ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้429
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3661
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13429
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261660

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 4
หมายเลข IP : 18.191.135.224
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลแพร่
เครือข่ายโรคหัวใจจังหวัดแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อังคาร•ที่ 31 •ธันวาคม• 2013 เวลา 00:00 น.•

การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจภาคประชาชน เครือข่ายผู้ป่วยโรคหัวใจจังหวัดแพร่ เริ่มดำเนินงาน ปี ๒๕๕๐

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 10 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 09:51 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ทำอย่างไรเรียกว่าดำเนินชีวิตให้เหมาะสม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:49 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๔ ทำอย่างไร..เรียกว่าดำเนินชีวิตให้เหมาะสม โรคหัวใจถึงจะร้ายแรงแต่ป้องกันได้ เพียงแค่ดำเนินวิถีชีวิตให้เหมาะสม ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคได้ไม่ยาก ลดน้ำหนักลง คนที่น้ำหนักเกินมาตรฐานมักจะตามมาด้วยความดันเลือดสูงขึ้น รวมทั้งระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดก็สูงตามไปด้วย แถมยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน หากร่างกายคุณไม่สามารถใช้อินซูลินเพื่อเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานได้ ซึ่งโรคเบาหวาน จะไปเพิ่มโอกาสในการเป็นหลอดเลือดอุดตันและหัวใจวาย ดังนั้น การลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับมาตรฐานจะช่วยคุมระดับโคเลสเตอรอล และความดันเลือด และยังทำให้ร่างกายใช้อินซูลินอย่างได้ผลด้วย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 31 •ธันวาคม• 2012 เวลา 17:37 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:42 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๓ การเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสม การเลือกใช้น้ำมันพืช ปัจจุบันน้ำมันพืช มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมาก เนื่องจากคุณแม่บ้านส่วนใหญ่ เลือกใช้น้ำมันพืชเป็นหลัก ในการประกอบอาหาร เนื่องจากหาซื้อได้สะดวกกว่าน้ำมันหมู ที่เคยใช้รับประทานมาแต่เก่าก่อน และยังมีคุณค่ามากกว่า ท่านผู้อ่านอาจจะเคยทราบค่ะว่า น้ำมันพืชมีประโยชน์กว่าน้ำมันหมู แต่ท่านจะทราบหรือไม่ว่า น้ำมันพืชนั้น มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิด มีข้อดี ข้อเสียต่างกัน หากเราเลือกใช้อย่างเหมาะสม ก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง คือได้ทั้งอาหารที่อร่อยปลอดภัย และป้องกันโรคได้ด้วย น้ำมันพืชที่มีขายในท้องตลาด มี ๒ ชนิด คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 24 •ธันวาคม• 2012 เวลา 21:35 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เมนูชูสุขภาพ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:27 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๒ เมนูชูสุขภาพ อ้วนแล้วก็ต้องลดถูกต้องที่สุดค่ะ ฉบับนี้เรากลับมาคุยกันอีกครั้งว่ามีเมนูอาหารอร่อยๆ ช่วยลดอ้วนอะไรบ้างที่หากันง่ายๆ ตามพื้นบ้านและยังเป็นเมนูชูสุขภาพช่วยบำรุงหัวใจ และอย่าลืมว่าการควบคุมอาหาร ไม่ใช่การอดอาหาร หากแต่เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พฤติกรรมการกิน ลดไขมันในอาหาร และจำกัดปริมาณอาหาร • กินข้าวให้กินกับ.... • กับข้าว มีผัก ไม่มันจัด เค็มจัดหรือหวานจัด • เน้นปรุง ต้ม ปิ้ง ย่าง ยำ อบ น้ำพริก • ผัดและแกงกะทิ ใช้น้ำมันและกะทิพอควร

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •ธันวาคม• 2012 เวลา 23:09 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
วิ่งเพื่อสุขภาพ หรือทำลายสุขภาพ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:21 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๑ “วิ่งเพื่อสุขภาพ หรือทำลายสุขภาพ” สืบเนื่องจากการเล่าเรื่อง โรคอ้วนลงพุง หลายต่อหลายคนคงคิดจะออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก หรือลดพุง แต่ครั้งหนึ่งได้มีผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการตำรวจ เกิดอาการวูบมา และเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันขณะ ทดสอบสมรรถภาพประจำปี ผมจึงเป็นห่วง หลายๆท่านที่อ้วน หรือมีโรคหัวใจ หรือโรคหลายอย่าง ควรจะรู้ข้อควรปฏิบัติ และ การออกกำลังกายที่ถูกวิธี ดังนี้ กลุ่มแรกคือผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือ โรคอ้วน ๑. ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องควบคุมอาการ ควบคุมความดัน หรือระดับน้ำตาล ให้ดีก่อน หรือคนอ้วนก็ควรจะต้องไปตรวจวัดความดัน หรือเจาะระดับน้ำตาลก่อน เพื่อรักษาให้ดี ก่อนจะไปออกกำลังกาย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 10 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:34 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อ้วนลงพุงกับโรคหัวใจ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:13 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๐ อ้วนลงพุงกับโรคหัวใจ: หรือทางการแพทย์มีชื่อว่า โรคเมตาบอลิกบกพร่อง(Metabolic syndrome)  โรคอ้วนลงพุง...คืออะไร ? เป็นคนพุงใหญ่ โดยวัดรอบเอวในผู้ชาย > ๓๖ นิ้ว ในผู้หญิง > ๓๒ นิ้ว ร่วมกับปัจจัย ต่อไปนี้ ๒ จาก ๔ ข้อคือ (๑.) วัดความดันโลหิตตัวบนได้มากกว่า ๑๓๐ ม.ม.ปรอท หรือตัวล่าง มากกว่า ๘๕ ม.ม.ปรอท หรือทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว (๒.) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ๘ ชั่วโมง มากกว่า ๑๐๐ มก% หรือรักษาโรคเบาหวานอยู่แล้ว (๓.) ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า ๑๕๐ มก % (๔.) ระดับไขมันชนิด เอช ดี แอล (HDL) น้อยกว่า ๔๐ มก%ในผู้ชาย หรือน้อยกว่า ๕๐ มก% ในผู้หญิง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 03 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
โรคทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:07 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๙ โรคทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ สวัสดีครับวันนี้ผมมีเนื้อหาสาระดีๆมาเล่าให้ฟังอีกเรื่องครับ เป็นเรื่องร้ายๆจากความอ้วนคือโรคทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ [Obstructive sleep apnea] Obstructive = อุดตัน, Sleep = นอนหลับ, Apnea = หยุดหายใจ เมื่อแปลจากภาษาอังกฤษแล้วเราสามารถสังเกตอาการของโรคได้ดังนี้ ๑.มีการหยุดหายใจขณะนอนหลับนานกว่า ๑๐ วินาที โดยการหยุดหายใจนั้นเกิดจากทางเดินหายใจอุดตัน ซึ่งมักเกิดในคนอ้วนเพราะ จะคอสั้น, มีไขมันบริเวณโพรงคอมาก และเกิดลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจขณะหลับ คนใกล้ตัวสามารถสังเกตอาการนี้ได้โดยดู คนอ้วนขณะนอนหลับว่ามี  -นอนกรนดังมากๆ ต่อมาเสียงกรนจะเงียบหายไปนานกว่า ๑๐ วินาที -แล้วผู้ป่วยจะสะดุ้ง มีเสียงในลำคอเหมือนสำลัก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 26 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 08:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
โรคหัวใจกับการเป็นอัมพาต •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 16:05 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๘ โรคหัวใจกับการเป็นอัมพาต อัมพาตที่พบบ่อยมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองเกิดการตีบตัน หรือไม่ก็แตก สัมพันธ์กับโรคหัวใจดังนี้คือ ๑. ปัจจัยเสี่ยงต่อหลอดเลือดสมองตีบตันเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวกันกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั่นเอง ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันสูง, โรคไขมันในเลือดผิดปกติ, การสูบบุหรี่, อายุที่มากขึ้น, ความอ้วน และการขาดการออกกำลังกาย ดังนั้นเราสามารถป้องกันได้ทั้งโรคหัวใจ และโรคอัมพาตได้ทั้ง ๒ โรคถ้าดูแลหรือแก้ไขปัจจัยเสี่ยงให้ดี นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงจากหลอดเลือดสมองแตกได้ด้วยครับ หลอดเลือดสมองถ้ามีภาวะหลอดเลือดแข็งตัวสามารถทำให้ตีบตัน หรือทำให้แตกก็ได้เพราะจะมีความเปราะแตกง่ายของหลอดเลือดด้วย ๒. หลอดเลือดสมองอุดตันที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจโดยตรง เช่นโรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว, โรคหัวใจเต้นพลิ้วไม่สม่ำเสมอ หรือโรคหัวใจบีบตัวอ่อนอย่างรุนแรง โรคที่กล่าวมานี้ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดในห้องหัวใจไม่ดี จนทำให้เลือดในห้องหัวใจ เกิดเป็นลิ่มเลือด (ใครเคยเห็นกองเลือด ลิ่มเลือดก็คือเลือดที่แข็งตัวคล้ายวุ้นนั่นแหละครับ) ถ้าโชคร้ายลิ่มเลือดนี้กระเด็นออกจากหัวใจ ไปที่หลอดเลือดใด หลอดเลือดนั้นๆก็จะอุดตัน ถ้าไปหลอดเลือดสมองก็จะเป็นอัมพาตได้ครับ บางรายเกิดอัมพาตขึ้นมาทันทีโดยไม่รู้ว่ามีโรคหัวใจมาก่อนก็มี ดังเช่นเจ้าหน้าที่ของ ร.พ.แพร่รายนี้ ซึ่งภายหลังเพิ่งมารู้ว่ามีโรคลิ้นหัวใจตีบมาก ร่วมกับโรคหัวใจเต้นพลิ้วไม่สม่ำเสมอครับ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 19 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 08:36 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ไขมันไตรกลีเซอไรด์คืออะไร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:45 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๗ ไขมันไตรกลีเซอไรด์คืออะไร ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันชนิดหนึ่งซึ่งร่างกายได้มาจากสองทาง ทางหนึ่งคือได้มาจากอาหารไขมันจากสัตว์เช่น เนื้อ หมู ไก่ ที่รับประทานเข้าไปโดยตรง อีกทางหนึ่งคือได้จากการที่ตับสังเคราะห์ขึ้นใช้เองในร่างกายจากวัตถุดิบอันได้แก่ น้ำตาล แป้ง และแอลกอฮอล์ ผู้ที่กินจุ กินอาหารที่มีไขมันสูง กินอาหารหวานหรือขนมหวานมาก ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อ้วน หรือขาดการออกกำลังกาย มักพบว่ามีไตรกลีเซอไรด์สูง ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเช่นกัน แต่วงการแพทย์ยังไม่ทราบว่ามันเป็นปัจจัยเสี่ยงเพราะตัวมันเอง หรือเพราะมันสัมพันธ์ผกผันกับเอ็ชดีแอล (คือเมื่อเอ็ชดีแอลในร่างกายต่ำ มักจะพบว่าไตรกลีเซอไรด์สูงเสมอ) ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์เท่าไรจึงเรียกว่าสูง โครงการศึกษาโคเลสเตอรอลแห่งชาติอเมริกัน (NCEP) กำหนดมาตรฐานระดับของไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดดังนี้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 12 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 12:18 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
LDL HDL และ Cholesteral •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:33 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๖ LDL HDL และ Cholesteral เกี่ยวกับโรคหัวใจอย่างไร ๑. LDL จัดเป็นไขมัน"ตัวร้าย"ที่ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในผนังของหลอดเลือดแดงทั้งร่างกาย เช่น สมอง เกิดอัมพาต หัวใจ เกิดโรคหัวใจขาดเลือด ไต เกิดไตวาย อวัยวะเพศ หย่อนสมรรถ ภาพทางเพศ เป็นต้น HDL ตรงข้ามกับ LDLไขมันนี้เป็น"พระเอก"ช่วยนำเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดออกมา แต่ทำงานช้ากว่าผู้ร้ายเสมอ ระดับไขมัน HDLต่ำจะเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด ในทางกลับกันหากยิ่งสูงยิ่งดี ช่วยป้องกันโรคนี้ เราสามารถเพิ่ม HDLให้สูงได้ด้วย การหยุดบุหรี่ ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก หรือใช้ยาบางชนิด โคเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันที่มีความจำเป็นสำหรับเซลต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลสมอง เซลประสาท ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไขมันนี้ได้เองที่ตับ (ผู้ป่วยโรคตับ หรือ มะเร็ง จึงมีโคเลสเตอรอลต่ำ) และ ได้จากอาหารด้วย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 05 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 09:16 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ผักช่วยลดโคเลสเตอรอล •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:25 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๕ ผักอะไรบ้างที่ช่วยลดโคเลสเตอรอลและช่วยลดความดันโลหิต มีผักหลายชนิดที่ช่วยลดไขมัน ลดโคเลสเตอรอล และช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งในบ้านเราหารับประทานได้ง่าย และไม่มีอันตราย ได้แก่ ๑. แครอท มีคุณสมบัติช่วยลดโคเลสเตอรอล ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเส้นเลือดแดงแข็ง และความดันโลหิตสูง ๒ . คึ่นฉ่าย ถ้ากินสดๆต้องระวังความสะอาดด้วย โดยล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อน หรืออาจกินกับปลานึ่ง ใส่ในอาหารประเภทข้าวต้มปลา ซึ่งนอกจากจะเพิ่มรสชาติแล้วยังช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย ๓. หัวหอมและต้นหอม เป็นสมุนไพรโบราณช่วยรักษาโรคหวัดและโรคหืด หัวหอมเพิ่มไขมันชนิดดีในเลือดให้มากขึ้น ๔. ผักโขม มีวิตามิน เกลือแร่ ธาตุต่างๆ รวมทั้งแคลเซียม จึงช่วยลดความดันโลหิตได้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 29 •ตุลาคม• 2012 เวลา 09:20 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อาหารผู้ป่วยความดันโลหิตสูง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:17 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๔ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรรับประทานอาหารชนิดใดบ้าง อาหารที่เรารับประทานเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต อาหารที่ควรรับประทานก็คืออาหารที่ไม่ทำให้อ้วน คือให้พลังงานต่ำ เช่น ผัก ผลไม้ เมล็ดพืช ธัญพืชต่างๆ ปกติบ้านเราจะกินข้าวเป็นอาหารหลัก ถ้ากินข้าวขาวจะสู้กินข้าวกล้องไม่ได้ เพราะข้าวกล้องมีเส้นใยทำให้ความดันโลหิตลดลง ถ้ากินขนมปังก็ควรจะกินขนมปังที่ทำจากข้าวกล้อง ซึ่งสีจะไม่ขาวจัดเหมือนขนมปังทั่วไป ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงซึ่งมีผลดีต่อร่างกายทำให้ลดความดันโลหิต และยังเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกด้วย ถ้าตอนเช้าท่านเคยดื่มชา กาแฟ ลองหันมาเปลี่ยนเป็นดื่มนมสักแก้ว ก็จะมีประโยชน์มาก เพราะมีแคลเซียมสูงยิ่งเป็นนมสดยิ่งดี นอกจากนมแล้วยังมีอาหารที่มีแคลเซียมคือปลาตัวเล็กทอดกรอบทั้งตัว สำหรับอาหารพวกเนื้อสัตว์ควรรับประทานเนื้อปลา ซึ่งจะมีไขมันประเภทที่ไม่เป็นอันตรายต่อเส้นเลือด สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่งของอาหารที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงก็คือ ความเค็มหรือเกลือ เราต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือให้มากที่สุด คือพยายามลดความเค็มในอาหารที่กิน อาหารที่ช่วยลดไขมัน ได้แก่ ลูกเกด ผักสดทุกชนิด ผลไม้สดทุกอย่าง อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ถั่วงอก ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง ข้าวโพด ยิ่งเรากินเค็มมากจะยิ่งส่งเสริมให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นมากด้วย หรือเพิ่มโอกาสต่อการเป็นความดันโลหิตสูงนั่นเอง การกินเค็มนอกจากจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นแล้วยังทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มตามไปด้วย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 22 •ตุลาคม• 2012 เวลา 08:42 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เป็นเบาหวานถ้าเป็นโรคหัวใจ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 15:06 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๓ เป็นเบาหวานถ้าเป็นโรคหัวใจ ...จะเป็นอย่างไร ? อาการเจ็บหน้าอกของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เป็นเบาหวานมักไม่ชัดเจนหรือไม่มี เนื่องจากมักมีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพร่วมด้วย ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากกว่าปกติ อาการอื่นที่ทำให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ อาการแน่น อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก หน้าอกข้างซ้าย หรือลิ้นปี่ คล้ายอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย อาการปวดร้าวที่ท้องแขนด้านใน หน้ามืด วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น จะเป็นลม หรือหมดสติ อาการอาจมีหลายอย่างเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ อาจมีภายหลังจากที่รับประทานอาหารในปริมาณมาก ตื่นนอนตอนเช้าอากาศเย็น หลังออกกำลังกาย ขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ (ในรายที่ท้องผูก) เป็นต้น อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบมาพบแพทย์

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 13 •ตุลาคม• 2012 เวลา 23:00 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
โรคเบาหวานกับหัวใจเกี่ยวข้องกัน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 06 •ตุลาคม• 2012 เวลา 14:51 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๒ โรคเบาหวานกับหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร เมื่อเอ่ยถึงโรคหัวใจขาดเลือดแล้ว หลายๆท่านคงคิดถึงแต่ไขมัน โคเลสเตอรอล แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไขมันยังร้ายน้อยกว่าโรคเบาหวาน ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงไม่จำเป็นต้องเป็นโรคหัวใจขาดเลือดทุกราย แต่หากเป็นเบาหวานแล้ว รับรองได้ว่าหากท่านไม่ดูแลตัวเองให้ดี หรือแม้แต่ดูแลอย่างดีแล้ว ก็ยังมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ในอัตราที่สูงมาก ดังนั้นเบาหวานจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่น่ากลัว อีกอย่างหนึ่งสำหรับโรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวานเป็นความผิดปกติเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้ได้อย่างเต็มที่ สาเหตุเนื่องจากขาดฮอร์โมน อินซูลิน หรือ ไม่ขาด ฮอร์โมน แต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนตัวนี้ ผลที่ตามมาคือระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ  ปัจจุบัน หากระดับน้ำตาลในเลือดที่เจาะหลังงดอาหาร ๘ ชั่วโมงแล้ว ยังสูงกว่า ๑๒๖ มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เราก็เรียกได้ว่าเป็น "โรคเบาหวาน" ได้แล้ว ระดับน้ำตาลที่สูงนี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา ต่างๆตามมา ที่สำคัญคือเป็นตัวการเร่งให้เกิดการเสื่อม ของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทั้งหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงสมอง หัวใจ ตา ไต แขน-ขา รวมทั้ง หลอดเลือดแดงเล็กๆที่เลี้ยง ปลายประสาทอีกด้วย ทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดแดงเหล่านี้ ดังนั้นจะเห็นว่า "โรคเบาหวาน" เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อ โรคทางสมอง อัมพาต โรคระบบประสาท โรคหัวใจ โรคไต โรคตา ( ไตเปลี้ย เสียขา ตาบอด)แม้กระทั่งโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ด้วย

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 08 •ตุลาคม• 2012 เวลา 09:54 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อาหารเพื่อสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 13 •สิงหาคม• 2012 เวลา 19:59 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๑ การเลือกประเภทอาหารเพื่อสุขภาพของผู้เป็นเบาหวาน ๑. อาหารที่ไม่ควรรับประทาน (๑.๑) น้ำนมรสหวาน เช่น นมปรุงแต่งรสต่างๆ ไมโล โอวัลติน โยเกิร์ตรสผลไม้ นมข้นหวาน ยาคูลท์ (๑.๒) น้ำอัดลมทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มพลังงานต่ำที่โฆษณาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน (๑.๓) ของขบเคี้ยวทอดกรอบ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ข้าวเม่าทอด อาหารชุบแป้งทอดต่างๆ ถั่วลิสงทอด ข้าวเกรียบทอด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ (๑.๔) ขนมทุกชนิด เพราะปรุงจากแป้ง น้ำตาล ไข่ เนยสด มาการีน กะทิ มะพร้าว ได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เค้ก คุกกี้ สาคูไส้หมู ขนมเป็นชิ้น เช่น ขนมชั้น สังขยาฯ ข้าวเกรียบปากหม้อ ถั่วแปบ เป็นต้น ขนมราดหน้าด้วยกะทิ เช่น เต้าส่วน ปลากริมไข่เต่า ครองแครง สาคูเผือก-มัน ข้าวเหนียวถั่วดำ ข้าวเหนียวเปียก กล้วยบวชชี แกงบวดฟักทอง เผือก มัน ไอศกรีม ขนมใส่น้ำแข็งราดน้ำเชื่อม (๑.๕) ผลไม้หวานจัด เช่น ทุเรียน มะขามหวาน ลำไย ละมุด น้อยหน่า ขนุน อ้อย องุ่น มะม่วงสุก (๑.๖) ผลไม้เชื่อม-ดอง-กวน เช่น มะม่วงกวน กล้วยเชื่อม มะขามแช่อิ่ม แยมผลไม้ต่างๆ เยลลี่ (๑.๗) น้ำผลไม้ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำมะเขือเทศ น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำตาลสด น้ำลำไย (๑.๘) ผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง เช่น เงาะ ลิ้นจี่ สับปะรด ลำไย แห้ว (๑.๙) ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด ลูกพลับแห้ง อินทผาลัมแห้ง (๑.๑๐) อาหารหมักดอง อาหารตากเค็ม อาหารรสเค็มจัด บรรจุกระป๋องหรือถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ผักดอง มันฝรั่งอบกรอบ ถั่วเคลือบแป้ง-กะทิอบ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •กันยายน• 2012 เวลา 22:59 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
อาหารเสริมหัวใจดวงเดียวให้แข็งแรง •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 13 •สิงหาคม• 2012 เวลา 19:54 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๐ อาหารดี รักษ์หัวใจ อาหารเสริมหัวใจดวงเดียวให้แข็งแรง หัวใจ คือ ศูนย์กลางของชีวิต แม้จะเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติให้มาก็ตาม แต่หัวใจก็ต้องการสารอาหารมากมาย เพื่อบำรุงการทำงาน เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของเครื่องกลไกหรือหัวใจดวงนี้ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ อาหารต้านโรคหัวใจ ข้าวกล้อง ให้สารคาร์โบไฮเดรตในรูปเชิงซ้อน ระบบการย่อยจะค่อยๆ ย่อยจนเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างช้าๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง จึงช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ลดระดับโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคหัวใจ อาหารของหัวใจอื่นๆ ธัญพืช ต้องเป็นธัญพืชเต็มรูป ไม่ขัดสี ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวสาลี ลูกเดือย ต้องกินหลายชนิดผสมกัน เพื่อให้ได้รสชาติอร่อย และได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •กันยายน• 2012 เวลา 21:56 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ยาละลายลิ่มเลือด [warfarin] •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 13 •สิงหาคม• 2012 เวลา 19:49 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๙ ยาละลายลิ่มเลือด [warfarin] สำหรับท่านที่ได้รับการใส่ลิ้นหัวใจเทียมชนิดโลหะหรือลูกบอล จะต้องทานยาละลายลิ่มเลือด [warfarin] ตลอดชีวิต เนื่องจากลิ้นเทียม ถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ระบบเลือดจะสร้างลิ่มเลือดมาห่อหุ้มไว้ซึ่งมีผลให้ลิ้นหัวใจเทียมทำงานไม่ดีและอาจถูกอุดตันจากลิ่มเลือดกะทันหันถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย มีข้อดีของยาละลายลิ่มเลือด [warfarin] คือ ใช้ในผู้ป่วยใส่ลิ้นหัวใจเทียมดังกล่าวแล้ว ยังถูกใช้กับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นพลิ้วผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation ซึ่งมีผลทำให้เกิดลิ่มเลือดตกตะกอนในห้องหัวใจได้ ผลร้ายคือถ้าลิ่มเลือดนี้กระเด็นออกจากหัวใจไปอุดตันลิ้นหัวใจ อุดตันหลอดเลือดหัวใจจะทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้ หรือไปอุดตันเส้นเลือดสมอง ทำให้เกิดสมองบวมและเป็น กะทันหันได้

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 02 •กันยายน• 2012 เวลา 19:45 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคที่พบบ่อย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•จันทร์•ที่ 13 •สิงหาคม• 2012 เวลา 19:38 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๘ โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคที่พบบ่อย แต่คนไทยไม่ค่อยรู้จัก โรคลิ้นหัวใจพิการ ไม่ว่าจะลิ้นหัวใจรั่ว หรือลิ้นหัวใจตีบเป็นโรคที่พบบ่อยมาก ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มาคลินิกโรคหัวใจของโรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทย เป็นผู้ป่วยลิ้นหัวใจพิการทั้งนั้น แต่ที่คนไทยไม่ค่อยรู้จัก เพราะโรคนี้มักไม่เกิดกับคนในสังคมเมือง หรือมีฐานะดีจึงไม่เด่นไม่ดัง หรือไม่มีคนใหญ่คนโตเป็นกันเท่าไรนัก จึงไม่ค่อยมีข่าวการป่วยของคนที่เป็นที่รู้จักทั้งประเทศ ไม่เหมือนกับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่เป็นกันแพร่หลายในสังคมเมือง แล้วทำไมต้องเป็นกับคนในสังคมชนบท หรือสังคมชนชั้นกลางที่ผมกล่าวแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะแบ่งชนชั้น หรือวรรณะแต่อย่างใดตำราแพทย์ก็เขียนไว้แบบนั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะโรคลิ้นหัวใจพิการส่วนใหญ่เกิดตามหลังการอักเสบของลิ้นหัวใจเรื้อรังจากไข้รูมาติก ซึ่งมีการอักเสบสะสมเรื้อรังมาตั้งแต่เด็กๆต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 10-20 ปีและจะมาปรากฏอาการตอนเข้าวัยผู้ใหญ่  ไข้รูมาติกเป็นโรคที่มีการติดเชื้อตามมาจากการติดเชื้อบริเวณช่องปาก, บริเวณรากฟันหรือคอหอย เช่นเป็นโรคเหงือกอักเสบ, ฟันพุ, คออักเสบ, หรือทอนซิลอักเสบ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 26 •สิงหาคม• 2012 เวลา 11:25 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
โรคหัวใจ โรคปอดเกี่ยวกันอย่างไร •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 12 •สิงหาคม• 2012 เวลา 08:27 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๖ โรคหัวใจ กับ โรคปอดเกี่ยวกันอย่างไร ท่านเคยสงสัยไหมว่า “เป็นโรคหัวใจแต่แพทย์กลับพูดว่าขณะนี้มีน้ำท่วมปอด” บางท่าน “เป็นโรคถุงลมโป่งพองหรือโรคปอดแต่แพทย์กลับพูดว่ามีหัวใจโตด้วย” เพราะมีเหตุผลคือ หัวใจกลับปอดเหมือน ลิ้นกับฟัน นั่นเองที่ต้องทำงานประสานกัน โดยในภาวะปกติ เมื่อหัวใจรับเลือดดำจากส่วนต่างๆของร่างกายมาแล้ว จะออกแรงบีบเลือดดำไปสู่ปอด ปอดทำหน้าที่ฟอกเลือดดำ โดยเติมออกซิเจนให้เลือดดำกลายเป็นเลือดแดง แล้วเลือดแดงก็ไหลเข้าสู่หัวใจ หัวใจต้องออกแรงบีบเลือดแดงไปให้อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เป็นโรคหัวใจแต่แพทย์กลับพูดว่าขณะนี้มีน้ำท่วมปอด

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 19 •สิงหาคม• 2012 เวลา 23:37 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 21:30 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๖ เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแล้ว รักษาอย่างไร เมื่อเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแล้ว อย่าเพิ่งตกใจเพราะการรักษาส่วนใหญ่ไม่ยากคือ ๑. ต้องรักษา แก้ไขปัจจัยเสี่ยงเดิมทั้งหมดให้ดีด้วย ๒. ให้ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งมีหลายอย่างคงไม่กล่าวในที่นี้ แต่มียาที่ทุกท่านรู้จักดีคือยาอมใต้ลิ้น ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ และอาจจะขยายหลอดเลือดแดงส่วนอื่นๆด้วย ดังนั้นอาจเป็น ยาที่เหมือนดาบสองคมคือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 06 •สิงหาคม• 2012 เวลา 09:23 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
พฤติกรรมเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 21:21 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๕ มีพฤติกรรมเสี่ยงใดบ้าง และดูแลอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นโรคหัวใจหลอดเลือดตีบตันเฉียบพลัน พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันคือ การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย และความอ้วน ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ บางท่านไม่เห็นความสำคัญเพราะไม่ถือว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บ การสูบบุหรี่ จากที่กล่าวข้างต้น การสูบบุหรี่ บางท่านอาจจะเห็นว่าไม่ใช่โรค แต่ในความจริงแล้วการติดบุหรี่ถือว่าเป็นโรคผู้ติดสารเสพติด โดยสารเสพติดดังกล่าวคือ สารนิโคตินในบุหรี่โดยผู้ใดอยากทราบว่าตัวเองติดนิโคตินหรือเปล่าให้ไปทำแบบทดสอบการติดนิโคตินได้จากสารรักษ์หัวใจปี ๒๕๕๑ ฉบับเดือนพฤษภาคม

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 30 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 07:38 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
โรคประจำตัวกับโรคหัวใจ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 21:09 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๔ มีโรคประจำตัว ทำอย่างไรไม่ให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ง่ายนิดเดียวก็คือดูแล ป้องกันตัวเองไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรค จากที่กล่าวมาแล้วว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเกิดจากการมีคราบไขมันเกาะเลือดหัวใจโดยมีปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง รวมกับการมีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นโรคอ้วน การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงดังจะกล่าวต่อไปนี้หลายๆข้อก็จะมีคราบไขมันสะสมมาก และแตกออกง่าย ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวได้แก่ -โรคความดันสูง  -โรคเบาหวาน -โรคไขมันในเลือดสูง -โรคอ้วนลงพุง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 23 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 09:53 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 20:53 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๓ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน [Acute coronary syndrome] เป็นโรคเดียวกันกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน หรือโรคเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอเฉียบพลัน โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตกะทันหันในผู้ใหญ่สูงถึง ๘๐% สาเหตุเกิดจากการมีคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมาหลายปี (โดยที่เราไม่รู้ตัวมาก่อน หรืออาจจะรู้ตัวมาก่อนแต่ดูแลรักษาไม่ดี) ได้แตกออกทำให้ไขมันแตกเข้าไปในท่อหลอดเลือดแล้วกระตุ้นให้มีเกล็ดเลือดและลิ่มเลือดมาอุดตันท่อหลอดเลือดหัวใจจนตีบตันทันที  หากท่านมีอาการดังต่อไปนี้ ขอให้ท่านไปพบแพทย์โดยเร็ว

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 16 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 09:27 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เมื่อวานยังดี ๆ อยู่เลย วันนี้ตาย ! •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 08 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 11:51 น.•

สารรักษ์หัวใจตอนที่ 2 เมื่อวานยังดี ๆ อยู่เลย วันนี้ตาย หมอบอกเป็นโรคหัวใจ คำกล่าวนี้พบเห็นกันบ่อยๆ ที่หน้าห้องผู้ป่วยหนักอายุรกรรม หรือห้องไอ ซี ยู ท่านคงสงสัยว่าโรคหัวใจอะไรกันที่ทำให้ตายกะทันหัน ขนาดเมื่อวานดี วันนี้ตาย ผมจะยกตัวอย่างโรคหัวใจที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ที่น่าเศร้าแบบนี้มาให้ท่านผู้อ่านทราบ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน [Acute coronary syndrome] เป็นโรคเดียวกันกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน หรือโรคเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอเฉียบพลัน โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตกะทันหันในผู้ใหญ่สูงถึง 80% สาเหตุเกิดจากการมีคราบไขมันที่สะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมาหลายปี (โดยที่เราไม่รู้ตัวมาก่อน หรืออาจจะรู้ตัวมาก่อนแต่ดูแลรักษาไม่ดี) ได้แตกออกทำให้ไขมันแตกเข้าไปในท่อหลอดเลือดแล้วกระตุ้นให้มีเกล็ดเลือดและลิ่มเลือดมาอุดตันท่อหลอดเลือดหัวใจจนตีบตันทันที

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •กรกฏาคม• 2012 เวลา 21:04 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สานใจ...เพื่อคนเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 22:53 น.•

พบกับบทความโรคหัวใจจากเครือข่ายโรคหัวใจจังหวัดแพร่นำทีมโดยนายแพทย์มงคล มะระประเสริฐศักดิ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจโรงพยาบาลแพร่ทุกวันจันทร์ทางเว็บไซต์แห่งนี้ เพื่อสุขภาพหัวใจชาวแพร่และผู้เข้าชมทุกคนครับ

.....สิ่งละอัน พันละน้อย ค่อยค่อยสร้าง ไร้สินจ้าง รางวัล ให้กังขา จุดประกาย ด้วยจิต ทิศอุรา เพื่อประชา ตั้งดวงจิต อุทิศตน

จุดเริ่มต้น ด้วยคนไข้ ไร้ที่พึ่ง มาคิดถึง ทำอย่างไร ให้เกิดผล ได้ก่อตั้ง กลุ่มงาน ในบัดดล มารวมพล คนรักษ์ใจ เทอดไท้องค์

แพทย์ มงคล มะระประเสริฐศักดิ์ รวมพลพรรค อายุรกรรม นำประสงค์ ปี ๔๖  เริ่มต้นงาน สานมั่นคง ด้วยบรรจง จึงบรรเจิด กำเนิดการ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 23:06 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•