วัดเหมืองหม้อ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๖ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การก่อสร้างในสมัยแรก เสนาสนะต่าง ๆ เช่น กุฏิ วิหาร หอไตร จะเป็นสถาปัตยกรรมศิลปะแบบมอญผสมไทยใหญ่ มีพุทธศิลป์อ่อนช้อยงดงามมากวัดหนึ่งในจังหวัดแพร่และภาคเหนือ เพราะต้นศรัทธาผู้สร้างในสมัยนั้นเป็นคหบดีชาวไทยใหญ่เมื่อกาลเวลาผ่านไปสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้ทรุดโทรมลง เมื่อถูกรื้อถอนแล้วปลูกสร้างขึ้นใหม่ จึงไม่เหลือศิลปะอันงดงามเหล่านั้นให้เห็น ปัจจุบันการก่อสร้างวิหารมักถือตามแบบสถาปัตยกรรมภาคกลาง วัดเหมืองหม้อปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๑ บ้านเหมืองหม้อ หมู่ที่ ๘ ตำบลเหมืองหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๔๙๙ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๗.๒ เมตร ยาว ๑๔.๕ เมตร ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ ที่ดินวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๒ งาน ๕ ตารางวา มีเอกสิทธิ์เป็น น.ส. ๔ ก. เลขที่ ๓๑๓๕๖ สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญมี หอไตรปิฎก พระเจดีย์ อุโบสถ

ลำดับเจ้าอาวาส

๑. ครูบาอุปเสน

๒. ครูบาสุวรรณ

๓. พระครูมหาญาณสิทธิ์ (คันธา) พ.ศ. ๒๔๐๙ – ๒๔๖๑

๔. ครูบาคำภีรสาร คมฺภีโร (ปวง) พ.ศ. ๒๔๖๒ – ๒๕๐๗

๕. พระครูกวีชัยวัฒน์ (ก๋าใจ) พ.ศ. ๒๕๐๘ – ๒๕๐๙

๖. พระครูสิทธิธรรมโกวิท (จรัล) พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๓๗

๗. พระครูปลัดชูศักดิ์ เขมปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๒

๘. พระครูสมุห์อิ่นแก้ว สุขวฑฺฒโน พ.ศ. ๒๕๔๓ – ปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •ธันวาคม• 2012 เวลา 11:34 น.• )