ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้240
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3472
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13240
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261471

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 5
หมายเลข IP : 3.135.202.224
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
อำเภอเมืองแพร่
วัดเหมืองแดง อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 14 •มิถุนายน• 2013 เวลา 21:18 น.•

วัดเหมืองแดง สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๗ ที่ได้ชื่อว่า “เหมืองแดง” เนื่องจากก่อนสร้างวัด มีหนองน้ำซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุโบสถหลังปัจจุบัน มีน้ำสีแดงคล้ายเลือดปนไหลออกไปบรรจบกับลำเหมืองซึ่งผ่านหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อตามปรากฏการณ์นี้ว่า “เหมืองแดง” ส่วนท่านผู้นำในการบุกเบิกสร้างวัดคือ ครูบาวงศ์ ท่านเป็นชาวบ้านเหมืองแดงแต่ไปบวชอยู่วัดน้ำคือ (วัดเมธังกราวาส) ภายหลังท่านได้ขออนุญาตเจ้าอาวาสกลับมาสร้างวัดที่บ้านเกิด เมื่อวัดมีฐานะมั่นคงดีแล้ว ท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรกและวัดเหมืองแดงเมื่อได้รับการอุปการอุปถัมภ์จากชาวบ้านอย่างสม่ำเสมอ จึงเจริญมั่นคงมาจนถึงปุจจุบันนี้ ลำดับเจ้าอาวาส ๑ ครูบาอภิวงศ์ ๒ ครูบาคำตั๋น สุคนฺโธ ๓ ครูบาหลง ๔ พระเติง ๕ พระดัด กลฺยาโณ (ปลูกเพาะ) ๖ พระดั ๗ พระเกี๋ยง กนฺตธมฺโม ๘ พระชาญ วัดเหมืองแดง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๗ บ้านเหมืองเมือง ตำบลในเวียง  อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เขตวิสูงคามสีมา กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๕ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๓ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 21 •มิถุนายน• 2013 เวลา 23:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดเหมืองค่า อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 03 •มิถุนายน• 2013 เวลา 09:46 น.•

วัดเหมืองค่า สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๒ ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของบ้านเหมืองค่า ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙ หมู่ ๖ ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีพุทธบริษัทศรัทธาทำนุบำรุง ๒ หมู่บ้าน คือบ้านสะบู และบ้านเหมืองค่า สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๗๕ ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดเลขที่ ๖๗๓๙๓, ๖๗๓๙๔, ๖๗๓๙๕ และอีกแปลงหนึ่งยังไม่มีเอกสิทธิ์ที่ดินแต่ได้ขึ้นทะเบียนที่ดิน ศาสรสมบัติ ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองไว้แล้วทะเบียนเลขที่ ๑๔๕ วัดเหมืองค่าตามตำนาน เดิมชื่อว่า วัดสงัดดงเย็น สร้างขึ้นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปี พ.ศ.๒๑๘๐ ที่วัดเหมืองค่า มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือและเชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ชื่อว่า "หลวงพ่อลือ" หรือ "หลวงพ่อฤๅ"

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 15 •มิถุนายน• 2013 เวลา 22:38 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดนาแหลมเหนือ อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 31 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 07:08 น.•

วัดนาแหลมเหนือ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๓ กิโลเมตร แต่เดิมสภาพพื้นที่บ้านนาแหลมเป็นพื้นที่ทำนา เมื่อถึงฤดูทำนาต้องมีการพักแรมกันนานหลายเดือน คำว่านาแหมสันนิฐานว่า หมู่บ้านตั้งอยู่เรียงรายแบบชายธงแหลมลงมา ในอดีตบ้านนาแหลมเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนดังปรากฏซากปรักหักพังของวัดวาอารามของหมู่บ้านทั้งสี่ทิศ แต่ช่วงที่เกิดความไม่สงบของภัยสงครามจึงทำให้ชาวบ้านอพยพไปอยู่ที่อื่นระยะหนึ่ง วัดนาแหลมเหนือ เกิดจากการนำของพ่อหนานปัญญา เดชธรรม ได้พาชาวบ้านมาจับจองพื้นที่สาธารประโยชน์ ทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้านเดิม แล้วสร้างวัดขึ้นมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ โดยมีพ่อเจ้าหน้อยคำมูล และคณะศรัทธาจากในเมืองช่วยบริจาคทรัพย์ในการสร้างเดิมมีชื่อว่า “วัดดอนแกแร้งพัก” เพราะสมัยนั้นมีนกแร้งจำนวนมากพักอาศัยอยูที่ต้นดอกแก (ต้นชงโค) แถบบริเวณนั้น และชาวบ้านได้นิมนต์ท่านครูบาอนุมาประดิษฐานในวิหาร องค์ใหญ่มีขนาดหน้าตักประมาณ ๔๐ นิ้ว องค์เล็กมีขนาดหน้าตักประมาณ ๒๕ นิ้ว ภายหลังพระพุทธรูปองค์ใหญ่สูญหายในปัจจุบันเหลือแต่องค์เล็กเท่านั้น พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่ครูบาเต็ม อินฺทจกฺโก พร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกันรื้อถอนวิหารหลังเก่าเพื่อสร้างใหม่ ฉาบด้วยปูน พ.ศ. ๒๔๘๗ ให้สล่าผิ้ว ชาวบ้านกวาว ปั้นพระพุทธรูปปูนเป็นพระประธานในวิหารและเปลี่ยนชื่อวัดให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านเป็น วัดนาแหลมเหนือ จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๑๙ พระอธิการบุญเส่ง ปญญาสาโร และคณะศรัทธาได้สร้างวิหารหลังใหม่แทนหลังเก่า และสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖ จึงได้มีงานฉลองพร้อมกันกับศาลากสนเปรียญหลังใหม่

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 07 •มิถุนายน• 2013 เวลา 11:55 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดสำเภา อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 30 •พฤษภาคม• 2013 เวลา 21:31 น.•

วัดสำเภา ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นวัดร้าง เพราะมีเจดีย์ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นฐานเจดีย์ของวัด อยู่ทางด้านทิศเหนือของวัด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ พระครูมหาญาณสิทธิ์ (ครูบาคันธา) เจ้าอาวาสและเจ้าคณะตำบลเหมืองหม้อ ได้นำพระภิกษุ สามเณร พร้อมทั้งศรัทธาชาวบ้านมาพัฒนาแผ้วถางบริเวณวัดแห่งนี้ ซึ่งเป็นป่าทึบรกร้างมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นทั่วบริเวณให้เป็นที่โปร่งโล่งเตียนราบพอถึงวันเทศกาลวันตรุษสงกรานต์ ชาวบ้านก็ให้เป็นที่ฝึกวิทยายุทธการต่อสู้ มีการฝึกดาบ ตีมะผาบ โดยใช้สติปัญญาไหวพริบที่รวดเร็วต่อสู้กัน ชาวบ้านเรียกสถานที่นี้ว่า “ข่วงเจิง”  กาลต่อมามีหลวงพ่อมังกาละ พระธุดงค์จากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ขอพักวัดแห่งนี้ทางคณะศรัทธาชาวบ้าน โดยการนำของนายยศ บ่อคำ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑ บ้านสำเภาได้นิมนต์ท่านจำพรรษา และได้ช่วยสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้นเป็นสำนักสงฆ์ ต่อมาก้ได้ช่วยกันปั้นอิฐ เพื่อที่จพสร้างวิหารโดยใช้น้ำเมือกจากต้นเมือกมาตำและแช่ดองผสมกับทรายใช้ในการก่อสร้าง ต่อมาพ่อมหาวัน เหมือหม้อ พ่อวัง เหมืองหม้อ พ่อวงจักร เหมืองหม้อ สามพี่น้องได้ช่วยกันสร้างพระพุทธรูป ๓ องค์ ขึ้นในวิหารสำเภา เพื่อเป็นการที่กราบไหว้บูชาของพุทธศาสนิกชน และเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ครูบารส ดวงแก้ว เจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฉลองสมโภช พอมาถึงสมัยครูบาทอง ชุ่มเย็น ได้สร้างกุฏิ ๑ หลัง เสาก่ออิฐเป็นปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว ๕ ห้อง ต่อมาหลังคารั่วและเริ่มชำรุดทรุดโทรมลงและได้รื้อสร้างกุฏิใหม่ ๒ ชั้น ๑๑ ห้อง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 03 •มิถุนายน• 2013 เวลา 10:36 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดไผ่ล้อม อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •เมษายน• 2013 เวลา 13:42 น.•

วัดไผ่ล้อม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยมีหลวงพ่อเทพเป็นประธานได้ชักชวนศรัทธาประชาชนในหมู่บ้านก่อสร้างขึ้น เพื่อเป็นศาสนสถานยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นศูนย์รวมการปรึกษางานอื่น ๆ แรก ๆ แห่งการก่อสร้าง มีสภาวะค่อยเป็นค่อยไปเพราะกำลังประชาชนมีไม่มากนัก เริ่มตั้งแต่ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ และวิหารตามลำดับจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าสร้างวิหารสำเร็จลงเมื่อปี ๒๕๐๐ และในช่วงเวลารอผูกพัทธสีมา พ่อเฒ่าวงศ์ แม่เฒ่าคำ ใจนนถี ได้ถวายที่ดินให้แก่วัดอีก ๑ ไร่ ๑ งาน ด้วยวัดไผ่ล้อมมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาไม่ค่อยต่อเนื่อง การดำเนินงานต่าง ๆ จึงล่าช้า การผูกพัทธสีมาจึงสำเร็จลงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดไม่สามารถหาที่ไหนได้ เพราะไม่มีการจดบันทึกเป็นหลักฐาน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 08 •เมษายน• 2013 เวลา 06:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 30 •มีนาคม• 2013 เวลา 15:17 น.•

วัดทุ่งกวาว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐ เดิมชื่อว่า “วัดโต่งกว๋าว” ประชาชนที่เข้ามาปักหลักอาศัยอยู่ในพื้นที่ ทุ่งกวาวและทุ่งป่าดำร่วมกันสร้างวัด แห่งแรกวัดอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดปัจจุบัน ห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร ผ่านมาประมาณ ๓๐ ปี ณ ที่ดินได้รับถวาย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวัดปัจจุบัน ห่างกันประมาณ ๒๐๐ เมตร ผ่านมาประมาณ ๓๐ ปี พ่อฮ้อยคำมาตย์ แม่เลี้ยงคำป้อ ได้ถวายที่ดินให้กับวัด ครูบาวงศ์ จึงได้ย้ายวัดออกมาสร้างใหม่ได้ประมาณ ๑๐ ปี ครูบาวงศ์ได้ถึงแก่มรณภาพลง แม่เลี้ยงคำป้อ ซึ่งเป็นศรัทธาเก๊าได้ถวายความอุปถัมภ์วัดมาโดยตลอด เมื่อสิ้นบุญแม้เลี้ยงคำป้อไปแล้ว แม่เลี้ยงบุญปั๋น ซึ่งเป็นลูกสาว ได้ช่วยส่งเสริมทนุบำรุงวัดสืบแทนแม่ ล่วงไปได้ ๑๘ ปี ครูบาอุตตมะ ได้ถึงแม่มรณภาพลง ทางการสงฆ์จึงได้แต่งตั้ง พระก๋าวิชัย (โก๋) เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน แม่เลี้ยงบุญปั๋น ซึ่งเป็นเจ้าช้าง ได้ทุ่มเทอุปการะวัดอย่างเต็มที่ ได้สร้าวิหารหลังใหม่ครอบหลังเก่า ใช้เสาร์ไม้ถากซ่อมเป็นเหลี่ยม ลงรักปิดทองลวดลายสวยงามดังที่ปรากฏในปัจจุบัน เมื่อเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วแม่เลี้ยงบุญปั๋นได้เป็นศรัทธาเก๊า ฉลองวิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ซึ่งเป็นการฉลองครั้งยิ่งใหญ่มโหฬารที่สุดไม่มีใครทำได้ในสมัยนั้น โดยมีเจ้าหลวงเมืองแพร่มาเป็นประธานพอเสร็จงานแล้วมีการจุดบอกไฟนับหมื่นส่งท้าย มีคำกล่าวว่าบอกไฟหลวงบอกนี้ใช้ต้นตาลเป็นกระบอกใช้ดินไฟ(ดินประสิว)ประมาณ ๓๐ กก.เตรียมสร้างบอกไฟอยู่ ๙ เดือนก่อนจะนอกบอกไฟไปจุดแม่เลี้ยงผู้เป็นแม่ออกเก๊าได้ให้เจ้าตำราบอกไฟนุ่งขาวห่มขาวนำข้าวตอกดอกไม้ไปเชิญกลองหลวง(กล๋องปูจา)ไปร่วมแห่ด้วย คำเชิญกลองหลวงว่า

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 01 •เมษายน• 2013 เวลา 10:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดต้นห้า อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •มีนาคม• 2013 เวลา 10:06 น.•

วัดต้นห้าก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๑๘ โดยมีผู้ใหญ่สวัสดิ์ กันกา ร่วมกับพระครูไพสันต์ สุตาคม เจ้าอาวาสวัดน้ำโค้ง อดีตเจ้าคณะตำบลป่าแมต เป็นประธานในการก่อสร้างเพราะแต่เดิมชาวบ้านต้นห้าไปทำบุญที่วัดสุพรรณขณะนั้นการคมนาคมไม่สะดวกการไปมาลำบาก อีกประการบ้านต้นห้าได้แยกหมู่บ้านเป็นหมู่ที่ ๘ ออกจากบ้านสุพรรณ จึงได้สร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้น ด้วยเหตุที่บริเวณที่สร้างวัดมีต้นห้า (ต้นห้าเป็นไม้ยืนต้นเนื้อแข็ง อยู่ในตระกูลเดียวกับต้นหว้า มีผลโตเท่าหัวแม่มือผลดิบมีรสฝาด ผลสุกแดงปนดำมีรสหวานอมเปรี้ยวผลสุก มีผู้นำไปทำผลิตภัณฑ์ไวน์ มีคุณภาพระดับสี่ดาว) ขึ้นจำนวนมากและมีต้นสูงใหญ่อยู่กลางหมู่บ้าน เมื่อสร้างวัดเสร็จ จึงตั้งชื่อตามชื่อของหมู่บ้านว่า “วัดต้นห้า” มาจนบัดนี้ ลำดับเจ้าอาวาส ๑. พระอุดร ปญฺญาสาโร พ.ศ. ๒๕๑๘ – ๒๕๒๔ ๒. พระวิเชียร วชิรปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๒๕ ๓. พระสวัสดิ์ ธมฺมวโร พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๖ ๔. พระแก่น สิริธมฺโม พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗ ๕. พระวิเชียร วชิรปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ๖. พระนวล พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๓๐ ๗. พระอธิการรัชชานนท์ สิริธมฺโม ๘. พระอธิการอรรถพล กตปุญฺโญ พ.ศ. ๒๕๔๒ – ปัจจุบัน วัดต้นห้าตั้งอยู่เลขที่ ๘๖ ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มนานิกาย ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๑ งาน ๒๑ ตารางวา มีเกสารเป็นโฉนดเลขที่ ๔๑๖๖๐ และ ๔๔๐๙๗

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 18 •มีนาคม• 2013 เวลา 10:08 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดทุ่งโห้งใต้ อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 09 •มีนาคม• 2013 เวลา 12:32 น.•

วัดทุ่งโห้งใต้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ว่า เป็นลาวพวนอพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทร์ ห่างกันประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร สาเหตุของการอพยพยังไม่ทราบแน่ชัด เป็นการย้ายถิ่นฐานมาทีละชุดชุดแรกเป็นชาวบ้านทุ่งโห้งใต้ อาศัยอยู่นอกกแพงเมืองแพร่ ทิศเหนือบ้านหัวข่วง ทางประตูเลี้ยงม้า ตรงที่ตั้งสาธารณสุขจังหวัดจนถึงวัดสวรรค์นิเวศในปัจจุบัน ยังมีหลักฐานการขุดบ่อน้ำไว้ ๑ บ่อ ชาวบ้านเรียกบ่อน้ำนี้ว่า “บ่อน้ำลาวพวน” บ่อน้ำนี้ยังมีหลักฐานปรากฏอยู่หน้าอุโบสถวัดสวรรค์นิเวศจนถึงปัจจุบัน  ชาวไทยพวนมีนิสัยขยันไม่หยุดนิ่ง เสาะแสวงหาที่ทำเลทำมาหากินตลอดเวลา จนกระทั้งพบลำเหมืองร่องฟอง ซึ่งเป็นร่องน้ำลึกและมีน้ำไหลตลอดทั้งปี จึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ณ บ้านทุ่งโฮ้งใต้ เมื่อหลักฐานมั่นคงแล้วจึงสร้างวัดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๐ โดยการนำของเจ้าหัวจันทร์ด้าง และท่าได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดทุ่งโห้งใต้ด้วย ลำดับเจ้าอาวาสมีดังต่อไปนี้ ๑. เจ้าหัวจันทร์ด้าง ๒. พระอธิการหลวง ๓. พระอธิการเตพทวัง ๔.พระอธิการเตพปรือ ๕.พระอธิการหลวงคำมี ๖. พระอธิการโต ๗. พระอธิการตั๋น ๘. พระอธิการครื้น เขมธโร ๙. พระอธิการผ่วน เขมวโร พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๓๕ ๑๐. พระอธิการพิน พลวโร พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๔๓ ๑๑. พระอธิการมานิตย์ มุนิวํโส พ.ศ. ๒๕๔๓ – ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •มีนาคม• 2013 เวลา 16:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดมณีวรรณ อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 13:29 น.•

วัดมณีวรรณ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ เดิมชื่อว่า “วัดน้ำล้อม” หรือ “วัดป่าแมต” ที่เรียกชื่อว่า “วัดน้ำล้อม” ก็เนื่องจากตั้งอยู่ต่ำกว่าน้ำห้วยผาคำไหลท่วมทุกปี ศรัทธาประชาชนมีความลำบากในการเดินทางมาทำบุญ จึงได้ย้ายวัดมา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน พ่ออินตา คนหลัก ได้บริจาคที่นาถวายให้สร้างวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ตุเจ้ากันทาเป็นผู้เริ่มสร้างถวายร่วมกับพระอธิการศิริ (ตุ๊ลุงกุย อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีชุม และได้ตั้งชื่อว่า “วัดป่าแมต” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น  “วัดมณีวรรณ” สิ่งปลูกสร้างและถาวรวัตถุมีอุโบสถ กุฏิ ศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลอง พระเจดีย์ ลำดับเจ้าอาวาส ๑.หลวงพ่ออ้น (มหาวรรณ), ๒.หลวงพ่อจ๋อย, ๓.หลวงพ่อศิริ สิริโย, ๔.พ่อบุญยืน, ๕.พระสุเนตร (คดีโลก), ๖.พระบุญปั้น ปนฺนภาโร (จันตาคำ) พ.ศ.๒๕๐๘ – ๒๕๓๒, ๗.พระอธิการน้อย จนฺทวํโส พ.ศ. ๒๕๓๒ – จนถึงปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 17 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 22:02 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดสุพรรณ อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 03 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 12:17 น.•

วัดสุพรรณ เดิมเป็นวัดร้างติดแม่น้ำยม วัดร้างแห่งนี้ไม่มีหลักฐานความเป็นมาอย่างไรไม่มีผู้ใดรู้แน่ชัด ต่อมาได้มีชาวบ้านที่มีภูมิลำเนาในเขตเมืองฝั่งตะวันออกแม่น้ำยมได้อพยพเข้ามาจับจองแนวป่า บุกป่าถางพงทำเป็นสวน ไร่ นา นานวันเข้าจึงลงหลักปักฐานสร้างบ้านเป็นชุมชนเล็ก ๆ ขึ้น ประมาณ ๓๐ หลังคาเรือน ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสุพรรณปากห้วย” และได้สร้างวัดขึ้นมาในชุมชน โดยมีกลุ่มชาวบ้านสุพรรณจำนวน ๑๒ คน พร้อมกับชาวบ้านพากันถางป่าเถาวัลย์ ที่ปกคลุมซากอุโบสถ เจดีย์ที่ผุพังทับถมด้วยก้อนดิน บูรณะพระประธานในอุโบสถที่หักพังเหลือเพียงครึ่งท่อนจนแล้วเสร็จแล้วยกขึ้นเป็นวัดโดยสมบูรณ์เรียกชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้านว่า “วัดสุพรรณ” ตามตำนานเล่าต่อๆมาว่า เริ่มตั้งแต่บูรณะวัดร้างแล้วยกขึ้นเป็นวัดสุพรรรณเฉพาะอุโบสถสร้างถึง ๔ ครั้ง ๔ หลัง เนื่องด้วยถูกไฟไหม้บ้างถูกน้ำท่วมเสียหายบ้าง ปรับเปลี่ยนทิศทางอุโบสถบ้าง อุโบสถหลังปัจจุบัน(๒๕๔๗)เป็นหลังที่ ๔ สร้างเมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๕๒๓ เสร็จเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๒๕ ทำบุญฉลองเมื่อ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ อนึ่งที่เรียกชื่อว่า “บ้านสุพรรณ” “วัดสุพรรณ” เป็นชื่อที่เรียกกันภายหลังเดิมหมู่บ้านนี้มีชื่อว่า “บ้านสุพรรณปากห้วย” เหตุมีชื่ออย่างนี้ก็เนื่องจากลำห้วยขมิ้นและลำห้วยผาดำได้ไหลลงสู่แม่น้ำยมที่บ้านนี้ตั้งอยู่และต่อมาได้ชื่อว่า “บ้านสุพรรณดาวเรือง” เหตุแห่งชื่อนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดและจากนั้นมาก็ได้ชื่อว่า “บ้านสุพรรณศรีถ้อย” เหตุมีชื่ออย่างนี้อีกชื่อหนึ่ง ก็เนื่องจากชาวบ้านได้ปลูกต้นโพธิ์ไว้บนฝั่งแม่น้ำยม นอกวัดเป็นแถวจึงได้ชื่อดังกล่าว (ภาษาชาวบ้าน ต้นโพธิ์ เรียกว่า ต้นศรี หรือต้นสะหรี แถวเรียกว่าถ้อย รวมความว่า ศรีถ้อย หรือ โพธิ์แถว) พอมาถึงปัจจุบันนี้ชื่อเดิมๆของหมู่บ้านดังกล่าวได้ลืมเลือนไปและไม่มีใครพูดถึงคงรู้จักเพียงชื่อ “บ้านสุพรรณ” เท่านั้น

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 24 •มกราคม• 2013 เวลา 12:50 น.•

๑. ชื่อหมู่บ้าน บ้านวังหงส์ ตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒. ทิศเหนือของหมู่บ้าน ติดกับ บ้านย่านยาว ตำบลน้ำรัด อำเภอหนองม่วงใข่ ทิศใต้ของหมู่บ้าน ติดกับ บ้านไผ่ล้อมตำบลท่าข้าม อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ติดกับ แม่น้ำยม บ้านสันป่าสัก บ้านบุญเจริญ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ติดกับ.....เทือกเขา และตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ๓. ข้อมูลด้านการปกครอง - เจ้าอาวาสองค์แรกของหมู่บ้าน ครูบาลาน - ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน ชื่อ พ่อหลักมูล ทองมาศ ปี.พ.ศ. ๒๔๘๒  - กำนันคนแรกของตำบลวังหงส์ ชื่อ พระยาเผือ ชัยนนถี ปีพ.ศ. ๒๔๔๐ - ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนชื่อ นายเส็ง จินะ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๕ ๔. ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน ( ภาพประกอบในอดีต ๓ ภาพ และภาพปัจจุบัน ๓ ภาพ  - บ้านวังหงส์ตั้งขึ้นก่อน ปีพ.ศ. ๒๔๔๐ มีอายุนับจนถึงปัจจุบัน กว่า ๒๐๐ ปี ก่อนนั้นมีผู้มาจากตำบลในเวียงคือ บ้านเชตวัน บ้านประตูมาร บ้านน้ำคือ เพื่อจับจองเอาที่ดินเป็นที่ทำกิน ทำไร่ ทำนา ทำสวน บริเวณหนองน้ำอันกว้างใหญ่ ใส ลึก ทุกๆวันชาวบ้านจะเห็นนก สีขาวลำตัวใหญ่ยาว คอยาว คล้ายห่าน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “นกหงส์” จึงได้ตั้งนามบ้านว่า “บ้านหนองหงส์” และต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ จึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านเป็น “บ้านวังหงส์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 25 •มกราคม• 2013 เวลา 22:00 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 15 •มกราคม• 2013 เวลา 22:00 น.•

ตำบลป่าแดง เดิมเป็นชุมชนเผ่าลัวะ ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อน อยู่เชิงเขาธชัคบรรพต (วัดพระธาตุช่อแฮปัจจุบัน) ก่อนพุทธกาล เท่าที่ปรากฏในตำนานพระธาตุช่อแฮ มีหัวหน้าเผ่าที่ปรากฏชื่อว่า พ่อขุนลัวะอ้ายก้อม (เจ้าพ่อหลวงก้อม) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวช ได้ตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงเสด็จโปรดเวเนยสัตว์ ได้ออกประกาศพระพุทธศาสนา มาถึงดินแดนแห่งล้านนา เมืองโกศัยนคร ได้มาพักที่ดอยธชัคบรรพต ได้มีขุนลัวะอ้ายก้อม พร้อมด้วยชาวบ้านขึ้นต้อนรับอุปัฎฐาก พระองค์ทรงมอบพระเกศา ๒ เส้น ให้ขุนลัวะอ้ายก้อมเก็บรักษาไว้ในตัว ณ ที่ดอยธชัคบรรพต พร้อมทั้งได้สร้างเจดีย์ครอบไว้ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า พระธาตุช่อแฮ (พระธาตุประจำคนเกิดปีขาล) (ปียี่) เป็นพระธาตุประจำจังหวัดแพร่จนถึงปัจจุบัน ได้มีตำนานบ้านป่าแดง ตำนานวัดป่าแดง เล่าไว้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๑๓๙ ประมาณ ๑๔๑๖ ปี ชาวบ้านได้อพยพจากอำเภอเชียงแสน ประมาณ ๕๐ ครอบครัว ได้มาตั้งรกรากสร้างบ้านแป๋งเมือง อยู่ทาง ทิศตะวันออกของแม่น้ำยมประมาณ ๑๐ กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ดอยธชัคบรรพต (พระธาตุช่อแฮ) ประมาณ ๕ กิโลเมตร อยู่นอกเมืองพลนคร เป็นชุมชน นอกเมือง โดยมีท่านปุณณะเป็นผู้นำ ประกอบกับสถานที่ตั้งเป็นต้นศรีก้ำกันอยู่หนาแน่น จึงเป็นชื่อบ้านสะหลีปุณณะ สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งชื่อว่า วัดลอมศรีก้ำ ต่อมาประชาชนเพิ่มมากขึ้นและย้ายมาจากถิ่นอื่น เช่น เชียงแสน จึงได้ขยายอาณาเขตขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงดอย ธชัคบรรพต ซึ่งเป็นชุมชนเล็กของชนเผ่าลัวะอยู่ก่อน ชาวบ้านจากบ้านสะหลีปุณณะมีความเจริญรุ่งเรือง ขนานตั้งขึ้นเป็นเมืองๆ หนึ่งชื่อว่าเมืองสะหลีปุณณะ เมื่อขยายบ้านเมืองออกไปทำให้ชนเผ่าลัวะ ได้ร่นถอยออกจากที่อยู่เดิมขึ้นไปอยู่ตามไหล่เขาข้ามดอยผาด่านขึ้นไป ซึ่งเป็นอุปนิสัยของชนเผ่าลัวะที่ชอบความสงบ หนีความเจริญไปอยู่ตามป่าตามเขา ณ ที่นั้นจึงมีชื่อว่า บ้านแม่ลัว คงเพี้ยนมาจากคำว่าลัวะนั่นเอง ส่วนชนเผ่าลัวะบางส่วนก็ปรับตัวเข้ากับสังคมเมือง คือเมืองสะหลีปุณณะ ดังนั้นชาวตำบลป่าแดงจึงมีสายเลือดที่ผสมกันระหว่างชนพื้นราบกับชน เผ่าลัวะ ดังนั้นชาวบ้านตำบลป่าแดงเปรียบเสมือนเป็นลูกหลานเหลนของพ่อขุนลัวะอ้ายก้อม ชาวบ้านของตำบลป่าแดง จึงเคารพนับถือพ่อขุนลัวะอ้ายก้อม เป็นบรรพบุรุษจะมีการบูชาบวงสรวงเป็นประจำปี คือ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ ของทุกปี ตำบลป่าแดงเดิมมีจำนวนหมู่บ้าน ๑๔ หมู่

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 17 •มกราคม• 2013 เวลา 13:17 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดสุนทรนิวาส (ห้วยม้า) อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 12 •มกราคม• 2013 เวลา 22:34 น.•

วัดสุนทรนิวาสหรือวัดสุนทรรังสี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๙ นั้น ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนห้วยม้า (สุนทรนิวาส) เป็นเวลา ๗ ปี กระทั้ง ๒๔๐๖ จึงย้ายมาตั้งอยู่ ณ ปัจจุบันโดยมีครูบายานะเป็นผู้เริ่มสร้างอุโบสถ หลังจากครูบายานะถึงแก่มรณภาพในปี ๒๔๘๒ ครูบาอินต๊ะวิชัย ได้บูรณะซ่อมแซมอุโบสถและสร้างพระพุทธรูปแบบสุโขทัยไว้องค์หนึ่ง (คือองค์กลางในวิหารปัจจุบัน) หลังจากครูบาอินต๊ะวิชัยมรณภาพในปี ๒๔๙๒ ขุนอนุกุลราชกิจ (เมือง ชมพูมิ่ง) พร้อมด้วยนางเฮือนแก้ว ทนันไชย ผู้เป็นบุตรี ก็ได้สร้างอุโบสถจนเสร็จสมบูรณ์ ในปี ๒๕๐๑ เป็นงบประมาณทั้งสิ้น ๑๘,๘๘๘ บาท (หนึ่งหมื่นแปดพันแปดร้อยแปดสิบแปดบาทถ้วน) ในปี ๒๕๓๐ พระแก้ว เตชวโร เจ้าอาวาสและคณะศรัทธาได้นำการบูรณะอุโบสถอีกครั้งหนึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ ลำดับเจ้าอาวาส (เท่าที่ทราบ) ๑. ครูบายานะ ผู้เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. ๒๔๐๖ ๒.ครูบาอินต๊ะวิชัย ผู้ซ่อมแซมพระประธาน พ.ศ. ๒๔๒๘ ๓.ครูบายาลังสี ๔.ครูบาเทพชัย ๕.พระอธิการดำ ๖.ครูบาธรรมสร ๗.ครูบาเปียง ๘.พระครูบายาลังสี ๙.พระอธิการคำ (ฟ้าเลิศ) ๑๐.พระอธิการประชุม ชยมงฺคโล พ.ศ. ๒๔๘๗ – ๒๕๐๖ ๑๑.พระผาบ (ใจเวียง) พ.ศ.๒๕๐๗ ๑๒.พระคำปัน เตชวโร พ.ศ.๒๕๐๘ ๑๓.พระสมบูรณ์ เขมจาโร พ.ศ.๒๕๐๙ ๑๔.พระแก้ว เตชวโร พ.ศ.๒๕๑๒ ๑๕.พระอธิการลอน เลขธมฺโม ๑๖.พระณรงค์ จนฺทสาโร ๑๗.พระอธิการฐิติพงษ์ ฐิตธมฺโม  พ.ศ.๒๕๔๒ – ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 27 •มกราคม• 2013 เวลา 09:44 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดพงชัย อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 12 •มกราคม• 2013 เวลา 22:21 น.•

แต่เดิมที่ตั้งวัดมีสภาพเป็นป่ามีพื้นที่ราบติดลำห้วยแม่หล่าย บริเวณแถบนี้ปกคลุมด้วยเถาวัลย์นานาชนิดชาวบ้านเรียกว่า “ปง” มีคนอาศัยอยู่ประมาณกว่า ๑๐ หลังคาเรือนประมาณ พ.ศ. ๒๒๘๙ พ่อวงศ์ บัวระเพชร ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านได้เป็นผู้นำในการสร้างวัดและตั้งชื่อว่า “วัดบ้านปง” และมีการสร้างอุโบสถขึ้น แต่ไม่สำเร็จกระทั่งมีคนอพยพมาอยู่มากขึ้นจึงได้สร้างต่อมาถึงปี ๒๔๗๗ ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาเมื่อปี ๒๔๘๑ และประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ และเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่เป็น “วัดพงชัย” ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวบ้านเห็นว่าอุโบสถหลังเดิมทรุดโทรมมาก จึงรื้อและสร้างใหม่เป็นครั้งที่ ๓ แล้วเสร็จและมีงานฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ รวมเวลาก่อสร้างประมาณ ๑๒๕,๗๘๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยแปดสิบบาทถ้วน) ลำดับเจ้าอาวาส ๑. พระอภิวงศ์ ธีรธมฺโม ๒. พระอะภิใจ พุทฺธธมฺโม ๓. พระอุด ธมฺมรงฺสี ๔. พระสี สีลสํวโร ๕. พระป้อม เปมนิโย ๖. พระจ๋อม ๗. พระแก้ว ติสรโณ ๘. พระถนอม ๙. พระเชี่ยว พุทฺธธมฺโม

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •มกราคม• 2013 เวลา 11:40 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลท่าข้าม อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 09 •มกราคม• 2013 เวลา 12:08 น.•

บทที่ ๑ ความเป็นมาของตำบลท่าข้าม สถานที่ตั้ง ตำบลท่าข้ามตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร จากคำบอกเล่าของบรรพบุรุษผู้เฒ่าผู้แก่ชาวตำบลท่าข้าม เล่าสืบกันมาว่า ตำบลท่าข้ามเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อไรนั้น ไม่สามารถหาพยานหลักฐานยืนยันแน่ชัดได้ แต่พอจะทราบได้ว่าตำบลท่าข้ามตั้งขั้นภายหลังจากตั้งเมืองแพร่เสร็จแล้ว โดยสันนิษฐานจากการอพยพของประชาชน มาจากคนในเมืองแพร่ที่อพยพมาอยู่บ้านท่าข้าม เพื่อเสาะแสวงหาแหล่งทำมาหากิน เพราะบ้านท่าข้ามเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยม เหมาะแก่การประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดกับตำบลวังหงส์ ทิศใต้  ติดกับตำบลวังธง ทิศตะวันออก ติดกับแม่น้ำยม ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอลองจังหวัดแพร่ ตำบลท่าข้าม มีภูมิประเทศเป็นที่ราบและเชิงเขามีป่าชุมชน และป่าสงวนมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอย่างหนาแน่น เช่น ต้นสักทอง , ต้นเต็ง , ตันรัง ต้นไม้เบญจพรรณ ตำบลท่าข้าม มีถนนสู่ตัวอำเภอและจังหวัดอยู่ ๒ สาย สายไผ่ล้อมถึงวัดสวรรคนิเวศ อยู่ในความรับผิดชอบของ อบจ.แพร่ อีกสายหนึ่งจากบ้านท่าข้ามผ่านบ้านมหาโพธิ์สู่เขตอำเภอเมืองแพร่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท ประชาชนในตำบลท่าข้ามประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนมาก เช่น ทำไร ทำนา เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 03 •มกราคม• 2013 เวลา 11:38 น.•

บ้านน้ำชำ หมู่ที่ ๑ - ๔ ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ คำขวัญตำบลน้ำชำ "แพะเมืองผีลือเลื่อง เฟื่องฟูภูมิปัญญา พัฒนาเกษตรอินทรีย์ วิถีชีวิตพอเพียง  หลีกเลี่ยงยาเสพติด พิชิตความยากจน  ชุมชนพึ่งตนเอง" "แพะเมืองผีลือเลื่อง" หมายความว่า ตำบลน้ำชำมีแหล่งท่องเทียวเกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งท่องเทียวที่สำคัญของตำบลน้ำชำและจังหวัดแพร่ "เฟื่องฟูภูมิปัญญา" หมายความว่า ตำบลน้ำชำมีการพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากพื้นฐานและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ ขยายผลจากชุมชนสู่ชุมชนสร้างความเชื่อมโยงการพัฒนาที่ยึดชุมชนเป็นหลัก กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "พัฒนาเกษตรอินทรีย์" หมายความว่า ประชากรในชุมชนตำบลน้ำชำ ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้พัฒนาการเกษตรที่เน้นความสมดุลการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต โดยใช้เกษตรอินทรีย์ ทำปุ๋ยธรรมชาติใช้เองใช้แรงงานตนเองปลูกพืชหมุนเวียน "วิถีชีวิตพอเพียง" หมายความว่า ประชากรในชุมชนตำบลน้ำชำ สามารถดำรงชีวิตด้วยความพอเพียง รู้จักประมาณตนเอง มีเหตุมีผลในการใช้จ่าย และดำรงชีวิตในทางสายกลางคือรู้จักความพอดี พอเหมาะ "หลีกเลี่ยงยาเสพติด" หมายความว่า ประชาชนและเยาวชนในตำบลน้ำชำรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่นการสร้างอาชีพเสริม รวมกลุ่มเล่นดนตรี และเล่นกีฬาเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการมั่วสุมอบายมุขต่างๆ "พิชิตความยากจน" หมายความว่า ประชาชนในชุมชนตำบลน้ำชำสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีความมั่นคง ดำรงชีวิตโดยการใช้หลักความอดทน ความขยันและรู้จักประหยัดอดออม "ชุมชนพึ่งตนเอง" หมายความว่า ชุมชนตำบลน้ำชำได้จัดทำกลุ่มที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่นกลุ่มแปรรูปถั่วเหลือง กลุ่มกล้วยหลอด กลุ่มข้าวแต๋นโบราณ กลุ่มข้าวแคบ ฯลฯขึ้นเป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างอาชีพในชุมชนให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 04 •มกราคม• 2013 เวลา 09:08 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 26 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:33 น.•

อัตลักษณ์ท้องถิ่นตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ คำขวัญ “ บ้านถิ่นไทลื้อ ลือชื่อของเก่า ที่สักการะของเราเจ้าคุณโอภาสฯ พระธาตุถิ่นแถน ค้าขายทั่วแดน สุขแสนทั่วหน้า ประชาร่วมใจ” ตำบลบ้านถิ่น ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๗ กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ทางด้านตะวันออกเป็นภูเขาสูง พื้นที่ทั้งหมด ๑๗,๒๓๐ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๐,๗๖๘.๗๕ ไร่ อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลร่องฟองและตำบลน้ำชำ ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลสวนเขื่อนและตำบลกาญจนา ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสวนเขื่อน ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลร่องฟองและตำบลเหมืองหม้อ เขตการปกครอง ตำบลบ้านถิ่น มี ๑๑ หมู่บ้าน โดยมีผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ปกครองดูแลตามรายชื่อ ดังนี้ หมู่ที่ ๑ บ้านถิ่นใน มี ร.ต.ต.สุพจน์ ถิ่นสุข(หมดวาระเดือน ก.ย.๒๕๕๕) หมู่ที่ ๒ บ้านถิ่นนอก มี นายธัชพงศ์ ถิ่นศรี หมู่ที่ ๓ บ้านถิ่น มี นายสิรวิชญ์ ยะถิ่น หมู่ที่ ๔ บ้านโป่งศรี มี นายดวงพงษ์ ถิ่นหลวง หมู่ที่ ๕ บ้านถิ่น มี นายไตรเดช พรมวัง หมู่ที่ ๖ บ้านโป่งศรี มี นายวินัย สมันจิต หมู่ที่ ๗ บ้านทุ่งโอภาส มี นายรุ่งโรจน์ พายัพ หมู่ที่ ๘ บ้านถิ่น มี นายทอมสันต์ จูงใจ หมู่ที่ ๙ บ้านถิ่น มี นายอภิชัย ถิ่นจันทร์ หมู่ที่ ๑๐ บ้านโป่งศรี มี นายอินทรีย์ โป่ง หมู่ที่ ๑๑ บ้านถิ่น มี นายบันเทิง ถิ่นฐาน (กำนัน)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 26 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:13 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 22 •ธันวาคม• 2012 เวลา 12:27 น.•

วัดพระธาตุถิ่นแถนหลวง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีประวัติสังเขปดังนี้ เดิมพื้นที่นี้มีสภาพเสื่อมโทรมแห้งแล้ง เป็นบ่ขุดดินลูกลังขาย ทางหมู่บ้านสงวนไว้เป็นสาธารณะประโยชน์ประมาณ ๓ ไร่ พระครูวิจิตรธรรมมาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวง และคณะผู้นำท้องถิ่นโดยมีนายทรงวุฒิ งามมีศรี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นางรัตนา งามมีศรี อดีตนายกเหล่ากาชาดจังหวัดแพร่ นางธัญญาลักษณ์ จ้อยจรูญ อดีตผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ นายชุมพล ปราชญ์วีระกุล นายกพุทธสมาคมจังหวัดแพร่ นายตาล อภัยกาวี ธรรมสรางกูร นายคำมูล ถิ่นสุข คณะกำนันอาวุโส และบุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญอีกหลายท่าน ตลอดถึงข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน นักเรียน นักศึกษา พร้อมใจกันเลือกบริเวณเนินเขาดอยเด่นนางฟ้า ตำบลบ้านถิ่น เป็นสถานที่จัดตั้งพุทธอุทยาน พระบรมธาตุถิ่นแถนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ เนื่องในปีกาญจนาภิเษก ครองราชย์ครบ ๕๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช ทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๙ โดยมีพระเดชพระคุณหลวงปู่มหาโพธิวงศาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๖ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารเป็นฝ่ายสงฆ์ ท่านพระครูศรีมงคลชยาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอเมืองแพร่ วัดชัยมงคล เป็นรองประธาน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 23 •ธันวาคม• 2012 เวลา 12:31 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 14 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:21 น.•

ประวัติตำบลแม่หล่าย บทที่ ๑ ความเป็นมาของตำบลแม่หล่าย สถานที่ตั้ง ตำบลแม่หล่ายตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองแพร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบประมาณ ๗๐% ของพื้นที่ทั้งหมด และมีพื้นที่เป็นป่าละเมาะ ประมาณ ๓๐% พื้นที่ทั้งหมดของตำบลมีประมาณ ๑๓.๕๒ กิโลเมตร หรือ ๘,๔๕๐ ไร่ มีแม่น้ำยมและแม่น้ำแม่หล่ายไหลผ่านหลักฐานการก่อตั้งตำบลแม่หล่าย สันนิษฐานไม่แน่นอน ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ เล่าให้ฟังว่ามีคนหลายท้องถิ่นหลายพื้นที่เข้ามาอาศัยอยู่ เพราะเห็นว่าภูมิประเทศของตำบลมีแม่น้ำไหลผ่านเหมาะแก่การทำมาหากินด้านการเกษตร บางคนก็บอกว่ามีคนพวกหนึ่งอพยพมาจากในเวียง(เมืองแพร่) จากเชียงราย จากบ้านถิ่น จากบ้านเหมืองหม้อและจากบ้านแม่คำมี ฯลฯ

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ศาลเจ้าปุ้งเถ่ากง จังหวัดแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 02 •ธันวาคม• 2012 เวลา 14:17 น.•

ศาลเจ้าปุ้งเถ่ากง จังหวัดแพร่ เดิมชื่อ “ศาลเจ้าฮั่วเฮงหักเหา” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของเมืองและแสดงถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพค้าขายของชาวจีนที่บริเวณหน้าเมือง หรือถนนเจริญเมือง ที่ต่อมามีการสร้างศาลเจ้าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และศูนย์รวมความศรัทธาในพิธีกรรมทางวัฒนธรรมของชาวจีนทุกกลุ่มตระกูลแซ่ ในจังหวัดแพร่ มานานกว่า ๑๐๐ ปี เพราะปรากฏหลักฐานว่าจัดตั้งขึ้นก่อนที่ทางอำเภอเมืองแพร่ จะทำการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไว้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ โดยมีพระยาคงคาสมุทรเพชร บริจาคที่ดินให้เป็นที่ตั้งของศาลเจ้า และมีหลวงศรีนัครานุกูล บุตรเขย เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย ลักษณะเดิมของศาลเจ้า เป็นอาคารไม้ ที่มีโรงเรียนสอนภาษาจีนอยู่ในที่เดียวกันต่อมาโรงเรียนสอนภาษาจีนได้ขยับขยายและย้ายไปตั้งชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนเจริญศิลป์”

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 21:49 น.•

อัตลักษณ์ท้องถิ่นตำบลเหมืองหม้อ บทที่ ๑ ความเป็นมาของตำบลเหมืองหม้อ สถานที่ตั้ง ตำบลเหมืองหม้อตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ ประมาณ ๓ กิโลเมตร ตำบลเหมืองหม้อมีประวิติความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่อดีตกาล ประมาณปี พ.ศ.๑๓๗๙ ได้อพยพมาจากบ้านหนองหม้อเมืองไชยบุรี เชียงแสน มาตั้งรกรากที่ริมห้วยแม่แคม บริเวณนี้มีลำธารเล็กๆแยกจากห้วยแม่แคมไปทางขวา ชาวบ้านเรียกว่าลำเหมือง จึงเอาคำว่าหนองหม้อรวมกับคำว่าเหมือง กลายเป็นเหมืองหนองหม้อ จนในที่สุดกร่อนคำกลายเป็น “เหมืองหม้อ” ซึ่งเป็นชื่อของตำบลเหมืองหม้อในปัจจุบัน สภาพทางภูมิศาสตร์ของตำบล ลักษณะภูมิประเทศของตำบลเหมืองหม้อเป็นพื้นที่ราบและที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีพื้นที่ลาดเอียงจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก มีลำห้วยแม่แคมเป็นแหล่งน้ำสายใหญ่ไหลผ่านตำบลเหมืองหม้อ มีคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายของกรมชลประทานเป็นแหล่งน้ำสายหลักของตำบล อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดกับตำบลบ้านร่องฟองตำบลน้ำชำ ทิศใต้ ติดกับตำบลกาญจนาราม ตำบลนาจักร ทิศตะวันออก ติดกับตำบลบ้านถิ่น ทิศตะวันตก  ติดกับตำบลทุ่งกวาว ตำบลในเวียง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 07 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ตำบลร่องฟอง อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 15:46 น.•

ตำบลร่องฟอง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ดั่งเดิมหมู่บ้านร่องฟองเป็นชาวไทยใหญ่ ชาวบ้านตั้งหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ที่ ที่มีห้วยน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน ห้วยน้ำนั้นถูกเรียกชื่อว่าห้วยฮ่องฟอง ซึ่งคำว่า “ฮ่องฟอง” เป็นภาษาพื้นเมือง ที่บรรพบุรุษได้ตั้งชื่อไว้เนื่องมาจากเมื่อถึงฤดูฝน จะมีน้ำไหลลงมาจากภูเขาด้านตะวันออก น้ำที่ไหลลงมาจะกระทบกับโขดหินตามลำห้วย แตกกระเซ็นเป็นฟองเต็มลำห้วยทุก ๆ ปี จึงเรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า “ห้วยร่องฟอง” และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของลำห้วยแห่งนี้ บรรพบุรุษจึงตั้งรกรากตามแนวลำห้วย และเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ตามชื่อของลำห้วยว่า “หมู่บ้านร่องฟอง” ตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๑ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่ที่ ๓ ของตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีประชากรประมาณ ๓๐ กว่าหลังคาเรือน โดยมีบ่หลักเสนา เสนาธรรม เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านร่องฟอง (ผู้ใหญ่บ้านแต่เดิมเรียก “บ่หลัก”) อาชีพหลักคือการเกษตร อาชีพเสริมคือรับจ้างเย็บผ้าที่ตำบลทุ่งโฮ้ง นอกจากนี้ยังมีอาชีพทำล้อเกวียนจำหน่าย เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนในขณะนั้น และได้ร่วมกันสร้างวัดร่องฟองขึ้นมี ตุ๊หลวงสุรินทร์ เป็นเจ้าอาวาส หลังจากนั้นประชากรก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 29 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 10:51 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พุธ•ที่ 21 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 23:08 น.•

อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยสำนักงานอำเภอเมืองแพร่ มกราคม ๒๕๕๕ โทร ๐-๕๔๕๑-๑๐๕๔ ที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ สถานที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่เดิม ตั้งอยู่บริเวณที่ดินข้างถนนไชยบูรณ์ ห่างจากประตูใหม่ (กำแพงเมืองเก่าของเมืองแพร่) ประมาณ ๓๐๐ เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ประมาณ ๓๐ เมตร (ตรงข้ามกับสำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ปัจจุบัน) เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองไปตั้งที่ดินบริเวณข้างสนามบิน (หน้าโรงพยาบาลแพร่ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเหมืองหม้อ) เหตุที่ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอ ก็เพราะเกรงว่าน้ำจะท่วม เนื่องจากอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำยม ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ทางราชการเห็นว่า สถานที่ที่ย้ายมาใหม่ห่างไกลจากชุมนุมชนตลาดการค้าประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขต้องการที่ดินจัดสร้างโรงพยาบาลด้วย จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่กลับไปตั้ง ณ สถานที่เดิม คือ ที่ดินบริเวณถนนไชยบูรณ์ ตำบลในเวียง จนถึงปัจจุบันอำเภอเมืองแพร่ มีพระคัณทคีรี พัฒนเสนา เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาอาคารเก่าถูกไฟไหม้หมดทั้งหลัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้สร้างอาคารที่ว่าการอำเภอเมืองขึ้นมาใหม่เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น ตั้งอยู่ติดถนนไชยบูรณ์ ตรงกันข้ามกับเทศบาลเมืองแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ในปัจจุบันได้สร้างเป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น ณ สถานที่เดิม โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ เวลา ๑๐ นาฬิกา ๒๙ นาที และพิธีเปิดอาคารที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เนื้อที่ของอำเภอเมืองแพร่รวมทั้งสิ้น ประมาณ ๘๒๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๑๖,๒๑๐ ไร่

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 24 •มกราคม• 2013 เวลา 11:58 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดบุญเจริญ อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 19 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 14:26 น.•

วัดบุญเจริญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ โดยมี หลวงปู่กันฑะวิชัย นำชาวบ้านบุกเบิกสร้างขึ้น เมื่อสร้างขึ้น เมื่อสร้างวัดใหม่ ๆ ได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดปากหล่าย” ตามชื่อเดิมของหมู่บ้าน ล่วงเลยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ “วัดบุญเจริญ” จนวัดมีความมั่นคงมาถึงปัจจุบัน วัดบุญเจริญตั้งแต่เลขที่ ๑๑๗ บ้านบุญเจริญ หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่หลาย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร และประกอบพิธีผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนด และมีที่ธรณีสงฆ์อีก ๑ แปลง เป็นโฉนดเช่นเดียวกัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 12 •มกราคม• 2013 เวลา 23:24 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดน้ำชำ อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 19 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 14:17 น.•

วัดน้ำชำ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒ โดยครูบาสุวรรณ วัดเหมืองหม้อร่วมกับครูบากันทา พ่อหลักคำ คำวงจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับพ่อหนานกาวีคำปันปู่ และคณะศรัทธาบ้านน้ำชำได้ช่วยกันสร้างวัดเป็นอารามโครงไม้มุงด้วยหญ้าคา จนต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๘ จึงได้สร้างอุโบสถด้วยอิฐผสมปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้ (แป้นเกล็ด) พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้สร้างกุฏิเพิ่มประกอบด้วยเสาก่ออิฐผสมปูนพื้นและฝาไม้กระดานหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ต่อมามีผู้บูรณะและพัฒนาวัดขึ้นเป็นลำดับคือ ครูบาธรรมา พ่อขุนระบือ คำยวง กำนัน พ่อหลักวงค์ สกุลเอ๋ ผู้ใหญ่บ้าน พ่อหยัน ภัคดี และคณะศรัทธาชาวบ้านได้รื้ออุโอสถหลังเก่าและได้สร้างหลังใหม่ในวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ จากนั้นจึงมีบูรณะอุโบสถเปลี่ยนหลังคา ช่อฟ้าใบระกาและทาสีจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒ – ปัจจุบัน พระประธานในวัดได้สร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ เดือน ๕ เหนือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยครูบาสุวรรณ ปู่เงิน ปู่สม ปู่หนานไชยสาน และปู่หนานตั๋นสุคนธ์และมีการบูรณะอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๑๗ วัดน้ำชำตั้งอยู่เลขที่ ๕๔ หมู่ที่ ๒ ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เขตสีมากว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๒๐.๕๐ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน ที่ดินวัดเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๕ ตารางวา

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 29 •ธันวาคม• 2012 เวลา 22:24 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดเหมืองหม้อ อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 19 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 14:08 น.•

วัดเหมืองหม้อ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๖ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การก่อสร้างในสมัยแรก เสนาสนะต่าง ๆ เช่น กุฏิ วิหาร หอไตร จะเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะแบบมอญผสมไทยใหญ่ มีพุทธศิลป์อ่อนช้อยงดงามมากวัดหนึ่งในจังหวัดแพร่และภาคเหนือ เพราะต้นศรัทธาผู้สร้างในสมัยนั้นเป็นคหบดีชาวไทยใหญ่เมื่อกาลเวลาผ่านไปสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้ทรุดโทรมลง เมื่อถูกรื้อถอนแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่ จึงไม่เหลือศิลปะอันงดงามเหล่านั้นให้เห็น ปัจจุบันการก่อสร้างวิหารมักถือตามแบบสถาปัตยกรรมภาคกลาง วัดเหมืองหม้อปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๑ บ้านเหมืองหม้อ หมู่ที่ ๘ ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๙ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๗.๒ เมตร ยาว ๑๔.๕ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ ที่ดินวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๕ ตารางวา มีเอกสิทธิ์เป็น น.ส. ๔ ก. เลขที่ ๓๑๓๕๖ สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญมี หอไตรปิฎก พระเจดีย์ อุโบสถ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •ธันวาคม• 2012 เวลา 11:34 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดเมธังกราวาส อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:33 น.•

วัดเมธังกราวาส เป็นวัดที่สร้างมานาน ไม่มีประวัติที่จะค้นหาหลักฐานได้ จากคำบอกเล่าของหนานน้อย ศรีจันทรากูล อายุ ๙๔ ปี (เมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๓) ซึ่งเป็นกรรมการอาวุโสของวัดเล่าว่า วัดเมธังกราวาสแต่เดิมเรียกกันว่า วัดนาเหลียว เข้าใจว่านางเหลียวเป็นผู้ถวายที่ดินให้เป็นที่ตั้งวัดในสมัยแรกเพราะในปัจจุบันศรัทธาวัด เมื่อมีการทำพิธีไหว้เจ้าที่ของวัดก็จะพูดว่าไปไหว้เจ้านางเหลียว และด้วยเหตุที่ที่เขตวัดที่ตั้งวัดติดกับคูเมือง(คือเมือง) ชาวบ้านเรียกว่าน้ำคือ จึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดน้ำคือ” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเมธังกราวาส” โดยเปลี่ยนตามสมณศักดิ์ของเจ้าอาวาส ที่พระราชาคณะพระมหาเมธังกร ซึ่งได้รับแต่ตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดแพร่ จากคำบอกเล่าของนางยุพยง ศรีสวัสดิ์ อายุ ๘๑ ปี (๒๕๔๗) ว่าได้มีการประชุม คณะกรรมการให้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเมธังกราวาส”และจากคำบอกกล่าวของนางอำนวย วิชาวุฒิพงษ์ อายุ ๗๗ ปี (๒๕๔๗)อดีตข้าราชการครูซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของพ่อหนานนวล ทองด้วง อดีตมัคนายกคนหนึ่งของวัด ทำให้ทราบว่าที่ดินของวัดนั้นเดิมทีอาณาเขตถึงหน้าตลาดสดเทศบาลเมืองแพร่ ต่อมาทางการต้องการสร้างถนนรอบเมืองจึงได้ขออนุญาตจากทางวัดสร้างเป็นถนนและวัดก็ได้จัดสร้างอาคารพาณิชย์ปัจจุบันมีจำนวน ๑๗ ห้อง เพื่อเป็นผลประโยชน์ให้แก่วัด จากความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่หลาย ๆ ท่าน ที่เป็นศรัทธาของวัดที่ได้เล่าให้ฟังถึงเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดตามลำดับจึงน่าวิเคราะห์ได้ว่า วัดนี้สร้างราวปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ซึ่งในกาลครั้งนั้นลักษณะเป็นวัดขนาดเล็กที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง เข้าใจว่าผู้สร้างวัดคือตระกูล “วังซ้าย”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 03 •มกราคม• 2013 เวลา 07:19 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัอร่องซ้อ อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 09 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:47 น.•

วัดร่องซ้อผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ช่วงปี ๒๕๔๓ กล่าวว่า วัดร่องซ้อไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นคนสร้าง อาณาเขตบริเวณวัดเป็นป่าไผ่หนาทึบ ห่างจากบริเวณวัดทางทิศตะวันตก ๕๐ เมตร มีร่องน้ำ(ชาวบ้านเรียก ฮ่องน้ำ) ที่มีต้นซ้อขึ้นตามแนวเขตร่องน้ำ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปมีทางเดินเรียบแนวตลอดทาง ผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ส่วนมากเป็นพ่อค้าวัวต่างจากอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พ่อค้าวัวต่างจากจังหวัดพระเยาตลอดจนถึงชาวบ้านปงศรีสนุก (ชุมชนวัดหลวง, วัดพงษ์สุนันท์ ในปัจจุบัน) ที่อยู่ในตัวเมืองแพร่ที่ย้ายออกมาทำไร่ ทำสวน ได้ถางดงไผ่กับพ่อค้าวัวต่างโดยจัดบริเวณตรงกลางของดงไผ่โล่ง และให้ส่วนหนึ่งเป็นรั้วล้อมบริเวณนี้ไว้สร้างเป็นที่พักและผูกวัวควายได้ ครั้งแรกเป็นแบบพักชั่วคราว ต่อมาได้ย้ายมาอยู่เป็นการถาวร ใช้เป็นสถานที่ทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน พ่อค้าวัวต่างเมื่อเดินทางมาถึงบริเวณนี้ก็หยุดพักอาบน้ำ หุงหาอาหาร และพักแรมเป็นประจำทำการให้การประกอบอาชีพไปมาค้าขายสะดวกสบาย จนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น ทุกคนต่างมีความสำนึกในบุญคุณของบริเวณที่ได้พักพิงเพื่อไปค้าขายเป็นอย่างมาก จึงคิดถึงเรื่องการสร้างบุญสร้างกุศลให้แก่ตัวเองและครอบครัว จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างศาลาหลังเล็กมุงด้วยหญ้าคาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นที่พักของสงฆ์และเป็นสถานที่ให้พระสงฆ์มารับบิณฑบาตรับจตุปัจจัยไทยทานเป็นครั้งคราว จากป่าไผ่ป่าไม้ซ้อ แปรเปลี่ยนสภาพเป็น หมู่บ้าน มีสถานที่ทำบุญเป็นสัดส่วน ชาวบ้านที่อยู่ในเมืองและต่างถิ่นก็มาจับจองเป็นเจ้าของที่ดินมากขึ้น ในจำนวนชาวบ้านที่อาศัยพื้นที่ส่วนนี้ โดยมากเป็นต้นตระกูล “ร่องซ้อ” และ “อินต๊ะนอน” ต่างก็ได้เชิญชวนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาช่วยกันออกแนวคิดร่วมแรงร่วมใจและกำลังทรัพย์ขยายที่ทำบุญสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น โดยเชิญชวนชาวบ้านและพ่อค้าวัวต่างมาร่วมสนับสนุนด้านกำลังเงิน กำลังกายช่วยกันสร้างถาวรวัตถุที่มั่นคงถาวรเพิ่มเติม เช่น สร้างกุฏิ วิหาร ศาลา บ่อน้ำ และเรียกชื่อสถานที่ทำบุญว่า “วัดฮ่องซ้อ” ตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นร่องน้ำและมีต้นไม้ซ้อขึ้นโดยทั่วไปชื่อ “วัดฮ่องซ้อ” เรียกขานกันมาเท่าใดไม่ปรากฏและบ้านเรือนที่อยู่บริเวณโดยรอบก็เรียกขาน ตามชื่อวัดไปด้วยว่า “บ้านฮ่องซ้อ” ซึ่งมีความหมายว่าร่องน้ำที่มีต้นซ้ออยู่นั้นเอง แล้วกลายมาเป็นคำว่า “ร่องซ้อ” ในที่สุด

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 01 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดชัยมงคล อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 08 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 21:44 น.•

วัดชัยมงคล ตั้งอยู่ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมือง ห่างจากสี่แยกบ้านทุ่งประมาณ ๔๐ เมตร อยู่ระหว่างถนนช่อแฮกับถนนเหมืองแดงต่อกัน บริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๖๒ ตารางวา ตาโฉนดที่ดินเลขที่ ๗๑ ถนนช่อแฮ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ ๐๕๔ – ๕๑๑๓๙๕ แต่เดิมบริเวณวัดชัยมงคลเป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีพฤกษาชาตินานาพันธ์ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป อาทิ ไม้สะแก ไม้ไผ่หลากหลายพันธุ์ ฯ เป็นที่ชุ่มชื้นไปด้วยน้ำ แอ่งน้ำสำหรับเป็นแหล่งอาศัยของโค กระบือ และช้างของชาวบ้าน สมัยเมื่อสร้างวัดใหม่ ๆ ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดชัยมงคลโป่งจ้าง” เพราะบริเวณนี้เป็นดินโป่ง (ดินที่มีรสเค็มและหอม) เป็นธาตุอาหารสำหรับสัตว์โดยเฉพาะช้างชอบกิน วัดชัยมงคลเป็นวัดใหญ่แห่งหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองแพร่ มีศรัทธาอุปถัมภ์กว่า ๔๐๐ ครอบครัว เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจที่สำคัญเพราะรองรับจำนวนพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ผู้นำในการเข้ามาสร้างครั้งแรกคือท่านพระครูวงศาจารย์ (ทองคำ พุทฺธวํโส) เป็นชาวบ้านสีลอ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บุตรของพระยาแขกเมือง นางแว่นแก้ว ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดพระบาทมิ่งเมือง และเป็นเจ้าคณะจังหวัดแพร่ ได้ชักชวนพระธรรมธรการินตา (บางแห่งว่าพระวินัยธรรม) วัดน้ำคือ (วัดเมธังกราวาส)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 24 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 12:53 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระธาตุดอยโตน อำเภอเมือง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 27 •ตุลาคม• 2012 เวลา 19:45 น.•

ที่ตั้ง ๒๒๒ หมู่ที่ ๕ ตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ในอดีตกาลผ่านมานานนับร้อยปีมาแล้วมีผู้เฒ่าผู้แก่ในตำบลวังหงส์และตำบลใกล้เคียงทั้งมีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่าได้เห็นแสงจากดวงแก้วสีเขียวรูปวงกลมมีรัศมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖๐ เซนติเมตรลอยขึ้นตรงบริเวณที่สร้างองค์พระธาตุโตนในปัจจุบัน โดยเฉพาะในวันพระข้างขึ้นและข้างแรม ๑๕ ค่ำบ้าง ๘ ค่ำบ้างและในวันพระใหญ่ เช่น วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา บางครั้งก็มีดวงเดียว บางครั้งก็มีหลายดวงลอยเด่นอยู่ในอากาศสูงจากพื้นดินประมาณ ๑๐๐ เมตร หรือประมาณยอดบนยอดพระธาตุดอยโตนเราเรียกว่า พระธาตุเสด็จ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแรงศรัทธาแก่ผู้พบเห็นและจากการฟังเรื่องราวอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นดังนั้นผู้นำท้องถิ่นชาวบ้านตำบลวังหงส์ทุกคนจึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันโดยการนำของท่านพระครูสังวร สีลวัฒ(หลวงพ่อหมวก) อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์เหนือ และท่านพระครูอนุกูล สาธุกิจ(ครูบาอินทร์ตา อินทจกฺ) อดีตเจ้าอาสวัดวังหงส์ใต้ได้นิมนต์พระมานพ ติกฺขวีโร (ตุ๊อาวหมอ) ปัจจุบันคือ พระครูวิธาน นพกิจ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุหนองจันทร์ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ท่านเป็นพระนักบุญบารมีได้มาสร้างพระธาตุดอยโตน เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ(เดือน ๔ ใต้) ปีจอ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 10 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 14:15 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อุทยานเพลง "บ้านมนต์รักลูกทุ่ง" •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 05 •ตุลาคม• 2012 เวลา 12:41 น.•

“เพลงเป็นเสียงและสื่อภาษาที่มนุษย์เราได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อขับกล่อม ตอบโต้ถึงความรู้สึกนึกคิด รัก ชอบ น้อยใจ ยากไร้ ต้อยต่ำ รำพึง รำพันถึงชีวิตต่าง ๆ นานา แทนความรู้สึก ของแต่ละบุคคลไม่ว่าจะเป็นการประทับใจบุคคล ประทับใจสถานที่ ยากที่จะลืมเลือนได้ก็ปล่อยหัวใจลงในบทกลอน ถ่ายทอดเป็นบทเพลงขับกล่อมบรรเลงขับขานแทนความรู้สึกให้รู้สึกถึงแก่นสารในความหมายของคำว่าเพลง” คำกล่าวของวิรัช งามสุข เจ้าของอุทยานเพลงบ้านมนต์รักลูกทุ่ง กว่า ๑๗ ปี กับบ้านที่เจ้าของที่รักและชื่นชอบเสียงเพลงลูกทุ่งมากมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก หลงใหลในเพลงลูกทุ่งต้องการสะสมเทปเพลง, แผ่นเสียง, เครื่องเสียงโบราณ และเครื่องมือเครื่องใช้ของคนสมัยก่อน สะสมหนังสือเพลงตั้งแต่ราคา ๒ บาท กว่า ๒๐๐ เล่ม เทปเพลงมากกว่า ๖๐๐ ม้วน แผ่นเสียงครบทุกแนวเพลงกว่า ๑๐,๐๐๐ แผ่น วิทยุทรานซิสเตอร์ประมาณ ๖๐ เครื่อง ฯ จึงก่อตั้งอุทยานเพลงบ้านมนต์รักลูกทุ่งหลังแรกของประเทศไทยในปี ๒๕๓๘ เป็นที่สนใจของสื่อระดับประเทศเช่น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ข่าวสด ITV (สมัยนั้น) ช่อง ๕ และครูเพลงระดับประเทศอีกหลายท่าน รางวัลแห่งความภาคภูมิอาทิ คนดีศรีเมืองแพร่ งานถ้าไม่เกิดจากใจก่อนคงไม่ยั่งยืน วิรัช งามสุข เกิดวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๗ ณ ตำบลบ้านสา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ปัจจุบันเป็นเขยแพร่ ณ บ้านเลขที่ ๑๐๗/๑ หมู่ที่ ๔ ตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โทร ๐๘-๙๕๕๓-๒๒๖๓ (ที่ตั้งอุทยานเพลง) อาชีพพนักงานสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดแพร่ ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ ๐-๕๔๕๑-๑๖๗๗ งานสร้างสรรค์ไม่ได้เกิดขึ้นมาได้ง่าย ๆ ยิ่งการรักษาไว้คนชนรุ่นหลังได้ศึกษายิ่งไม่ใช่เรื่องง่าย ขอเป็นกำลังใจให้พี่รักษาความดีนี้ต่อไปครับ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 25 •มิถุนายน• 2015 เวลา 16:24 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดโศภนาลัย อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 05 •ตุลาคม• 2012 เวลา 11:20 น.•

ประวัติวัดโศภนาลัย ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วัดโศภนาลัย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๙ บ้านนาแหลมใต้ หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ เดือน พ.ศ. ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์เป็นตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๑๑๒ เล่มที่ ๖๓๒ หน้า ๑๒ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน ๒ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา และที่ธรณีสงฆ์ ๒ แห่ง คือ แห่งแรก ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๗๓๒ เล่มที่ ๖๓๘ หน้า ๓๒ ( ปัจจุบันสถานีอนามัยตำบลทุ่งกวาว ขออนุญาตสร้าง ) และแห่งที่สอง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๖๘๔ เล่ม ๖๓๗ หน้า ๘๔ เป็นสถานที่ทำการของกลุ่มพัฒนาสตรีแม่บ้าน ) มีอาณาเขตติดต่อมีดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับถนนบ้านนาแหลม - เหมืองหม้อ ทิศใต้ ติดกับสถานีอนามัยตำบลทุ่งกวาว ทิศตะวันออก ติดกับวัดนาแหลมเหนือ ทิศตะวันตก ติดกับ สวรรคนิเวศ มีถาวรวัตถุภายในวัด คือ อุโบสถ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ กุฎิหลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. กุฎิหลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ ได้ดำเนินบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ โดยทำการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่สืบถามจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย แต่มาประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่สร้างวัดขึ้นมา คือ (๑) ครูบาปินใจ ไม่ทราบ พ.ศ.ที่แน่นอน (๒) ครูบาอภิชัย ไม่ทราบ  พ.ศ.ที่แน่นอน (๓) พระครูกองแก้ว ปญญาพโล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ ถึง พ.ศ.๒๕๔๐ (๔) พระครูพิบูลพัฒนโกศล  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 26 •ตุลาคม• 2012 เวลา 10:29 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดพระร่วง อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 29 •กันยายน• 2012 เวลา 12:43 น.•

วัดพระร่วง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๓ ถนนพระร่วง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นวัดที่เก่าแก่มีมาตั้งแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อ ปี พุทธศักราช ๑๓๑๐ ที่มาของชื่อวัดพระร่วง วัดพระร่วงแต่เดิมสันนิษฐานว่ามิใช่ชื่อนี้ แต่จะเป็นชื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากฏ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ ทราบว่า สมัยก่อนวัดนี้เดิมมีผู้คนเรียกว่า “วัดพญาฮ่วง” “ฮ่วง” ซึ่งเป็นสำเนียงภาษาพื้นเมือง ตรงกับภาษาไทยกลางว่า “ร่วง” เพราะภาษาเหนือออกเสียงตัว “ร” เป็นเสียงตัว “ฮ” เช่น “เรือน” เป็น “เฮือน” “รัก” เป็น “”ฮัก” “เรา” เป็น “เฮา” เป็นต้น ดังนั้นถ้าจะเรียกชื่อวัดนี้เป็นภาษาไทยกลางก็คือ “วัดพญาร่วง” ซึ่งคำๆ นี้จะตรงกับคำที่ชาวไทยล้านนานิยมเรียกชื่อพ่อขุนรามคำแหงว่า “พญาร่วง” คือ “พญาฮ่วง” นั่นเอง (ร่วง แปลว่า รุ่ง,เรือง) ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ว่า ผู้สร้างวัดพระร่วง (พญาฮ่วง) คือ พญาลิไท สร้างขึ้น นอกจากจะสืบทอดพระพุทธศาสนาแล้วคงสร้างขึ้นเฉลิมพระเกียรติยศ ถวายเป็นพระราชสดุดีแด่พ่อขุนรามคำแหงตามที่ชาวล้านนานิยมเรียกพระนามว่า “พญาร่วง” ซึ่งเป็น “...พระมหาธรรมราชาผู้ปู่ฯ..) ที่ปรากฏในศิลาจารึกที่สอดคล้องกันทั้งสองหลักคือ ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและศิลาจารึกวัดป่าแดง วัดพญาฮ่วง จะเปลี่ยนเป็นวัดพระยาฮ่วง หรือวัดพระร่วง เมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่ปัจจุบันผู้คนทั่วไปก็จะเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดพระร่วง” ซึ่งก็เช่นเดียวกับชื่อของวัดหลวงสมเด็จที่พระมหาธรรมราชาลิไทโปรดพระราชทานนามไว้ พอเวลาผ่านมานานผู้คนได้เรียกชื่อวัดว่า “วัดหลวง” โดยตัดคำว่า “สมเด็จ” ออกไป ซึ่งคนรุ่นหลังก็ไม่สามารถหาเหตุผลได้ และ “วัดพระยาฮ่วง” ก็ถูกตัดคำว่า”ยา” ออกไป (คำว่า “พระยา” เป็นคำที่แสดงถึงบรรดาศักดิ์ที่ต่อจาก “พระ” ขึ้นไป) คงเหลือเพียงคำว่า “วัดพระร่วง” ตราบเท่าทุกวันนี้

•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พระธาตุวัดมหาโพธิ์ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 08 •กันยายน• 2012 เวลา 15:30 น.•

พระธาตุวัดมหาโพธิ์ สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โดยเจ้าหลวงอินทะวิชัยเป็นเจ้าผู้ครองเมืองโกศัย (แพร่) ในปี ๒๓๘๒ “ประวัติพระธาตุวัดมหาโพธิ์ ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จากแผ่ศิลาจารึกในอุโบสถ วัดมหาโพธิ์ ตัวอักษรเดิมเป็นภาษาล้านนา (ภาษาพื้นเมือง ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อวันศุกร์ ตรงกับปีเป้า ศักราช ๑๒๕ ตรงกะบ พ.ศ. ๒๓๘๖ เดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ”  เมื่อปี พุทธศักราช ๒๓๘๒ ตรงกับศักราช ๑๒๐๑ เป็นแผ่นดินของสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี ณ เมืองโกศัย (แพร่) มีพระมหาเถระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่ได้สำเร็จฌาณสมาบัติชั้นสูง มีพระนามว่า พระมหาเถรหรือครูบาสูงเม่น ได้กลับจากการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกและวิปัสนากัมมัฎฐานจากประเทศพม่าของพระมหาเถรหรือครูบาสูงเม่นครั้งนี้ ท่านได้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอรหันต์มาด้วยจำนวนหนึ่ง และได้นำพระธาตุนี้ขึ้นทูลถวายแก่เจ้าผู้ครองนครเมืองโกศัย(แพร่) ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าหลวงอินทะวิชัย เจ้าผู้ครองนครเมื่อได้รับพระธาตุจากพระมหาเถรแล้วก็ได้ลงไปพระนครและได้เข้าเฝ้าพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นทรงพระนามว่าเจ้าฟ้ามงกุฎเพราะยังมิได้เสร็จขึ้นครองราชย์สมบัติ และได้ถวายทูลเรื่องราวที่ได้พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุจากพระมหาเถรให้ทรงทราบ พระเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระโกษทองคำให้บรรจุแล้วให้นำไปบรรจุไว้ ณ เมืองโกศัย(แพร่)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 14 •กันยายน• 2012 เวลา 10:02 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดท่าขวัญ อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 28 •สิงหาคม• 2012 เวลา 17:19 น.•

ประวัติวัดท่าขวัญ พบหลักฐานจาลึกเป็นตัวเขียนภาษาลานนาที่ฐานพระพุทธรูปไม้ทั้ง ๔ องค์ที่อยู่คู่กับวัด เขียนว่าจุลศักราชได้ ๑๑๒๖ พ.ศ. ๒๓๗๗ ตุ๊ลุงอินต๊ะ พยาอาจหนานมหาวัน น้อยมโนอ้าย อ้ายเตียม เป็นผู้สร้างพระพุทธรูปไม้และสร้างวัดท่าข้ามนาปัง เดิมชื่อวัดข้ามนาปัง หมู่ที่ ๑ ตำบลท่าข้าม พ.ศ. ๒๔๘๑ เปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าขวัญที่ตั้งวัดเดิมมีเนื้อที่ตามหลักฐาน ส.ค. ๑๖ ไร่ ๓ งาน แบ่งสร้างโรงเรียน ๓ ไร่ คำเรียกขานว่าท่าข้ามคำเล่าสืบมา ๆ ว่าเป็นเส้นทางเจ้าหลวงเมืองแพร่ ใช้ติดต่อระหว่าง เมืองแพร่ เมืองสอง เมืองงาว เมืองน่าน โดยข้ามบ้านท่าข้ามยวน ส่วนคำเรียกขานที่ว่าท่าข้ามนาปังมีคำบอกเล่าว่ามีผู้คน ๒ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ เป็นชาวยวน กลุ่มที่ ๒ บ้านน้ำคือ บ้านศรีบุญเรือง ตำบลในเวียง ได้มาจับจองที่ดินทำนา ทำสวน ทำไร่ ทางฝั่งตะวันตกแม่น้ำยม ตรงข้ากับบ้านท่าขวัญปัจจุบันทุกปีพอถึงฤดูน้ำหลาก น้ำในแม่น้ำยมจะเอ่อท่วมที่สวนไร่นาเป็นประจำส่วนที่ติดน้ำยมตลิ่งจะพังทลายจำนวนมากทุกปี จนเกิดเป็นแอ่งน้ำซึ่งชาวบ้านเรียกว่าหนองน้ำนาปัง หรือลุ่มในปัจจุบัน ด้วยเหตุการณ์ตลิ่งพังกัดเซาะไปถึงไร่นา สวน ของชาวบ้านจำนวนมากขึ้นทุกปี จึงมีคนขานกันว่า ท่าข้ามนาปัง ปัง เป็นคำพื้นเมืองหมายถึงพัง วัตถุมงคลภายในวัด พระพุทธรูปไม้สักของเก่าคู่วัด ๔ องค์ องค์ที่ ๑ และ ๒ สร้างเมื่อจุลศักราช ๑๑๒๖ เค้าสันปี พ.ศ. ๒๓๐๗ พระปูนปั้น ๑ องค์ สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๓ ชื่อหลวงพ่อขวัญชนะมาร พงสิงห์ ๑ องค์ อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแสน พ.ศ. ๒๔๘๕

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 07 •กันยายน• 2012 เวลา 23:00 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วัดเวียงตั้ง อำเภอเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 28 •สิงหาคม• 2012 เวลา 17:09 น.•

วัดเวียงตั้ง ตั้งอยู่บ้านเวียงตั้ง หมู่ที่ ๑ ตำบลวังธง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๗๑ ตารางวา น.ส. ๓ เลขที่ ๗๙๖ วัดเวียงตั้งสร้างเมื่อ ๒๔๕๕ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๕ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน เขตวิสูงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๒๖ เมตร ที่ดินมีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ปัจจุบันได้ซื้อที่เพิ่มเติมด้านหลัง เพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางพุทธศาสนา ให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมทำกิจกรรม เขตติดต่อ ทิศตะวันออก ติดโรงเรียนเวียงตั้ง (คำวรรณชานุกุล) ทิศเหนือ ติดที่นาชาวบ้าน ทิศตะวันตก ติดป่าช้า (ฌาปนสถานบ้านเวียงตั้ง) ทิศใต้ ติดถนนทางหลางชนบท (ป่าเมต – หัวเมือง) แต่เดิมมา สภาพพื้นที่ก่อนสร้างวัดเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นไม่นานพันธุ์ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป บรรดาต้นไม้ใหญ่ ๆ เหล่านั้นมีต้นเจ้าป่าต้นหนึ่งต้นผึ้งหรือต้นธง มีลำต้นสูงใหญ่ประมาณ ๘ คนโอบ ยืนต้นสง่าอยู่บนฝั่งน้ำยม ติดกับวังน้ำยมที่กว้างลึก ชาวบ้านจุงเรียกวังน้ำนี้ว่า “วังธง” กลุ่มชนที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานกลุ่มแรกเป็นกลุ่มชนที่มาจากในเวียง นำโดยพ่ออินต๊ะ เป็นชาวบ้านเชตวัน อพยพรวมกันมา ๔ ครอบครัวและชาวบ้านหัวข่วงอีก ๔ ครอบครัว  เข้ามาบุกเบิกตั้งบ้านเรือนประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๕ ประชาชนเรียกชื่อหมู่บ้านตั้งใหม่นี้ว่า “บ้านเวียงตั้ง”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 30 •สิงหาคม• 2012 เวลา 21:34 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 1 2 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 1 จาก 2•