วัดห้วยหม้าย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำยม มีคณะศรัทธาบ้านร่องถ่าน คณะศรัทธาบ้านห้วยหม้าย คณะศรัทธาบ้านป่าคาคณะศรัทธาบ้านห้วยหม้ายหล่ายห้วย และคณะศรัทธาบ้านป่าแดงใต้(บางส่วน)คณะศรัทธาบ้านห้วยกาญจน์(บางส่วน)


เลขที่วัดคือ 165 ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ 54120 โฉนดที่ดินเลขที่ 6760 เล่มที่ 68 หน้า 60 มีเนื้อที่ 8 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์เลขที่ 7081 เล่มที่ 71 หน้า 81 มีเนื้อที่ 4 ไร่ 71 ตารางวา โดยมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ    ติดกับ บ้านร่องถ่าน
ทิศตะวันออก    ติดกับ บ้านป่าคา
ทิศใต้        ติดกับ บ้านห้วยหม้ายและบ้านห้วยหม้ายหล่ายห้วย
ทิศตะวันตก    ติดกับ บ้านห้วยหม้าย
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย
1.อุโบสถ  2.ศาลาการเปรีญ 2 หลัง  3.กุฏิ 1 หลัง  4.หอระฆัง  5.อื่นๆ คือ ห้องน้ำ 10หลัง
โบราณวัตถุ คือ พระธาตุแดงเขียวและ พระพุทธรูปหุ้มทองคำ 2 องค์ (หน้าตัก 2 นิ้ว) งาช้างแกะสลัก 1 อัน
วัดห้วยหม้ายสร้างเมื่อ พ.ศ. 2371  เดิมเรียกว่า “วัดห้วยหม้าย” โดยได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2471 ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 101พฤษภาคม พ.ศ.2478
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส จำนวน 10 รูป ดังนี้
ชื่อ    ฉายา    รับตำแหน่ง    พ้นตำแหน่ง    หมายเหตุ
1.พระก่อย    กนฺตภีโร    พ.ศ.2371    พ.ศ.2392   
2.พระธรรมไชย    ธมฺมสาโร    พ.ศ.2392    พ.ศ.2399   
3.พระวงศ์    วงฺคโร    พ.ศ.2399    พ.ศ.2408   
4.พระอุปัทธะ    อุปทฺโธ    พ.ศ.2408    พ.ศ.2442    เป็นพระอุปัชฌาย์
5.พระโกวินต๊ะ    โกวินฺโต    พ.ศ.2442    พ.ศ.2453   
6.พระไชยมงคล    ชยฺมงฺคโล    พ.ศ.2453    พ.ศ.2455   
7.พระอุตตมา    อุตฺตโม    พ.ศ.2455    พ.ศ.2468    เป็นเจ้าคณะตำบล
8.พระครูพรหมธีระคุณ    พรหฺมธีโร    พ.ศ.2468    พ.ศ.2514    เป็นเจ้าคณะตำบล
9.พระครูไพโรจน์วุฒิการณ์        พ.ศ.2514    พ.ศ.2542    เป็นพระอุปัชฌาย์(เมื่อ 10 ต.ค. 2536) เป็นรองเจ้าคณะอำเภอสอง(เมื่อ 6 ก.พ. 2533)
10.พระทหาบุญหมั้น    สุนทรธมฺโฒ    พ.ศ.2543    ปัจจุบัน    เป็นเจ้าคณะตำบลห้วยหม้าย (เมื่อ 16 ก.ย. 2547)

รายนามประวัติเจ้าอาวาส
ประวัติท่านครูบาก่อย
1.ท่านครูบาก่อยได้รับการแต่งตั้งเจ้าอาวาสในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2371 ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้ 17 พรรษา ท่านก็ได้ลาสิกขา เมื่อ พ.ศ. 2392
ประวัติพระธรรมไชย ธมฺมสาโร
2.พระธรรมไชย ธมฺมสาโรได้รับการแต่งตั้งเจ้าอาวาสแทนตั้งแต่ พ.ศ.2392 ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้ 7 พรรษา ท่านก็มรณภาพ เมื่อ พ.ศ.2399
ประวัติพระวงค์ วงคโร
3.พระวงค์ วงคโรได้รับการแต่งตั้งเจ้าอาวาสแทนตั้งแต่ พ.ศ.2399 ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้ 9 พรรษา ท่านเกิดเป็นลมบ้าหมู ท่านก็ได้ลาสิกขา เมื่อ พ.ศ.2408

 

ประวัติท่านพระครูอุปัทธะ อุปทฺโท
4.พระอุปัทธะ อุปทฺโท ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2408 ท่านพระครูอุปัทธะ องค์นี้มีนามเดิมว่า มา บิดาคือนายทิศน้อย มารดาคือนางปัน เป็นคนชาวเวียงจันทรได้อพยพหนีมาคราวที่เจ้าเขาตีเวียงจันทร์แตกกวาดเอาคนมาไว้ที่เมืองลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มาแต่งงานกับมารดาที่เมืองลับแล มีบุตรเกิดเป็นชายสองคน คนที่หนึ่งชื่อ มาจากนั้นบิดา มารดาก็ได้อพยพครอบครัวมาจากลับแลเข้ามาอยู่หัวข่วง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มาอาศัยอยู่บ้านเจ้าคือ บ้านพ่อเจ้าพระอุตรการ อยู่ต่อมามีบุตรชื่อ นายมานั้นก็เข้าไปเป็นเด็กวัดหัวข่วง ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนจนได้บวชเป็นสามเณร ต่อจากนั้นมา บิดา มารดาก็ได้อพยพครอบครัวขึ้นมาอยู่บ้านห้วยหม้าย บิดามารดาก็ได้นำสามเณรมา(อุปัทธะ) ผู้เป็นลูกไปฝากไว้กับท่านครูบาวงค์เจ้าอาวาสวัดห้วยหม้าย ที่วัดปงริมน้ำยม เป็นสามเณรปฏิบัติมา พ่อท่านอายุได้ 21 ปีก็ได้อุปสมบทที่บ้านห้วยหม้าย โดยมีท่านครูบาวงค์แนพระอุปัชฌาย์บวชให้ เมื่อท่านบวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านครูบาวงค์เกิดเป็นลมบ้าหมูท่านก็ได้ลาสิกขาเมื่อปี พ.ศ.2408 ท่านพระอุปัทธะก็ได้เป็นเจ้าอาวาสแทน เป็นเจ้าอาวาสได้ 5 พรรษา แล้วพอมาถึง พ.ศ.2413 ก็เกิดอุทกภัย น้ำยมท่วมวัดปง เกิดความเสียหายมาก ข้าวของต่างๆถูกน้ำพัดพาไป เป็นต้นว่า พระพุทธรูปแกะสลักก็ไหลน้ำไปหมดพอถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2413 มีพ่อสม แม่ขันแก้ว ตาคำ ก็เป็นอันว่าพ่อสม และแม่ขันแก้ว ตาคำ ได้มอบที่มาดอนให้สร้างวัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน ท่านครูบาอุปัทธัก็ประชุมคณะศรัทธาเป็นเอกฉันท์ได้ย้ายวัดปงขึ้นมาอยู่วัดกลางทุ่ง (คือวัดห้วยหม้ายปัจจุบัน) มีศรัทธาอยู่สองบ้านคือด้านใต้มีบ้านห้วยหม้ายด้านตะวันออกมีบ้านป่าคา ด้านเหนือมีบ้านร่องถ่าน ด้านตะวันตกเป็นทุ่งนา
วัดตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำยม ระยะไกลประมาณ 200 ตารางวาเศษ น้ำห้วยหม้ายอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวัดไกลประมาณ 200 ตารางวาเศษเป็นอันว่าศรัทธาอุปถัมภ์ อยู่ทิศเหนือของวัด ชื่อบ้านร่องถ่าน มีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 10 หลังคาเรือน ทิศตะวันออกและทิศใต้ของวัดคือ บ้านห้วยหม้าย มีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณ 20 กว่าหลังคาเรือน ส่วนน้ำห้วยหม้าย ห้วยขอนไหลจากทางทิศตะวันตกผ่านมาสู่น้ำยม
ท่านครูบาอุปัทธะได้ตั้งวัดใหม่กลางทุ่งขึ้นแล้ว ก็ได้แผ้วกลางสถานที่เรียบร้อยแล้วได้เริ่มสร้างวิหารฝาฟากมุงหญ้าคา เป็นที่ทำบุญชั่วคราวขึ้น1 หลัง กว้าง3 วา(6เมตร) ยาว 5 วา(10 เมตร) สร้างกุฏิขึ้นอีก 1 หลัง ขนาดกว้าง 2 วา (4 เมตร) ยาว 8 วา (16 เมตร) ฝาฟากกระดานพื้นไม่สัก หลังคามุงกระเบื้องไม้สัก ต่อมาได้ประชุมคณะศรัทธาสร้างวิหานขึ้นอีกหลังหนึ่งขนาดกว้าง 4 วา 2 ศอก (9 เมตร) ยาว 7 วา 2 ศอก (15เมตร) ก่อด้วยอิฐปูนหลังคามุงกระเบื้องไม้สัก และได้สร้างพระพุทธรูปใหญ่ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก(1.50 เมตร) มีพระครูพุทธวงศ์ศาจารย์วัดพระบาท (วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารปัจจุบัน) เป็นผู้ทำเมื่อปี พ.ศ.2422
พ.ศ.2430 ได้สร้างกุฏิขึ้น 1 หลัง ขนาดกว้าง 3 วา (6 เมตร) ยาว 12 วา (24เมตร) มีเพดานไลลอน 4 ด้านเสาไม้สักวน กระดานพื้นไม้สัก หลังคามุงกระเบื้องไม้สัก
พ.ศ.2431 ได้สร้างอุโบสถชั่วคราว 1 หลัง ขนาดกว้าง  2 วา (4เมตร)ยาว 6  วา (12เมตร) เสาไม้สัก กระดานพื้นไม้สัก หลังคามุงกระเบื้องไม้สัก
พ.ศ.2432 ได้สร้างศาลาบาตร 3 หลัง ขนาดกว้าง 2 วา (4 เมตร) ยาว 5 วา (10 เมตร) เสาไม้แดงหลังคามุงหญ้า หลังที่ 2 ขนาดกว้าง 2 วา (4เมตร) ยาว 4 วา (8 เมตร) เสาไม้แดงหลังมุงหญ้าคา  หลังที่ 3 ขนาดกว้าง 2 วา (4 เมตร)ยาว 6 วา (12เมตร)เสาไม้สักหลังคามุงด้วยหญ้าคา พร้อมกันนี้ได้สร้างกลองยาวขนาด 15 ศอก ( 8.50เมตร)
พ.ศ. 2442 ได้สร้างตู้ใส่ธรรม 1 หลัง กว้าง 24 นิ้ว ยาว 3 ศอก สูง 3 ศอก เป็นตู้เปลือยไม่ได้ทาน้ำมันไม้สักล้วนๆ และได้ซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ คือฆ้องใหญ่ ฆ้องเล็ก ฉิ่ง ฉาบ ถ้วยชาม ขวดน้ำ ธรรมไวว้ในคราวนั้นมาก วัดในเวลานั้นไม่มีกำแพง ล้อมรั้วด้วยเสาไม้สัก รวมพรรษาของท่าน 31 พรรษา ท่านก็ มรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2442 มรณภาพ ณ วัดห้วยหม้วย ท่านเป็นเจ้าอาวาสสได้ 26 พรรษา

 

ประวัติพระโกวินต๊ะ โกวินฺโต

5.พระโกวินต๊ะ โกวินฺโต  ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อ นามเดิมของท่านชื่อ อินตา บิดาของท่านชื่อ หนานอุตมา มารดาของท่านชื่อ นางแก้ว กาศสกุล บิดาเกิดที่บ้านร่องกาศ มารดาเกิดที่บ้านร่องถ่าน พระโกวินต๊ะ เกิดที่บ้านร่องถ่าน หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน เป็นหญิง 1 คน ชาย 2 คน คนที่ 1 เป็นหญิง คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ คำปา (โกวินต๊ะ) คนที่ 3 ก็เป็นชายเหมือนกันแต่ถึงแก่กรรมเสียเมื่อยังเด็ก แล้วบิดาได้หนีละมารดาไปอยู่บ้านเดิมเสีย แล้วต่อมามารดาก็เอาบิดาใหม่ มีบตรอีก 3 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 2 คน รวมทั้งหมดลูกของนางแก้วมี 6 คน ส่วนนายคำปา(โกวินต๊ะ) ก็ได้ศึกษาเล่าเรียน เป็นเด็กวัดห้วยหม้าย ครูบาอุปัทธะเป็นผู้สั่งสอนตลอด จนได้บวชเป็นสามเณรทพระอุปัทธะเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ท่านปฏิบัติจนอายุได้ 21 ปีก็ได้อุปสมบทที่วัดห้วยหม้าย ท่านอุ)สมบทได้ 4 พรรษา ก็ได้ลาสิกขาไปเสีย 1 พรรษา เมื่อลาสิกขาไปแล้วอยู่ไม่สบายก็กลับมาอุปสมบทต่ออีก เมื่อ พ.ศ. 2442 เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา ท่านได้สร้างสัตตพันสำหรับบูชา 1 ชุด ฆ้องใหญ่ 1 ลูก นอกนั้นไม่มีการก่อสร้างอะไรอีกเลย ท่านเป็นเจ้าอาวาสได้ 12 พรรษา ก็ได้ลาสิกขาเสียเมื่อพ.ศ.2453

 

 

ประวัติพระไชยมงคล ชยมงฺคโล

6. ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2453 พระไชยมงคล ชยมงฺคโล ขึ้นเป็นแจ้าอาวาส นามเดิมท่านชื่อ ปอก เกิดปีระกา บิดาชื่อ หนานอุต มาราดาชื่อนางฟอง บิดามาดาเป็นคนแม่คำมีต้นม่วง ตำบลแม่คำมี อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา เดียวกัน 2 คน คนที่ 1 ชื่อคำ คนที่ 2 ชื่อ ปอก พ่อแม่ได้ประสบทุพภิขะภัยกั้นอยาก ก็ได้ละแม่ไว้บ้านเดิม แล้วก็ได้พาลูกทั้ง 2 คนหนีมาอาศัยบ้านห้วยหม้าย ได้มาอาศัยกินอยู่กับท่านครูบอุปัทธะวัดห้วยหม้ายไม่ทันเท่าไรก็ถึงแกกรรมเสีย ส่วนลูกทั้ว 2 คน ก็ได้เอาตัวเข้าศึกษาเล่าเรียนที่วัดห้วยหม้าย พระครูอุปัทธะก็ได้สั่งสอนจนได้บวชเป็นสามเณรทั้ง 2 คน ส่วนผู้เป็นพี่เป็นสามเณรอยู่ไม่นานก็ได้ลาสิกขาไปเสีย ส่วนสามเณรปอก(พระไชยมงคล ชยมงฺคโล) ได้บวชเป็นสามเณรตลอดจนอายุ 21 ปี ก็ได้อุปสมบทที่วัดห้วยหม้าย มีพระอภิชัย วัดกลางเป็นพระอุปัชฌาย์ พระไชยมงคล ชยมงฺคโล เป็นเจ้าอาวาสได้ 3 พรรษาแล้วก็ลาสิกขาในปี พ.ศ. 2455 ท่านเป็นเจ้าอาวาสไม่นานเท่าไหร่ จึงไม่ได้สร้างอะไรมากนัก

 

ประวัติเจ้าอธิการอุตมา อุตฺตโม
7. พ.ศ.2455 เจ้าอธิการอุตมา อุตฺตโม เป็นเจ้าอาวาสแทน เจ้าอธิการอุตมานามเดิมว่า นายกุย บิดาชื่อ หนานยะนันท์ นันทวงค์ มารดาชื่อ นางฟุ่น นันทวงค์ บิดาเกิดบ้านห้วยหม้าย มารดาเกิดบ้านร่องถ่าน  หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยหม้าย อำเภอบ้านกลาง จังหวัดแพร่(อ.สอง ปัจจุบัน) พระอุตมาเกิดปีมะแม เกิดที่บ้านร่องถ่าน
หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยหม้าย อำเภอบ้านกลาง จังหวัดแพร่ ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คนเป็นหญิง  คน 2 เป็นชาย 1 คน คนที่ 1 และคนที่ 2 เป็นหญิง คนที่ 3 เป็นชายชื่อ นายกุย แล้วบิดาถึงแก่กรรมอายุน้อย  ต่อมามารดาได้เอาสามีใหม่ มีลูกด้วยกัน 2 คน เป็นหญิงทั้ง 2 คน รวมทั้งหมดมี 5 คน พระอุตมารูปนี้เมื่อตนอนเด็กได้เข้าศึกษาเล่าเรียนหนังศือเป็นเด็กวัดห้วยหม้าย พระครูอุปัทธะเป็นฝู้สั่งสอนตลอดจนอายูได้ 14  ปี ก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร ปฏิบัติมาได้ 2  พรรษา พออายุได้ 16 ปีก็ลาสิกขาไปเสีย ท่านเป็นฆาราวาสอายุได้ 23 ปี ก็ได้สมรสมีครอบครัวอยู่ได้  10 ปี มีบุตร 6 คน เป็นหญิงทั้งหมด แต่ก็ตายเสียทั้งหมดต่อมาภรรยาก็ได้ถึงแก่กรรมอีก พออายุได้ 33  ปี พ.ศ.2448  ก็ได้กลับเข้ามาอุปสมบทในพรรษานั้นอีกในเวลานั้นพระโกวินต๊ะเป็นเจ้าอาวาสก็ได้แนะนำพิธีอุปสมบทให้ท่านอุปสมบทมีครูบากันฑา วัดเหมืองหม้อ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีครูบาสวน วัดเหมืองหม้อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีครูบาปัญญา วัดเหมืองหม้อ เป็นพระอนุสาสนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่วัดห้วยหม้าย ได้ 1 พรรษาแล้วก็ไปศึกษาเล่าเรียนธรรมอยู่วัดกลาง กับท่านครูบาพิชัย เรียนสวด
นามปาฏิโมกข์ได้ 5 พรรษา แล้วท่านก็ได้ไปเที่ยวนมัสการวัดต่างๆ แล้วได้ไปทั้งอาราม อยู่บ้านแวนโค้ง อำเภอเชียงคำ จังหวัดน่าน มีศิษยานุศิษย์มาก ได้ 15 พรรษาแล้วก็ได้ไปเที่ยวนมัสการอีกแล้วกลับมาบ้านเดิมแล้วตั้งวัดเป็นอารามอยู่ที่บ้านร่องถ่าน 1 พรรษา ใรพ.ศ. 2455 พระชัยมงคล ลาสิกขาและทางอำเภอออกกฎหมายว่าศรัทธาไม่มีมากไม่ให้ตั้งวัด พวกคณะศรัทธา บ้านห้วยหม้ายไดไปนิมนต์ย้ายจากอารามบ้านร่องถ่านมาอยู่วัดเดิมท่านก็ได้เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมาไม่นานเท่าไรก็ด้รับตราตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด(เจ้าคณะตำบล)ตำบลห้วยหม้ายรวม 4 วัดด้วยกัน คือ วัด ห้วยหม้าย  วัดห้วยขอน วัดทุ่งน้าว วัดร่องเฟ่า(วัดร่องเย็นปัจจุบัน)ระยะต่อมารัฐบาลก็ได้มาก่อตั้งโรงเรียนสามัญขึ้น 1 โรงเรียนวัดห้วยหม้าย มีสามเณรผัด วัดกลาง อำเภอเมืองแพร่ มาเป็นครูสอน ขณะนั้นนายยศเป็นกรรมการส่วนทางจังหวัดได้จัดตั้ง พระเอก  วัดปงสนุก  อำเภอเมืองแพร่ (ปงสุนันท์) ท่านดำรงตำแหน่งเป็นคณะแขวงในเมืองแพร่   มาตั้งโรงเรียนวัดห้วยหม้ายเป็นครั้งแรกในตำบลนี้  
พ.ศ. 2460 เป็นประธานบรูณะ เพื่อรื้อคาฝ่าซ่อมใหม่มุงกระเบื้องไม้สักแทน
พ.ศ. 2461 ท่านก็ได้รื้อศาลาบาตร 3 หลัง สร้างและซ่อมแซมใหม่มุงกระเบื้องไม้สัก 2 หลัง มุงดินขอ 1 หลัง
พ.ศ. 2462 ท่านได้สร้างกำแพงขึ้นใหม่รอบ 4 ด้าน รวมได้ระยะเวลา 3 ปีเสร็จ
พ.ศ. 2464 ท่านได้รื้อวิหารซ่อมแซมตัดสินเสาใส่หลายเสาสำเร็จก็ทำบุญฉลอง
พ.ศ. 2467 ท่านก็ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้น 1 องค์ขนาดกว้าง 5 เมตร 505 เซ็น ขนาดสูง 15 เมตร 89 เซ็นและท่านก็ได้สร้างโรงเรียนสามัญขึ้น 1 หลังขนาดกว้าง 12 ศอก(6 เมตร) ยาว 20 ศอก( 10 เมตร) เสาไม้แงะมุงฝาไม้ซางรวมการก่อสร้างมาได้ 1 ปี
พ.ศ. 2468 ก็ได้ทำบุญฉลองพร้อมกับพระธาตุและโรงเรียนสำเร็จเรียบร้อยแล้วท่านก็ออกไปเที่ยวและได้ไปตั้งวัดปางมอญ ตำบล อ่ายนาลัย อำเภอสา จังหวัดน่านได้ 7 พรรษาต่อจากนั้นท่านก็ได้ไปจำพรรษาอยู่วัดบ้านกวาง ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น อยู่ได้ 4พรรษาต่อจาดนั้นก็ได้ไปเที่ยวในจังหวัดต่างๆ อีก 2 พรรษาแล้วกลับมาบ้นเดิมมาจำพรรษาอยู่วัดร่องเย็น 1 พรรษาแล้วท่อนก็อาพาธด้วยโรคหัวใจโต มรณภาพที่วัดห้วยหม้ายตามเดิม มรณภาพเมื่อพ.ศ. 2484 ในระยะท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดห้วยหม้ายได้ 14 พรรษานับตั้งแต่ท่านอุปสมบทมาได้ 35 พรรษา รวมทั้งสิ้นอายุของท่านได้ 68 ปี

ประวัติท่านพระครูพรหมธีระคุณ พรหฺมโร
8.พ.ศ.2469 ท่านพระครูพรหมธีระคุณ ฉายา พรหฺมธีโร นามเดิมว่า ก๋วน เกิดที่บ้นร่องถ่าน หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ บิดาชื่อ นายคำ มารดาชื่อ นางสุข ร่องสองคำ เกิดเมื่อ พ.ศ.2441 ปีกุล มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 คน เป็นชาย 2 คน เป็นหญิง 2 คน  คนที่ 1 เป็นหญิง ชื่อ แก้ว คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ กุย ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนที่วัดห้วยหม้าย จนได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดห้วยหม้าย พระอุตมาเป็นพระอุปัชฌาย์ อยู่ปฏิบัติจนอายุได้ครบ 21 ปี ก็ได้อุปสมบท แล้วไปจำพรรษาอยู่วัดห้วยขอน 1 พรรษา ก็ได้ลาสิกขาไปเสีย คนที่ 3 เป็นหญิง ชื่อนางชิว คนที่ 4 เป็นชายชื่อ ก๋วน นายก๋วนนี้พอเกิดมาได้ 2 ปี มารดาก็ถึงแก่กรรม บิดาก็ไปเอาภรรยาใหม่อีกคนหนึ่งมีบุตรอีก 1 คน เป็นหญิง รวมมีพี่น้องด้วยกัน 5 คน ต่อจากนั้นมา นายก๋วนมี อายุได้ 16 ปี แล้วก็เข้าไปเป็นเด็กวัดห้วยหม้าย ได้ศึกษาเล่าเรียนภาษาไทย และภาษาพื้นเมือง ภาษาไทยสอบได้ประถมปีที่ 2 มีสามเณรผลัดเป็นครูสอน ส่วนภาษาพื้นเมืองมีครูบาอุตมา เจ้าอธิการวัดห้วยหม้ายเป็นผู้สอนได้ 2 ปี พออายุได้ 18 ปี พ.ศ.2459 ท่านก็ได้บรรพชาบวชเป็นสามเณร ครูบาอุตมาเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชเป็นสามเณรอยู่ได้ 5 พรรษา พ.ศ.2463 ท่านก็ได้อุปสมบทอยู่ที่วัดห้วยหม้าย มีพระพรหมเทพ วัดเสี้ยว(เทพสุรินทร์ปัจจุบัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระคูอินตา วัดเสี้ยว(เทพสุรินทร์ปัจจุบัน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ท่านปฏิบัติรองท่านครูบามาได้ 6 พรรษา ถึงพ.ศ. 2469 ท่านครูบาอุตมาท่านทำบุญฉลองเจย์ดี เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ลาตัวไปเที่ยวนมัสการวัดต่างๆ อีกได้ 3 ปี แล้วท่านก็มอบภาระวัดให้พระก๋วนรักษาการอยู่ได้ 3 ปี
พ.ศ.2471 ท่านเจ้าคุณมหาเมธังกร เจ้าคณะคณะจังหวัดแพร่ วัดน้ำคือ(เมธังฆราวาส) กับท่านพระครูสุนทรสิกขวัฒน์(พระครูจันทร์) เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอสอง ท่านนเห็นว่าวัดห้วยหม้ายขาดพระอธิการไม่มีใครจะมาอยู่ควบคุมพระภิกษุสามเณรต่อไป ท่านก็ได้ออกตั้งให้ท่านพระก๋วนเป็นพระอธิการแทนตั้งแต่พ.ศ.2471 เป็นต้นมา
พ.ศ.2471 ปีเดียวกัน ท่านเจ้าคุณมหาเมธังกร พระราชทานผูกวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2417 เดือน 8 เหนือขึ้น 1 ค่ำ พัทธสีมาวัดห้วยหม้ายได้แล้วแต่ให้รั้งไว้ไม่ให้ผูกเป็นเวลา 7 ปี (ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 3471)
พ.ศ. 2472 ท่านได้ลื้อหลังคาหลังเก่าเสียทั้ง 3 หลัง แล้วท่านได้นำศัทธาสร้างศาลาหลังใหม่ 2 หลัง เป็นระเบียงติดกำแพง ห้องที่ 1 กว้าง 3 วา (6 เมตร) ยาว 12 วา (24 เมตร) มุงด้วยหญ้าคา  หลังที่ 2 กว้าง 3 วา (6 เมตร) ยาว 9 วา (18 เมตร)  หลังคามุงด้วยหญ้าคา เสาไม้แงะ ทำขึ้นเมื่อเดือน 4 เหนือ ในเดือนเดียวกันต่อมาได้สร้างหอกลองขึ้นอีก 1 หลังขนาดกว้าง 2 วา 2 ศอก (5 เมตร) ยาว 3 วา (6 เมตร) เสาไม้แงะมุงด้วยกระเบื้องไม้สัก
พ.ศ. 2473 ท่านได้รื้อกุฏิหลังเก่าก็ได้นำศรัทธาสร้างกุฏิใหม่อีก 1 หลังขนาดกว้าง 3 วา (6 เมตร) ยาว 8 วา (16 เมตร) เสาไม้แงะกระดานพื้นสักและไม้รังกระดานฝาไม้เสาหลังคามุงกระเบื้องไม้สัก พ.ศ. 2475 ได้สร้างครัวไฟ 1 หลัง ขนาดกว้าง 2 วา (4 เมตร) ยาว 3 วา (6 เมตร) เสาไม้แงะกระดานพื้นไม้รังและไม้แดง ฝากระดานไม้สัก หลังคามุงกระเบื้องไม้สัก
พ.ศ. 2475 ปีเดียวกันได้ทำชานต่ออีกหลังมุขหน้าบันไดขึ้นด้านตระวันออกก่อด้วยอิฐถือปูน ทิศตะวันตกอีก 1 หลังขนาดกว้าง 2 วา (4 เมตร) ยาว 4 วา (8 เมตร) เสาไม้แงะมุงสังกะสี  ต่อมาปลายปีได้นำศรัทธาสร้างกุฏิขึ้นอีก 1 หลังขนาดกว้าง 2 วา (4 เมตร) ยาว 7 วา (14 เมตร) มีเพไลรอบ 2 ด้าน เสาไม้แดง ฝาไม้สัก กระดานพื้นไม้สักหลังคามุงกระเบื้องไม้สัก
พ.ศ. 2476 เมื้อวันที่ 2 มิถุนายน ได้รับตราตั้งเป็นกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนและได้รับตราตั้งเป็นพระอนุสาวนาจารย์คู่กับพระอธิการก๋วน วัดห้วยขอนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2476
พ.ศ. 2477 ท่านก็ได้ศรัทธากำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  และคณะครูมีอาจารย์ อ่วม  โพทา ได้ขอไม้แดง  ไม้กระแบก  ไม้สัก  ไม้แผ่จากนายห้างบริษัทหลุย  มาสร้างโรงเรียนขึ้นหลังหนึ่งขนาดกว้าง 4 วา( 8เมตร ) ยาว9 วา ( 18 เมตร )  เสาไม้แดง  กระดานพื้นไม้กระแบก  กระดานฝาไม้สักล้วน  หลังคามุงกระเบื้องไม้สัก  มีขมุออกกลางบันไดสองข้าง
พ.ศ. 2478 ได้เป็นประธานนำคณะศรัทธาวัดห้วยหม้ายผูกพัทธสีมา 10 พ.ค. พ.ศ.2478
พ.ศ. 2479 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูชั้นประทวน ตราตั้งที่ 41\2479 แล้วทำการวางรากฐานใหม่ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. พ.ศ.2483
พ.ศ.2486 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยหม้าย
พ.ศ.2490 ได้สร้างบ่อน้ำ 1 บ่อ สิ้นเงิน 300 บาท โดยท่านบริจาคเอง
พ.ศ.2496 ได้สร้างบ่อน้ำอีก 1 บ่อ โดยท่านบริจาคเอง
พ.ศ.2498 ได้เป็นประธานสร้างหอกลอง 1 หลัง ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร หลังคามุงกระเบื้องไม้สัก
พ.ศ.2499 ได้เป็นประธานวางรากฐานกำแพง 4 ด้าน รอบวัด สูง1.50 เมตร และก่อพระพุทธรูปอีก 2 องค์
พ.ศ.2500 ได้เป็นประธานสร้างระเบียง 3 หลัง หลังที่ 1 กว้าง 4.25 เมตร ยาว 35 เมตร หลังที่ 2 กว้าง 4.25 เมตร ยาว 24.25 เมตร หลังที่ 3 กว้าง 4.25 เมตร ยาว 12 เมตร และได้ทำบุญฉลอง พร้อมด้วยพระวิหาร ท่านบริจาคเอง 5,300 บาท
พ.ศ.2503 ได้เป็นประธานศิษยานุศิษย์ และทายกทายิกา วัดห้วยหม้ายไปสร้างงศาลาที่พระธาตุจอมจันทร์ 1 หลัง ขนาดกว้าง 4.25 เมตร ยาว 10 เมตร และได้เป็นหัวหน้าพร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครูโรงเรียนวัดห้วยหม้าย และทายกทายิกา สร้างโรงเรียนประชาบาล เพิ่มอีก 1 หลัง เนื่องจากอาคารเรียนหลังเก่าไม่พอ ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร
พ.ศ.2504 ได้เป็นประธานสร้างน้ำบ่อที่พระธาตุจอมจันทร์ 1 บ่อ พร้อมด้วยโรงอาบน้ำกว้าง 1.50 เมตร ยาว 2 เมตร
พ.ศ.2505 ได้สร้างพระวิหาร พระธาตุหนองจันทร์
พ.ศ.2505 ได้สร้างหอกลองบูชาพระธาตุหนองจันทร์ 1 หลัง ขนาดกว้าง 2.25 เมตร ยาว 4 เมตร พร้อมกลองบูชา 1 ชุด
ด้านการพัฒนา
ได้ทำความเจริญเข้าสู่หมู่บ้านห้วยหม้ายหลายประการ คือ
พ.ศ. 2483
1. ได้ร่วมมือกำนันผู้ใหญ่บ้าน กรรมการวัด ทายก ทายิกกา ในหมู่ศรัทธาวัดห้วยหม้าย ตัดถนนสายบ้านร่องถ่านไปต่อถนนบ้านทุ้งน้าว 1 สาย ระยะยาว 200 เมตรเศษ
2. ได้บูรณะซ่อมแซมถนนสายบ้านร่องถ่านสายใหญ่ไปถึงวัด ระยะยาว 1 กิโลเมตร
3. ร่วมมือกันตัดถนนจากวัดเข้าบ้านป่าคาถึงบ้านร่องเย็นยาว 1 กิโลเมตร
4. ร่วมมือผู้ใหญ่บ้าน และกรรมการวัด ตัดถนนสายใหญ่จากบ้านห้วยหม้ายไปถึงทุ่งแค้วเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ
5. ได้ร่วมมือกับผู้ใหญ่บ้านและกรรมการวัด ตัดถนนซอยสายหน้าหมู่บ้านห้วยหม้ายยาว 1 กิโลเมตร และยังได้เป็นหัวหน้าร่วมไม้ร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการวัด และคณะศรัทธาวัดห้วยหม้ายได้สร้างสะพานหลายแห่งคือ
5.1 พ.ศ. 2496 สะพานข้ามห้วยขอนกว้าง 4 เมตร ยาว 10 เมตร ใช้เงินบำรุง ท้องที่ 803 บาท เงินส่วนตัว 137 บาท
5.2 สะพานข้ามร่องกลาง ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร
พ.ศ. 2503
ได้สร้างสะพานข้ามร่องถ่าน ไปต่อสายทุ่งน้าวกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร และได้เป็นหัวหน้านำศรัทธาบ้านร่องถ่านหมู่ที่ 2 สร้างศาลาพักป่าช้าบ้านร่องถ่าน 1 หลัง กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร และได้เป็นหัวหน้าสร้างศาลาพักป่าช้าบ้านห้วยหม้าย หมู่ที่ 5 จำนวน 1 หลัง กว้าง 4 เมตร ยาว 9 เมตร และได้สร้างบ่น้ำสาธารณะ 1 บ่อ โดยใช้เงินบำรุงท้องที่ 1,000 บาท
พ.ศ. 2504
ได้เป็นประธานร่วมมือกับกำนันผู้ใหญ่บ้านและทายก ทายิกกาสร้างสะพานข้ามห้วยหม้าย ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 30 เมตร โดยใช้เงินบำรุงท้องที่ 200 บาท เงินส่วนตัวท่านบริจาคเอง 200 บาท ต่อจากนั้นท่านก็ไดอัมพาตมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 จนมาถึง วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2514 ท่านก็ได้มรณภาพเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2514 ในเดือน 6 เหนือ เวลา 10.00 น.
4. ต่อจากนั้นก็ได้มีพระครูสุวรรณธรรมกร  เจ้าคณะอำเภอสองได้แต่งตั้งให้พระจรัส วุฑฺฒฺธมฺโม รองเจ้าอาวาสวัดห้วยหม้าย รักษาการแทน ตั่งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2514

ประวัติพระครูไพโรจน์วุฒิกร วุฑฺฒิธมฺโม
เจ้าอาวาสวัดห้วยหม้าย เจ้าคณะตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ชาติภูมิ พระครูไพโรจน์วุฒิกร (เจ้าอธิการจรัส วุฑฺฒิธมฺโม) เป้ฯบุตรคนที่ 6 ของนายจันทร์ นางแลบ ผิวหม้าย เกิดวันพุทธที่ 4 เหนือ ขึ้ 7 ค่ำ เวลา 23.15 น. วันที่ 15 กันยายน 2467 เกิด ณ บ้านห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่
การศึกษา
พ.ศ. 2475 อายุได้ 8 ปี ได้เข้าโรงเรียนวัดห้วยหม้าย
พ.ศ. 2478 อายุได้ 11 ปี สอบได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดห้วยหม้าย แล้วเข้าเรียนต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนวัดห้วยหม้าย แต่ไม่ได้สอบ เพราะทางการยุบโรงเรียนชั้นประถมที่ 5 เสีย
พ.ศ. 2482 – 2483 ได้เข้าศึกษาภาษาพื้นเมืองที่วัดห้วยหม้ายโดยท่านพระครูพรหมธีระคุณ เจ้าอาวาสวัดห้วยหม้าย เจ้าคณะตำบลห้วยหม้ายในขณะนั้นเป็นครูสอน
พ.ศ. 2484 บรรพชา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ณ วัดห้วยหม้าย ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ พระอุปัชฌาย์ พระครูพุทธิมาศึกษากร วัดทุ่งน้าว ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่
พ.ศ. 2488 อุปสมบทเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2488 ณ พัทธสีมาวัดห้วยหม้าย ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ พระอุปัชฌาย์ พระครูพุทธิมาศึกษากร วัดทุ่งน้าว ตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ พระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการคำ วัดหนุนใต้ พระอนุสาวนาจารย์ เจ้าอธิการวรรลบ วัดศรีมูลเรือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
วิทยฐานะ
พ.ศ. 2438 สำเร็จชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนวัดห้วยหม้าย (หมายประชากรณ์)
พ.ศ. 2485 สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. 2494 สอบได้นักธรรมชั้นโท
พ.ศ. 2438 สอบได้นักธรรมชั้นเอก
งานปกครอง
พ.ศ. 2511 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดห้วยหม้าย ตราตั้งที่ 26/2511
พ.ศ. 2511 ได้รับตราตั้งครูสอนโรงเรียนนักธรรม
พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าคณะตำบลห้วยหม้าย ตราตั้งที่ 2/2515
พ.ศ. 2520 เป็นเจ้าคณะตำบลบ้านหนุน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ตราตั้งที่ 6/2520
พ.ศ. 2520 ได้รับสมณะศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศ
งานเผยแผ่
พ.ศ. 2490 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนนักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. 2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนนักธรรมชั้นโท เริ่มทำการสอนทุกปี
พ.ศ. 2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ และได้อบรมพระภิกษุสามเณรศรัทธาประชาชนอยู่ตลอด
งานวาธารณูปการ
1. พ.ศ. 2488 เป็นรองเจ้าอาวาส สร้างอุโบสถขึ้นที่วัดห้วยหม้าย 1 หลัง ขนาดกว้าง 11 เมตร ก่อสร้างอิฐถือปูน เสาหล่อด้วยคอนกรีต เสริมเหล็ก หลังคามุงกระเบื้องซีเมนต์ ใช้งบในการก่อสร้าง 130,000 บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
2. พ.ศ. 2499 เป็นรองประธานสร้ากำแพงรอบวัดทั้ง 4 ด้าน ยาว 336 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 6,300 บาท (หกพันสามร้อยบาทถ้วน)
3. พ.ศ. 2500 เป็นรองประธานสร้างศาลารอบวัด 3 ด้าน ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 85 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 6,300 บาท (หกพันสามร้อยบาทถ้วน)
4. พ.ศ. 2508 เป็นรองประธานสร้ากุฏิขึ้น 1 หลัง เป็นอาคาร 3 ชั้น สร้างด้วยอิฐถือปูน เสาหล่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 30 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 654,876.75 บาท (หกแสนห้าหมื่นสี่พันแปดร้อยเจ็ดสิบหกบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์) บริจาคส่วนตัว 2,500 บาท
5. มีการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เช่น  ช่วยเหลือคนยากจน ประชาชนประสบภัยต่าง ๆ เช่นอัคคีภัย อุทกภัย เป็นต้น
6. มีการพัฒนาวัดได้ขอความร่วมมือพระภิกษุ สามเณรและศิษย์วัดช่วยพัฒนาวัด เช่น ปลูกไม้ดอก และทำความสะอาดสถานที่เป็นประจำ
งานพิเศษ
1.  พ.ศ. 2495 เป็นกำลังช่วยเหลือในการสร้างสะพานข้ามห้วยขอน – ห้วยหม้าย ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 10,500 บาท (หนึ่งหมื่นห้าร้อยบาทถ้วน)
2.  พ.ศ. 2505 เป็นกำลังสร้างโรงเรียนหลังที่ 2 ของโรงเรียนวัดห้วยหม้าย ขนาดกว้าง 8 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 60,000 บาท (หกแสนบาทถ้าน)
3.  พ.ศ. 2506 เป็นกำลังสร้างศาลาขึ้ที่พระธาตุจอมจันทร์ 1 หลัง ลักษณะปั้นหยก ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน)
4.  พ.ศ. 2511 เป็นผู้นำหาเงินซื้อที่ดินเพื่อสร้างอาคารโรงเรียนวัดห้วยหม้าย เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 24,000 บาท (สองหมื่นสี่พันบาทถ้วน) บริจาคส่วนตัว 500 บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)
5.  พ.ศ. 2519 ได้สร้างศาลาทรงไทยพักร้อนขนาดกว้าง 5.50 เมตร ยาว 7.35 เมตร งบประมาณส่วนตัว 7,100 บาทถ้วน (เจ็ดพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)
6.  พ.ศ. 2520 สร้าถนนคอนกรีตบริเวณวัดห้วยหม้ายยาว 300 เมตร ขนาดกว้าง 6 เมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 15,700 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) เป็นงบประมาณส่วนตัว 12,316 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันสามร้อยสิบหกบาทถ้วน)
7.  พ.ศ. 2521 เป็นประธานในการซื้อที่ดินนายคำอ้าย แพทย์สมาน เนื้อที่ 2 งาน คิดเป็นเงินงานละ 7,000  รวม 14,000 บาท (หนึ่งหมื่นสี่พันบาทถ้วน)
8.  พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระธรรมทูต สายที่ 4 จนถึงปัจจุบัน ตราตั้งที่ ธ.4/421/2524
9.  พ.ศ. 2519 ได้เข้ารับการศึกษา และสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค แผนกศึกษาอบรมรุ่นที่ 1
10. พ.ศ. 2519 ได้ผ่านการพูดในชุมชมทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติของโรงเรียนอบรมพระธรรมกถึก ตราตั้งเลขที่ 109/2519
11. พ.ศ. 2522 ได้รับถวายความรู้ตามโครงการถวายความรู้แก่พระสังฆาธิการ ระดับเจ้าอาวาส
12. พ.ศ. 2522 เป็นกรรมการสนามหลวงแผนกธรรม
13. พ.ศ. 2523 เป็นประธานในการสร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง กว้าง 10 เมตร ยาว 31 เมตร
14. พ.ศ. 2526 เป็นประธานในการสร้างซุ้มประตูวัดด้านทงทิศเหนือ คิดเป็นงบประมาณ 40,000 บาท โดยหารทุนเอง
15. พ.ศ. 2526 วันที่ 13 ธันวาคม เป็นประธานในการสร้างศาลาทรงไทย ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 26 เมตร ที่ป่าช้าวัดห้วยหม้าย
16. พ.ศ. 2528 วัที่ 1 เมษายน เป็นประธานรื้อหลังคาวิหารเอากระเบื้องแป้นเกล็ดออกเอากระเบื้องเลือบสีใส่คิดเป็นเงิน 132,500 บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน) ยกช่อฟ้าใบระกาอีกคิดเป็นเงิน 84,000 บาท ค่าซ่อมหลังคา ช่อฟ้าใบระกาและทาสี เป็นเงิน 18,000 บาทรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 235,425 บาท (สองแสนสามหมื่นห้าพันสี่ร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน)
วันที่ 6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 อาศัยอำนาจตามความในข้อที่ 9 แห่งกฎมหาเถรสามคม ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2506) ว่าด้วยการแต่งตั้ง ถอดถอนพระอุปัชฌาย์ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 จึงแต่งตั้งให้พระครูไพโรจน์วุฒิกร วุฑฺฒิธมฺโม อายุ 66 ปี พรรษา วิทยฐานะ นักธรรมเอก วัดห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่
ปัจจุบันขณะนั้นมีตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะตำบลต้นหนุ่น ตราตั้งอุปัชฌาย์ที่ 36/2533
มรณภาพ
หลวงพ่อได้เริ่มอาพาธด้วยเกี่ยวกับความดันโลหิตสูง มีเลือดคลั้งอยู่ในสมองทำให้วูบและล้มในห้องน้ำ ศิษยานุศิษย์และคณะศรัทธาวัดห้วยหม้ายได้นำหลวงพ่อเข้ารับการรักษาพยาบาลกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จนอาการทุเลาและกลับมาพักฟื้นที่วัด แต่เนื้องจากหลวงพ่อท่านชราภาพประกอบกับมีโรคประจำตัวคือโรคกระเพาอาหาร และโรคเกี่ยวกับกระดูก ทำให้หลวงพ่ออาพาธอีกศิษยานุศิษย์ญาติโยมและศรัทธาวัดห้อยหม้ายได้นำท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแพร่ จนสุดความสามรถของแพทย์ แต่อาการไม่ดีขึ้น  ลูกหลาน ศิษยานุศิษย์และศรัทธาวัดห้อยหม้าย จึงได้นำท่านมาพักฟื้นที่วัด จนกระทั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2542 เวลา 14.08 น. ท่านได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ณ กุฏิ เจ้าอาวาสวัดห้วยหม้าย สิริรวมอายุ 75 ปี พรรษา 55

พระธาตุแตงเขียว โดยประมาณปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ - ๒๔๖๗ มีแม่หม้าชื่อว่านางจันทร์ คนบ้านร่องถ่านได้นำแตงไทยมาถวายหลวงพ่ออุตตะมา (เดิมชื่อกุย เป็นบุตรของพ่อหนานยะ นันทวงศ์ แม่ฟุ่น คนบ้านร่องถ่าน อุปสมบทเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๘ รับฉายาว่า อุตฺตโม แตงไทยลูกนี้เดิมนางตุ้ย (แม่หม้าย) คนบ้านร่องถ่านซึ่งทำไร่ปลูกถั่ว ปลูกแตงใกล้กับไร่นางจันทร์ต้นแตงจากไร่ของนางตุ้ยได้เลื้อยไปอยู่ในพื้นที่ไร่ของนางจันทร์ พอต้นแตงไทยออกลูกนางตุ้ยจึงบอกให้นางจันทร์เก็บผลแตงที่แก่แล้วไปถวายหลวงพ่อที่วัด
หลวงพ่ออุตตะมา เมื่อได้แตงไทยลูกนั้นมาแล้วจึงสั่งให้สามเณรภายในวัดผ่าแตงไทยลูกนั้น เพราะหลวงพ่อได้กลิ่นหอมของแตงไทยแต่สามเณรบอกว่าแตงไทยลูกนี้ยังไม่แก่เพราะยังเขียวอยู่ และยังไม่ได้กลิ่นของแตงหอมสุกเลยแถมเนื้อแตงยังแข็งอยู่ หลวงพ่อก็บอกว่าไม่เป็นไรรอมันสุกแล้วค่อยผ่าแตงมาถวาย สามเณรจึงเอาแตงลูกนั้นเก็บไว้ใต้เตียงของหลวงพ่อ
อีกสองสามวันหลวงพ่อได้กลิ่นหอมของแตงไทยจึงนำแตงไทยออกมาจากใต้เตียงแล้วนำพร้าผ่าแตงเพื่อฉันท์ แต่ปรากฎว่าพร้าผ่าแตงไม่เข้า ก็อัศจรรย์ใจจึงพิจารณาแตงไทยลูกนั้นเห็นว่ามีลักษณะเหมือนแตงทั่วไปแถมมีกลิ่นหอมเหมือนผลแตงที่สุกแล้ว จะแปลกตรงที่ผลแตกที่แข็งเอาหัวแม่มือกดลงบนผิวแตงก็ไม่บุ๋มลงไป เอาพร้าผ่าก็ไม่สามารถระคายผิวของแตงเลย ผิวแตงก็ออกสีเขียวหลวงพ่ออุตตะมาจึงแน่ใจว่าแตงไทยลูกนี้เป็นของกายสิทธิ์หรือทนสิทธิ์ เป็นของดีของศักดิ์สิทธิ์ควรจะสร้างองค์เจดีเพื่อบรรจุเอาไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาของประชาชนทั้งหลายในขณะที่หลวงพ่อให้ขุดดินสร้างฐานองค์เจดีอยู่นั้นมีสามเณรหวัน วงศ์ทำนา (ลูกของพ่อน้อยวงค์ แม่จ๋อย) ซึ่งเป็นคนบ้านร่องถ่านได้เก็บลูกหม่าก๊อ (ลูกทับทิม) ที่เกิดภายในวัดที่จะฉันท์พอสามเณรหวันกัดที่เปลือกลูกหม่าก๊อปรากฎว่ากัดไม่เข้าเอามีดผ่าก้ไม่เข้า จึงเอาลูกหม่าก๊อไปให้หลวงพ่ออุตตะมาหลวงพ่อก็บอกว่าดีแล้วจะได้นำมาบรรจุกับลูกแตงเขียวไว้ในองค์พระธาตุเจดีย์ แล้วจึงประกาศให้ศัทธาญาติโยมทราบว่าใครมีของดีหรือของมีค่าที่จะร่วมบรรจุในองค์พระธาตุเจดีย์นี้ก็ให้เอามาใส่ในหม้อมังกรโบราณแล้วเอาฆ้อง (ตอง) เป็นฝาหม้อปิดไว้ส่วนหม้อที่บรรจุแตงเขียว และหม่าก๊อนั้นหลวงพ่ออุตตะมาจะบรรจุเองมีพ่อออกบ้านลูนิเกตุซึ่งสนิทกับหลวงพ่อสั่งไว้ว่า หากจะเอาบรรจุอย่าลืมบอกกันด้วยจะได้ดูส่วนของมีค่าอื่น ๆ ที่ญาติโยมนำมาถวายเพื่อจะเอาบรรจุในองค์พระธาตุเจดีนั้นหลวงพ่อก็ให้ญาติโยมพากันนอนเฝ้าพอรอฤกษ์เวลาบรรจุในองค์พระธาตุ พอใกล้เวลาสว่างหลวงพ่ออุตตะมาก็เอาหม้อที่บรรจุแตงเขียวกับลูกหม่าก๊อ ไปบรรจุในพระธาตุเพียงรูปเดียวพอสว่าฤกษผานาทีแล้วประกาศให้ธาตโยงช่วยกันนำของมีค่าต่าง ๆ  ที่นำมาถวายเอามาบรรจุในองค์พระธาตุพ่อออกบ้านลูนิเกตไม่เห็นหม้อที่บรรจุแตงเขียวกับหม่าก๊อ จึงถามหลวงพ่อ พอทราบว่าหลวงพ่อได้บรรจุในองค์พระธาตุก่อนแล้วก็บ่นในทำนองน้อยใจว่าทำไมไม่เรียกกันบ้างหลวงพ่อจึงบอกว่าไม่อยากรบกวนคนกำลังหลับนอน

เมื่อสร้างองค์พระธาตุเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๘ หลวงพ่ออุตตะมาจึงได้ทำการฉลององค์พระธาตุ ชาวบ้านทั้งหลายจึงเรียกองค์พระธาตุ ชาวบ้านทั้งหลายจึงเรียกองค์พระธาตุนี้ว่า “พระธาตุแตงเขียว” เพราะได้เอาแตงเขียวบรรจุไว้ พระธาตุแตงเขียวนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มากมักมีศรัทธาญาติโยมเห็นดวงไฟสีเขียวพุ่งขั้นบนปลายยอดพระธาตุบ่อยๆโดยเฉพาะช่วงวันขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ ส่วนวันทำบุญสรงน้ำพระธาตุแตงเขียวนั้นจะจัดขึ้น ๑๕ เดือน ๙ หรือเดือน ๗ ใต้(ประมาณเดือนมิถุนายน) ของทุกปีซึ่งถือว่าเป้ฯวันประเพณีสรงน้ำพระธาตุแตงเขียวภายในวัดจะมีการเทศน์มหาชาติและนำน้ำอบ น้ำหอมขมิ้น ส้มป่อยสรงน้ำพระธาตุในช่วงตอนเย็น และมักมีปรากฎการณ์อัศจรรย์ตลอด เมื่อสรงน้ำพระธาตุแตงเขียวเสร็จฝนจะตก หากในวันก่อนฝนไม่ตกแต่หลังจากสรงน้ำพระธาตุแตงเขียวเสร็จแล้ว ฝนจะตกลงมา น้ำท่าจะบริบูรณ์
“ถ้าตนใดเคราะห็ร้าย หรือดวงไม่ดี ให้สร้างพระเข้าตัว (นำธรรมะเข้าตัว) สวดมนต์เป็นยาทา วิปัสสนาเป็นยากิน” พระราชสุธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 31 •มีนาคม• 2011 เวลา 16:55 น.• )