บันทึกที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ เป็นบันทึกที่ได้จากการบอกเล่าของเจ้าอาวาสวัดพระนอน รูปปัจจุบัน คือ ท่ารพระครูนิพันพธ์กิจจาทร ซึ่งท่านได้เล่าไว้ดังนี้  ท่านพระครูได้พบตำนานวัดพระนอนจากหนานขัดซึ่งเป็นคนเชียงใหม่และเคยอยู่วัดพระสิงห์ ได้พบตำนานวัดพระนอนจากใบลาน ซึ่งได้บันทึกเกี่ยวกับวัดพระนอนไว้ว่าวัดพระนอนสร้างโดยเจ้าพระยาชัยชนะสงครามและพระนางเจ้าอู่ทองศรีพิมพา เมื่อ จ.ศ.๒๓๖ (ปีจุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๑๑๘๑ (ค.ศ. ๖๓๘) นับรอบปีตั้งแต่ ๑๖ เมษายน ถึง ๑๕ เมษายน (ผู้กำหนดให้ใช้จุลศักราช คือ พระยากาฬวรรณดิศ เมื่อคราวประชุมกษัตริย์ในล้านนา) ที่ได้ทำการประชุมเหล่ากษัตริย์ทำการลบศักราชปีมหาศักราช แล้วตั้งจุลศักราชขึ้นมาแทน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของพม่า ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้น เป็นเวลาก่อนปีที่พระเจ้าอโนรธามังช่อ จะประสูติ

เมื่อไทยอโยธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในอาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง และอาณาจักรอยุธยา ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมา จึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก ๑๑๘๑ ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่)

แต่เดิมนั้นวัดนี้มีพระพุทธรูปปางไสยาสส์ คือพระนอนซึ่งองค์จริงนั้นเป็นหินยาวขนาด หกศอก ต่อมาเจ้าปู่ท้าวคำซึ่งเป็นพระอัยกาของพระยาชัยชนะสงครามเห็นว่าไม่ปลอดภัยจึ่งได้สั่งให้น้างพระนอนองค์ใหญ่ครอบองค์เดิมไว้และช่วยกันตกแต่งพระพุทธรูปนอนองค์ใหม่ให้สวยงาม พอดีมีกองทัพพม่าเข้ามารุกรานเมืองโกศัยชาวเมืองก็ตื่นกลัวพากันอพยพหลบลี้ตามป่าเขา โดยยังมิทันได้ฉลองพระพุทธรูปนอน เจ้าพระยาชัยชนะสงครามเห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงตรัสสั่งมเหสีว่า"ดูกร เจ้าพิมพา ศึกมาถึงบ้านเมืองแล้ว ความแตกตื่นย่อมมีดังนี้ ขอให้สร้างให้เสร็จแล้วทำบุญวันรุ่งขึ้นของวันใหม่ แล้วเจ้าชัยชนะสงครามก็ออกศึกและสวรรคตในสนามรบ น้องชื่อท้าวยาสิทธิ์แสนหาญ ออกรบสู้พม่าก็หายสาบสูญอีก นางพิมพาจึงได้ลงมือสร้างวัดพระนอน เจดีย์ขึ้นแล้วจารึกในแผ่นทองคำเป็นตัวหนังสือพื้นเมืองเหนือว่า"  วัดพระนอนนี้ให้มีการนมัสการไหว้สาในเดือนเจ็ดใต้เดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ ดังนั้นวัดพระนอนจะมีงานนมัสการในวันดังกล่าวทุกปี

เมื่อนครโกศัยไม่มีเจ้าปกครองเมืองได้ละทิ้งวัดพระนอนเป็นวัดร้างเป็นเวลานานเท่าได้ไม่ปรากฏมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นคลุมบริเวณวัดมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่ที่ชื่อว่าผักหละ หรือผักชะอมขึ้นปกคลุมพรนอน เป็นเวลานานจนบริเวณนั้นกลายเป็นป่าต่อมามีพ่อค้าต่างเมืองเดินทางมาค้างแรมบริเวณดังกล่าวเห็นผักหละงามดีจึงเอาไปเป็นอาหารและได้พบก้อนอิฐอยู่ทั่วไป พวกพ่อค้าจึงสงสัยว่าเป็นวัดร้างและนำความไปเล่าให้ชาวบ้านฟัง ชาวบ้านก็แตกตื่นช่วยกันหักล้างถางพง พบต้นไม้ใหญ่เป็นต้นมะม่วงขึ้นปกคลุมพระนอนคล้ายกับร่ม ชาวบ้านเกิดศรัทธาจึงช่วยกันบูรณะซ่อมแซมให้สวยงามและแข็งแรงและได้ตั้งชื่อว่าวัดเสียใหม่ว่า "วัดต้นม่วง" และในการบูรณะครั้งนั้นได้พบแผ่นทองคำจารึกของพระนางพิมพา จึงได้รู้ว่าวัดม่วงคำนั้นนั้นแต่เดิมคือวัดพระนอน และสันนิษฐานว่า วัดพระนอนนี้ได้สร้างสำเร็จในเดือนเก้าเหนือขึ้นสิบห้าค่ำ ทั้งนี้โดยถือเอาคำจารึกในแผ่นทองคำเป็นหลัก
วัดพระนอนมีอุโบสถ วิหารพระนอน และหอพระธรรมที่สร้างขึ้นอย่างสวยสดงดงามด้วยศิลปะสมัยเชียงแสนผสมผสานกับศิลปะสมัยสุโขทัยกล่าวคือไม่มีหน้าต่างแต่จะมีการเจาะผนังทำเป็นช่องอากาศ และช่องแสงขนาดประมาณ ๖x๓๐ นิ้วตามแนวตั้ง ความงดงามของอุโบสถ มีส่วนบันดาลใจมีผู้นำไปเป็นแบบดัดแปลงในการก่อสร้างศาสนสถานอื่นๆอาทิ ในบางส่วนของวัดสุโทนมงคลคีรี อ.เด่นชัย จ.แพร่ เป็นต้น
วัดพระนอนเป็นปูชนียสถานเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดแพร่ ได้รับเกรียติจากทางจังหวัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองแพร่ วัดพระนอนได้สรับการประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดเมื่อ พ.ศ.๑๓๒๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๖ โดยสิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ในบริเวณวัดพระนอนได้แก่ 
๑.อุโบสถซึ่งสร้างแบบสมัยเชียงแสนไม่มีการเจาะหน้าต่างแต่ทำผนังเป็นช่องแสงแทนสำหรับลวดลายหน้านั้นเป็นลวดลายแบบอยุทธยาตอนปลาย ผูกเป็นลายก้านขดและมีภาพรามเกียรติ์ประกอบ
๒.วิหารซึ่งมีรูปแบบการก่อสร้างเช่นเดียวกับอุโบสถ แต่การตกแต่งบริเวณชายคาเป้นไม้ฉลุโดยรอบและหลังคาประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปพระยานาคบริเวณหน้าจั่ว
๓.พระพุทธรูปนอนปางสีหไสยาสน์ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น มีความยาว ๕ เมตร ลงรักปิดทองตลอดองค์
๔.เจดีย์ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำรูป ๘ เหลี่ยม มีประพุทธรูปอยู่ ๔ ด้าน

"วัดพระนอนแต่ก่อนเก่ากาล มีแต่นานเนื่องมาน่านับถือ มีประวัติสืบเล่าเขาเลื่องลือ ว่าเคยชื่อ "ม่วงคำ" จำมานาน
อนุชนรุ่นหลังรับฟังไว้ จงภูมใจซึ่งคุณค่ามหาศาล มรดกตกทอดตลอดกาล อยู่คู่บ้านเมืองแพร่แต่นี้เทอญ"

วิหารวัดพระนอน

หลวงพ่อพระนอน

หลวงพ่อมงคลทิพณี

พระธาตุสิงหอุตรนคร

คณะศรัทธา ชาวบ้านประมาณ ๒๐๐ ร้อยหลังคาเรือน กลุ่มหนุ่มสาวบ้านพระนอน
ศูนย์รวมน้ำใจชาวบ้านพระนอน
วัดพระนอน จัดเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ยิ่งแห่งหนึ่งในเมืองแพร่ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานเป็นที่นับถือและศรัทธาของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนบ้านพระนอนจะนับถือสิ่งศักดิ์สิทธ์เป็นมงคลชาวบ้านจะมีงานนมัสการทุกปี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๙ เหนือ ซึ่งถือเป็นประเพณีที่สำคัญยิ่งและสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานนี้ก็คือการจุดบอกไฟดอก ซึ่งถือกันว่าเป็นการจุดเพื่อบูชาพระเจ้านอน นอกจากนี้ยังถือเป็นการแสดงออกถึงความสมานสามัคคีเป็นหนึ่งใจเดียวกัน ของชาวบ้านพระนอน ซึ่งนับวันนับจะหาได้ยากยิ่งในหมู่คนในสังคมเมือง ทั้งนี้เพราะชาวบ้านพระนอนมี พระเจ้านอน เป็นศูนย์รวมจิตใจนั่นเอง
คนพระนอนแต่เดิมนั้นมาจากไหน คนบ้านพระนอนแต่เดิมมีสองพวกคือ
พวกแรก เป็นคนเมืองแพร่ซึ่งอยู่มาก่อน
พวกที่สอง เป็นชาวบ้านที่อพยพมาจากเมืองหลวงพระบางเพราะสังเกตได้จากอาชีพของชาวบ้านพระนอนที่ขึ้นชื่อลือเลื่อในอดีตที่ใครๆก็รู้จักคือการทำเครื่องเขิน ขันเงิน(สลุง) และพานเงิน ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน บัดนี้อาชีพดังกล่าวได้สิ้นไปตามยุคสมัย คงเหลือไว้แต่บันทึก ที่เป็นความทรงจำ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:28 น.• )