ย้อนอดีตก่อนก่อตั้งเมืองแพร่ เป็นชุมชนเมืองเก่าอยู่ในลักษณะเมืองทางผ่านเหมือนปัจจุบัน โดยเชื่อมต่อเมืองต่าง ๆ ซึ่งแต่ละเมืองปกครองอิสระมีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง ไม่ขึ้นต่อเมืองใด แนวคิดนี้เห็นได้จากวันพระนอนซึ่งมีอายุมากกว่าเมืองแพร่ แน่นอนต้องมีชมชนที่ตั้งอยู่ก่อนแล้ว อาจจะเป็นเพราะการประสบกับภัยธรรมชาติ โรคระบาด รวมถึงสงคราม ซึ่งยุคนั้นมีจีนแผ่นดินใหญ่เทียบได้ว่าเป็นผู้ครองโลกอยู่ก็ว่าได้ ดังนั้นสภาพของชุมชนเมืองแพร่คงไม่ใช่ชนเผ่าอย่างแน่นอนเห็นได้จากวัดพระ นอน(สร้างขึ้น พ.ศ. ๑๑๘๑) กำแพงเมืองเก่าซึ่งหลวงพลได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่จากยุคหลวงพลจนถึงลูกใน ช่วงเวลานั้นปรากฎหลักฐานกำแพงเมืองที่สูง ๗ เมตร กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๔,๐๐๐ เมตร

จากหลักฐานที่มีก่อนประวัติศาสตร์เมืองแพร่เราเปรียบเสมือนท่าหรือจุดพักของ พ่อค้าเมืองต่าง ๆ แต่เนื่องจากเป็นเมืองน้อย ภูมิประเทศเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง (จุดสังเกต) คือแพะเมืองผี และปัจจัยเบื้องต้นทำให้ประชากรต้องย้ายถิ่นฐานทำกินบ่อยครั้งจึงทำให้หลัก ฐานทางประวัติศาตร์หายไป

 

พ่อขุนหลวงพล เจ้าผู้ครองนคร

พ่อขุนหลวงพลเป็นราชนัดดาแห่งกษัตริย์น่านเจ้า ชื่อบิดานั้นไม่ปรากฏหลักฐานส่วน มารดาชื่อแม่เฒ่าจันคำวงค์ ได้อพยพคนไทย ( ซึ่งส่วนใหญ่คือไทยลื้อ ไทยเขิน) ส่วนหนึ่งมาจากเมืองเชียงแสน ไชยบุรี และเวียงพางคำ ลงมาสร้างบ้านแปงเมืองบนที่ราบสองฟากฝั่งแม่น้ำยม เมื่อปี พ.ศ. ๑๓๗๑ (ค.ศ.๘๒๘) และขนานนามเมืองว่า " เมืองพลนคร " ( เมืองแพร่ปัจจุบัน ) พ่อขุนหลวงพล มีชายาชื่อใดนั้นสืบหาหลักฐานไม่พบ แต่จากประวัติการสร้างวัดหลวงสมเด็จ(วัดหลวงปัจจุบัน) ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของเมืองแพร่ และประวัติวัดหัวข่วงได้ปรากฏหลักฐานว่าพ่อขุนหลวงพลมีราชบุตร องค์หนึ่งชื่อท้าวพหุสิงห์ ซึ่งพ่อขุนหลวงพลมอบให้ครองเมืองพลต่อจากตน เมื่อปี พ.ศ. ๑๓๘๗
พ่อขุนหลวงพลเป็นเจ้าผู้ครองนครแพร่องค์แรก ได้สร้างเมืองแพร่ โดยการ ขุดคูเมือง ก่อกำแพงเมืองรอบเมืองเก่า ( ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลเมืองแพร่ ) สร้างวัดหลวงสมเด็จขึ้นเป็นวัดแห่งแรกของเมืองแพร่ อยู่ห่างจากสะดือเมืองไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒๐๐ เมตร เพื่อให้วัดเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในการประพฤติปฏิบัติตนในทาง ที่ถูกต้องดีงามตามหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับได้ว่าพ่อขุนหลวงพลได้ ยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้คนพลเมือง อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ซึ่งจะเป็นกำลังอันสำคัญในการทนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความมั่นคงเป็น ปึกแผ่น และเป็นบ้านเป็นเมืองมาตราบเท่าทุกวันนี้

เหตุการณ์สำคัญของทุกมุมโลกในช่วงนี้

ราชวงศ์ถัง (ค.ศ.๖๑๘-๙๐๗) หลี่หยวน (หลี่เอียน) หรือถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยสุย ได้ลุกฮือที่แดนไท่หยวน และได้บุตรชายคนรองหลี่ซื่อหมิน ทำการชนะศึกอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน (เมืองฉางอันเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ อาทิ ฮั่นตะวันตก ราชวงศ์สุย ราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆ ในที่สุด ภายหลัง โอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ ๆลๆ มีนครหลวงฉางอาน (ซีอานในปัจจุบัน) ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังสวนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก นับว่าในสมัยของพระองค์ยังเป็นยุดรุ่งเรื่องและเสื่อมลงเพราะปลายสมัยของพระองค์ ทรงลุ่มหลงหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีน ซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อการปฏิวัติและยึดเมืองหลวงฉางอานเป็นป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้นราชวงศ์ถังมีระยะเวลาอยู่ช่วงราวๆ พ.ศ. ๑๑๖๑ -๑๔๕๐ (ค.ศ.๖๑๘-๙๐๗)

พระพุทธรูปเล่อซาน สร้างในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.๖๑๘-๙๐๗) เริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ.๗๑๓ นำโดยหลวงจีน ชื่อว่า ไฮ่ถัง (Haithong) เนื่องจากคุ้งน้ำบริเวณนี้ได้ กลืนกินเรือไปเป็นจำนวนมาก หลวงจีนไฮ่ถัง จึงหวังว่าการก่อสร้าง พระพุทธรูปเล่อซาน จะช่วยปกปักษ์ เรือต่างๆที่ผ่านมาบริเวณนี้ หลวงจีนไฮ่ถัง พูดไว้ว่าหากก่อสร้างพระพุทธรูปนี้สำเร็จ จะควักลูกตาของตัวเอง เพื่อเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นอันแรงกล้า แต่หลวงจีนไฮ่ถังได้มรณภาพลงก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ งานก่อสร้างจึงหยุดไปประมาณ ๗๐ ปีต่อมาจึีงมีผู้ปกครองท้องถิ่น (Jiedushi) ได้เข้ามาสนับสนุนเรื่องงบประมาณการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยลูกศิษย์ของหลวงจีนไฮ่ถัง ในปี ค.ศ.๘๐๓ หลังจากการก่อสร้างพระพุทธรูปเล่อซานแล้วเสร็จ เป็นที่น่าประหลาดใจว่า แม่น้ำ Qingyi ลดความรุนแรง และสงบลงอย่างน่าประหลาด ซึ่งในความเป็นจริง เป็นผลจากการแกะสลักพระพุทธรูป จะมีหินที่ต้องแกะสลักทิ้ง จะถูกทิ้งลงแม่น้ำทำให้กระแสน้ำสงบลง

 

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าก่อนปู่พญาพลจะมาสร้างเมืองพล หรือเมืองแพร่ พื้นที่แห่งนี้มีวัดพระนอนซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๑๘๑ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับพระยากาฬวรรณดิศราช หรือ พญาอนิรุทธ กษัตริย์ แห่งทวารวดีได้เสด็จขึ้นมาสนับสนุนพญาลวจักรราช ผู้มีเชื้อสายของปู่เจ้าลาวจก หรือผู้ที่ขายดอยตุงให้นครโยนกนาคพันธุ์ สร้างพระธาตุดอยตุง ขึ้นเป็นกษัตริย์ ของเวียงปรึกษา พญาลวจักรราช จึงตั้งชื่อให้ราชวงศ์ใหม่ของพระองค์นี้ว่า ราชวงศ์ลวจักรราช หรือ ราชวงศ์ลาว

หลังจากขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์จึงทรงเปลี่ยนนาม จากเวียงปรึกษา เป็นเมืองหิรัญนคร โดยมีศูนย์กลางอยู่แถวๆแถบแม่น้ำสาย และดอยตุง ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าลาวเคียง พระองค์ได้สร้างเมืองเงินยาง หรือ เมืองเชียงแสน หรือตรงเวียงเชียงแสนในปัจจุบัน และย้ายเข้าไปปกครองที่นั่น มีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมาอีกถึง ๖๒๑ ปี รวม ๒๔ รัชกาลความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ พญาลาวเมง พระบิดาของ พญามังราย สร้างเมืองเชียงราย และ พญามังรายขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ ๒๕ ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนในปี พ.ศ. ๑๘๐๕ พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริ่จะรวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่นเมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราช พระองค์ก็ได้โปรดให้เมืองเชียงราย เป็นราชธานีแห่งใหม่ เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ลวจักรราช แห่ง หิรัญนครเงินยาง เริ่มต้น ราชวงศ์มังราย แห่งอาณาจักรล้านนา

 

เรามาดูประวัติอาณาจักรโยนก เชียงแสน กันครับ ปู่พญาพล ได้มาสร้างเมืองพละนครช่วยปลายราชกาล พญาลาวเส้า (ลาวเสา) ผู้ครองเมืองเชียงแสนคนที่ ๓ ยุคเมืองหิรัญนคร

อาณาจักรโยนก เชียงแสน
ในตำนานและพงศาวดารล้านนา
ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๓ มีพวกลัวะ หรือ ละว้า ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้ดอยตุงมีปู่เจ้าลาวจกหรือลวจักราช เป็นหัวหน้า (จกคือจอบขุดดิน) ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองในทุ่งราบเรียกชื่อว่า“หิรัญนครเงินยางเชียงแสน”
ลูกหลานของปู่เจ้าลาวจกหรือลวจักราช ได้ขึ้นครองเมืองต่อเนื่องกันมาหลายสิบคนและได้มีการสร้างเมืองใหม่เรียกว่า “ภูกามยาว หรือ พะเยา” มีผู้ครองเมืองต่อมาหลายคนจนถึง ขุนเจือง (พุทธศตวรรษที่ ๑๗) และ พญางำเมืองอาณาจักรหิรัญนครเงินยางเชียงแสน หรือ อาณาจักรเงินยางนี้ ประกอบด้วย
เมืองเงินยาง เมืองไชยนารายณ์ เมืองล้านช้าง และ เมืองเชียงรุ้งในสิบสองพันนา
พงศาวดารโยนก
พุทธศตวรรษที่ ๑๑–๑๘ นั้นในพงศาวดารโยนก ได้กล่าวไว้ว่า ได้เกิดชุมชนนครสุวรรณโคมคำเมืองโยนกนาคนคร เชียงแสน และอาณาจักรล้านนาไทยขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน
ตั้งแต่สิบสองปันนาลงมาจนถึงเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นได้มีเจ้าผู้ครองนครคนสำคัญคือ พญาสิงหนวัติ พระเจ้าพังคราช พระเจ้าพรหม และ พญารายมหาราช(ครองราชย์ที่เมืองเงินยางเมื่อ พ.ศ. ๑๘๐๔)

สถาปนาเมือง
พญาสิงหนวัติได้ สถาปนาเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัตินครขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย ใน พ.ศ. ๑๑๑๗ โดยทำการแย่งชิงดินแดนมาจากพวกที่มีอิทธิพลอยู่ก่อนคือ พวกขอมดำ หรือ กล๋อม ที่พากันหนีไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้บริเวณถ้ำอุโมงค์เสลานคร พญาสิงหนวัติ ทรงรวบรวมพวกมิลักขุหรือคนป่าคนดอย
เข้ามาอยู่ในอำนาจของเมืองโยนกนาคนคร มีอาณาเขตทิศเหนือจดเมืองน่านทิศใต้จดปากน้ำโพ ทิศตะวันออกจดแม่น้ำดำในตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจดแม่น้ำสาละวินมีเมืองสำคัญ คือ เมืองเวียงไชยปราการ อยู่บริเวณแม่น้ำฝาง และ แม่น้ำกกดินแดนทางใต้สุด คือ ที่เมืองกำแพงเพชร

อาณาจักรโยนกนาคนครนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่นพระเจ้าพิงคราช พระเจ้าพรหม พระเจ้าชัยสิริ ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๑๕๕๒ อาณาจักรโยนกนาคนคร ในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลันเนื่องมาจากพนังกั้นน้ำ หรือ เขื่อนเหนือน้ำพังทลายลง จนทำให้ที่ตั้งเมืองกลายเป็นหนองน้ำใหญ่
(เข้าใจว่าจะเป็นบริเวณที่เรียกว่าเวียงหนองล่ม บ้านท่าข้าวเปลือกซึ่งอยู่ไม่ห่างจากทะเลสาบเชียงแสน และบริเวณที่แม่น้ำกกต่อกับแม่น้ำโขงใกล้วัดพระธาตุผาเงาและพระธาตุดอยตุง จังหวัดเชียงราย)จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงศ์กษัตริย์และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตด้วยเหตุ
น้ำท่วมเมืองทั้งหมด พวกชาวบ้านที่เหลือรอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งที่มิใช่เชื้อสายราชวงศ์ขึ้นดูแลพวกตน เรียกว่า ขุนแต่งเมืองและเรียกชุมชนแห่งนั้นว่า “เวียงปรึกษา” เป็นเวลาต่อไปอีก ๙๔ ปี

อาณาจักรโยนกนาคนครจึงสิ้นสุดลงเพราะเกิดแผ่นดินไหวในสมัยพระมหาชัยหลังจากเวียงปรึกษาได้ปกครองพื้นที่แถวๆนั้นได้ ๙๓ ปี ก็เป็นอันอวสานของเวียงเนื่องจากเมื่อปี พ.ศ. ๑๑๘๑ พระยากาฬวรรณดิศ ราช หรือ พญาอนิรุทธกษัตริย์แห่งทวารวดีได้เสด็จขึ้นมาสนับสนุนพญาลวจักรราช
ผู้มีเชื้อสายของปู่เจ้าลาวจก หรือ ผู้ที่ขายดอยตุงให้นครโยนกนาคพันสร้างพระธาตุดอยตุง ขึ้นเป็นกษัตริย์ ของเวียงปรึกษา พญาลวจักรราชจึงตั้งชื่อให้ราชวงศ์ใหม่ของพระองค์นี้ว่า ราชวงศ์ลวจักรราช หรือ ราชวงศ์ลาว

หลังจากขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์จึงทรงเปลี่ยนนามจากเวียงปรึกษาเป็นเมืองหิรัญนคร โดยมีศูนย์กลางอยู่แถวๆแถบแม่น้ำสาย และดอยตุง ในเขตอำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย หลังจากนั้นในสมัยพระเจ้าลาวเคียง พระองค์ได้สร้างเมืองเงินยาง
หรือ เมืองเชียงแสน หรือ ตรงเวียงเชียงแสนในปัจจุบัน และย้ายเข้าไปปกครองที่นั่นมีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องมาอีกถึง ๖๒๑ ปี รวม ๒๔ รัชกาล

ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อ พญาลาวเมง พระบิดาของ พญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงราย และ พญามังรายขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ พระองค์ที่ ๒๕ ของหิรัญนครเงินยางเชียงแสนในปี พ.ศ. ๑๘๐๕ พระองค์ทรงมีแนวพระราชดำริจะรวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ในอาณาบริเวณเดียวกันให้เป็นปึกแผ่น
เมื่อพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราช พระองค์ก็ได้โปรดให้เมืองเชียงราย เป็นราชธานีแห่งใหม่เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์ลวจักรราช แห่ง หิรัญนครเงินยาง เริ่มต้น ราชวงศ์มังรายแห่งอาณาจักรล้านนา

พระยาลวจักรราช นั้นคาดว่าเดิมมีอำนาจอยู่ในเมืองเชียงลาว บริเวณดอยตุง และ แม่น้ำสายต่อมาจึงได้ขยายมาสู่เมืองเงินยาง หรือ เงินยัง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง พระองค์มีราชบุตร ๓ พระองค์ ได้แก่ ลาวครอบ ลาวช้าง และ ลาวเก๊าแก้วมาเมือง

โดยให้บุตรของพระองค์ครองเมืองดังนี้
* ลาวครอบ ครอง เมืองเชียงของ
* ลาวช้าง ครอง เมืองยอง
* ลาวเก๊าแก้วมาเมือง ครอง เมืองเชียงลาว
สืบต่อมา กษัตริย์ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์สืบต่อมาถึง ๒๔ องค์ในระหว่างนั้นหลายองค์ได้มีการส่ง ราชบุตรของตนออกไปครองเมืองต่าง ๆ เช่นพะเยา เชียงของ เชียงคำ ล้านช้าง น่าน ฯลฯ ดังนั้น เมืองทั้งหลายเหล่านี้จึงเป็นเครือญาติกัน

รายพระนามกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงแสน
ยุคเมืองหิรัญนคร
๑. พญาลาวจักราช (ลาวจก) ประมาณ พ.ศ. ๑๑๘๑ (วัดพระนอนสร้างปีนี้)
๒. พญาลาวเก๊าแก้วมาเมือง ประมาณ พ.ศ.๑๓๐๑ - ๑๓๔๖
๓. พญาลาวเส้า (ลาวเสา) ประมาณ พ.ศ.๑๓๔๖ - ๑๓๘๕ (ปู่พญาพลสร้าเมืองแพร่ประมาณ พ.ศ. ๑๓๗๑)
๔. พญาลาวตัง (ลาวพัง)
๕. พญาลาวกลม (ลาวหลวง)
๖. พญาลาวเหลว
๗. พญาลาวกับ
๘. พญาลาวคิม (ลาวกิน)

ยุคเมืองเงินยาง
๑. พญาลาวเคียง
๒. พญาลาวคิว
๓. พญาลาวเทิง (ลาวติง)
๔. พญาลาวทึง (ลาวเติง)
๕. พญาลาวคน
๖. พญาลาวสม
๗. พญาลาวกวก (ลาวพวก)
๘. พญาลาวกิว (ลาวกวิน)
๙. พญาลาวจง
๑๐. พญาจอมผาเรือง
๑๑. พญาลาวเจิง (ลาวเจื๋อง)
๑๒. พญาลาวเงินเรือง
๑๓. พญาลาวซิน (ลาวชื่น)
๑๔. พญาลาวมิง
๑๕. พญาลาวเมือง (ลาวเมิง)
๑๖. พญาลาวเมง (พระบิดาพญามังราย แห่งล้านนา)

 

อาณาจักรหริภุญชัย (ประมาณ พ.ศ. ๑๒๐๖-๑๘๓๕) ตำนานจามเทวีโบราณได้บันทึกไว้ว่า ฤๅษีวาสุเทพ เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี พ.ศ. ๑๒๐๔ แล้วต่อมาได้อัญเชิญพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ขอมจากเมืองละโว้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวี ได้นำพระสงฆ์ นักปราชญ์ และช่างศิลปะต่าง ๆ ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมาก ราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้ เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญไชยไว้ว่า เป็น“อาณาจักรกษัตริย์หญิง นู หวาง โก่ว”

ต่อมา พ.ศ. ๑๘๒๔ พระเจ้าเม็งรายมหาราช กษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรล้านนา ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบาได้ใน ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา ๖๑๘ ปี มีกษัตริย์ครองเมือง ๔๙ พระองค์

ปัจจุบันโบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยนั้นก็คือ พระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูดภาษามอญโบราณและอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญโบราณอยู่

อาณาจักรหริภุญไชย คืออาณาจักรที่แตกหน่อออกมาจากอาณาจักรทวาราวดี แห่งเมืองละโว้ และคงมีคนเชื้อชาติต่างๆอาศัย อยู่ เพราะคำว่า จาม ซึ่งเป็นชื่อของพระนางจามเทวีนั้น น่าจะมีความหมายว่า พระนางเป็นคนเชื้อชาติ จามที่อยู่ในละโว้ในสมัยทวาราวดี ส่วนคำว่าเทวี มีความหมายว่า พระนางที่เป็นหม้ายซึ่งพระสวามีถึง แก่กรรมไปแล้ว เนื่องจากพระสวามีของพระนางคือเจ้าราม หรือกษัตริย์แห่งเมืองราม ได้ถึงแก่กรรม ก่อนพระนางจะขึ้นมาลำพูน (ตามตำนานเมืองเหนือที่กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย)ดังนั้นพระนาง จามเทวีจึงน่าจะเป็นคนเชื้อชาติจามที่อยู่ในดินแดนทวาราวดีทางตอนใต้ของลำพูน ซึ่งก็คือเมืองละโว้ มีบางตำนานกล่าวว่า พระนางเป็นธิดาของกษัตริย์เมืองละโว้ เมื่อพระนางสร้างเมืองหริภุญไชย ศิลปะ ที่ปรากฎจึงมักเป็นศิลปะ ของทวาราวดี

พระนางจามเทวีจากเมืองละโว้ (ทวาราวดี) ขึ้นมาครองเมืองลำพูนเป็นคนแรกเมื่อประมาณปีพศ.๑๓๑๑ - ๑๓๑๘ (๗๖๘- ๗๗๕) ตามคำเชิญของฤษีวาสุเทพและฤษีสุกันตะ ขณะที่เสด็จขึ้นมานั้น พระนางทรง พระครรภ์ได้ ๓ เดือน และได้สร้างเมืองต่างๆ ตามรายทางไว้มากมาย เมื่อคลอดโอรสออกมาแล้ว ปรา กฎว่าเป็นโอรสแฝด องค์พี่ชื่อ เจ้ามหันตยศ องค์น้องชื่อ เจ้าอนันตยศ ซึ่งพระนางก็ได้มอบเมืองลำพูน ให้องค์พี่ และสร้างเมืองลำปางให้องค์น้อง

ลำพูนมีสงครามกับลพบุรี (ในสมัยอยู่ใต้อิทธิพลของเขมร)ในครั้งแรกประมาณปีพศ.๑๕๕๐-๑๕๖๐ (๑๐๐๗ - ๑๐๑๗) เป็นช่วงเวลา ที่เขมรเข้ามามีอิทธิพลเหนือลพบุรี จึงสันนิษฐานว่า กษัตริย์ลพบุรีที่ กล่าวถึงในตำนานนั้น น่าจะเป็นกษัตริย์หรือแม่ทัพเขมรมากกว่า การที่ชาวลำพูนต้องรบกับลพบุรีนั้น ก็คงจะเป็นการเข้าไปช่วยละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งเป็นคนเชื้อชาติเดียวกันรบกับเขมรนั่นเอง และเมื่อทัพจาก ลพบุรี (ซึ่งมีนายทัพเป็นเขมร) ยกขึ้นมาตีลำพูนก็ไม่เคยตีได้ อาจเป็นเพราะว่า ทหารเมืองลำพูนและ ทหารเมืองลพบุรีเป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน แต่ผู้ที่คุมทัพลพบุรีคือเขมร ดังนั้นคงจะเกิดการบังคับให้พวก ลพบุรีขึ้นมารบกับลำพูนโดยไม่เต็มใจ เขมรจึงไม่เคยรบชนะหริภุญไชยได้เลยตลอดประวัติศาสตร์ ในตำ นานเมืองเหนือยังกล่าวไว้ด้วยว่า ในการยกทัพมาตีเมืองลำพูน ๒ ครั้งหลัง ทหารเมืองลพบุรีเกิดหลงทาง หาทางเข้าเมืองลำพูนไม่ถูกทั้ง ๒ ครั้ง ทัพลพบุรีจึงต้องยกกลับ อาจเป็นได้ว่า ทหารลพบุรีคงจะ แกล้งนำ ทางให้หลง ทำให้ไม่สามารถเข้าตีลำพูนได้

ปีพศ. ๑๕๙๐ (๑๐๔๗) เกิดอหิวาห์ระบาดขึ้นในเมืองลำพูน ทำให้ประชาชนต้องหนีเข้าไปในพม่า และอา ศัยอยู่ที่เมืองหงสาวดีถึง ๖ ปี ซึ่งขณะนั้นหงสาวดียังเป็นเมืองของพวกมอญอยู่(มอญและทวาราวดีมีความ ใกล้ชิดกันทางเชื้อชาติ) ชาวลำพูนจึงได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากชาวเมืองหงสาวดี เพราะชาวเมือง ลำพูนและหงสาวดีต่างก็เป็นคนที่เกือบจะมีเชื้อชาติเดียวกัน และพูดภาษาเดียวกัน จนเมื่อสถานการณ์ โรคระบาดดีขึ้นแล้ว ชาวลำพูนจึงได้กลับมายังบ้านเมืองของตน เมื่อกลับมาแล้ว คงจะเกิดความคิดถึง ชาวเมืองหงสาวดีที่ได้เคยไปอาศัยพักพิง จึงพากันนำอาหารใส่ภาชนะแล้วลอยไปในแม่น้ำ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นสายน้ำที่ไหลไปถึง เมืองหงสาวดี และสันนิษฐานว่าการลอยภาชนะใส่อาหารลงในแม่น้ำนั้น คงเป็น ต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทงที่มีสืบทอดกัน มาจนถึงทุกวันนี้

ราวปีพศ.๑๗๐๐-๑๘๓๕(๑๑๕๗-๑๒๙๒) เป็นช่วงเวลาก่อนที่พระยาเม็งรายจะสถาปนาอาณาจักรล้านนา และเป็นยุคทองของ หริภุญไชย ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชได้สร้างพระธาตุหริภุญไชยขึ้นเป็นครั้งแรก สูง ๖ ม. สามารถมองเห็นพระธาตุที่บรรจุอยู่ภายในได้ สมัยพระยาสวาธิสิทธิได้สร้างเสริมขึ้นไปจนสูง ๑๒ เมตร พร้อมทั้งสร้างวัดมหาวันและบูรณะวัดมหาพล มีบันทึกว่า มีพระสงฆ์จากลังกาเดินทางมาหริ ภุญไชยในสมัยนี้ ปีพศ.๑๘๓๕ พระยาเม็งรายยกกองทัพเข้ามาโจมตีหริภุญไชยและยึดเมืองได้ในอีก ๔ ปีต่อมา อาณาจักรหริภุญไชยที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ราวปีพศ. ๑๓๑๑ (๗๖๘) ก็ต้องสูญเสียอำนาจให้กับ พระยาเม็งราย รวมเวลา เป็นอาณาจักร ๕๒๘ ปี

 

อาณาจักรทวารวดี

อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นของชนชาติมอญ ละว้า มีศูนย์กลางอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี อำเภออู่ทอง และกินพื้นที่ไปจนถึงภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงหนือ แถบ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดปราจีนบุรี และขึ้นไปถึงทางเหนือ จังหวัดลำพูน มีศิลปะเป็นของตนเอง ถึงแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลจากต่างชาติอย่างมากก็ตาม

ประติมากรรม

พระพุทธรูปลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี แบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ

๑. มีลักษณะของอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะ บางครั้งก็มีอิทธิพลของอมราวดีอยู่ด้วย ลักษณะวงพักตร์แบบอินเดีย ไม่มีรัศมี จีวรเรียบเหมือนจีวรเปียก ถ้าเป็นพระพุทธรูปนั่งจะขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 12
๒. ฒนาขึ้นจากแบบแรก โดยมีอิทธิพลพื้นเมืองผสมมากขึ้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนใหญ่ บางทีมีรัศมีบัวตูมเหนือเกตุมาลา และสั้น พระพักตร์แบนกว้าง พระเนตรโปน พระหนุ (คาง) ป้าน พระนลาฏ (หน้าผาก) แคบ พระนาสิกป้านใหญ่แบน พระโอษฐ์หนา พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ ยังคงขัดสมาธิหลวม ๆ แบบอมราวดี มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 13-15
๓. พระพุทธรูปในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลศิลปะเขมร เนื่องจากเขมรเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้นในสมัยเมืองพระนคร ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ศิลปกรรมแบบทวารวดี ในระยะนี้จึงมีอิทธิพลเขมรแบบบาปวนหรืออิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทยที่เรียกว่าศิลปะลพบุรีปะปน เช่น พระพักตร์เป็นรูปสี่เหลี่ยม มีลักยิ้ม นั่งขัดสมาธิราบ เป็นต้น นอกจากพระพุทธรูปแล้วยังพบสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงการสืบทอดแนวคิดทางศิลปะอินเดียโบราณก่อนหน้าที่จะทำรูปเคารพเป็นรูปมนุษย์ภายใต้อิทธิพลศิลปะกรีก


ประติมากรรมกลุ่มเทวรูปรุ่นเก่า

เป็นประติมากรรมศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู อยู่ร่วมสมัยกับทวารวดีตอนต้น และตอนปลาย ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-13 ที่เมืองศรีมโหสถและเมืองศรีเทพ และพบอยู่ร่วมกับศรีวิชัยและทวารวดีที่ภาคใต้ของประเทศไทย มักจะทำเป็นรูปพระนารายณ์

ลักษณะพระพักตร์จะไม่เหมือนพระพุทธรูปแบบทวารวดีเลย จะมีลักษณะคล้ายกับอินเดีย ตัวอย่างเช่น พระนารายณ์ที่ไชยาแสดงลักษณะอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบมทุราและอมราวดี(พุทธศตวรรษที่ 6-9) รวมทั้งที่พบที่นครศรีธรรมราช ซึ่งถือสังข์ด้วยพระหัตถ์ซ้ายด้านล่าง ผ้านุ่งและผ้าคาดที่พบที่ภาคใต้และที่เมืองศรีมโหสถ จะมีผ้าคาดเฉียงเหมือนศิลปะอินเดียหลังคุปตะ (ปัลลวะ) ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ส่วนเทวรูปรุ่นเก่าที่อำเภอศรีเทพจะมีอายุใกล้เคียงกัน และที่ศรีเทพนอกเหนือจากที่จะพบรูปพระนารายณ์แล้วยังพบรูปพระกฤษณะและพระนารายณ์ด้วย

ลักษณะของเทวรูปกลุ่มนี้ไม่เหมือนกับที่พบในเขมรเนื่องจากกล้าที่จะทำลอยตัวอย่างแท้จริง ไม่ทำแผ่นหินมารับกับพระหัตถ์คู่บน แต่ยังไม่มีการนำเอากลุ่มเทวรูปนี้เข้าไปไว้ในศิลปะทวารวดี จึงเพียงมีแต่สมมุติฐานว่าเทวรูปกลุ่มนี้น่าจะเป็นทวารวดีที่เป็นพราหมณ์ การเข้ามาของเทวรูปนี่มีข้อคิดเห็นแตกไปเป็น 2 ทางคือ เป็นศิลปะอินเดียที่นำเข้าที่พร้อมกับการติดต่อค้าขาย หรือเป็นศิลปะแบบอินเดียที่ทำขึ้นในท้องถิ่น และมีการพัฒนาการภายใต้อิทธิพลศิลปะพื้นเมืองแบบทวารวดีและศรีวิชัย

เครื่องมือเครื่องใช้
เครื่องมือเครื่องใช้ที่พบในแหล่งทวารวดีทั่วไปมักจะเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เศษภาชนะดินเผา เนื้อดินมักทำเป็นภาชนะปากบาน ภาชนะทรงหม้อตาล เศษภาชนะเคลือบ มีทั้งที่เป็นเครื่องเคลือบจีนในสมัยราชวงศ์ถังถึงสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องเคลือบจากเตาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องเคลือบเปอร์เซีย เครื่องใช้อื่น ๆ ก็มีพบ เช่น กุณฑีดินเผา กาดินเผา ตะคันดินเผา กระสุนดินเผา ที่ประทับตราดินเผา ตุ๊กตาดินเผา ฯลฯ นอกจากเครื่องปั้นดินเผาแล้ว ยังพบเครื่องใช้สำริด ทั้งเป็นเครื่องใช้ทั่วไปกับที่เป็นของของสูง หรือของที่ใช้ในพีธีกรรม เช่นคันฉ่อง เครื่องประกอบราชยานคานหาม และเครื่องใช้ทำจากเหล็ก นอกจากเครื่องใช้แล้วยังพบเครื่องประดับทำจากหิน แก้ว ดินเผา สำริด ทองคำ ได้แก่ ลูกปัด แหวนตุ้มหู กำไล ฯลฯ

สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมแบบทวาราวดีมักก่ออิฐและใช้สอดิน เช่น วัดพระเมรุและเจดีย์จุลปะโทน จังหวัดนครปฐม บางแห่งมีการใช้ศิลาแลงบ้าง เช่นก่อสร้างบริเวณฐานสถูป การก่อสร้างเจดีย์ในสมัยทวารวดีทีพบทั้งเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มียอดแหลมอยู่ด้านบน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 28 •มกราคม• 2012 เวลา 09:11 น.• )