บ้านเหล่าแต่เดิมพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์มีป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณ ด้วยความเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีความหนาแน่นของไม้ และเถาวัลย์จึงเป็นเหตุให้เกิดความทึบความรกเป็นป่าเป็นเหล่า จึงเป็นที่มาของคำว่า “เหล่า” (เหล่าเป็น ภาษาถิ่นเหนือ) เนื่องด้วยการทำมาหากิน จึงได้มีกลุ่มคนได้นำสัตว์มาเลี้ยงและมีการทำไร่ทำนาและมีจำนวนมากขึ้นมีการจับจองที่ทำกินมีการสร้างห้างนาห้างไร่นานวันขึ้นก็ปลูกเป็นบ้านออย่างถาวร สันนิษฐานว่าการเข้ามาจับจองและอาศัยอยู่คงจะก่อนสมัยรัชกาลที่ ๖ สังเกตได้จากนามสกุลจะมีคำว่า เหล่าใหญ่,เหล่ากว้าง,เหล่าสูง,เหล่ากอเหล่ายาวและเหล่ากาวี ซึ่งพระราชบัญญัตินามสกุลได้ตราขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ การเข้ามาจับจองมีอยู่ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มเหล่าเหนือ กลุ่มเหล่าใต้ กลุ่มน้ำฮอก โดยกลุ่มเหล่าเหนือมีชื่อเรียกว่า เหล่าขามเครือ สาเหตุที่เรียกเพราะมีต้นมะขามขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากแต่ละต้นต้นมีกิ่งก้านยาวเลื้อยคล้ายเถาวัลย์พาดไปตามพื้นดิน กลุ่มเหล่าใต้ มีชื่อเรียกว่า เหล่าไฟไหม้

กลุ่มเหล่าเหนือ มีศูนย์รวมอยู่ที่วัดบ้านเหล่า ตั้งอยู่บริเวณสันป่าสักหรือวัดห่างในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑ และบ้านเหล่าหมู่ที่ ๔ มีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๖๖ ตารางวา โดยมีพระคำตั๋น สมหวัง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมา ๙ เมษายน ๒๔๕๐ ได้ย้ายไปอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน มีพื้น ๔ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา โดยมีชื่อว่า วัดสิทธิวิมล สาเหตุที่เรียก เรียกตามผู้สร้างคือพระสิทธิ สิทธิปญฺโญ(ครูบาธิ)และได้รับ วิสุงคามสีมา เมื่อ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๗๖

กลุ่มเหล่าใต้ มีศูนย์รวมอยู่ที่วัดพิชัยศิริ หรือเหล่าไฟไหม้ สาเหตุที่เรียกเหล่าไฟไหม้ ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ณ วัดพิชัยศิริเจ้าอาวาสวัดได้ผลิตดินปืนเพื่อใช้ทำบ้องไฟ ขณะทำการผลิตได้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ดิปืนสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ทำให้ไฟไหม้วัดหมดทั้งหลัง ผู้คนจึงเรียกเหล่าไฟไหม้

กลุ่มน้ำฮอก ตั้งอยู่ตามที่ราบริมลำน้ำเล็กๆสายหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ห้วยน้ำฮอก ( ฮอกเป็นภาษาถิ่นเหนือหมายถึงกระรอก ) สาเหตุที่เรียก ด้วยความเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่าชุกชุม หนึ่งในจำนวนนั้นก็มีกระรอกก็มีมาก ตามลำห้วยดังกล่าวก็มีกระรอกมาก จึงเรียกลำห้วยตามชื้อกระรอก (ห้วยน้ำฮอก)และเรียกชื่อหมู่บ้านว่าบ้านน้ำฮอก

ด้วยการเพิ่มของจำนวนประชากร ปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ กรมการปกครองจึงแต่งตั้งให้ พญาไชยยศ เป็นผู้ครองตำบลเป็นคนแรก และมีการแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๒ หมู่ คือ กลุ่มโซนเหนือ เรียกบ้านเหล่าหมู่ที่ ๑ โดยมี นายปั๋น รัตนวิมลชัย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก (ปัจจุบันแบ่งเป็น บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑,๔,๖,และ ๙ )กลุ่มโซนใต้ เรียกบ้านเหล่าหมู่ที่ ๒ โดยมี นายทอน มณีกาศ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก( ปัจจุบันแบ่งเป็นบ้านเหล่าหมู่ที่ ๒,๕,๗ และ ๘) กลุ่มโซนน้ำฮอก ยังขึ้นอยู่กับบ้านเหล่าหมู่ที่ ๒ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการแบ่งพื้นการปกครองออกอีกหนึ่งหมู่บ้านออกจากหมู่ที่ ๒ คือ บ้านน้ำฮอก หมู่ที่ ๓ โดยมี นายจีด กันทาวงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

ด้วยจำนวนประชากรมากขึ้นและเป็นการง่ายแก่การบริหารราชการของกรมการปกครองจึงแบ่งพื้นที่การปกครองของบ้านเหล่าหมู่ที่ ๑ ออกอีกหนึ่งหมู่ คือบ้านเหล่าหมู่ที่ ๔ โดยมี นายเหมี่ยน ประเทศ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก แบ่งหมู่ที่ ๒ อีกหนึ่งหมู่ คือ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๕ โดยมี นายสังวร สุทธคุณ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก แบ่งหมู่ที่ ๑ ออกอีก หนึ่งหมู่ เรียกกว่าบ้านเหล่าหมู่ที่ ๖ โดยมี นายสวัสดิ์ ปัญญาพวก เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก แบ่งบ้านเหล่าหมู่ที่ ๒ ออกอีกหนึ่งหมู่ คือบ้านเหล่าหมู่ที่ ๗ โดยมี นายเย็น เชื้อวงศ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก แบ่งบ้านเหล่าหมู่ที่ ๕ ออกอีกหนึ่งหมู่ คือ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๘ โดยมี นายนิยม เสียงดัง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก และแบ่งบ้านเหล่าหมู่ที่ ๔ ออกอีกหนึ่งหมู่ คือบ้านเหล่าหมู่ที่ ๙ โดยมี นายสมาน ข่มอาวุธ เป็นผู้ใหญ่คนแรก ปัจจุบันตำบลบ้านเหล่ามี ๙ หมู่บ้าน

ที่ตั้งและอาณาเขต ตำบลบ้านเหล่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอสูงเม่น มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านกาศ,ตำบลบ้านกวาง อำเภอ สูงเม่น ,ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลดอนมูล,ตำบลหัวฝายอำเภอ สูงเม่น ,ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ,ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลดอนมูล,ตำบลหัวฝาย ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่ม ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร มีภูเขาอยู่ทางทิศตะวันออก มีชลประทานแม่ยมผ่านจากทิศเหนือไปทิศใต้และชลประทานอ่างแม่มานจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือ แม่น้ำ มีลำน้ำแม่สายไหลผ่านเป็นแนวเขตระหว่างตำบลบ้านเหล่ากับตำบลบ้านกวางและระหว่างตำบลบ้านเหล่ากับตำบลบ้านกาศ อาชีพและการประกอบอาชีพ ประชากรในตำบลบ้านเหล่าส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยอาศัยน้ำจากชลประทานแม่ยม,ชลประทานแม่มาน,น้ำแม่สายแม่ก๋อนและเจาะบ่อน้ำตื้นส่วนตัวในทุ่งนาประกอบด้วย ๑. การทำนา ทำกันทั่วไป ปลูกข้าวเหนียวและข้าวเจ้า ๒. การทำไร่ มีการปลูกยาสูบ,ถั่วเหลือง,ข้าวโพด,ถั่ว,กระเทียม,ผักกาดเขียวปลี,กะหล่ำปลีกะหล่ำดอก,ผักกวางตุ้งแตงกวาแตงไทย,ผักคะน้า,สวนหน่อไม้เพาะ ฯลฯ ๓. การเลี้ยงเลี้ยง มีการเลี้ยงไก่ เป็ด ภายในครัวเรือน ๔. การทำเฟอร์นิเจอร์ จากไม้จามจุรี ในพื้นที่หมู่ที่ ๒,๕,๗,๘ ๕. การหาของป่าในพื้นที่หมู่ที่ ๓ ตามฤดูกาล เช่น หาหน่อไม้,เก็บผักหวาน,หาไข่หมดแดงและเห็ด ๖. การประกอบอาชีพส่วนตัวตามฤดูกาล เช่น เหมาสวนมะขามหวาน,เหมาสวนลำไย ๗. ค้าขายและรับจ้างทั่วไป การปกครอง ตำบลบ้านเหล่ามีนายพิชัย เหล่ากาวี เป็นกำนันคนแรก แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๙ หมู่บ้าน และมีหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหล่า ใน ๙ หมู่บ้านนี้ แบ่งเป็นโซนตามลักษณะพื้นที่ เป็น ๓ โซน คือ

๑. โซนบ้านเหล่าเหนือ ประกออบด้วย หมู่ที่ ๑,๔,๖,๙ มีศูนย์รวมทางศาสนาอยู่ที่ วัดสิทธิวิมล โดยมีเจ้าอาวาสรูปแรกชื่อ พระคำตั๋น สมหวัง มีโรงเรียนวัดสิทธิวิมล(สุวรรณราษฎร์ปัญญา)เป็นพื้นที่บริการด้านการศึกษา โดยมี นายเจริญ วงศ์สว่าง เป็นครูใหญ่คนแรก

๒. โซนใต้ มีหมู่ที่ ๒,๕,๗,มีศูนย์รวมทางศาสนาอยู่ที่ วัดพิชัยศิริ โดยมีเจ้าอาวาสรูปแรกชื่อ พระสุปินะ มีโรงเรียนบ้านเหล่า เป็นพื้นที่บริการ โดยมี นายหวัน เหล่ากาวี เป็นครูใหญ่คนแรก

๓. โซนน้ำฮอก หมู่ที่ ๓ มีศูนย์รวมทางศาสนา คือ วัดมณีอรัญญิการาม โดยมีเจ้าอาวาสรูปแรกชื่อ

๔. พระขันแก้ว ธมฺมโร มีโรงเรียนบ้านน้ำฮอก อยู่ในเขตพื้นที่บริการด้านการศึกษา โดยมี นายประสงค์ ศิริวาท เป็นครูใหญ่คนแรก

หน่วยงานราชการ

๑. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเหล่า ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๘

๒. โรงเรียนระดับประถมศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

๒.๑ โรงเรียนวัดสิทธิวิมล(สุวรรณราษฎร์ปัญญา) ตั้งอยู่พื้นที่หมู่ที่ ๑ พื้นที่บริการได้แก่ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑,๔,๖,๙

๒.๒ โรงเรียนบ้านเหล่า( พิชัยศิริราษฎร์รังสรรค์) ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๗ พื้นที่บริการได้แก่ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๒,๕,๗,๘

๒.๓ โรงเรียนบ้านน้ำฮอก(รัฐราษฎร์วิทยา)ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๓พื้นที่บริการได้แก่ บ้านน้ำฮอกหมู่ที่๓

๒.๔ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ที่ ๓

๒.๕ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ที่ ๕

๒.๖ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมู่ที่ ๙

๓. ที่ทำการตำรวจชุมชน หนึ่งแห่ง ตั้งอยู่พื้นที่

สถานที่สำคัญทางศาสนา ประกอบด้วย

๑. วัดสิทธิวิมล ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ ๑ (บ้านเหล่าเหนือ)

๒. วัดพิชัยศิริ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๕ (บ้านเหล่าใต้)

๓. วัดมณีกาศอรัญญิการาม ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๓(บ้านน้ำฮอก)

จำนวนประชากร มีจำนวนครัวเรือน ๑,๙๘๗ ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้น ๕,๔๙๓ คน เป็นชาย ๒,๖๕๒ คน เป็นหญิง ๒,๘๔๑คน ( ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนอำเภอสูงเม่น ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ) ขนบธรรมเนียมประเพณี

๑. งานไหว้สาเจ้าแม่เทวดา บริเวณจัดอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๔ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๔ ใต้ ( เดือน ๖ เหนือ ) เจ้าแม่เทวดา เดิมชื่อว่า แม่ใหญ่มา เป็นคนลาวที่เดินทางเข้ามาอยู่อาศัยในหมู่บ้านเหล่า ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า แม่ใหญ่มาลาว แม่ใหญ่มาลาวเป็นหมอตำแยประจำหมู่บ้านเหล่าเหนือ แต่ท่านไม่ชอบให้เรียกชื่อนี้ คณะลูกหลานในปัจจุบันจึงเรียกนามใหม่ว่า เจ้าแม่เทวดา และตั้งศาลไว้เป็นที่สักการะและมีงานประเพณีบวงสรวงทุกปี

๒. การตีกลองปู่จา เป็นศิลปวัฒนธรรมด้านดุริยางคศิลป์ของวัดสิทธิวิมล ที่คงเหลือสืบทอดมาถึงปัจจุบันนี้ คือ การตีกลองปู่จาและกลองสะบัดชัย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัด

๓. การเลี้ยงผีน้ำตกตาดซาววา ในพื้นที่บ้านน้ำฮอกหมู่ที่ ๓ ซึ่งตรงกับขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ ( ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ใต้ ) ซึ่งในสมัยก่อนพื้นที่ตำบลบ้านเหล่าไม่มีชลประทาน โดยเฉพาะเขตโซนใต้ หมู่ที่ ๒,๓,๕,๘ อาศัยน้ำจากห้วยน้ำฮอก ห้วยน้ำฮอกนี้มีน้ำตกซึ่งเรียกตามภาษาถิ่นเหนือ ว่าตาดซาววา ( ซาว หมายถึง ยี่สิบ คือความสูงของน้ำตก ยี่สิบวา )

๔. การเลี้ยงผีฝายแม่หม้าย ตั้งอยู่ในตำบลบ้านกวาง เป็นฝายกั้นน้ำแม่สายเข้ามาใช้ในด้านการเกษตรกรรมของ ตำบลบ้านเหล่าและบ้านกาศ

ปราชญ์ชาวบ้าน

๑. นายนัก ศรีธิวงศ์  ด้าน ดนตรีไทย ( เป่าปี ) บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑

๒.นายจำเริญ มณีกาศ  ด้าน จักสาน,ทำกระบวยมะพร้าว บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑

๓.นายชม สายซอ  ด้าน ตัดผมชาย บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑

๔.นายประสิทธิ สั่งสอน ด้าน ช่างไม้ พิธีกรประจำหมู่บ้าน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๒

๕.นายเถื่อน สีสด  ด้าน แกะสลัก จักสาน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๓

๖.นายเป็ง สีสด  ด้าน หมอพื้นบ้าน, เขียนอ่านตั๋วเมือง บ้านเหล่าหมู่ที่ ๓

๗.นายอินแปลง เวียงสาม ด้าน ไสยยาศาสตร์ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๕

๘. นายสุพัฒน์ สายยืด  ด้าน หมอพื้นบ้าน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๖

๙. นายปัน เหล่ากาวี  ด้าน มัคนายก,ไสยยาศาสตร์ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๖

๑๐. นายบุญมี ศรีจันทร์ ด้าน ดนตรีไทย ( สีสะล้อซอซึง ) บ้านเหล่าหมู่ที่ ๘

๑๑. นายอิ่นแก้ว สมหมาย ด้าน การแพทย์แผนไทย บ้านเหล่าหมู่ที่ ๙

๑๒. นายพอ ยองใย ด้าน มัคนายก บ้านเหล่าหมู่ที่ ๖

๑๓. นายผดุงไทย อุปนันชัย ด้าน การแพทย์แผนไทย(ยาแก้หมอสี) บ้านเหล่าหมู่ที่ ๙

ข้อมูลพื้นฐาน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑

๑. ที่ตั้ง บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ประมาณ ๗ กิโลเมตรและอยู่ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

๒. เนื้อที่ มีเนื้อที่ ประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่ หรือ ๒.๔ ตารางกิโลเมตร

๓. ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร

ปราชญ์ชาวบ้านหรือภูมิปัญญาชาวบ้านในหมู่บ้าน นายนัก ศรีธิวงส์ เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทย ( เป่าปี ) นายจำเริญ มณีกาศ เชี่ยวชาญด้าน จักสาน,ทำกระบวยมะพร้าว นายชม สายซอ เชี่ยวชาญด้าน การตัดผมชายซ่อมวิทยุ , ทีวี

๔. โครงสร้างชุมชนและจำนวนประชากร ลักษณะชุมชน มีเส้นทางคมนาคมติดต่อและขนส่งผลิตผลทางการเกษตรได้ตลอดทั้งปี มีภาษาถิ่นเป็นภาษาพูดมีขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพที่คล้ายคลึงกัน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม จำนวนประชากร ครัวเรือนทั้งหมด ๒๐๗ ครัวเรือน ประชากร ๖๕๖ คน แยกเป็นชาย ๒๖๔ คน หญิง ๓๐๑ คน

ข้อมูลพื้นฐาน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๒

๑. ผู้ให้ข้อมูล นางสุราณี สารตันติพงศ์ อายุ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๔๐ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่

๒. ชื่อหมู่บ้าน บ้านเหล่าใต้ หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศเหนือ ติด ตำบล ดอนมูล อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศใต้ ติด ตำบล ดอนมูล อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันออก ติด บ้านเหล่าหมู่ที่ ๗ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันตก ติด บ้านเหล่าหมู่ที่ ๓ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๓. ข้อมูลด้านการปกครอง เจ้าอาวาสวัดพิชัยรูปแรกของหมู่บ้านชื่อ พระสุปินะ ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านชื่อ นายทอน มณีกาศ กำนันคนแรกของตำบลชื่อ นายพิชัย เหล่ากาวี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเหล่าฯ คนแรกชื่อ นายหวัน เหล่ากาวี

๔. ลักษณะทางกายภาพ ที่ตั้ง บ้านเหล่าหมู่ที่ ๒ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่นไปทางทิศเหนือประมาณ ๔ กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เนื้อที่ มีเนื้อที่โดยประมาณ ๑,๘๙๕ ไร่ หรือ ๓.๐๒ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร

๕. ปราชญ์ชาวบ้านหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน นายประสิทธิ์ สั่งสอน อายุ ๖๘ ปี เชี่ยวชาญด้าน ช่างไม้,ก่อสร้าง,พิธีกรประจำหมู่บ้าน

๖. โครงสร้างชุมชนและจำนวนประชากร บ้านเหล่าใต้ หมู่ที่ ๒ ลักษณะชุมชนเป็นแบบเครือญาติใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาพูดมีขนบธรรมเนียมประเพณีและการประกอบอาชีพคล้ายคลึงกัน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร จำนวนประชากร ครัวเรือนทั้งหมด ๑๘๓ ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๕๕๐ คน ชาย ๒๖๐ คน  หญิง ๒๙๐ คน

ข้อมูลพื้นฐานบ้านเหล่า หมู่ที่ ๓

๑.  ผู้ให้ข้อมูล นายถนอม กันทาวงศ์ อายุ ปี อยู่บ้านน้ำฮอก หมู่ที่ ๓ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๒. ชื่อหมู่บ้าน บ้านน้ำฮอกหมู่ที่ ๓ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศเหนือของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๔,๙ ทิศใต้ของหมู่บ้านติดต่อกับ ตำบลหัวฝาย อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันออกของหมู่บ้านติดต่อกับ จังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๒ และตำบลดอนมูล อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๓. ข้อมูลด้านการปกครอง เจ้าอาวาสวัดมณีกาศอรัญญิการามรูปแรกของวัดชื่อ พระขันแก้ว ธมฺมโร ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านชื่อ นายจีด กันทาวงศ์ กำนันคนแรกของตำบลชื่อ นายพิชัย เหล่ากาวี ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนบ้านน้ำฮอก ชื่อ นายประสงค์ ศิริวาท

๔. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านน้ำฮอกเป็นหมู่บ้านที่อยู่ทางทิศใต้ของตำบล แรกเริ่มได้มีราษฎรกลุ่มหนึ่งจากบ้านม่วงเกษมตำบลบ้านกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัด แพร่ ได้นำสัตว์มาเลี้ยงและได้ทำการบุกเบิกจับจองที่ที่ดิน เพื่อทำไร่ทำนาและสร้างที่อยู่อาศัย เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๔ (นำโดย นายปุ๊ด มาตรแม้น,นายคำ ม่วงเหลือง,นายถี กาศสนุก,นายกุย มณีกาศ,นายวอน เนื้ออ่อน นายปัญญา สุทธคุณ และกลุ่มบ้านค่างามนำโดย นายสี กันทาวงศ์,นายสุข เวียงสาม,นายตา กันทาวงศ์ ,นายแด้ ไผ่ล้อม , นายฟอง กองชัย ,นายจันทร์ อู่เงิน , นายวัง สีสด กลุ่มบ้านเหล่านำโดย นายตุ้ย ศรีจันทร์ กลุ่มบ้านกาศ นำโดยนายนายใจ อุ่นกาศ รวมแล้วมี ๓๖ ครัวเรือน การคมนาคมติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงต้องใช้เส้นทางเดินตามคันนา ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จึงแยกการปกครองเป็นหมู่บ้าน เป็นหมู่ที่ ๓ ชื่อ บ้านน้ำฮอก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖

๕. ลักษณะทางกายภาพ ที่ตั้ง บ้านน้ำฮอกหมู่ที่ ๓ ตั้งอยู่ห่างที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ประมาณ ๑๔ กิโลเมตร เนื้อที่ มีเนื้อที่โดยประมาณ ๑,๐๑๕ ไร่ ภูมิประเทศ เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบเชิงเขา ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรกรรม โครงสร้างชุมชนและจำนวนประชากร ลักษณะชุมชน มีเส้นทางการคมนาคมติดต่อและขนส่งผลิตทางการเกษตรได้ตลอดทั้งปี มีชลประทานแม่มานผ่านทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน มีภาษาถิ่นเป็นภาษาพูด ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป จำนวนประชากร ครัวเรือนทั้งหมด ๒๐๗ ครัวเรือน จำนวนประชากร ๖๕๖ คน ชาย ๑๖๔ คน และหญิง ๓๐๑ คน

ข้อมูลพื้นฐาน บ้านเหล่า หมู่ที่ ๔

๑. ผู้ให้ข้อมูล นายวิเชียร รัตนวิมลชัย อายุ ๖๔ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๗๘/๒ หมู่ที่ ๔ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๒. ชื่อหมู่บ้าน บ้านเหล่าเหนือ หมู่ที่ ๔ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศเหนือติดต่อ  ตำบลบ้านกาศ อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศใต้ติดต่อ  บ้านเหล่าหมู่ที่ ๓ อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันออกติดต่อ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันตกติดต่อ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอ สูงแม่น จังหวัด แพร่ ๓. ข้อมูลด้านการปกครอง เจ้าอาวาสวัดสิทธิวิมล รูปแรกชื่อ พระคำตั๋น สมหวัง ผู้ใหญ่คนแรกของหมู่บ้านชื่อ นายเหมี่ยน ประเทศ กำนันคนแรกของตำบลชื่อว่า นายพิชัย เหล่ากาวี ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนสิทธิวิมล ชื่อ นายเจริญ วงศ์สว่าง

๓. ที่ตั้งหมู่บ้าน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๔ อยู่ห่างที่ว่าการอำเภอสูงเม่นทางทิศเหนือประมาณ ๗.๓๐๐ เมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร

ข้อมูลพื้นฐานบ้านเหล่า หมู่ที่ ๕

๑. ผู้ให้ข้อมูล นายบุญเลิศ บุตรคุณ อายุ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖๙ หมู่ที่ ๕ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๒. ชื่อหมู่บ้าน บ้านเหล่าใต้ หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๓.  ทิศเหนือติดต่อกับ บ้านเหล่า หมู่ที่ ๘ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่  ทิศใต้ของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๘ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันออกของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๘ ตำบลบ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันตกของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๗ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๔. ข้อมูลด้านการปกครอง เจ้าอาวาสวัดพิชัยรูปแรกชื่อ พระสุปินะ ผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายสังวรณ์ สุทธคุณ กำนันคนแรกของตำบลชื่อ นายพิชัย เหล่ากาวี ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนบ้านเหล่า ชื่อ นายหวัน เหล่ากาวี ๕. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๕ เดิมพื้นที่อยู่ในเขตหมู่ที่ ๒ ต่อมาจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น จึงแบ่งพื้นที่ออกเป็นบ้านเหล่าหมู่ที่ ๕

๕. ลักษณะทางกายภาพ ที่ตั้ง บ้านเหล่าหมู่ที่ ๕ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ประมาณ ๗ กิโลเมตรอยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร โครงสร้างชุมชนจำนวนประชากร ลักษณะชุมชนเป็นแบบเครือญาติประกอบอาชีพที่คล้ายคลึงกันส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร จำนวนประชากร ครัวเรือนทั้งหมด ๑๕๔ ครัวเรือน จำนวนประชากร ๕๑๕ คน ชาย ๒๔๖ คนและ หญิง ๒๖๙ คน

ข้อมูลพื้นฐาน บ้านเหล่า หมู่ที่ ๖

๑. ผู้ให้ข้อมูล นายถา สมหวัง อายุ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๖๙ หมู่ที่ ๖ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๒. ชื่อหมู่บ้าน บ้านเหล่าเหนือ หมู่ที่ ๖ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๓. ทิศเหนือของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศใต้ของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๘ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันออกติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๑ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันตกติดต่อกับ  ตำบลดอนมูล อำเภอ สูงเม่น จังหวัดแพร่

๔. ข้อมูลด้านการปกครอง  เจ้าอาวาสวัดสิทธิวิมล รูปแรกของหมู่บ้านชื่อ พระคำตั๋น สมหวัง ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านชื่อ นายสวัสดิ์ ปัญญาพวก กำนันคนแรกของหมู่บ้านชื่อ นายพิชัย เหล่ากาวี ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนสิทธิวิมล ชื่อ นายเจริญ วงศ์สว่าง

๕. ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๖ แต่เดิมตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ ๑ ด้วยความหนาแน่นของประชากร จึงแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็นบ้านเหล่าหมู่ที่ ๖

๖. ลักษณะทางการภาพ ที่ตั้ง บ้านเหล่าหมู่ที่ ๖ อยู่ห่างที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ประมาณ ๗ กิโลเมตรและอยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เนื้อที่ ๑,๘๗๖ ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ เป็นราบใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร โครงสร้างชุมชนและจำนวนประชาชน ลักษณะชุมชน ส่วนใหญ่มีต้นตระกูลมาจากที่เดียวกัน มีความผูกพันเป็นเครือญาติ ภาษาพูดใช้ภาษา ถิ่นเหนือ จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ๑๖๔ ครัวเรือน จำนวนประชากร ๖๑๑ คน ชาย ๓๐๖ คน และหญิง ๓๐๕ คน

ข้อมูลพื้นฐาน บ้านเหล่า หมู่ที่ ๗

๑. ผู้ให้ข้อมูล นายธนาเทพ กาศเกษม อายุ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๘๐/๓ หมู่ที่ ๗ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๒. ชื่อหมู่บ้าน บ้านเหล่าใต้ หมู่ที่ ๗ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศเหนือของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๕ ทิศใต้ของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านดอนแท่น หมู่ที่ ๒ ตำบลดอนมูล ทิศตะวันออกของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านน้ำฮอกหมู่ที่ ๓ ทิศตะวันตกของหมู่บ้านติดต่อกับตำบลดอนมูล อำเภอสูงเม่น จังหวัด แพร่

๓. ข้อมูลด้านการปกครอง เจ้าอาวาสวัดพิชัย รูปแรกของวัดชื่อ พระสุปินะ ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านชื่อ นายเย็น เชื้อวงศ์ ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนบ้านเหล่าฯ ชื่อ นายหวัน เหล่ากาวี กำนันคนแรกของตำบลชื่อ นายพิชัย เหล่ากาวี

๔. ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน เดิมบ้านเหล่าหมู่ที่ ๗ อยู่ในพื้นหมู่ที่ ๒ ด้วยความหนาแน่นของประชากร ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงได้ทำการแบ่งพื้นการปกครองออกเป็นอีกหมู่บ้าน คือ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๗

๕. ลักษณะทางกายภาพ ที่ตั้ง บ้านเหล่าหมู่ที่ ๗ อยู่ห่างที่ว่าการอำเภอสูงเม่นไปทางทิศเหนือ ประมาณ ๗.๒๐๐ กิโลเมตร และอยู่ห่างตัวหวัดแพร่ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เนื้อที่ มีเนื้อที่โดยประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร โครงสร้างชุมชนและจำนวนประชากร ลักษณะชุมชน มีเส้นทางคมนาคมติดต่อและขนส่งผลิตผลทางการเกษตรได้ตลอดทั้งปี มีภาษาถิ่นเป็นภาษาพูด มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน ส่วนประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม จำนวนประชากร มีครัวเรือนจำนวน ๒๔๔ ครัวเรือน จำนวนประชากร ๙๗๘ คน ชาย ๕๐๑ คนหญิง ๔๗๗ คน

ข้อมูลพื้นฐาน บ้านเหล่า หมู่ที่ ๘

๑. ผู้ให้ข้อมูล นายประสงค์ ริมฝาย อายุ ปี อยู่บ้านเลขที่ หมู่ที่ ๘ ตำบล บ้านเหล่า จังหวัด แพร่

๒. ชื่อหมู่บ้าน บ้านเหล่าใต้ หมู่ที่ ๘ ตำบ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศเหนือของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๖ ทิศใต้ของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๕ ทิศตะวันออกของหมู่บ้านติดต่อกับบ้านน้ำฮอกหมู่ที่ ๓ ทิศตะวันตกของหมู่บ้านติดต่อกับ ตำบลดอนมูล อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๓. ด้านการปกครอง เจ้าอาวาสวัดพิชัย รูปแรกชื่อ พระสุปินะ ผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายนิยม เสียงดัง กำนันคนแรกของตำบลชื่อ นายพิชัย เหล่ากาวี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเหล่าฯ คนแรกชื่อ นายหวัน เหล่ากาวี

๔. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๘ เดิมอยู่ในพื้นที่ของบ้านเหล่าหมู่ที่ ๕ ด้วยความหนาแน่นของประชากรเพิ่มขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ จึงมีการแยกหมู่บ้านออกเป็นอีกหมู่หนึ่ง คือ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๘

๕. ที่ตั้ง บ้านเหล่าหมู่ที่ ๘ อยู่ห่างที่ว่าการอำเภอสูงเม่น ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เนื้อที่ มีเนื้อที่โดยประมาณ ๑๔๕๐ ไร่  ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตรกรรม โครงสร้างชุมชนและจำนวนประชากร ลักษณะชุมชน เป็นแบบเครือญาติ มีความผูกพันกันมีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีภาษาถิ่นเป็นภาษาพูด ประกอบอาชีพที่คล้ายคลึงกันส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ๑๖๘ ครัวเรือน จำนวนประชากร ๔๖๑ คน ชาย ๒๑๖ คน และหญิง ๑๓๕ คน

ข้อมูลพื้นฐาน บ้านเหล่า หมู่ที่ ๙

๑.  ผู้ให้ข้อมูล นายสมัย มณีกาศ อายุ ปี อยู่บ้านเลขที่ หมู่ที่ ๙ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่

๒. ชื่อหมู่บ้าน บ้านเหล่าเหนือ หมู่ที่ ๙ ตำบล บ้านเหล่า อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศเหนือของหมู่บ้านติดต่อกับ ตำบลบ้านกาศ อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศใต้ของหมู่บ้านติดต่อกับ  บ้านเหล่าหมู่ที่ ๓ ทิศตะวันออกของหมู่บ้านติต่อกับ ตำบลบ้านกวาง อำเภอ สูงเม่น จังหวัด แพร่ ทิศตะวันตกของหมู่บ้านติดต่อกับ บ้านเหล่าหมู่ที่ ๔

๓. ข้อมูลด้านการปกครอง เจ้าอาวาสวัดสิทธิวิมล รูปแรกของวัดชื่อ พระคำตั๋น สมหวัง ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านชื่อ นายสมาน ข่มอาวุธ กำนันคนแรกของตำบลชื่อ นายพิชัย เหล่ากาวี ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนสิทธิวิมล ชื่อ นายเจริญ วงศ์สว่าง

๔. ประวัติความเป็นของหมู่บ้าน บ้านเหล่าหมู่ที่ ๙ เป็นหมู่บ้านที่แยกมาจากบ้านเหล่าหมู่ที่มี่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ มีนาย สมาน ข่มอาวุธ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

๕. ลักษณะทางกายภาพ ที่ตั้ง บ้านเหล่าหมู่ที่ ๙ ตั้งอยู่ห่างที่ว่าการอำเภอสูงเม่นไปทางทิศเหนือประมาณ ๗ กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เนื้อที่ มีเนื้อที่โดยประมาณ ๖๕๐ ไร่ ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำการเกษตร โครงสร้างชุมชนและจำนวนประชากร ลักษณะชุมชน มีเส้นทางการคมนาคมติดต่อและขนส่งผลิตทางเกษตรได้ตลอดทั้งปี มีภาษาถิ่นเป็นภาษาพูด มีขนบธรรมเนียมประเพณีและการประอาชีพพที่คล้ายคลึงกัน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม จำนวนประชากร ครัวเรือนทั้งหมด ๒๐๗ ครัวเรือน ประชากร ๖๕๖ คน เป็นชาย ๑๖๔ คน และหญิง ๓๐๑ คน

คลิ๊กโหลดแผนที่ขนาดใหญ่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 16 •กันยายน• 2012 เวลา 09:37 น.• )