ประวัติวัดโศภนาลัย ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ วัดโศภนาลัย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๙ บ้านนาแหลมใต้ หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๔ ประกอบพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ เดือน พ.ศ. ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา มีเอกสารสิทธิ์เป็นตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๑๑๒ เล่มที่ ๖๓๒ หน้า ๑๒ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน ๒ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา และที่ธรณีสงฆ์ ๒ แห่ง คือ แห่งแรก ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๗๓๒ เล่มที่ ๖๓๘ หน้า ๓๒ ( ปัจจุบันสถานีอนามัยตำบลทุ่งกวาว ขออนุญาตสร้าง ) และแห่งที่สอง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๖๘๔ เล่ม ๖๓๗ หน้า ๘๔ เป็นสถานที่ทำการของกลุ่มพัฒนาสตรีแม่บ้าน ) มีอาณาเขตติดต่อมีดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับถนนบ้านนาแหลม - เหมืองหม้อ ทิศใต้ ติดกับสถานีอนามัยตำบลทุ่งกวาว ทิศตะวันออก ติดกับวัดนาแหลมเหนือ ทิศตะวันตก ติดกับ สวรรคนิเวศ มีถาวรวัตถุภายในวัด คือ อุโบสถ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ กุฎิหลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. กุฎิหลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ ได้ดำเนินบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถ โดยทำการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่สืบถามจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย แต่มาประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ตามที่สร้างวัดขึ้นมา คือ (๑) ครูบาปินใจ ไม่ทราบ พ.ศ.ที่แน่นอน (๒) ครูบาอภิชัย ไม่ทราบ  พ.ศ.ที่แน่นอน (๓) พระครูกองแก้ว ปญญาพโล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ ถึง พ.ศ.๒๕๔๐ (๔) พระครูพิบูลพัฒนโกศล  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๑ ถึงปัจจุบัน

สถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านนาแหลมก็คือ วัดโศภนาลัย แต่เดิมชื่อว่า วัดหลวงปู่สร้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ได้รับอนุญาตสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๒ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๔๙๔ มีเนื้อที่ของวัดตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๑๑๒ เล่มที่ ๖๓๒ หน้า ๑๒ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จำนวน ๒ ไร่ ๓ งาน ๙๓ ตารางวา และที่ธรณีสงฆ์ ๒ แห่ง คือ แห่งแรก ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๗๓๒ เล่มที่ ๖๓๘ หน้า ๓๒ (ปัจจุบันสถานีอนามัยตำบลทุ่งกวาว ขออนุญาตสร้าง) และแห่งที่สอง ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๓๖๘๔ เล่ม ๖๓๗ หน้า ๘๔ เป็นสถานที่ทำการของกลุ่มพัฒนาสตรีแม่บ้าน) ซึ่งทางวัดได้อนุญาตให้สร้างเพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ) โดยมีเจ้าอาวาสเท่าที่สืบถามจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย แต่มาประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามที่สร้างวัดขึ้นมา คือ ครูบาปินใจ ครูบาอภิชัย พระครูกองแก้ว ปญญาพโล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๘๔ จนถึง ๑๘ กันยายน ๒๕๔๐ จากนั้น พระมหาประเสริฐ ธีรปญโญ เข้ามาดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๑ ต่อมาได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นโท ราชทินนามที่ “ พระครูพิบูลพัฒนโกศล” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ พร้อมกันนี้ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นโทเป็นชั้นเอก เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ในปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูเทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาส พระอารามหลวงชั้นเอก มีถาวรวัตถุภายในวัด คือ อุโบสถ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ กุฎิหลังเก่า สร้างเมื่อ พ.ศ. กุฎิหลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ ได้ดำเนินบูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถโดยทำการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาใหม่ และในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์ขึ้น ๑ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น

ประวัติความเป็นมาและการจัดตั้งหมู่บ้านนาแหลมใต้ ด้วยการจัดการปกครองท้องที่ได้เริ่มต้นมาจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งทรงมีพระราชดำรัสให้มีการฟื้นฟูการปกครองระดับหมู่บ้านที่มาแต่เดิมขึ้นใหม่ เพราะทรงเล็งเห็นว่า การปกครองในระดับนี้จำเป็นและสำคัญยิ่งในการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเป็นหน่วยการปกครองที่ใกล้ชิดกับราษฎรมากที่สุด โดยได้ทรงให้มีการทดลองจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้านขึ้นที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ ร.ศ.๑๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕) โดยให้ราษฎรเลือกผู้ใหญ่บ้านแทนการแต่งตั้งโดยเจ้าเมืองดังแต่ก่อน นับแต่นั้นมา จึงได้มีการจัดระเบียบการปกครองตำบล หมู่บ้าน ตามหัวเมืองต่างๆ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ ขึ้นใช้บังคับแทน และได้มีการใช้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังกล่าวบ้านนาแหลมตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งกวาว อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีประวัติมายาวนาน เท่าที่ผู้รู้ได้เล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมบ้านนาแหลมเป็นหมู่บ้านที่มีนาจำนวนมาก และนาที่ชาวบ้านทำกินจะมีลักษณะเป็นรูปแหลม มีบ้านเรือนอยู่ไม่มากนัก สภาพหมู่บ้านมี ต้นไม้ใหญ่ปกคลุมทั่วไป ถนนหนทางยังเป็นหลุมเป็นบ่อ การสัญจรไปมาลำบาก อาชีพทั่วไปของผู้คนก็เป็นการรับจ้างและเดินทางไปค้าขายยังบ้านอื่นเมืองอื่น ที่สำคัญคือยังไม่มีไฟฟ้าใช้

ผู้รู้เล่าว่า ผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายเผือ และต่อมาคือ นายติ นายสุวรรณ แสนอุ้ม นายทอง นายเท่า วรรณใหญ่ นายบุญศรี ไชยนิลวงศ์ นายสมหมาย ศรีใจ นายนิมิต วังใจ นางปรานอม โพพิรุณและนายมังกร บุตรชา ตามลำดับ อาณาเขตติดต่อบ้านนาแหลม มีดังนี้ ทิศเหนือ จรดกับบ้านทุ่งป่าดำ บ้านทุ่งโฮ้ง ทิศใต้ จรดกับบ้านเหมืองค่า บ้านสะบู ทิศตะวันออก จรดกับบ้านปทุม เหมืองหม้อ ทิศตะวันตก จรดกับบ้านใหม่ สวรรคนิเวศ

ต่อมาชาวบ้านต่างก็มีการพัฒนาและรับเอาความเจริญต่างๆ เข้ามาปรับปรุงขยับขยาย มีการส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในเมือง มีการติดต่อขอไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน สภาพบ้านเรือนจากเดิมเป็นไม้ฟาก ก็พัฒนาเป็นบ้านไม้สัก เป็นบ้านกึ่งตึกกึ่งไม้ มีการตกแต่ง อาคารบ้านเรือนให้น่าอยู่น่าอาศัย ต่อมาบ้านนาแหลมก็มีความเจริญ โดยได้แยกหมู่บ้านจากหมู่ที่ ๒ ด้วยเหตุผลที่มีความ จำเป็นเพราะว่ามีจำนวนประชากรเป็นจำนวนมาก การดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านอาจจะไม่ทั่วถึง ดังนั้นจึงทำการแยกหมู่บ้านหมู่ที่ ๒ อีก ๑ หมู่บ้านคือ หมู่ที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒ ชาวบ้านนาแหลมมีความรัก ความสามัคคี รักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมา

ปัจจุบันชาวบ้านมีกองทุนหมู่บ้านหมู่ที่ ๒ มีคลินิกกองทุน และมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ชาวบ้านจึงอุ่นใจและสบายใจ เมื่อมีกองทุนหมู่บ้านมาแก้ปัญหาและในอนาคตทุกอย่างในหมู่บ้านนาแหลม หมู่ที่ ๒ จะเจริญเทียบเท่ากับหมู่บ้านอื่น มีศักดิ์ศรีและความภูมิใจตลอดกาล ดังคำขวัญหมู่บ้านนาแหลม หมู่ที่ ๒ ที่ว่า “ยอดเยี่ยมจักสาน ชำนาญเย็บผ้า ทำนาปั้นอิฐ เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีพเกษตรทวี วิถีชีวิตเรา ”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 26 •ตุลาคม• 2012 เวลา 10:29 น.• )