ชื่อบ้านนามเมืองเป็นการบอกเล่าความเป็นมาของสถานที่ต่างๆว่ามีความเป็นมาอย่างไรอาจจะเกี่ยวข้องกับสถานที่ สภาพพื้นที่เดิม หรือเกี่ยวข้องกับบุคคล สิ่งของเกี่ยวข้องกับสถานที่แห่งนั้น เลยถูกเรียนเป้นชื่อเพื่อให้จดจำและเรียกขาน แสดงลักษณะบ่งชี้ถึงสถานที่นั้น หลายคนเดินทางไปยังที่ต่างๆ เคยสงสัยไหม ว่าทำไมบ้าน หมู่บ้านนั้น ตำบลนั้น ต้องมีชื่อเรียกแปลกๆ ทำไมต้องเรียกว่าอย่างนั้น  จึงได้รวบรวมความเป้นมา ของชื่อเรียกขานสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดแพร่ มาเล่าให้ม่านผู้อ่านได้รับทราบ หรือเป้นการแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้ที่รู้จักชื่อบ้านนามเมืองเหล่านั้นในด้าน เนื้อหาซึ่งกันและกันต่อไป

อำเภอเด่นชัย ทำไมถึงเรียกว่า เด่นชัย อำเภอเด่นชัย เดิมเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอสูงเม่น ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอในปี พ.ศ.๒๕๐๖ มีประวัติ เล่าไว้ว่า ในสมัย ร.๕ เมื่อเงี้ยวเข้าปล้นเมืองแพร่ เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกับปีวอก จัตวาศก ร.ศ.๑๒๑ พระพุทธเจ้าหลวง(พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงโปรดเกล้าฯให้ พลโทเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพนำกำลังพลจากค่ายพิชัยปงอ้อเมืองพิชัย(อุตรดิตถ์) เพื่อมาชำระคดีความเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ซึ่งได้ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ ปล่อยนักโทษ และยึดสถานที่ราชการ คลังอาวุธ ทำลายสายโทรศัพท์(ตะแล้บแก๊บ) เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๔๕ โดยมีผกาน่องเป็นผู้นำโจรเงี้ยว

เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้ยกทัพออกมาจากค่ายมาทางเขาพลึงได้ปะทะกำลังโจรเงี้ยวตลอดเส้นทางและได้ต่อสู้กับโจรเงี้ยวจนได้รับชัยชนะจนกระทั่งถึงบ้านแม่พวก ก็มีโจรเงี้ยวกลุ่มใหญ่ ซุ่มโจมตี เกิดการต่อสู้กันทำให้กองโจรร้บบาดเจ็บ ๘ คน เสียชีวิต ๑๑ คน ส่วนทหารของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีปลอดภัยแต่ก็รบกันอยู่ตลอดเสันทาง แม้จะถูกชุ่มโจมตี และได้ขับไล่โจรเงี้ยวมาถึงบริเวณป่าทึบ และได้ต่อสู้จนได้ชัยชนะ  ทัพของเจ้าพระยาสุรสักดิ์มนตรีได้มาตั้งค่ายที่บ้านเด่น (เด่นคือ พื้นที่ที่เป็นเนินสูง บริเวณที่ตั้งทัพคือบ้านปากจั๊วะในปัจจุบัน) และได้ทำการปราบปรามพวกเงี้ยวได้เป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้นจึงได้เปลี่ยนชื่อ จากบ้านเด่น เป็นบ้านเด่นชัย (ชัย คือการที่ได้รับ ชัยชนะในการปราบปรามพวกเงี้ยว) จึงตั้งชื่อว่า บ้านเด่นชัย

บ้านเด่นชัย เริ่มมีความสำคัญด้านคมนาคม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างทางรถไฟผ่านบ้านเด่นชัย ไปยังจังหวัดลำปางทำให้การเดินทางไปจังหวัดแพร่ น่าน พะเยา และเชียงราย จากจังหวัดต่างๆ ในภาคกลางสะดวกยิ่งขึ้น จึงทำให้บ้านเด่นชัยเป็นศูนย์กลางทางด้านคมนาคมและการขนส่ง ในสมัยนั้นและในสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๑ บ้านเด่นชัย ยังเป็นทึ่ตั้งของฐานทัพทหารพรานและฐานทัพทหารญี่ป่น ซึ่งมาตั้งฐานทัพที่อยู่ติดกับ ริมลำนํ้าแม่พวก ต่อมาบ้านเด่นชัยได้ยกฐานะเป็นตำบลเด่นชัยขึ้นกับอำเภอสูงเม่น พ.ศ.๒๕๐๖ ได้ยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอเด่นชัย จนถึง พ.ศ.๒๕๐๘ ได้ยกฐานะเป็นอำเภอเด่นชัย โดยรวมเอาพื้นที่ ตำบลเด่นชัย ตำบลแม่จั๊วะ และตำบล ไทรย้อยเข้าด้วยกัน

อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ คุณสุกิจจา กรุณานนท์ ได้กล่าวถึงอำเภอ เด่นชัย ว่าถ้าเปรียบดินแดนแห่งนี้กับ ฝ่ามือของเรา หากยก มือของเราขึ้นมาข้อมือของเราเป็นส่วนสำคัญ ที่จะน่าไปสู่ปลายนิ้วทั้งห้า ซึ่งถ้าเปรียบอำเภอเด่นชัยเป็นข้อมือ ปลายนิ้วทั้งห้า คือเส้นทางไปสู่ดินแดนล้านนา หรือประตูสู่ล้านนา ณ จุดนี้ เราสามารถเดินทางเข้าสู่ดินแดนแห่งเมืองล้านนาได้ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ สำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา หรือน่าน จึงนับว่าอำเภอเด่นชัย เป็นสถานที่สำคัญที่ได้นำมาเพื่อเป็นประตูนำสู่เรื่องราวของชื่อบ้านนามเมืองในคราวต่อไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 22 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 12:06 น.• )