เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ มีนามเดิมว่า เจ้าน้อยเทพวงศ์ เป็นราชบุตรของ เจ้าหลวงพิมพิสาน กับ แม่เจ้าธิดา มีอัคคชายาเป็นแม่เจ้าทั้งสิ้น ๓ นาง คือ แม่เจ้าบัวถา แม่เจ้าบัวไหล แม่เจ้าบัวแก้ว มีเพียงแม่เจ้าบัวไหลเท่านั้นที่มีบุตรและธิดา ส่วนแม่เจ้าอีกสองนางไม่มี ส่วนบุตรธิดาอื่นๆนั้นกำเนิดแต่ภรรยาสามัญชนทั้งหมด เจ้าน้อยเทพวงศ์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระยาอุปราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๑ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ มีนามพระราชทานว่า พระยาพิริยวิไชย อุดรพิสัย วิบผารเดช สยามมิศร์สุจริตภักดี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงถือเสมือนเป็นขุนนางในราชสำนักสยาม เพราะมีความใกล้ชิดเป็นพิเศษ สืบเนื่องจากเจ้าหลวงพิมพิสานพระบิดาของเจ้าน้อยเทพวงศ์ขาพิการข้างหนึ่ง ไม่สะดวกไปเฝ้าที่กรุงเทพ เจ้าน้อยเทพวงศ์จึงได้ถวายงานพระเจ้าอยู่หัวใกล้ชิดตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งตามธรรมเนียมการตั้งพระยาประเทศราชจะเรียกชื่อพญาเพียงสั้นๆเท่านั้น นามพระราชทานนี้เองจึงเป็นที่มาของคำว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ ได้ร้องขอต่อพระเจ้าอยู่หัวให้ย้าย พระยาอุปราช และ พระยาราชวงศ์ เมืองแพร่ไปอยู่ที่เชียงใหม่เพราะมีปัญหาขัดแย้งกัน ทางกรุงเทพมหานคร เป็นโอกาสอันดีที่จะจัดตั้งการปกครองแบบใหม่คือเทศาภิบาลขึ้น ดังนั้นทางรัฐบาลสยามจึงทำตามเงื่อนไขของเจ้าหลวงและรับปากว่าจะเลื่อนยศให้เป็นพระยาประเทศราช พอถึงปี พ.ศ.๒๔๓๘ รัฐบาลสยามจึงส่งคนไทยขึ้นไปจัดระเบียบการปกครองที่เมืองแพร่ โดยมีข้าหลวงคนแรกชื่อ นายโชค มีพระยาสีหสเทพ เป็นผู้บัญชาการทั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๙ เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ ก็ได้เลื่อนยศเป็น เจ้าประเทศราช โดยใช้สร้อยนามพระราชทานตามเดิม ดังนั้นทางหนังสือราชการต่อมาจึงมีคำเพิ่มขึ้นมาว่า เจ้าพิริยะเทพวงศ์อุดร แต่ทางรัฐบาลสยามขอให้เจ้าหลวงยินยอมที่จะให้รัฐบาลเข้ามาการจัดการสัมปทานป่าไม้ เจ้าหลวงก็เห็นด้วย และเรื่องราวปมขัดแย้งระหว่างคนไทยกับคนแพร่ก็เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๐ เจ้าหน้าที่ไทย(หลวงชวกิจบัญชา)ที่ได้รับเงินหลวงให้มาปรับปรุงงานได้ละทิ้งงาน สายไปรษณีย์ถูกทิ้งร้าง เจ้าหลวงต้องจ่ายเงินเมื่อไปตัดไม้เพื่อจะนำไปเป็นบรรณาการส่งทางกรุงเทพ และเจ้านายต้องขอความเห็นชอบจากข้าราชการคนไทยก่อนที่จะตัดสินใจ ทำให้ นายโชค ซึ่งเป็นข้าหลวงลาออก ทางรัฐบาลสยามจึงส่ง นายเชียร มาแทน แต่ก็มีข่าวแพร่สะพัดไปว่าจะมีการรวมเมืองแพร่ให้ขึ้นกับเมืองน่าน ทางเจ้านายเมืองแพร่จึงสืบความแต่เรื่องก็สงบลงเมื่อมีการผ่อนปรนให้เจ้าหลวงแต่งตั้งคนไว้วางใจเป็นที่ปรึกษา ถึงปี พ.ศ.๒๔๔๒ พระเจ้าอยู่หัวประกาศยกเลิกเมืองประเทศราชให้รวมเป็นเมืองในพระราชอาณาเตสยาม นายเชียร ได้ย้ายไปทำราชการที่กรุงเทพ รัฐบาลสยามจึงส่ง พระยาไชยบูรณ์ มาเป็นข้าหลวงแทน ปีพ.ศ.๒๔๔๓ พระยาไชยบูรณ์ จัดให้คนไทยขึ้นไปจัดราชการที่เมืองสองซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองแพร่ ตำแหน่งเจ้าเมืองเดิมคือ พระทุติยรัฐบุรินทร์ ถูกยกเลิกแต่เจ้าหลวงร้องขอให้ส่งพญาเขื่อนขันธ์คนสนิทของเจ้าหลวงไปดูแลเมืองสองเพราะเป็นคนล้านนาเหมือนกับชาวบ้านจะได้ปกครองง่าย ได้เปลี่ยนเมืองสองเป็นแขวงแม่ยมเหนือ ส่วนทางในเมืองพระยาไชยบูรณ์เกณฑ์คนทำถนนและสะพานรอบเมืองแพร่ ๒๕ สะพาน ราษฎรต้องถูกกวดขันในการเสียภาษี โดยเฉพาะเรื่องเนื้อหมูที่ให้คิดเป็นตัวแทนที่คิดตามน้ำหนักเนื้อ ขณะนั้นเองพ่อค้าต่างไม่พอใจ ราคาข้าวของต่างๆแพงบ้างถูกบ้าง พวกเงี้ยวที่มาค้าขายในเมืองก็เสียเปรียบส่วนเงี้ยวที่เคยใช้เงินประจบเจ้านายก็เดือดร้อน ทำให้เกิดการประชุมกันอย่างลับขึ้นระหว่างเจ้านายและขุนนางเมืองแพร่ แนวร่วมขณะนั้นคือ พวกเงี้ยว พวกจีน และขุนนางนอกเวียง เมื่อมีผู้ร่วมคิดมากมายเรื่องจึงขยายไปทางเมืองลำปางและเมืองน่าน ทั้งสามเมืองต่างตกลงจะก่อการจราจลขับไล่คนไทยออกไปจากเมืองในเวลาเดียวกัน แต่ในเช้าวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕ นั้นมีเพียงเมืองแพร่เท่านั้นที่พวกเงี้ยวเป็นผู้นำในการก่อกบฎ ส่วนทางเมืองน่านและเมืองลำปางนั้นข่าวได้รั่วไหลไปก่อน เจ้านายเมืองแพร่จึงตกที่นั่งลำบาก เมื่อเรื่องยากที่จะแก้ไขสุดท้ายจึงเกิดการแตกแยกกันในหมู่เจ้านายและพวกเงี้ยวพวกจีนเอง พะกาหม่องและสล่าโป่ช่ายหัวหน้าพวกเงี้ยวตายที่เมืองลำปาง เจ้านายเมืองแพร่จึงบอกพวกเงี้ยวที่เหลือลี้ภัยไปทางเหนือเพื่อไปพึ่งอังกฤษ การก่อจราจลจึงขึ้นไปทางเมืองพะเยา เงี้ยวปล้นเมืองแพร่จึงสงบในเดือนสิงหาคม แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าอังกฤษจะเข้าแทรกแซงและเพื่อเป็นการแสดงอำนาจของกองทัพสยามจึงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพใหญ่ขึ้นมาขู่เจ้านายเมืองแพร่ แต่อ้างว่ามาปราบกบฎในปลายเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ทางเมืองต่างๆคิดว่าพวกเงี้ยวเป็นอันตรายจึงได้ปราบปรามกันทุกเมือง เรื่องจึงบานปลายไป เจ้าหลวงเห็นว่ามันสายที่จะแก้แล้วจึงหาทางตั้งรับอยู่ที่เมืองแพร่ พอเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีมาถึงก็กระทำการออกแกมข่มขู่ สอบสวนเจ้าเวียงชื่นธิดาของเจ้าหลวง จับเจ้าน้อยสวน เจ้าคำลือ เจ้าไชยสงคราม เจ้าราชวงศ์ เจ้าราชบุตร(เป็นบุตรเจ้านครน่าน) ไปขังไว้ เจ้าหลวงได้ข่าวว่าอาจมีการนำเอาเมืองแพร่ไปขึ้นเมืองน่านจริงจึงวิตกมาก เจ้าหลวงจึงปรึกษากับเจ้าสุริยะวงศ์(เจ้าน้อยอินท มีฉายาทางพระว่า ขัตติยะ) จึงตัดสินใจได้ว่าจะไปปรึกษากับเจ้าเมืองน่านให้ช่วยแก้ไขซึ่งเจ้าเมืองน่านกับเจ้าเมืองแพร่เกี่ยวดองกันทางเขยสะใภ้ เจ้าหลวงได้หนีไปตามลำน้ำยม ในวันที่ ๒๕ กันยายน แต่ข่าวรั่วไหลเสียก่อนทางเจ้าพระยาสุรศักดิ์จึงให้ประกาศข่าวให้เจ้าหลวงกลับมา ให้ทหารสะกัดทุกทาง เรื่องระหว่างความไม่เข้าใจกัน ทำให้เจ้าเมืองน่านแนะนำให้เจ้าหลวงหนีไปหลวงพระบางซึ่งขณะนั้นฝรั่งเศสดูแลอยู่ชั่วคราว ทางด้านเจ้าบัวไหลนั้นก็ไม่รู้ว่าจะแก้ไขอย่างไรก็ล้มป่วยลง เจ้าเวียงชื่นก็ตกใจจึงกินยาพิศตาย เจ้าพระยาสุรศักดิ์เกรงจะเป็นเรื่องใหญ่จึงทูลไปให้ทางกรุงเทพทราบ พระเจ้าอยูหัวทรงเกรงว่าเจ้าพิริยะเทพวงศ์จะถูกบีบจึงให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีคุมตัวทายาทและชายาเจ้าหลวงลงไปไว้ที่กรุงเทพ และสั่งปลดเจ้าหลวงออกจากเจ้าผู้ครองนครแพร่ด้วยกลัวว่าฝรั่งเศสจะแทรกแซง ในวันที่ ๓๑ กันยายน แม้จนสุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าหลวงถึงจะทรงพิโรธการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไรพระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้

 


คุ้มหลวงหลังที่จะทำบุญนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๓๔ ฉลองในปี ๒๔๓๕ อย่างยิ่งใหญ่ คุ้มนี้มีความยิ่งใหญ่เพราะเงินคงคลังในสมัยเจ้าหลวงพิมพิสานนั้นมีมาก พอมาถึงเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ก็จึงสามารถสร้างคุ้มใหม่หลังใหญ่ได้ แม้ว่าในปี พ.ศ.๒๔๓๓ เป็นปีที่เมืองแพร่ฝนแล้งราษฎรทำนาได้ ๑ ส่วน เสีย ๔ ส่วนต้องเปิดคลังหลวงไปช่วยราษำรก็ตาม แต่เมืองแพร่ยังมีเงินที่จะสร้างสถาปัตยกรรมที่งดงามได้ ส่วนเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์นั้นก็ไม่ได้กลับมา ถึงแก่พิราลัยที่นั่น ต่อมาบุตรคนหนึ่งชื่อ เจ้าคำมั่น ซึ่งเป็นบุตรที่เกิดจากธิดาเจ้าอุปราชเมืองหลวงพระบาง ได้กลับมาที่เมืองแพร่ จวบจนถึงแก่กรรมที่เมืองแพร่ นามสกุลของทายาทสายเจ้าหลวงพิริยะ คือ เทพวงศ์ แพร่พันธุ์ แก่นจันหอม แก่นหอม ส่วนนามสกุลของธิดาเจ้าหลวงที่ต้องใช้ของฝ่ายสามีคือ ศรุตานนท์ วรราช บุตรรัตน์

พระยาไชยบูรณ์ เป็นผู้สั่งให้ถมคูเมือง...บริเวณวัดน้ำคือ สถานีตำรวจ จนถึง ประตูมาร.... สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในบริเวณรอบเมือง....ครั้งใหญ่ที่สุดคือ ปี พ.ศ.2538.......พระยาไชยบูรณ์ให้คนไปขุดเอาพระพุทธรูปที่ฝังไว้ตรงบริเวณเมืองสอง....ขโมยไปกรุงเทพฯ...จนปัจจุบัน..ไม่มีใครรู้ว่าเมืองสองจริงๆตั้งอยู่บริเวณไหน...ความไม่ดีเหล่านี้....ไม่เห็นมีใครพูดถึง....

พระยาไชยบูรณ์กลายเป็นวีระบุรุษ.....เพราะคนสยามเขียนประวัติศาสตร์

อนิจจา!..... เจ้าหลวงเมืองแพร่กลับถูกตราหน้าว่าเป็นกบฎ...ต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองไปอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง....

มีคนเมืองแพร่สักกี่คน..ที่เดินผ่านหน้าโรงเรียนนารีรัตน์..แล้วเข้าไปกราบเจ้าหลวง.....เห็นจะมีแต่วิ่งไปกราบแต่พระยาไชยบูรณ์ที่หัวฮ่อม.....กลับเมืองแพร่อีกครา..ก็ไปเยี่ยมคุ้มหลวงบ้างนะครับ....อากาศที่คุ้มหลวงเย็นสบาย...เข้าไปนั่งพักสักครู่ก็ยังดี

 

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 01 •ตุลาคม• 2011 เวลา 12:23 น.• )