ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้394
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้731
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3626
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว4342
mod_vvisit_counterเดือนนี้13394
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว15525
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2261625

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 9
หมายเลข IP : 13.58.121.131
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 27 •เม.ย.•, 2024
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider
คนสร้างศิลป์
คนสร้างศิลปะเมืองแพร่ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 10 •ธันวาคม• 2016 เวลา 00:00 น.•

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 12 •สิงหาคม• 2013 เวลา 20:28 น.••
 
ศิลปะคือชีวิต ฉลอง พินิจสุวรรณ •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•เสาร์•ที่ 17 •สิงหาคม• 2013 เวลา 14:54 น.•

ฉลอง พินิจสุวรรณ เป็นแบบของครูช่างเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ สนใจสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายและจิตใจ มานะพยายามที่จะสร้างสรรค์แสดงออกถึงความมีตัวตนและความรักในงานศิลปะรอบทิศทาง ฉลองมีความอดทนที่จะสร้างสรรค์แสดงออกถึงความมีตัวตนและความรักในงานศิลปะรอบทิศทาง ฉลองมีความอดทน พากเพียร วิริยะ ขยันหมั่นเพียร ในการเติมเสริมไฟศิลปะให้โชนพะเนียงอยู่บนก้นเส้าศิลปะ ของเขาอย่างสืบเนื่อง ฉลองเฝ้ามองดูดซับกำซับเอาไว้ทุกสุนทรียรสของศิลปะของเขาอย่างสืบเนื่องไม่ว่าจะเป็นจิตกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม และดนตรีน่าสนใจที่การทำงานของฉลอง และระเบียบของจิตเปรียบประดุจกลีบเกสรของดอกไม้และเรณูร้อยบุปผาสุมาลัยอังสุมาลิน ผู้วางระเบียบกระจุกดาวบนทางช้างเผือกฉลองสอนศิลปะในโรงเรียนมัธยม อย่างยอดเยี่ยงครูศิลปะคนเก่าแก่ก่อนฉลองทำงานฝีมือเชิดช่างได้ทุกหมู่เหล่าในแวดวงช่าง

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•อังคาร•ที่ 20 •สิงหาคม• 2013 เวลา 18:07 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
ครูนคร บุญญาสัย •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•อังคาร•ที่ 11 •มิถุนายน• 2013 เวลา 14:42 น.•

“นิทรรศการศิลปะ ป่าดง พงไพร เชื่อมฟ้าเชื่อมท้องถิ่น สู่เมือง” คงไม่มีใครเขาคิดทำกิจกรรมลักษณะนี้และอาจจะเป็นเพราะ ไม่มีพื้นที่ที่เป็นเหมือนสวนศิลปกรรมหรืออย่างไรก็สุดแล้วแต่ครูนคร บุญญาสัย คนเดียวที่จะทำเป็นงานที่ท้าทาย ประหยัดเงิน มีสถานที่เป็นของส่วนตัวอยู่แล้ว จึงดำริ ขณะเดียวกันก็พอมีต้นทุนทางสังคมระดับท้องถิ่นอยู่บ้างแล้ว อาทิได้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านขึ้น ณ โรงเรียนสองพิทยาคม อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา โดยเริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ จนถึงปี ๒๕๕๔ ตลอดระยะเวลาดำเนินชีวิตมาเพื่อฝากไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ก่ออำลาจากไปตามวาระสัจธรรมของชีวิต โลกแห่งความเป็นจริงและการจัดนิทรรศการศิลปะเพื่อชีวิตครั้งนี้เป็นการทบทวนอดีตว่าที่นี่ คือจุดเริ่มต้นของงานนิทรรศการศิลปกรรมปอยครูศิลป์แผ่นดินล้านนา ที่ดำเนินงานมาถึง ๑ ทศวรรษ คือ ๑๐ ครั้ง ความหมายคือวันคืนที่อาจารย์ฉลอง พินิจสุวรรณ ศิลปินนักเขียนเจ้าของหอศิลป์ใตยวน จากจังหวัดเชียงราย ได้มาพำนักพักผ่อนในอดีตเมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมาเพื่อมาเยี่ยมชมฝนดาวตกจากฟากฟ้า ที่สวนศิลปกรรมธารตากหมอกแห่งนี้ ขณะที่ฝนตก เราสนทนาคิดจินตนาการถึงดาวลูกไก่ดาวราศีดาราจักร อายุคน วัน เดือน ปี หลาย ๆ ปี ที่หมดสิ้นไปโดยว่างเปล่า เราปรึกษากันว่าครูศิลปะภาคเหนือพรรคพวกเราก็มีมากมายหลายคนทำไมเราไม่มีการติดต่อสื่อสารมาร่วมทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อ เยาวชน นักเรียนผู้สนใจงานศิลปะกันเลย มันน่าจะมีอะไรที่ดีกว่านี้ทำไม่ต่างคนต่าอยู่ต่างทำกิจกรรม ผิดถูกว่ากันไปแบบอย่างที่ดี ๆ ไม่มีการขานรับไม่มีการเริ่มต้นส่งเสริม อยู่กันแบบตัวใครตัวมัน ตายไปแล้วก็เผาแค่นั้นหรือ

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•เสาร์•ที่ 07 •กันยายน• 2013 เวลา 15:56 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•
 
เฮือนคำแสน ฮอมศิลป์สู่ถิ่นเกิด •PDF• •พิมพ์• •อีเมล•
•เขียนโดย manager•   
•วัน•จันทร์•ที่ 10 •มิถุนายน• 2013 เวลา 12:31 น.•

ผมได้รู้จักและได้เป็นศิษย์ของอาจารย์ นคร บุญญาสัย ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มัธยมเห็นการทำงานของอาจารย์ไม่ว่าจะเป็นการเขียนป้าย เขียนรูปภาพต่าง ๆ และที่ประทับใจมากก็คือ การเขียนรูปสองมือ จึงทำให้ผมมีความสนใจงานด้านศิลปะด้านนี้มากขึ้น ซึ่งเดิมก็ชอบวาดรูปมาตั้งแต่เล็ก ๆ อยู่แล้ว หลังจากจบ ม. ๓ ผมก็ได้เรียนแกะสลักไม้กับอา ทวี วังสาคร ที่เชียงใหม่จนขาดความชำนาญจึงได้กลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด ทราบข่าวว่าพี่วินัย (นาญ) ถึงการสร้างพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้าน ที่โรงเรียนสองพิทยาคม ของอาจารย์นครก็เลยถือโอกาสเข้าไปกราบคาราวะท่าน พอย่างก้าวถึงบริเวณพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ผมก็ถึงกับตะลึงถึงความอลังการทั้งงานจิตกรรมและการจัดข้าวของเครื่องใช้ของโบราณต่างๆอีกมากมายทำให้ผมเกิดแนวความคิดได้หลายอย่างจากนั้นผมก็ได้ศึกษาศิลปะอย่างเอาจริงเอาจังมากขึ้น ทั้งจากตำรับตำราและจากการศึกษาดูงานของศิลปินรุ่นใหญ่หลาย ๆ ท่าน

•แก้ไขล่าสุด ใน •วัน•จันทร์•ที่ 30 •มิถุนายน• 2014 เวลา 14:05 น.••
•อ่านเพิ่มเติม...•