนใหญ่เป็นผู้รับจ้างตัดฟัน กลุ่มลับแลและหาดเสี้ยวเป็นผู้ชักลาก ใช้พาหนะในการชักลากคือ ล้อเกวียนและช้าง ใช้สถานที่บริเวณทุ่งต้นศรี เป็นปางล้อเกวียน บริเวณฝั่งแม่น้ำยมทางทิศตะวันตกของวัดหนุนเหนือ เป็นปางช้าง ผู้รับสัมปทานได้ตั้งแค้มป์สำนักงานไว้บริเวณนั้นด้วย จนชาวบ้านเรียกบริเวณนั้นว่า บ้านห้างซึ่งหมายถึงบ้านพักของนายห้างบริษัททำไม้

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เมืองพระลอ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •มีนาคม• 2014 เวลา 11:46 น.•

เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใดพี่เอย   เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า    สองเขือพี่หลับไหล ลืมตื่น ฤาพี่   สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ ถามเผือ ลิลิตพระลอเป็นเรื่องซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง 2 เมือง คือ "เมืองสรวง" กับ "เมืองสรอง" โดยเมืองสรวงมีเจ้าเมืองผู้ครองนคร ชื่อว่า "ท้าวแมนสรวง" มีพระชายาพระนามว่า "พระนางบุญเหลือ" ทั้งคู่มีโอรสพระองค์หนึ่งรูปงามมาก นามว่า "พระลอ" ส่วนเมืองสรองนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสรวงมีเจ้าเมืองชื่ว่า "ท้าวพิมพิสาคร" ท้าวพิมพิสาครผู้นี้มีพระโอรสชื่อว่า "ท้าวพิไชยพิษณุกร" มีพระชายาชื่อว่าพระนางดาราวดี และมีพระธิดาสวยสดงดงามยิ่งชื่อว่า "พระเพื่อน กับพระแพง" คราวหนึ่งท้าวแมนสรวงได้ยกทัพไปตีเมืองสรอง ท้าวพิมพิสาคร ยกทัพไปต่อต้านจนตัวต้องสิ้นชีพไปบนคอช้าง ท้าวพิไชยพิษณุกรผู้เป็นโอรสจึงกันพระศพพระบิดาเข้าเมืองแล้วปิดประตูเมืองรักษาเมืองสรองไว้ได้ ฝ่ายท้าวแมนสรวงเห็นว่าตีเมืองสรองไม่ได้แน่จังยกทัพกลับคืนพระนคร

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
แก่งเสือเต้น อุทยานแห่งชาติแม่ยม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:41 น.•

แก่งเสือเต้น อุทยานแห่งชาติแม่ยม มีความเป็นมาในปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ นายณรงค์ วงศ์วรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สมาชิกสภาผู้แทนจังหวัดแพร่) ดำริให้กรมป่าไม้ทำการสำรวจป่าสงวนแห่งชาติแม่ปุง-แม่เป้า จังหวัดแพร่ ซึ่งมีไม้สักที่อุดมสมบูรณ์ขึ้นเองตามธรรมชาติอย่างหนาแน่น และมีทิวทัศน์ธรรมชาติอื่นๆ ที่สวยงามหลายแห่ง ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจเบื้องต้นปรากฏว่า บริเวณป่าแม่ปุงและป่าน้ำงาว น้ำสวด มีป่าสักที่สมบูรณ์ยิ่งในภาคเหนือ สภาพป่าโดยทั่วไปสมบูรณ์ดี เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำยม ทั้งยังมีทิวทัศน์ และเอกลักษณ์ทาง ธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๒๗ เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๒7 เห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติแม่ปุง” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อุทยานแห่งชาติแม่ยม” เพื่อให้เหมาะสมตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งมีแม่น้ำยมไหลผ่าน และลักษณะเด่นที่สวยงามของอุทยานแห่งชาติแม่ยมแห่งนี้เกิดจากแม่น้ำยม โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ปุง ป่าแม่เป้าและป่าแม่สอง ในท้องที่ตำบลเตาปูน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๓๔ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๒๙ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ ๕๑ ของประเทศ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 11 •มีนาคม• 2013 เวลา 19:39 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดหนุนใต้ อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •ตุลาคม• 2012 เวลา 19:04 น.•

ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนบ้านหนุนเหนือได้ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ผู้คนในชุมชนเชื่อว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับเวียงสรองในตำนานพระลอ จากที่ชุมชนริมฝั่งน้ำมีการขยายจำนวนประชากรและการย้ายเข้ามาอยู่ใหม่จากชุมชนในเวียงแพร่ จากคำพูดของผู้เฒ่าผู้แก่ที่ล่วงลับไปแล้วตอนยังมีชีวิตอยู่กล่าวว่าไม่สามารถบอกได้เลยว่าชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ โดยเฉพาะวัดหนุนใต้เดิมอยู่ใกล้ริมน้ำประสบกับสายน้ำที่เปลี่ยนทิศเข้ามาใกล้วัดมากขึ้นพอเจออุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ทำให้อุโบสถเดิมถล่มทำให้พระประธานแตกหักไม่สามารถบูรณะได้ ยังมีศิลาจารึกที่ยังอยู่ แต่ถูกประชาชนได้นำมากั้นน้ำที่นาและทำตกลงแม่น้ำศูนย์หายไป ที่เหลือปรากฏมีพระพุทธรูปที่ประดิษฐาน ณ ศาลาการเปรียญวัดหนุนใต้เดิม ประชาชนได้อันเชิญประดิษฐานไว้ที่เจดีย์วัดหนุนใต้ปัจจุบัน ส่วนพื้นที่เดิมนั้นเป็นป่าสักไปแล้ว วัดหนุนใต้สร้างขึ้นใหม่ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ หลังจากไปฟ้าและปะปาเข้าหมู่บ้าน ๓ ปี และได้รับการอุปถัมภ์จากศัทธาประชาชนบ้านหนุนใต้มาโดยตลอด

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 15 •ธันวาคม• 2012 เวลา 08:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดหนุนเหนือ อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •ตุลาคม• 2012 เวลา 18:50 น.•

ไม่ปรากฏหลักฐานว่าชุมชนบ้านหนุนเหนือได้ก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ผู้คนในชุมชนเชื่อว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับเวียงสรองในตำนานพระลอ จากที่ชุมชนริมฝั่งน้ำมีการขยายจำนวนประชากรและการย้ายเข้ามาอยู่ใหม่จากชุมชนในเวียงแพร่ ได้ก่อสร้างวัดหนุนเหนือประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๕ ต่อมาได้ขึ้นทะเบียนกับกรมการศาสนา พ.ศ. ๒๔๗๒ โดยที่ดินทางวัดได้รับบริจาคโดย พ่อหนานขัตย์ อุปพิศ เป็นผู้ถวายที่ดิน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ ปัจจุบันวัดหนุนเหนือตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๒ หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ม่คณะศรัทธาอุปถัมภ์ ๓ หมู่บ้านคือหมู่ที่ ๑, ๙, ๑๐ ที่ดินวัดมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๓ งาน ๔๕ ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ ๒ แปลง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 16 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดท่อสมาน อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 05 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:12 น.•

เนิ่นนานมาแล้วเกินที่จะจำได้ บ้านเตาปูนและบ้านก้นต้อ อยู่รวมกันที่บ้านปงเก้าผึ้งบริเวณตรงข้ามโรงเรียนบ้านเตาปูนในปัจจุบัน และมีวัด ๆ หนึ่ง ที่ใช้ประกอบศาสนกิจร่วมกันเป็นวัดม่าน (พม่า) สร้างสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน มีเจ้าปู่จันฑิมาเป็นเจ้าอาวาส อยู่บริเวณโรงเรียนบ้านเตาปูนในปัจจุบัน เนื่องจากหมู่บ้านบางส่วนไปตั้งรกรากอยู่ทางทิศใต้ คือบ้านเตาปูนปัจจุบัน มีบางส่วนย้ายขึ้นมาอยู่ที่ทางทิศเหนือโดยการนำของพ่อแคว่นวงศ์ คำเกตุ ได้นำพาสมัครพรรคพวก สมัยนั้นมีตระกูลเก่าแก่ของหมู่บ้านประมาณ ๒๐ ครอบครัว คือ ตะกูล ขันฑิมา, คำตั๋น, คำต้น, คำแข่ง, ใจหลัก, ใจอูป, อุ่นใจ, ปินใจ, ใจพรม, ยาวิราช,หมื่นสาม มาตั้งหมู่บ้านบริเวณบ้านปงและรายรอบวัดท่อสมานและบ้านห้วยรังในปัจจุบัน ซึ่งตอนนั้นได้ตั้งชื่อตามสภาพพื้นที่ คือมีท่อไม้ขขนาดใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้านบริเวณท่อลอดห้วยรัง จึงเรียกว่า บ้านก้นต้อ และทำการสร้างวัดขึ้น เรียกว่าวัดก้นต้อ เป็นวัดซึ่งดัดแปลงมาจากศาลาประชาคม โดยมีพระสงฆ์รูปแรก คือ ตุ๊เจ้าจันตาเป็นผู้ก่อตั้งวัดก้นต้อ ต่อมา ตุ๊เจ้าก๋วน คำต้น, ตุ๊เจ้าจี๋ คำแข่ง, ตุ๊เจ้ามา กิติวงศ์, และตุเจ้าน้อย คำเกต ตามลำดับ มีสามเณร ๓ รูป คือเณรแก้ว ใจอูป, เณรแก้ว หมื่นสาม และเณรแก้ว ยาวิราช ต่อมาตุ๊เจ้าน้อยลาสิขาบท ทำให้วัดไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาจึงเป็นวัดร้างตั้งแต่นั้นมา สมัยนั้นใครจะบวชจะเรียนหรือทำศาสนกิจต้องไปทำที่วัดเตาปูนอยู่หลายปี สำหรับชื่อหมู่บ้านหลายปีให้หลังมีการก่อสร้างท่อคอนกรีตทดแทนท่อไม้ชำรุด โดยอาศัยทุนทรัพย์จากชาวบ้าน เกิดความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอย่างดี จึงเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่เป็น “บ้านท่อสมาน” วัดท่อสมานได้รับการฟื้นฟูบูรณะอีกครั้งโดย ผู้ใหญ่สี ปันดิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เห็นว่าชาวบ้านได้มีการสามัคคีกันมากขึ้นการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเห็นสมควรนิมนต์พระมาจำพรรษาที่วัดท่อสมานเพื่อทำนุบำรุงศาสนาให้ประชาชนได้เข้าถึงพระธรรมได้สะดวกขึ้น โดยนิมนต์ตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต จากวัดดอนมูล จังหวัดลำปาง มาจำพรรษาอยู่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณะวัด สร้างกำแพง สร้างพระประธาน จนถึงสมัย ผู้ใหญ่วิญญู ธราวรรณ สร้างกุฏิ มีการบวชสามเณรขึ้นมาหลายรูป สมัยตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต ได้สร้างวัดจนสำเร็จ ได้ผูกพันธสีมา พ.ศ. ๒๕๓๕ ปี ๒๕๓๖ ตุ๊ลุงเหมย สุจิตโต ได้มรณภาพลง จึงได้นิมนต์พระครูวิจารณ์ สันติธรรม จากวัดเตาปูน มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จนท่านได้มรณภาพเมื่อปี ๒๕๔๗

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 18 •ตุลาคม• 2012 เวลา 20:17 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดเตาปูน อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 05 •ตุลาคม• 2012 เวลา 20:35 น.•

ประวัติวัดเตาปูน ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ประมาณ ๑๐ กว่าปี เดิมมีชื่อว่า “วัดศรีบุญเรือง” สร้างขึ้นมานานแล้ว โดยการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา มีครูบาอุด มาจำพรรษาอยู่เพราะว่าเป็นวัดร้างจากการถูกพม่ามาโจมตี ในวัดแห่งนี้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่อยู่องค์หนึ่งที่พื้นใต้ศาลานั้นมีถ้ำอยู่ลักษณะเป็นวังลึกมาก จากคำบอกเล่าคนโบราณเอาไม้ยาวประมาณ ๑๐ เมตร หยั่งลงไปก็ยังไม่ถึงพื้นดิน หลังจากนั้นมีฝนตกหนักมากติดต่อกันหลายวันทำให้ดินทรุดตัวทั้งศาลาและพระพุทธรูปองค์ใหญ่พังทลายลงไปในถ้ำน้ำลึก ช่วงนั้นมีครูบาจันทิมาอยู่ด้วย เดิมทีวัดศรีบุญเรืองตั้งอยู่ที่โรงเรียนบ้านเตาปูนตั้งอยู่ปัจจุบัน หลังศาลาและพระพุทธรูปจมน้ำ ครูบาจันทิมาจึงย้ายวัดมาตั้งใหม่ชื่อ “วัดเตาปูน” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ จากคำบอกเล่าของพ่อใหญ่ตี้ สุขสาด (ผู้สูงอายุบ้านเตาปูน) เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๙

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •ตุลาคม• 2012 เวลา 19:33 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดแดนชุมพล อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 04 •ตุลาคม• 2012 เวลา 16:54 น.•

วัดแดนชุมพล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ในสมัยนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ และยังใช้ชื่อเป็น วัดสาละวัน และได้มีสามเณรรูปแรกของบ้านแดนชุมพล (จำฮั่ง) คือสามเณร เขียน ปลงใจ ในพ.ศ. ๒๔๙๘ คณะศรัทธาได้สร้างกุฏิไม้ตอนนั้นยังไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ต่อมาได้ไปนิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ ที่วัดแดนชุมพล (สาละวัน) ต่อมาได้สร้างสาลาการเปรียญหนึ่งหลังในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ต่อมาสร้างพระอุโบสถในปีพ.ศ. ๒๕๓๐ และได้ผูกพัธสีมาในปี พ.ศ.๒๕๔๒ และสร้างกุฏิปูนในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ หลักฐานทางวัตถุ พระอุโบสถวัดแดนชุมพลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓, หอระฆังวัดแดนชุมพลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ลำดับเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ - ปัจจุบัน ดังนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 04 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อ่างเก็บน้ำแม่สอง อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 02 •ตุลาคม• 2012 เวลา 16:17 น.•

ร้อยรัดดวงใจเพื่อเทิดไท้องค์ราชัน ที่พระองค์ทรงฝ่าฟันให้ไทยนั้นได้ร่มเย็น "... เรื่องน้ำนี้ ก็เป็นปัจจัยหลักของมวลมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น แม้สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ทั้งสัตว์ทั้งพืช ถ้าไม่มีก็อยู่ไม่ได้ เพราะว่าน้ำเป็นสื่อ หรือเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต แม้สิ่งไม่มีชีวิตก็ต้องการน้ำเหมือนกัน มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นอะไรไม่ทราบ เช่น ในวัตุถุต่างๆ ในรูปผลึก ก็ต้อง มีน้ำในนั้นด้วย ถ้าไม่มีน้ำก็จะไม่เป็นผลึก กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีรูป ฉะนั้น น้ำนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่กล่าวถึงข้อนี้ก็จะให้ได้ทราบถึงว่า ทำไมการพัฒนา ขั้นแรกหรือสิ่งแรก ที่นึกถึงก็คือโครงการชลประทาน แล้วก็โครงการ สิ่งแวดล้อมทำให้น้ำดี สองอย่างนี้อื่นๆ ก็จะเป็นไปได้ถ้าหากว่า ปัญหา ของน้ำนี้ เราได้สามารถที่จะแก้ไข หรืออย่างน้อยที่สุด ก็ทำให้เรามีน้ำใช้ อย่างเพียงพอ ฉะนั้นการพัฒนานั้นสิ่งสำคัญก็อยู่ตรงนี้ นอกจากนั้น ก็เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง เช่นวิชาการในด้านการเพาะปลูก เป็นต้น ตลอดจนถึง การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม หรือการค้า หรือการคลัง อะไร พวกนี้ก็ต่อเนื่องต่อไป... " พระราชดำรัส วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๒ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน โครงการอ่างเก็บน้ำแม่สอง พระราชดำริเมื่อ วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๒๕ สถานที่ตั้ง บ้านท่อสมาน ต.เตาปูน อ.สอง จ.แพร่ วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้เสริมการเพาะปลูกในฤดูฝนและการปลูกพืชฤดูแล้ง เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้เพื่ออุปโภค-บริโภค เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำให้ราษฎรบริโภคและมีรายได้เสริมจากการทำการประมง เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของราษฎรในบริเวณใกล้เคียง เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ บรรเทาการเกิดอุทกภัย สภาพทั่วไป เป็นป่าและภูเขา ประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการ ๒๗,๐๐๐ ไร่ ระยะเวลาก่อสร้าง เริ่ม พ.ศ. ๒๕๓๐ เสร็จ พ.ศ.๒๕๓๙

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 02 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:14 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดศรีมูลเรือง อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 03 •สิงหาคม• 2012 เวลา 22:14 น.•

วัดศรีมูลเรืองนำสร้างโดยพระอธิการวัลลภ(ตุ้ย) ผิวละออ ฉายา เขมงฺกโร ได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยได้รับบริจาคที่ดินจาก จ่าสิบตรี ศรีมูล นางคำแปง คงชนะ (ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “ศรีมูลเรือง”) วัดศรีมูลเรืองตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ สังกัดสงฆ์คณะมหานิกาย ทิศเหนือติดกับโรงเรียนบ้านศรีมูลเรือง ทิศใต้ติดกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกติดกับถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดกับทางหลวงสายวังซ้าย มีพื้นที่ทั้งหมด ๓ ไร่ ๕๕ วา ตามหนังสือ น.ส.๓ก. เลขที่ ๑๓ ที่ธรณีสงฆ์แปลงที่ ๒ เนื้อที่ ๗ ไร่ ๑ งาน ๖๐ วา ตามหนังสือสำคัญ น.ส.๓ก. เลขที่ ๑๙๕๙ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 03 •สิงหาคม• 2012 เวลา 23:52 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำนานพระธาตุหนองจันทร์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 29 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 20:12 น.•

ตำนานพระธาตุหนองจันทร์ ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ วัดพระธาตุหนองจันทร์เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในอำเภอสองเป็นคู่กับพระธาตุพระลอ ตั้งออยู่ตำบลห้วยหม้าย ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำยมห่างจากที่ว่าการอำเภอสองประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ห่างจากถนนสายสอง-งาวทิศตะวันตกบ้านลูนิเกตไปประมาณ 3 กิโลเมตร ความเป็นมา ในตำนานซึ่งมีอยู่ในพระธรรมเทศนาพื้นเมือง กล่าวไว้ว่าโพธิสัต โต ชาโต สุวัณณะมาสะระภะมิคคะ คุมภะ เทว เอกัง ปัพพัตตัง อะโหสิ ฯลฯ

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
บ้านและวัดมัทธะ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 29 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 17:25 น.•

ประวัติวัดมัทธะ หรือวัดแม่ทะ แรกก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์ อยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน (ยังคงเป็นที่มาของวัดปัจจุบันนี้) เมื่อปี พ.ศ๒๔๕๘ โดยมีหลวงพ่อบุญมา (จะเป็นคนเดียวกับตุ๊ลุงตุ้ย ที่มาจากวัดเหนือบ้านต้นหนุนหรือไม่) พ่อวงค์ วังกาษร และพ่ออาจารย์วัง เครือเหิน (อาจารย์วัด) เป็นผู้นำในการก่อสร้าง ต่อมาหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้น ประมาณ 60-70 หลังคา ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ก็ย้ายวัดมาจากทางทิศเหนือหมู่บ้านมาสร้างใหม่ ณ ที่ปัจจุบันนี้ พร้อมกับได้ย้ายโรงเรียนวัดมัทะมาพร้อมในปีเดียวกัน ผู้นำหมู่บ้านที่เป็นแรงสำคัญในการสร้างวัดและโรงเรียนสมัยนั้นก็มี อาทิ พ่อกำนันดำ เกาษร อดีตกำนันตำบลต้นหนุน และต่อมก็มี พ่อผู้ใหญ่ดำ สืบแสน และต่อมาก็มีพ่อผู้ใหญ่เล็ก โลกคำลือ เป็นต้น และอีกหลายๆ ท่านผู้แก่หลายท่านก็ได้เสียสละชีวิไปแล้วต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๓ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมราชานุวัตร อดีตเจ้าคณะภาค ๕ เจ้าอวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ท่านได้มาเยี่ยมวัดแม่ทะ

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดกลาง อำเภอสอง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 04 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 20:14 น.•

วัดกลาง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๙ หมู่ ๕  ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ห่างจากี่ว่าการอำเภอสอง ๒๐๐ เมตร มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๗ ตารางวา เป็นวัดเก่าแก่ แต่โบราณกาล ประวัติทางการระบุไว้ว่าก่อตั้งมาเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๓๒๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑ กุมภาพัน ๒๔๘๘ ผูกสีมา ๑ กุมภาพัน ๒๔๘๙ ได้ทำการเปิดสอนพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ มีการสร้างอุโบสถเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยมีเจ้าอธิการเดช(มูล) อุตตโม เป็นประธานในการก่อสร้าง สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ๓๕๐,๔๐๙ บาท ต่อมามีการบูรณะเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาและเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกา ใช้งบประมาณจากการบริจาคจำนวน ๗๔๙,๗๖๕ บาท โดยมีท่านพระครูวิสุทธิธรรมธารีเป็นประธานในการบูรณะ ต่อมาให้สร้างพระพุทธรูปองค์พระประธานใหญ่ปี ๒๕๐๐ วัดกลางมีเจ้าอาวาสปกครองวัดมาตั้งต้นดังนี้ ๑. ครูบาอุด อุตตโม ๒. ครูบาปุ๊ด พุทธวํโส ๓. ครูบาเทพ เทพรํสี ๔. ครูบาภิชัย อภิชยโย ๕. เจ้าอธิการเดช(มูล) อุตตโม พ.ศ. ๒๔๗๔ – ๒๕๐๒ ๖. พระครูวิสุทธิธรรมธารี (วิสิทธิ์ วิสุทโธ) พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๔๘ ๗. พระครูกันตสีลพิธาน (พระอธิการนิพนธ์ กนฺตสีโล) พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 14 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 08:49 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดห้วยขอน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 08 •มิถุนายน• 2012 เวลา 16:50 น.•

วัดห้วยขอนตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๖ บ้านห้วยขอน ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เบอร์โทรศัพย์ ๐๕๔-๕๘๖๒๒๒, ๐๘๖-๖๐๕๐๘๒๙, ๐๘๔-๔๘๔๕๘๒๘ วัดห้วยขอนสร้างเมื่อ วันที่ ๕ เดือน เมษายน พ.ศ ๒๔๘๑ วัดห้วยขอน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๔๘๖ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ มีอาณาเขต ทิศเหนือ ติดกับ โรงเรียนบ้านห้วยขอน ทิศใต้ ติดกับ ลำห้วยห้วยขอน ทิศตะวันออก ติดกับบ้านห้วยขอนหมู่ที่ ๑๑ ทิศตะวันตก ติดกับบ้านห้วยขอนหมู่ที่ ๓ ประวัติโดยย่อของการสร้างวัดห้วยขอน ก่อนนั้นบ้านห้วยขอนเป็นเพียงหมู่บ้านป่าเล็กๆ หมู่บ้านหนึ่งเท่านั้นยังไม่มีวัดวาอารามดัง เช่นปัจจุบัน ชาวบ้านห้วยขอนแต่ก่อนนั้นถ้าหากจะทำบุญตักบาตรก็ต้องไปที่วัดหล่ายร้คง (วัดห้วยหม้ายเดิม) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๑๓ วัดหล่ายร้องถูกน้ำยมท่วมพระวิหารและกุฏิถูกน้ำพัดเสียหายหมดจึงได้ย้ายมาสร้างที่วัดห้วยหม้ายในปัจจุบันนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 08 •มิถุนายน• 2012 เวลา 17:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดลูนิเกต •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 01 •มิถุนายน• 2012 เวลา 16:20 น.•

บันทึกเหตุการณ์วัดบ้านลูตั้งอยู่บนฝั่งขวา ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมในเขตตำบลห้วยหม้าย (เดิมขึ้นกับตำบลบ้านหนุน) อำเภอสอง จังหวัดแพร่ วัดลูนิเกตเดิมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดลู แต่มีสร้อยออกไปว่า วัดลูนิเกต นั้นเป็นนามที่เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางเจ้าคณะจังหวัดแพร่เพิ่มให้วัดนี้ เมื่อมาตั้งครั้งแรกได้ขนานนามชื่อวัดไปตามชื่อของหมู่บ้าน ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ทราบว่า เดิมนำยมได้พังเข้ามาติดกับตลิ่งหรือกับฝั่งที่อยู่หน้าวัดทุกวันนี้แต่ตอนตะวันตอนตะวันตกเฉียงเหนือของวัดขึ้นไปมีน้ำวังน้ำลึกและตรงฝั่งมีรูลึกเข้าไป แต่จะลึกเข้าไปเท่าไหร่นั้นไม่ปรากฏและวังน้ำนั้นยังถูกเรียกว่าวีงรูด้วยในขณะนั้นนั้นยังมีปูลูอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากจึงเรียกว่าบ้านลูอีกในหนึ่งก็เรียกไปตามปูลูแต่ต่อมาที่ตรงนั้นก็กลายเป็นหนองน้ำไปสังเกตไม่ได้ว่ารูจะอยู่ที่ตรงไหนเพราะเมื่อน้ำยมได้ย้ายไปเดินฝากตะวันออก ยังฝั่งซ้ายที่นั้นจึงกลายเป็นหนองน้ำไปและถูกโคลนและหินทรายทับถมจึงตื้นเขินไปหมดจึงเป็นอันยุตติว่าประชาชนผู้ตั้งบ้านเรือนที่แรกได้ขนานนามว่า บ้านรู วัดจึงถูกเรียกชื่อวัดไปตามบ้านจนถึงปัจจุบัน หมายเหตุการณ์เปลี่ยนชื่อ รู เป็น ลู นั้นในปัจจุบันมันมีความหมายว่าภาษาไทยว่า ร นั้นคือ ภาษาพายัพเราเรียกว่า ฮู ซึ่งมีความหมายที่ไม่แน่ชัดจึงเปลี่ยนชื่อเป็นลู  ต่อมาต้องการเปลี่ยนชื่อใช้เป็นสิริมงคลและสวยงามจึงเติมคำตามหลังหรือสร้อย จึงมีชื่อว่า ลูนิเกต

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 02 •มิถุนายน• 2012 เวลา 12:46 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดโทกค่า •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 05 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 15:24 น.•

วัดโทกค่า ตำบลแดนชุมพล อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นวัดที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องจากคณะศรัทธาในหมู่บ้านและต่างจังหวัด ผมได้มีโอกาสได้เข้าไปบันทึกภาพวันที่ศรัทธาจากกรุงเทพได้มีการถวายพระพุทธรูป และมีโอกาสได้ถามเรื่องราวประวัติปรากฎว่าทางวัดยังไม่ได้ทำประวัติจึงฝากให้ทางผู้นำช่วยกันทำขึ้นมาครับเพื่อลูกหลานจะได้ศึกษาเรียนรู้ถึงเรื่องราวในชุมชนฝากทางอำเภอสองช่วยประสานด้วยนะครับ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 15 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 07:59 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดคุ้มครองธรรม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 18 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:35 น.•

วัดคุ้มครองธรรม ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔ บ้านคุ้ม หมู่ที่ ๑๒ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเน้อที่ ๕ ไร่ ๓ งาน ๓๐ ตารางวา และตอนนี้กำลังขยายพื้นที่ออกไปโดยกำลังศรัทธาและการบริจาค วัดคุ้มครองธรรมสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร เหตุที่ได้นามว่า “วัดคุ้ม” เพราะที่ตั้งวัดมีศาลเจ้า (เจ้าพ่อเลี้ยงกุมภัณฑ์) ตั้งอยู่ คนเมืองเหนือเขาเรียกที่อยู่ของเจ้าว่า “คุ้ม” พอมีคนมาตั้งบ้านเรียนก็เลยให้ชื่อบ้านว่า “บ้านคุ้ม” วัดก็เลยใช้ชื่อว่า “วัดคุ้ม” ตามชื่อของหมู่บ้าน อีกนัยหนึ่งมีเรื่องเล่าสืบต่อกันว่า สมัยโบราณที่วัดคุ้มรองธรรมเคยเป็นที่ประทับของเจ้าหลวงเมืองแพร่

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระธาตุพระลอ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 15 •ตุลาคม• 2011 เวลา 13:10 น.•

ชุมชนโบราณในจังหวัดแพร่มีกระจายอยู่ในพื้นที่หลายอำเภอ อำเภอที่มีแหล่งชุมชนโบราณตั้งอยู่มากที่สุดคืออำเภอลองและรองลงมาคืออำเภอเมืองแพร่ จึงเป็นสิ่งยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองในเขตพื้นที่ต้นน้ำแม่ยม อันเป็นที่ตั้งของจังหวัดแพร่ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ชุมชนโบราณในจังหวัดแพร่ที่แสดงถึงร่องรอยความเจริญของพื้นที่จังหวัดแพร่ชุมชนแรกที่วังฟ่อนดอทคอมขอนำเสนอคือ เมืองสองหรือเมืองสรอง ตั้งอยู่ที่บ้านต้นผึ้ง ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง บนฝั่งแม่น้ำสองหรือแม่น้ำกาหลง ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำยม

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 17 •ตุลาคม• 2011 เวลา 15:18 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติการวัดนาหลวง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 25 •เมษายน• 2011 เวลา 10:24 น.•

สร้างตามแบบฉบับ ของพระสังฆราชมหินทะเถระ วัดป่าหนองท่า เมืองสะปุงลำพูน อันได้สืบทอดมาจากพระสังฆราชเจ้าในพุกามประเทศ ในสมัยพระเมืองแก้วเจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ ๑๔ แห่งราชวงค์ละวะจังกะราช (ราชวงค์มังราย) ในพ.ศ. ๒๐๔๖ เมื่อ ๕๐๗ ปีที่ผ่านมา และได้นำมาประยุกต์กับตำราทางภาคกลางเล็กน้อยให้เข้า กับยุคสมัย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นการสร้างต้องให้แล้วเสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมงคือทำให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
บ้านหนองเสี้ยว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 29 •มีนาคม• 2011 เวลา 21:19 น.•

ความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเสี้ยว   ตำบลหัวเมือง   อำเภอสอง   จังหวัดแพร่   แต่เดิมที่ตั้งของหมุ่บ้านอยุ่ติดกับฝั่งแม่น้ำยม  ในปัจจุบัน  ต่อมาได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยุ่รวมกันในหมุ่บ้านปัจจุบันสาเหตุเพื่ออพยพเพราะเห็นว่าเป็นเนื้อที่สำหรับ ทำนา ทำสวน ทำไร่ อาศัยว่าพื้นที่นี้อุดมสมบุญทั้งอาหารและที่ทำกินจึงได้พากันอยพพาข้ามมาจากบ้านต้นหนุนคนแรกได้แก่พ่อเฒ่าหน้อยยวนค์ แพทย์สมาน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •กันยายน• 2011 เวลา 18:39 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
บ้านดงเจริญ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 27 •มีนาคม• 2011 เวลา 20:54 น.•

เริ่มต้นจาก อดีตตั้งอยู่"บ้านต้นผึ้ง – บ้านร่องเสือเต้น" พอดีในปี พ.ศ. 2482 ได้เกิดน้ำท่วมติดต่อกันหลายครั้ง และมักมีสัตว์ป่ามารบกวนชาวบ้าน และมาขโมยสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านที่เลี้ยงไว้ สัตว์ที่มารบกวน เช่น เสือ มีชุกชุมมาก ชาวบ้านเลยได้ย้ายบ้านขึ้นมาอยู่ในแถวบ้านดงเจริญในปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •กันยายน• 2011 เวลา 18:39 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดห้วยหม้าย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 22 •มีนาคม• 2011 เวลา 23:25 น.•

วัดห้วยหม้าย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำยม มีคณะศรัทธาบ้านร่องถ่าน คณะศรัทธาบ้านห้วยหม้าย คณะศรัทธาบ้านป่าคาคณะศรัทธาบ้านห้วยหม้ายหล่ายห้วย และคณะศรัทธาบ้านป่าแดงใต้(บางส่วน)คณะศรัทธาบ้านห้วยกาญจน์(บางส่วน)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 31 •มีนาคม• 2011 เวลา 16:55 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ประวัติบ้านและวัดนาหลวง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 02 •มีนาคม• 2011 เวลา 23:46 น.•

ประวัติบ้านนาหลวงเมื่อพ.ศ. ๒๒๔๙  พ่อเฒ่าทาซึ่งเป็นพรานป่าจากบ้านทุ่งวัวแดง  อำเภอสาจังหวัดน่านได้เดินทางเข้ามาล่าสัตว์ ได้มาเห็นบริเวณที่ราบของห้วยเอียบ ห้วยเป้า และห้วยแม่เต้น ที่มีผืนป่าอุดมสมบูรณ์จึงได้ชักชวนพรรคพวก และญาติพี่น้องประมาณ ๑๐ ครอบ ครัว  เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ทำการบุกเบิกพื้นที่ทำไร่ ทำนา ทำสวน และได้สร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๒๕๙โดยการร่วมแรงรวมของชาวบ้าน ในเวลาต่อมา เจ้าหลวงถ้ำสาซึ่งเป็นเจ้าผู้ครองเมืองสา ต้องการหาเสบียงต่างๆเพื่อส่งให้แก่เจ้าผู้ครองเมืองน่าน เจ้าหลวงถ้ำสาจึงกำหนดให้พื้นที่ในเขตบ้าน ที่พ่อเฒ่าทา และพรรคพวกอาศัยอยู่ทำนาเพื่อส่งข้าวเปลือกให้เจ้าหลวงถ้ำสา เพื่อส่งส่วยให้กับเจ้าเมืองน่าน ต่อมาผืนนาที่ใช่ส่งข้าวให้หลวงจึงถูกขนานนามว่า “นาหลวง” ซึ่งใช้เป็นชื่อของหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบันนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 15:41 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดทุ่งน้าว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 04 •กุมภาพันธ์• 2011 เวลา 14:04 น.•

วัดทุ่งน้าวตั้งอยู่เลขที่ 64 หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง  จังหวัดแพร่ วัดทุ่งน้าว เริ่มตั้ง พ.ศ.ใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวัด วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 27 เดือนกันยายน พ.ศ. 2481 ได้ผูกพันธสีมา  วันที่ 9 เดือนมีนาคท พ.ศ. 2486 สังกัดมหานิกาย  เนื้อที่ตั้งวัด จำนวน 6 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 15:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดหนองบัว •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 20 •มกราคม• 2011 เวลา 20:27 น.•

วัดหนองบัวข้อมูลรอการอัพเดทครับ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 29 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 20:30 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดดงเจริญ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 14 •มกราคม• 2011 เวลา 13:15 น.•

ประวัติวัดดงเจริญ

วัดดงเจริญ   ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ.   ๒๔๙๒   เป็นสำนักสงฆ์ จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดดงเจริญแล้วใน   วันที่   ๑๓     มกราคม    พ.ศ.  ๒๕๓๗  ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา   เมื่อก่อนนี้บ้านดงเจริญขึ้นอยู่ เป็น ต.บ้านหนุน  อ.สอง  บ้านดงเจริญ  ย้ายมาจากบ้านต้นผึ้ง  และบ้านหัวเมืองบางส่วน  พ่อใหญ่ตุ้ยเป็นคนแรกที่พาพรรคพวกย้ายมา  และก่อนนั้นเข้าเรียกว่าวัดดงจ้อย  เพราะว่ายังเป็นป่า  ดงเสือ    ช้าง   เป็นป่าดงดิบทึบ  ต่อมาเปลี่ยนเป็น ชื่อดงเจริญ  มาจนถึงทุกวันนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •กันยายน• 2011 เวลา 18:41 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดหัวเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 26 •พฤศจิกายน• 2010 เวลา 21:35 น.•

วัดหัวเมืองถือได้ว่าเป็นวัดที่อายุเก่าแก่ของจังหวัดแพร่วัดหนึ่งตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านสันนิษฐานว่าเริ่มก่อสร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยมีกลุ่มชาวบ้านซึ่งไม่ทราบที่มาชัดเจนว่าได้ย้ายถิ่นฐานมาจากที่ใด ที่เข้ามาปักหลักทำมาหากินอยู่ในเขตพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำยมในสมัยนั้น ประวัติวัดหัวเมือง เดิมวัดหัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปทางทิศใต้ประมาณ ๓๐๐ เมตร แต่เนื้องจากสภาพการไหลของแม่น้ำยมนั้นได้เปลี่ยนทิศทางอยู่เสมอจนได้กัดเซาะตลิ่งซึ่งติดบริเวณวัดหัวเมืองเดิมทำให้พื้นที่วัดได้รับความเสียหาย ทางเจ้าอาวาสคือพระอธิการพรมจักร แก่นเรณู และผู้นำหมู่บ้านโดยแกนนำของขุนเสนา ไข่คำ จึงได้พร้อมใจกันย้ายวัดมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เหนือ เดือน ๘ ใต้ นับตั้งแต่ย้ายวัดเป็นต้นมา ชาวบ้านต่างก็พร้อมใจกันสร้าวัดขึ้นใหม่ โดยเริ่มจากการใช้ไม้ไผ่ในการสร้างกุฏิและวิหาร เพราะในสมัยนั้นวัสดุก่อสร้างล้วนแล้วแต่เป็นของราคาแพงและค่อนข้างหายากสำหรับแถบชนบท ต่อมาในสมัยของพระอธิการพรหมจักร พรหมจกฺโก เจ้าอาวาสวัดหัวเมือง และคณะศรัทธาก็ได้พร้อมใจกันสร้างพระประธานเพื่อสักการบูชาในวิหารไม่ไผ่ ซึ่งเดิมทีทางวัดมีเพียงพุทธรูปองค์เล็ก ๆ ไม่กี่องค์เท่านั้น โดยได้ฤกษ์ก่อสร้าง เมื่อวันพุธ ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘ มีพ่อาล่าอุ๊ เวียงโกศัย ช่างผู้ก่อสร้าง โดยมีลักษณ์เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ใช้ไม้ขนุนเป็นแกนโครงสร้างด้านใน ศิลปะล้านนาแบบเมืองแพร่โบราณ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 10 •กันยายน• 2012 เวลา 21:18 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดสันปู่สี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 20 •พฤศจิกายน• 2010 เวลา 20:02 น.•


วัดสันปู่สีจังหวัดแพร่ (watsunpusee) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๙ หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นที่กำลังพัฒนาซึ่งเป็นวัดที่ก่อตั้งขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕ ซึ่งแต่เดิมมานั้นวัดได้ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของหมู่บ้านต่อมาก็ร้างไปเพราะไม่มีพระจำพรรษาอยู่และอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านด้วยจึงทำให้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 02 •กันยายน• 2011 เวลา 18:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 1 จาก 2•