บันทึกเหตุการณ์วัดบ้านลูตั้งอยู่บนฝั่งขวา ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยมในเขตตำบลห้วยหม้าย (เดิมขึ้นกับตำบลบ้านหนุน) อำเภอสอง จังหวัดแพร่ วัดลูนิเกตเดิมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดลู แต่มีสร้อยออกไปว่า วัดลูนิเกต นั้นเป็นนามที่เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทางเจ้าคณะจังหวัดแพร่เพิ่มให้วัดนี้ เมื่อมาตั้งครั้งแรกได้ขนานนามชื่อวัดไปตามชื่อของหมู่บ้าน ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ทราบว่า เดิมนำยมได้พังเข้ามาติดกับตลิ่งหรือกับฝั่งที่อยู่หน้าวัดทุกวันนี้แต่ตอนตะวันตอนตะวันตกเฉียงเหนือของวัดขึ้นไปมีน้ำวังน้ำลึกและตรงฝั่งมีรูลึกเข้าไป แต่จะลึกเข้าไปเท่าไหร่นั้นไม่ปรากฏและวังน้ำนั้นยังถูกเรียกว่าวีงรูด้วยในขณะนั้นนั้นยังมีปูลูอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากจึงเรียกว่าบ้านลูอีกในหนึ่งก็เรียกไปตามปูลูแต่ต่อมาที่ตรงนั้นก็กลายเป็นหนองน้ำไปสังเกตไม่ได้ว่ารูจะอยู่ที่ตรงไหนเพราะเมื่อน้ำยมได้ย้ายไปเดินฝากตะวันออก ยังฝั่งซ้ายที่นั้นจึงกลายเป็นหนองน้ำไปและถูกโคลนและหินทรายทับถมจึงตื้นเขินไปหมดจึงเป็นอันยุตติว่าประชาชนผู้ตั้งบ้านเรือนที่แรกได้ขนานนามว่า บ้านรู วัดจึงถูกเรียกชื่อวัดไปตามบ้านจนถึงปัจจุบัน หมายเหตุการณ์เปลี่ยนชื่อ รู เป็น ลู นั้นในปัจจุบันมันมีความหมายว่าภาษาไทยว่า ร นั้นคือ ภาษาพายัพเราเรียกว่า ฮู ซึ่งมีความหมายที่ไม่แน่ชัดจึงเปลี่ยนชื่อเป็นลู  ต่อมาต้องการเปลี่ยนชื่อใช้เป็นสิริมงคลและสวยงามจึงเติมคำตามหลังหรือสร้อย จึงมีชื่อว่า ลูนิเกต

ประวัดลูนิเกต ตั้งอยู่เลขที่ ๒๘๙ หมู่ที่ ๑ ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ สังกัดนิกายมหานิกาย วัดลูนิเกต เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ ในพื้นที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๒๕ ตารางวา เริ่มแรกได้สร้างกุฏิ ๑ หลัง และวิหาร ๑ หลัง พื้นปูด้วยไม้กระดาน หลังคามุงด้วยหญ้าคา ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๐ เจ้าอาวาสพร้อมด้วยทายกทายิกา พร้อมใจกันรื้อกุฏิและวิหารหลังเดิมและสร้างกุฏิและวิหารขึ้นใหม่แต่ยังไม่ถาวร ในปีเดียวกันได้สร้างบ่อน้ำขึ้นอีก ๑ บ่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ และพร้อมกันนี้คณะทายกทายิกาและเจ้าอาวาสได้รื้อวิหารหลังเก่าสร้างขึ้นใหม่อีก แต่ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนหลังคามุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ พ.ศ. ๒๔๖๖ เจ้าอาวาสพร้อมด้วยคณะศรัธาได้พร้อมใจกันสร้างพระพุทธรูปในวิหาร ขึ้นจำนวน ๑ องค์ ขนาด ๕ ศอก ค่าใช้จ่ายก่อสร้างประมาณ ๓๐๐ บาท ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้รื้อกุฏิหลังเก่าและได้จัดทำการสร้างขึ้นใหม่อีกจำนวน ๑ หลัง กว้าง ๓ วา ๒ ศอก ยาว ๖ วา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ร่วมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ประมาณ ๕๐๐ กว่าบาท และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ โดยการนำของหลวงพ่อสุนทรสิกขวัฒน์พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนและทายกทายิกาทั้งหลายก็พร้อมใจกันผูกพัทธสีมาในวันอังคารที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ และต่อมาจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ เจ้าอาวาสพร้อมด้วยคณะศรัทธาได้สร้างกุฏิขึ้นอีกหนึ่งหลัง กว้าง ๓ วา ๒ ศอก ยาว ๑๐ วา มีมุขข้าหน้าก่อสร้างด้วยไม้ หลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ๒๐,๐๐๐ บาท ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้ก่อสร้างแทนหลังเก่าอีก จำนวน ๑ หลัง ยาว ๕ วา กว้าง ๒ ศอก ๑๕ นิ้ว รวมค่าก่อสร้าง ๑,๕๐๐ บาท พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ซื้อที่ดินของนายเครือ ต่างใจ ในราคา ๒๕๐ บาท เพื่อขยายที่วัดให้มีขนาดกว้างขึ้น

พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยการนำของหลวงพระครูสุนทรสิกขวัฒน์ พร้อมคณะศรัทธาได้สร้างศาลาการเปรียญ จำนวน ๑ หลัง กว้าง ๑ วา ยาว ๓ ศอก รวมค่าใช้จ่าย ๓๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๐๔ หลวงพ่อได้สร้างกุฏิขึ้นใหม่ อีก ๑ วา กว้าง ๒ วา ๓ ศอก ๑๕ นิ้ว ยาว ๔ วา พื้นและฝาผนังทำด้วยไม้สัก หลังคามุงด้วยกระเบื้องค่าใช้จ่าย ๒,๖๐๘ บาท พ.ศ. ๒๕๑๕ หลวงพ่อสุนทรสิกขวัฒน์ ได้ก่อสร้างกำแพงรอบวัด ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์เสร็จสิ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ รวมค่าก่อสร้าง ๑๐๐,๐๐๐ บาท พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้สร้างกุฏิแบบ ๒ ชั้น ขึ้นอีกจำนวน ๑ หลัง ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์พื้นปูด้วยไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเคลือบ มีมุขหน้า ๓ มุข มุขหลังอีก ๑ มุข ค่าใช้จ่าย ๑,๑๘๙,๙๕๐ บาท

สร้างหอระฆังพร้อมหอกลอง แบบ ๓ ชั้น ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๒๒,๐๐๐ บาท หอธรรม แบบ ๒ ชั้น สร้างด้วยปูนซีเมนต์ค่าใช้จ่าย ๒๕๐,๐๐๐ บาท สร้างศาลาบาตร จำนวน ๑ หลัง โดยเอาไม้จากการรื้อกุฏิหลังเก่ามาสร้าง รวมค่าใช้จ่าย ๖๐,๐๐๐ บาท ซุ้มประตูวัด ก่ออิฐถือปูน สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๕ รวมค่าก่อสร้าง ๕๐,๐๐๐ บาท

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดลูนิเกต

๑ พระอธิการชัยวงค์ สายใจ พ.ศ. ๒๔๒๑ – ๒๔๒๘ จำนวน ๘ พรรษา ลาสิกขา

๒ พระอธิการศรี สุภากาศ พ.ศ. ๒๔๒๙ – ๒๔๓๑ จำนวน ๓ พรรษา ลาสิกขา

๓ พระอธิการกันทะ พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๓๘ จำนวน ๗ พรรษา ลาสิกขา

๔ พระเทวี พ.ศ. ๒๔๓๙ – ๒๔๔๒ จำนวน ๔ พรรษา ลาสิกขา

๕ พระอธิการจักร เครือทิพย์ พ.ศ. ๒๔๔๓ – ๒๔๕๐ จำนวน ๘ พรรษา ลาสิกขา

๖ พระอธิการจันธิมา อนันชัย พ.ศ. ๒๔๕๑ – ๒๔๗๓ จำนวน ๒๓ พรรษา มรณภาพ

๗ พระครูสุนทรสิกขวัฒน์ (ตา ตาคม) พ.ศ. ๒๔๗๔ – ๒๔๓๔ จำนวน ๕๑ พรรษา มรณภาพ

๘ พระอธิการธนพัฒน์ กตปญฺโญ (สายยนต์ ป้องภัย) พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๓๗ จำนวน ๒๓ ลาสิกขา

๙ พระครูพิศาลบุญญาคม (ทองหยั่น มหาปุญฺโญ) พ.ศ. ๒๕๓๘ – ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 02 •มิถุนายน• 2012 เวลา 12:46 น.• )