คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ถนนคุ้มเดิม ปัจจุบันคือจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยเจ้าหลวงพิริยชัยเทพวงศ์ คุ้มหลวงถูกรัฐบาลสยามยึด..และเปลี่ยนเป็นที่ว่าการเมือง...จนมาถึงยุคของผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ได้ใช้เป็นจวนผู้ว่าฯ... แต่ไม่มีผู้ใดจะอาศัยอยู่ได้..เนื่องจากข้างล่างใต้ดินเป็นคุกขังนักโทษ...จึงร่ำลือกันว่า ผีดุนัก... ปัจจุบันจวนผู้ว่าฯสร้างขึ้นใหม่ใกล้ๆกับคุ้มหลวง..ส่วนคุ้มหลวงกลายเป็นพิพิธภัณฑ์..แต่ไม่มีสิ่งของที่เป็นสมบัติของเจ้านายเหลืออยู่เลย....เนื่องจากถูกนำไปเป็นของใช้ส่วนตัวของผู้ที่ผลัดกันเข้ามาอยู่อาศัย..ถูกหยิบยืมไปบ้าง... ของที่อยู่ในคุ้มตอนนี้..ได้มาจากการบริจาคของชาวบ้าน...และมีแท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จเยี่ยมเมืองแพร่เท่านั้น... จึงเป็นที่อนาถใจยิ่งนัก.... ทางจังหวัดได้วิงวอนร้องขอให้ผู้ที่นำไปเอามาส่งคืน แต่ ๓ ปีผ่านไปแล้ว..ยังไม่มีผู้ใดนำมาแสดงสักชิ้นเดียว คุ้มหลวงดังกล่าวนี้....หากรัฐบาลไม่ยึดเสีย..ก็คงตกเป็นสมบัติของเจ้าอินแปลง...และอาจสืบทอดต่อมายังคุณโชติ....แต่ทว่า....คงเป็นไปไม่ได้... หากไม่มีกบฎเจ้าหลวงเมืองแพร่...เจ้าอินแปลงคงไม่ได้ลงมาอยู่ที่กรุงเทพฯ..คงไม่ได้พบนางจ้อย....และคงไม่มีโชติ แพร่พันธุ์...หรือ ยาขอบ นักประพันธ์ผู้โด่งดัง..โดยเฉพาะนวนิยายเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ

คุ้มแห่งนี้เป็นอาคารโอ่โถง มีประตู หน้าต่างทั้งหมด ๗๒ บาน งดงามด้วยลวดลายฉลุไม้อยู่ด้านบนปั้นลม และชายคาน้ำ รอบตัวอาคารประดับด้วยลวดลายไม้แกะฉลุ ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐถือปูนทั้ง ๒ ชั้น ไม่มีการฝังเสาเข็มแต่ใช้ไม้ซุงท่อนเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ประดู่รองรับฐานเสาทั้งหลัง ห้องกลางเป็นห้องทึบแสงสว่างส่องเข้าไปไม่ได้ ใช้เป็นที่คุมขังทาส บริวารที่ทำผิดร้ายแรง ส่วนห้องทางปีกซ้าย และขวามีช่องพอให้แสงส่องเข้าไปได้บ้าง ใช้เป็นที่คุมขังผู้มีความผิดขั้นลหุโทษ คุ้มเจ้าหลวงเคยใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อคราวที่เสด็จมาเยี่ยมเยียนราษฎรจังหวัดแพร่ ในระหว่างวันที่ ๑๕–๑๗ มีนาคม ๒๕๐๑ และได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีให้เป็นสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ

•JavaScript is disabled!•
•To display this content, you need a JavaScript capable browser.•

•JavaScript is disabled!•
•To display this content, you need a JavaScript capable browser.•

คุ้มเจ้าพิริยเทพวงศ์ฯ ที่สร้างขึ้นนั้น เป็นอาคารแบบกึ่งตะวันตกที่นิยมสร้างในสมัยนั้น ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น

ด้านหน้าคุ้มจะมีอนุสาวรีย์เจ้าพิริยะเทพวงศ์ฯ ตั้งอยู่ มีข้อความจารึกไว้ว่า “เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ (พระยาพิริยวิไชย) เจ้าหลวงองค์สุดท้ายผู้ครองเมืองแพร่ ระหว่าง พ.ศ 2432-2445” เจ้าพิริยะเทพวงศ์ฯ สืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูลคือเจ้าเทพวงศ์ฯ เจ้าชายจากเมืองเชียงตุง กับเจ้าสุชาดา ซึ่งเป็นธิดาของพญามังไชยผู้ครองเมืองแพร่ในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ต่อกับช่วงต้นกรุงธนบุรี (ภาพเจ้าพิริยะเทพวงศ์ฯ และเจ้าบัวไหล ชายา)

 

เมื่อปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงประกาศยกเลิกระบบหัวเมืองประเทศราช งดประเพณีการถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทอง มีการส่งข้าหลวงจากส่วนกลางมากำกับดูแลการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด เป็นการลดอำนาจของเจ้าหลวงลง

โดยข้าหลวงที่ส่งมาประจำเมืองแพร่คนแรก คือพระยาสุรราชฤธานนท์ (โชค) ต่อมาก็ได้ให้พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) มาเป็นข้าหลวงปกครองเมืองแพร่แทน ซึ่งเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นก็คือ “เงี้ยวปล้นเมืองแพร่” ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2445 พอดี (ภาพพระยาไชยบูรณ์)

หลังเหตุการณ์นี้เจ้าหลวงแพร่ ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพวกกบฎเงี้ยว ท่านจึงจำต้องลี้ภัยไปอยู่ที่หลวงพระบาง และไม่ได้กลับมาที่แพร่อีกเลย จนสิ้นชีวิต..

คุ้มเจ้าหลวงกลายเป็นที่ตั้งของกองทหารม้าจากกรุงเทพฯที่ส่งมารักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยู่ระยะหนึ่ง บริเวณใกล้ ๆ คุ้มเจ้าหลวงเคยมีคอกม้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ และสมัยรัชกาลที่ 6 มีการดัดแปลงเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดชายคือ “โรงเรียนพิริยาลัย” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เจ้าหลวงแพร่องค์สุดท้าย เมื่อปี พศ. 2455 ต่อมาโรงเรียนนี้ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล

จากนั้นคุ้มเจ้าหลวงก็ใช้เป็นจวนหรือบ้านพักของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่มาเป็นเวลานาน จนเมื่อ 5 ธันวาคม 2547 ได้มอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ดูแล มีการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นจนถึงปัจจุบัน

 

ด้านในถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ บริเวณห้องโถงทางเข้าด้านล่างมีการจัดนิทรรศการหมุนเวียนกันไป

ห้องชั้นล่างทางด้านซ้ายมือ มีการจัดโต๊ะเป็นห้องประชุม

บันไดขึ้นไปชั้นบน

บันไดขึ้นไปชั้นบน

ด้านบนนี้ยังมีห้องที่ใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎร์เมืองแพร่ เมื่อ พศ. 2501

บนชั้นสองของตัวอาคาร ตรงหน้ามุข มีการจัดเป็นห้องรับแขก

ระเบียงด้านหน้าบนชั้นสอง สามารถมองออกไปเห็นโรงเรียนนารีรัตน์ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดหญิง ที่อยู่บนฟากถนนฝั่งตรงกันข้ามกันได้

นอกจากห้องต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อาคารแห่งนี้ยังมีห้องใต้ถุน ซึ่งใช้เป็นที่คุมขังนักโทษในสมัยก่อน มีความสูงไม่น่าจะเกิน 160 ซม. ทำให้เวลาเข้าไปเยี่ยมชม ต้องก้มตัวตลอดเวลา มีเสียงร่ำลือกันว่า “ผีดุ” ทำให้ต้องมีการย้ายจวนผู้ว่าราชการจังหวัดไปสร้างไหม่ ทางด้านหลังของคุ้มหลวงแห่งนี้...

เวลาเข้าไปอยู่ในห้องใต้ถุนนี้แล้ว ทำให้ความรู้สึกถึงความทุกข์ทรมาณของบรรดานักโทษ ที่ต้องอยู่ในที่คับแคบ อึดอัด ได้มองเห็นโลกภายนอก ผ่านทางช่องหน้าต่างเล็ก ๆ เท่านั้น รอความหวังว่าเมื่อไหร่ประตูจะเปิดออก ให้ได้ออกไปสู่อิสรภาพภายนอกเสียที

•JavaScript is disabled!•
•To display this content, you need a JavaScript capable browser.•

คุ้มเจ้าหลวงแห่งนี้ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทอาคารสถาบันและสาธารณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในปี พ.ศ. 2536

รายพระนามนาม พระเจ้าผู้ครองนครแพร่

ผู้ก่อตั้งเมืองแพร่ พ่อนขุนหลวงพลราชนัดดาแห่งกษัตร์น่านเจ้าได้อพยพคนไทย (ไทยลื้อ ไทยเขิน) ส่วนหนึ่งจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างเมืองบนที่ราบฝั่งแม่น้ำยม ขนานนามว่า "เมืองพลนคร" (เมืองแพร่ปัจจุบัน)

๑ ท้าวพหุสิงห์ ๑๓๘๗

๒ ขุนพนมสิงห์ ๑๔๓๕

๓ ขุนวังสุพล ๑๕๒๕

๔ พญาผาวังอินทร์ ๑๖๑๓

๕ พญาพรหมวงศ์ ๑๖๕๔

๖ พญาพีระไชยวงศ์ ๑๗๑๙

๗ อยู่ในอำนาจขอม ๑๖๕๔ – ๑๗๗๓ จึงเปลี่ยนชี่อเป็น นครโกศัย

๘ พญาบอน ๑๘๒๕

๙ พญาแสงฟ้าคำวงศ์ ๑๘๗๘

๑๐ พญาศรีมูลเมือง ๑๙๑๘

๑๑ พญาเถร ๑๙๔๔

๑๒ พญาศรีมิ่งเมือง ๑๙๘๒

๑๓ นางพญาท้าวแม่คุณ ๑๙๘๖

๑๔ พญาศรีบุญเรืองข่ายคำ ๒๐๒๓

๑๕ พญาสร้อยสุริยะ ๒๐๕๑

๑๖ เจ้าเมืองแพร่จันทรา ๒๐๕๓

๑๗ เจ้าเมืองแพร่คำหยาดฟ้า ๒๐๕๗

๑๘ พญาสามล้าน ๒๐๙๓

๑๙ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา ๒๑๐๑ – ๒๓๑๐

๒๐ พระยาศรีสุริยวงศ์ ๒๓๑๑ – ๒๓๑๓

๒๑ เป็นเมืองขึ้นสยาม ๓๒๑๓ – ๒๓๕๒

๒๒ เจ้าหลวงเทพวงศ์ลิ้นตอง ๒๓๖๑

๒๓ เจ้าหลวงอินทรวิชัย ๒๓๗๓

๒๔ เจ้าหลวงพิมพิสาร ๒๔๑๕

๒๕ เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ ๒๔๓๒ พระองค์ถึงแก่พิลาลัยที่นครหลวงพระบาง

สิ้นสุดเจ้าผู้ครองนคร

ที่มา หนังสือเชื้อสายเจ้าหลวงเมืองแพร่ ๔ สมัย โดย บัวผิว วงศ์พระถาง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:54 น.• )