ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้337
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3569
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13337
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261568

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 16
หมายเลข IP : 18.191.186.72
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
ศาสนาอิสลาม
มัสยิดเด่นชัย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 31 •ธันวาคม• 2015 เวลา 00:00 น.•

มัสยิดเด่นชัย มีชื่อเป็นภาษาอาหรับว่า มัสยิดกามาลุ้ลอิสลาม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙๒/๑ หมู่ที่ ๒ ตำบล เด่นชัย อำเภอ เด่นชัย จังหวัด แพร่ ครับ มุสลิมคนแรกที่อพยพเข้ามาในจังหวัดแพร่คือ ท่านอุดมาน อุดม ชาวศรีลังกา โดยทำงานให้กับบริษัทบอเนียว ต่อมาก็มีชาวปากีสถาน บังกลาเทศ พม่า มลายู และมุสลิมไทย จากจังหวัดต่างๆเข้ามาในจังหวัดแพร่ กระจายอยู่หลายอำเภอนะครับ เมื่อมุสลิมมีมากขึ้นนะครับ ท่านอุดมานจึงเชิญชวนผู้คนมาละหมาดที่บ้านของท่าน เมื่อท่านเริ่มมีฐานะดีขึ้น ท่าน และคนในครอบครัวจึงบริจาคที่ดิน จำนวน ๑ ไร่ ๒ งาน และร่วมกันสร้างมัสยิดจนสำเร็จในปี ๒๕๓๖ จุดเด่นของมัสยิดเด่นชัยอยู่ที่ ภายนอกเป็นปูนก่อฉาบ แต่ส่วนประกอบภายในเป็นไม้สักทองทั้งหลังนะครับ มัสยิดเด่นชัย เป็นชุมชนมุสลิมเล็กๆนะครับ แต่ให้ความสำคัญกับการปลูกฝัง คุณธรรม และจริยธรรม โดยในส่วนของการเรียนการสอนศาสนาทั้งเยาวชน และผู้ใหญ่ ที่มีการใฝ่รู้นะครับ จะจัดให้มีการเรียนการสอน ในวันเสาร์ และอาทิตย์ครับ และระหว่างปิดภาคเรียนจะมีการเรียนการสอนทุกวัน หยุดวันพฤหัส กับวันศุกร์ครับ โดยจะมีครูสอนศาสนาจากภาคกลาง และภาคใต้มาสอน ปัจจุบันคือ ตัวผมเองทำหน้าที่นำละหมาด และครูสอนศาสนา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบัน และนี่คือประวัติของมัสยิดเด่นชัย พอสังเขปครับ ขอบคุณนะครับ ที่ท่านให้ความสนใจ ในมัสยิดเด่นชัยครับ มูหะหมัดรอซี อีหวี

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 14:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
บุคคลใดที่เลียนแบบชนกลุ่มอื่น •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 11 •เมษายน• 2013 เวลา 21:36 น.•

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ... พี่น้องที่รักครับ วันนี้เรามาดูกันอีกนิดหน่อย ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วนะครับ ท่านนบีมุหัมมัดกล่าวไว้ว่า “บุคคลใดที่เลียนแบบชนกลุ่มอื่น ดังนั้น เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มนั้นด้วย”  ตำนานของวันสงกรานต์มาจากความเชื่อที่ปรากฏในเทพนิยายของศาสนาพราหมณ์ ฮินดู โดยเชื่อว่าเมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันที่ 13 เมษายน ตรงกับวันใดก็ตาม เช่น วันตรงกับวันอาทิตย์ วันศุกร์ หรือวันอื่นๆ ภายในสัปดาห์ เหล่าธิดาของท้าวกบิล มหาพรหม จะทำหน้าที่ออกมาอัญเชิญพระเศียรบิดาของพวกนางตามวันที่ถูกกำหนดไว้ เช่นนั้นสมมติว่าวันที่ 13 เมษายนตรงกับวันพุธเท่ากับว่านางมณฑาเทวีจะออกมารับพระเศียรของเท้ากบิลมหาพรหม เพื่อนำมาแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุของปีนั้น ความเชื่อดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่จนกระทั่งถึงปัจจุบันสำหรับบุคคลที่นับถือและเชื่อถึงการร่วมพิธีกรรมในวันสงกรานต์ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพราหมณ์ ฮินดู หรือศาสนาพุทธก็ตาม ส่วนของศาสนาอิสลามได้กำหนดขอบเขตของความเชื่อไว้ว่าความเชื่อนั้นๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของอัล-กรุอานและแบบฉบับของท่านนบีมุหัมมัดเท่านั้น ส่วนความเชื่อที่ขัดกับหลักการของอิสลามหรืออิสลามไม่ได้กำหนดไว้ถือว่ามุสลิมทุกคนจะกระทำมิได้โดยเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้เองท่านนบีมุหัมมัดจึงกล่าวสอนไว้ว่า “โลกนี้ (ดุนยา) เปรียบเสมือนห้องขังของผู้ศรัทธาและเป็นสวรรค์สำหรับผู้ไม่ศรัทธา (ต่ออิสลาม)”

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 14 •เมษายน• 2013 เวลา 22:50 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
มุมของการดำเนินชีวิต •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 05 •เมษายน• 2013 เวลา 10:00 น.•

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ.... พี่น้องที่รักครับ นี่ก็ใกล้จะเข้าเทศกาลสงกรานต์แล้วนะครับ อาทิตย์นี้ ขออนุญาตคัดลอกบทความของ http://www.sunnahstudent.com/ มาย้ำเตือนให้กับตัวของกระผม และเผื่อแผ่ไปยังพี่น้องอีกครั้งนะครับ... ในทุกแง่มุมของการดำเนินชีวิต มุสลิมต้องกำหนดและแสดงบทบาทของตนให้สอดคล้องกับหลักการของอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดบทบาทที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น วันสงกรานต์จึงถือเป็นวันหนึ่งที่ประเทศไทยกำหนดให้มีความสำคัญแต่ในเมื่อมุสลิมเป็นส่วนหนึ่งของชนในชาติ แล้วเราจะกำหนดจุดยืนและบทบาทของตนเอย่างไรเกี่ยวกับวันสงกรานต์นี้ ความหมายของวันสงกรานต์ คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เป็นวันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 06 •เมษายน• 2013 เวลา 11:43 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ความแตกต่างระหว่างการงานที่ดี และที่ไม่ดี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 22 •มีนาคม• 2013 เวลา 07:41 น.•

"อัลฮัมดุลิลลาฮฺ"  พี่น้องที่มีเกียรติที่รักครับ วันนี้เรามาต่อกันที่หัวข้อนี้นะครับ " ความแตกต่างระหว่างการงานที่ดี และที่ไม่ดี "

อัลกุรอ่าน ได้แยกแยะให้เห็นว่า การงานที่ดีนั้น ประกอบไปด้วย 3 ประการ และเมื่อใดที่ขาดหายไปแม้เพียงประการเดียว การงานนั้นจะไม่ยังประโยชน์ให้กับผู้กระทำแต่อย่างใด ในวันกียามะฮฺ (วันสิ้นโลก)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 22 •มีนาคม• 2013 เวลา 15:33 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
สิ่งที่จะมาขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 14 •มีนาคม• 2013 เวลา 23:04 น.•

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ .... พี่น้องที่รักครับ อาทิตย์นี้เราลองมาทำความรู้จักกับหัวข้อต่อไปนะครับ คือ <สิ่งที่จะมาขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ> สิ่งที่จะมาขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ ความเศร้าหมองและความกังวลให้หมดไปได้ คือ การทำดีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยคำพูด การกระทำ และสิ่งที่เป็นความดีอื่นๆอีก ทั้งหมดนั้นเป็นการทำดีเป็นการทำสิ่งที่เป็นกุศลซึ่งอัลลอฮฺ(ซ.บ)จะทรงใช้ขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจและความเศร้าหมอง ให้หมดไปจากทั้งคนดีและคนชั่ว ตามขนาดผลงานของแต่ละคน แต่ทว่าผู้ศรัทธานั้นจะได้รับสิ่งที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่า"ด้วยการทำความดีของเขานั้นเกิดขึ้นจากความบริ้สุทธิ์ใจและหวังในกุศลผลบุญจากอัลลอฮฺ(ซ.บ)"พระองค์ก็ทรงทำให้การทำดีมีความสะดวกง่ายดายแก่เขา และขจัดสิ่งที่ไม่เป็นที่ปรารถนาให้หมดไปจากเขา ด้วยการมีความบริสุทธิ์ใจและหวังในผลตอบแทนของพระองค์ ดังที่พระองค์ ลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงตรัสไว้ว่า.. "ไม่มีความดีใดๆในการกระซิบกระซาบกันมากมายของพวกเขา นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทาน ทำความดี หรือปรับปรุงแก้ไขกันในระหว่างผู้คนทั้งหลาย และผู้ใดที่กระทำการดังกล่าว โดยหวังในความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ(ซ.บ)แล้วดังนั้น เราจะให้กุศลผลบุญอันยิ่งใหญ่แก่เขา" (อันนิซาอ์:114)

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 15 •มีนาคม• 2013 เวลา 19:34 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ และความกังวล •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 07 •มีนาคม• 2013 เวลา 23:04 น.•

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ... พี่น้องที่มีเกียรติที่รักยิ่งครับ... หัวข้อต่อไปเกี่ยวกับเรื่องของ "การขจัดความกลุ้มอกกลุ้มใจ และความกังวล"ครับ... ผู้ที่ศรัทธาเมื่อได้รับการทดสอบด้วยการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีความยากจนจะพบว่าเขามีความปลาบปลื้มใจ "เขาจะมองผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เขาจะไม่มองผู้ที่มีฐานะสูงกว่า" และบางทีความปลาบปลื้ม ความเบิกบานใจ ความสบายใจของเขาจะมีมากกว่าผู้ที่ได้รับสิ่งต่างๆที่ต้องการทั้งหมดในโลกนี้ ในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาเป็นผู้ที่ไม่ได้รับความพึงพอใจในสิ่งที่อัลลอฮฺ(ซ.บ)ทรงจัดสรรให้ เขาจะพบว่านั่นมิได้ตามศรัทธาที่ได้กำหนดไว้ เมื่อเขาได้รับการทดสอบด้วยความยากจนเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการเกี่ยวกับโลกนี้ เขาจะมีความทุกข์ทรมานและยากลำบาก อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ เมื่อมีเหตุแห่งความกลัว และสิ่งรบกวนต่างๆมาประสบกับมนุษย์ก็จะพบว่า "ผู้ที่มีการศรัทธาที่ถูกต้องจะมีหัวใจที่มั่นคง จิตใจที่สงบสุข" สามารถทำให้เรื่องราวที่มาคุกคามนี้ดำเนินไปด้วยความคิด คำกล่าว และการกระทำ เขาจะปักหลักสู้กับสิ่งทีมารบกวน และนี่เป็นสภาพต่างๆที่ทำให้มนุษยย์เกิดความสบายใจและทำให้จิตใจของเขามีความมั่นคง เช่นเดียวกัน ท่านจะพบว่า "คนที่ไม่มีศรัทธานั้น มีสภาพที่ตรงกันข้าม คือ เมื่อมีความกลัวเกิดขึ้น ก็จะเกิดความอึดอัด ประสาทต่างๆของเขาจะตรึงเครียด ความคิดของเขาจะแตกกระจายฟุ้งซ่าน พร้อมทั้งมีความหวาดกลัว ตระหนก ตกใจ" ทำให้ไม่สามารถจะอธิบายได้ และมนุษย์ประเภทนี้ หากไม่อาศัยการฝึกฝนมาอย่างหนัก พลังของเขาก็จะพังทลายลง ประสาทจะตึงเครียดเนื่องจากว่าขาดการศรัทธาที่จะทำให้เขามีความอดทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่คับขัน และสภาพที่นำมาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจต่าง ๆ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 09 •มีนาคม• 2013 เวลา 12:57 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ฮิจเราะห์ศักราช •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 22 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 09:22 น.•

มีพี่น้องต่างศาสนิกบางท่านถามมาว่า ประเทศมุสลิมเขานับปีแบบไหนเช่นประเทศไทยนับเป็น พ.ศ. ขอตอบแบบนี้ครับ...  ศักราชของอิสลามใช้คำว่าฮิจเราะห์ศักราช ใช้ตัวอักษรย่อว่า “ฮ.ศ.” คำว่า ฮิจเราะฮ์ หมายถึง “การอพยพ” คือ การอพยพของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดามุสลิมจากเมืองมักกะห์สู่เมืองมะดีนะห์ หลังจากที่ท่านนะบีมุฮัมมัด ได้เสียชีวิต ท่านเคาะลีฟะฮ์อุมัร อิบนุคอฎฎ็อบ ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลามคนที่สองต่อจากท่านอบูบักร์ ได้ปรึกษากันว่า อิสลามควรจะต้องมีการนับศักราชเพื่อใช้ในการกำหนดวัน เดือน ปี เช่นเดียวกับคริสตศักราช แต่การเริ่มศักราชของอิสลามจะเริ่มเมื่อใดนั้น ได้มีบรรดาอัครสาวกที่ใกล้ชิดของท่านนะบีมุฮัมมัด และบรรดาผู้นับถือศาสนาอิสลามในเวลานั้นเสนอแนวทางในการกำหนดศักราชอิสลาม 4 แนวทางด้วยกัน คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 08:48 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การศรัทธาและการงานที่ดี •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 15 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 09:15 น.•

รากฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับความสุข(ในการดำรงชีวิตของอิสลาม) คือ การศรัทธาและการงานที่ดี ดังที่อัลลอฮุ(ซ.บ)ทรงตรัสไว้ ว่า "ผู้ใดทีีได้กระทำการงานที่ดี ทั้งชายและหญิงในฐานะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา เรา (อัลลอฮุ) จะให้เขามีความเป็นอยู่ที่ดี และเราจะให้ผลตอบแทนแก่พวกเขา ด้วยสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขาได้กระทำไว้" (อัลนะฮลุ:97) อัลลอฮุ(ซ.บ) ได้ทรงสัญญาแก่ผู้ที่ได้รวมการศรัทธาและการงานที่ดีไว้ด้วยกันว่า อัลลอฮุ (ซ.บ) จะทรงให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและผลตอบแทนที่ดีที่สุดแก่เขา ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮุ(ซ.บ)อย่างถูกต้องนั้น การงานที่ดีจะส่งผลให้สามารถปรับปรุงจิตใจและจรรยามารยาททั้งในโลกนี้และโลกหน้า พวกเขาจะมีหลักสำคัญซึ่งเป็นรากฐานที่จะต้องเผชิญในสิ่งต่างๆ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 15 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 09:28 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
คุณธรรมแห่งวิถีการดำเนินชีวิต •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 07 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 22:31 น.•

พี่น้องในหนทางแห่งอัลลอฮุทุกท่าน... ขอความสันติสุข จงมีแด่ท่าน...หลังจากที่ห่างหายไปหลายสัปดาห์ เนื่องจากติดภารกิจบางประการ เรามาเริ่มกันต่อนะครับ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของวันแห่งความรักในอาทิตย์หน้า ซึ่งในทัศนะของอิสลามไม่มีวันวาเลนไทน์ แต่อิสลามมีวันแห่งความรักทุก ๆ วันครับ... วันนี้เรามาพูดถึงความรักในแบบฉบับของอิสลามบ้างนะครับ... มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ, ประชาชาติอิสลามต่างเห็นพ้องว่า แบบอย่างแห่งวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีที่สุดของมนุษย์คือแบบฉบับการดำเนินชีวิตของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮูอะลัยฮิวะสัลลัม และผู้ที่ปฏิบัติตามวิถีการดำเนินชีวิตของเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ดีที่สุด คือ บรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม มาเถิด! เรามาย้อนกลับไปดูสังคมในสมัยของท่านเราะสูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วเราจะพบกับคุณธรรมแห่งวิถีการดำเนินชีวิต นั่นคือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 09 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 08:25 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ความสะอาดและการทำความสะอาด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•เสาร์•ที่ 08 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:15 น.•

สัปดาห์นี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับความสะอาด และการทำความสะอาดกันครับ เพราะอิสลามเน้นหนักในเรื่องของความสะอาด

ความสะอาด ( اَلطَّهَارَةُ ) เป็นหลักการสำคัญในศาสนาอิสลาม เป็นกึ่งหนึ่งหรือครึ่งหนึ่งของการศรัทธา เป็นเอก ลักษณ์และลักษณะนิสัยที่โดด เด่นของมุสลิมผู้ศรัทธา อิสลามได้กำหนดบทบาทหน้าที่ประจำวันของมุสลิม ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนให้ครอบคลุมและผูกพันกับ การรักษา ความสะอาด ทั้งร่างกาย,เสื้อผ้า,อาหารและอื่น ๆ ทั้งส่วนตัวและสาธารณะ และอิสลามยังกำหนดให้ความสะอาดนั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่มี ผลผูกพันกับการ ปฏิบัติศาสนกิจของผู้ศรัทธาหลายประการ เช่น การละหมาดและการฏอวาฟเป็นต้น ท่านอาบูมาลิกกะอฺ บินอาศิมอัลอัช อะรีย์ ร่อฎิยัลลอ ฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า الطُّهُورُ شَطْرُالإِيْمَانِ “ การทำความสะอาด–ตามศาสนบัญญัติ–เป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา ” บันทึกโดยมุสลิม

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •ธันวาคม• 2012 เวลา 16:54 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
การละหมาด นมัสการต่อพระเจ้า •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 30 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 09:38 น.•

หลังจากที่เราได้รับทราบพอสังเขปกับหลักปฏิบัติทั้ง ๕ ประการแล้ว ต่อไปเราจะมาเจาะลึกลงไปในหลักการปฏิบัติที่สำคัญที่สุด อันเปรียบเสมือนเสาหลักของศาสนาอิสลาม นั่นคือ การละหมาด.. ทำละหมาด คือการนมัสการต่อพระเจ้า ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระคือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 04 •ธันวาคม• 2012 เวลา 22:12 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หลักการอิสลาม ๕ ประการ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•ศุกร์•ที่ 23 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 09:30 น.•

หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การยืนยันความศรัทธาด้วยการปฏิบัติ ความศรัทธาทั้ง ๖ ประการที่กล่าวมาก่อนหน้านี้เป็นหลักการสำคัญพื้นฐานของอิสลามที่มุสลิมจะต้องมีอยู่ประจำใจแต่ความศรัทธาเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เป็นการเพียงพอเพราะในอิสลามความศรัทธาที่แท้จริงจะต้องแสดงผลของมันออกมาให้เห็นเป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันและเพื่อให้แน่ใจว่าคนที่มีความศรัทธาในหลักการ๖ประการดังกล่าวยังคงยืนยันในความศรัทธานั้นอย่างมั่นคงอัลลอฮ์. ก็ได้ทรงวางภารกิจสำคัญให้เขาต้องปฏิบัติ ๕ ประการหรือที่เรียกกันว่าหลักการอิสลาม ๕ ประการนั่นคือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•พุธ•ที่ 28 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 17:43 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
บทเรียนที่ ๒. ท่านศาสดามุฮัมมัด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:40 น.•

บทเรียนที่ ๒. ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.)ได้ทรงกล่าวไว้ว่า "การศรัทธานั้น คือ การที่ท่านต้องเชื่อถือต่ออัลลอฮุ ต่อบรรดาเทวทูตของพระองค์ ต่อบรรดาคัมภีร์ของพระองค์ ต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ ต่อวันอาคีรัต(วันสิ้นโลก) และต้องเชื่อถือต่อการกำหนดของอัลลอฮุ ทั้งทางดีและทางร้าย" (บันทึกโดยท่านมุสลิม) (๑) หลักศรัทธา หรือ ความเชื่อในศาสนา (อีมาน) คือหลักคำสอนที่มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อว่าเป็นความจริงแท้และต้องยึดถืออย่างมั่นคง แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสัมผัสทั้ง ๕ ก็ตาม ซึ่งหลักศรัทธามี ๖ ประการ คือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•ศุกร์•ที่ 16 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 18:22 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
หลักการของศาสนาอิสลาม •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย Administrator•   
•วัน•อาทิตย์•ที่ 11 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 15:29 น.•

บิสมิ้ลลาฮิรเราะห์มานิรร่อฮีม... ขอเริ่มกิจการงานทั้งหลาย ด้วยพระนามของอัลลอฮุ ผู้ทรงกรุณา ผู้ทรงเมตตาเสมอ สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาในศาสนาอิสลามนั้น หลักการของศาสนาอิสลาม แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ๆได้ ๒ ประการคือ ๑.หลักการศรัทธา เรียกว่า "รุกนอีมาน" คือ หลักการหรือบทบัญญัติ ที่มุสลิมทุกคนจะต้องศรัทธายึดมั่น ๒.หลักการปฏิบัติ เรียกว่า "รุกนอิสลาม" คือหลักการหรือบทบัญญัติ ที่มุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติตามหลักการศรัทธา หรือ "รุกนอีมาน"นั้น มีเรื่องต่างๆที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธาอยู่มากมาย วึ่งก่อนที่เราจะปฏิบัตินั้น เราต้องศรัทธาก่อน ศรัทธาด้วยใจที่ยึดมั่น และที่เราจำเป็นต้องเชื่อถือ ศรัทธาในหลักการใหญ่ๆ ที่เป็นหลักเบื้องต้นของการศรัทธา ซึ่งมีอยู่ ๖ ประการ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อาทิตย์•ที่ 11 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 21:46 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•