จากบทความวารสารวัฒนธรรมจังหวัดแพร่สู่เว็บไซต์ แม่ก๋ำเดือน (มักมีผู้เขียนเป็น "แม่กรรมเดือน" หมายถึงสตรีผู้เป็นแม่ซึ่งจะต้องกำ คือระมัดระวังตัวเองหลัง คลอดเป็นเวลาหนึ่งเดือน ซึ่งเมื่อได้เกิดลูกแล้ว ห้องนอนซึ่ง เคยเป็นที่ของพ่อแม่ก็ดูเหมือนจะเป็นห้องของหญิงหลังการคลอด ทั้งการจัดเตรียมห้องคือใช้ร่างแหหรือยอที่ทางเห เรียกว่า จำ (อ่าน "จ๋ำ") ขึงเป็นเพดานข้างบน ข้างฝา พื้นฟาก ที่เป็นช่องเป็นรูก็ต้องหาหนามมาสะไว้ ส่วนใหญ่จะใช้หนาม เล็บแมว ฝาตรงไหนที่เป็นช่องที่พอจะปิดไต้ก็ปิด ประดูห้องก็ต้องติดตาแหลวคือเฉลว ๓ ชั้นบ้าง ๗ ชั้นบ้างเพื่อกันผี นอกจากการเตรียมห้องก็ต้องเตรียมของใช้ มีผ้ามัดหัว ไว้สำหรับแม่กำเดือนโพกหัวทั้งกลางวันและกลางคืน

นัยว่า ป้องกันลมเนหัว ผ้าฅาดท้องเพื่อป้องกันไม่ให้ท้องใหญ่และ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็ว ถือกันว่าถ้าคาดท้องดีมดลูกจะได้เข้าอู่เร็ว ถ้าไม่คาดท้องระหว่างที่อยู่เดือนจะเป็น ท้องตกพงคือหน้าท้องหย่อนยานในภายหลัง ผ้าอ้อมโดยมากจะฉีกเอาจากผ้าซิ่นที่เก่าแล้วของแม่ หม้อต่อมคือหม้อดินท้องป่องคอคอดสำหรับ ต้มนํ้าปูเลยคือต้มไพลและต้มยาต่าง ๆ ของใช้อื่นก็มีจำพวกยาหอมยาดม ม้วนฟูกไว้สำหรับ แม่กำเดือนพิงเอนหลัง ตะเกิยงนํ้ามันก๊าด อู่ไม้ไผ่ ตะกรุด ป้องกันผี ไปจนตลอดถึงมหาหิงคุซึ่งเป็นยาป้องกันและรักษ ท้องเด็ก เป็นต้น  การอยู่เดือนคือการอยู่ไฟของแม่ลูกหน้อยนั้นก็เพื่อเป็นการพักฟื้นหรือพักผ่อนหลังการคลอด การอยู่เดือนนี้¬อาจถือว่าเป็นการอยู่กำมากกว่า คือในช่วงเวลานี้แม่ลูกน้อย จะต้องกำทุกอย่าง เช่น กำตัว (อ่าน "ก๋ำตั๋ว") อันหมายถึง ต้องอดทนอดกลั้นทุกอย่าง ทั้งความร้อนความหนาวและการ ต้องอยู่ในกรอบข้อห้ามจุกจิก กำกิน (อ่าน "ก๋ำกิ๋น") คือ ระมัดระวังเรื่องอาหาร โดยจะทำตามความพอใจหรือตามความต้องการของตัวเองไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพื่อการรักษาตัวเองหลังคลอด ให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งภายนอกตนและภายในตน คนในล้านนาจึงเรียกผู้ที่อยู่เดือนหลังคลอดว่าแม่กำเดือน คือการ อดทนอดกลั้นจะทำอะไรตามใจตัวเองไม่ได้ในช่วงเดือนแรก หลังจากการคลอด การอยู่เดือนของคนในล้านนาแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คืออยู่เดือนไฟและอยู่เดือน การอยู่เดือนไฟของสตรีล้านนานี้ก็ไม่ต่างจากการอยู่ไฟ ของคนไทยในช่วงนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของสามีที่จะต้องจัดเตรียม อุปกรณ์ในการอยู่เดือนไฟ อันประกอบด้วยแม่ชีไฟคือ กระบะดินที่ก่อไฟบนนั้นได้ ใช้ไม้กระดาน ๔ แผ่นหรือไม้ไผ่ ผ่าครึ่งประกบกันเป็นกรอบ ๔ เหลี่ยม ความกว้างของแม่ชีไฟ ก็กะคะเนเอาจากความกว้างของห้องที่จัดไว้สำหรับอยู่เดือนไฟ ข้างในของแม่ชีไฟจะมีดินเหนียวใส่ไว้จนเต็ม ข้างบนจะมีก้อนเส้าสำหรับตั้งหม้อต้มนํ้าร้อน แม่ชีไฟนี้เป็นที่สำหรับก่อไฟ ไว้ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน ตอนกลางวันก็คงจะใส่ฟืน น้อยหน่อย และในตอนกลางคืนที่ต้องการความอบอุ่นมาก ก็ใส่ฟืนไห้มากขึ้น นอกจากนั้นก็มีแคร่ไม้ไผ่สูงประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สำหรับให้เป็นที่เอนนอนของแม่กำเดือน ต่อมาเมื่อการปลูกบ้านสร้างเรือนได้แยกครัวไฟออก จากเรือนนอน การอยู่เดือนไฟก็ค่อยเสื่อมความนิยมลง คงเล็งเห็นความยุ่งยาก ความไม่สะอาดและความไม่ปลอดภัย จึงเลิกการใช้วิธีอยู่เดือนไฟที่ต้องก่อไฟในห้องนอนตลอดเวลาโดยปรับมาใช้วิธีการอยู่เดือนเย็นคือการอยู่เดือนโดยไม่อาศัยไฟ ซึ่งการอยู่เดือนโดยวิธีดังกล่าวนี้ แม่กำเดือนจะต้องแต่งกายเหมือนกับอยู่เดือนไฟ คือนุ่งผ้าอย่างมิดชิด โพกหัว ใส่เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าซิ่นกรอมเท้า ใช้ผ้าพันขาหรือสวมถุงเท้า และจะต้องโพกศีรษะทั้งวันทั้งคืน โดยเฉพาะจะต้องใช้ผ้ารัดแอว หรือผ้าฅาดท้องหรือผ้ารัดสะเอวซึ่งใช้ผ้าสีใดก็ได้ยาวประมาณ ๒ เมตรครึ่ง มารัดท้องตั้งแต่วันคลอดลูก และจะพยายามรัด เข้าวันละน้อยเพื่อให้มดลูกเข้าอู่เร็วและให้รูปร่างกลับคืนสภาพเหมือนยังสาว ในช่วงที่อยู่เดือนนั้น ห้ามแม่กำเดือนลงไปข้างล่างใน ตอนหัวค่ำและกลางคืน เพราะเนื้อหนังของแม่กำเดือนระยะนี้ ยังไม่เข้าที่หรือยังไม่แน่นเรียกกันว่าส่าห่าง ทำให้ผีมองเห็นตับไตไส้พุงได้ถนัด การที่แม่กำเดือนใช้ผ้าโพกหัวอยู่ตลอดเวลาก็เพื่อ ป้องกันลมขึ้นหัว การใช้ผ้าคาดท้องเพื่อป้องกันท้องตกพงคือ ห้องโตและหย่อนในระหว่างที่อยู่เดือนนี้เป็นการถือโอกาสรักษา แผลที่ช่องคลอดไปด้วย โดยใช้หัวไพลตำกับเกลือพอกบริเวณ บาดแผล ในระหว่างอยู่เดือน ห้ามแม่กำเดือนยกของที่มีนั้าหนัก ทุกอย่าง นอกจากของที่มีนํ้าหนักแล้ว ของเบาที่สุดบางอย่างก็ ห้ามยกด้วย เช่น ตระกร้างิ้วหรือนุ่น จะเป็นที่นอนหรือหมอน ที่ยัดด้วยนุ่น ตระกร้าใส่ผ้าอ้อมก็ห้ามยก เชื่อกันว่าถึงจะเป็น ของเบาแต่ว่าหนักภายในตนผู้ที่ยก ถ้าไม่เชื่อยังขืนยกของพวก ที่กล่าวมานี้ดากจะออก ดากคงเป็นส่วนหนึ่งของมดลูกที่เลื่อนลงมา ยิ่งยกของหนักก็ยิ่งจะเลื่อนลงมาได้ง่าย ประกอบกับแผลที่ฉีกตอนที่เกิดลูกกว้างมากและไม่ประสานติดกันเหมือนเดิม คงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ดากออก เมื่อเกิดดากออกแล้ว ถ้า ปล่อยทิ้งไว้จะมีนํ้าไหลออกมาเปียกชุ่มตามผ้านุ่งตลอดเวลา ถ้าไปขอให้แม่ช่างช่วยรักษา แม่ช่างจะใช้นํ้าเกลือคั้นส่วนที่หลุด ออกมาจากข้างในแล้วใช้มือดันให้กลับเข้าไป ดากจะหดตัวเข้า ประจำอยู่ที่เดิม

 

ช่วงที่กำลังอยู่ไฟนี้ อาหารหลักของแม่กำเดือนคือเข้จี่ หรือข้าวจี่ ได้จากข้าวเหนียวสุกปั้นเสียบด้วยไม้ปิ้งไฟให้กินกับเกลือ และต้องเป็นเกลือที่คั่วให้สุกเสียก่อน อาหารประเภทปลา ห้ามทุกอย่าง เพราะจะทำให้มีกลิ่นคาวติดตามตัวอยู่ตลอดเวลา และกลิ่นคาวนั้นจะลงไปทางนมไปถึงทารกด้วย ประเภทเนี้อสัตว์ให้กินหมูได้เพียงอย่างเดียวแต่ต้องเป็นหมูดำเท่านั้น ถ้าหมูเฝือกก็กินไม่ได้ เนื้อหมูดำนั้นให้เลือกเฉพาะเนี้อแดงนำมาแช่ น้ำเปลือกมะกอก จากนั้นจึงล้างด้วยนํ้าเปลือกมะกอกจนจืด แล้วจึงย่างไฟให้แห้ง เนื้อหมูนั้นคงจะมีรสไม่เป็นหมูแล้ว เพราะ น้ำเปลือกมะกอกดูดซับเอากลิ่นและมันของหมูไปหมด ซึ่งก็คง เพื่อต้องการไม่ให้มีกลิ่นคาวนั่นเอง อาหารประเภทผักนั้น ให้กินผักกาดและต้องเป็นผักกาดขาวด้วย ผักกาดเขียวก็ห้าม หัวปลี ที่จะกินนั้นต้องต้ม ถั่วฝักยาวนั้นกินได้ แต่ต้องเป็นถั่วที่มีฝัก เป็นสีขาว บ่านอยข้องคือบวบชนิดหนึ่งก็กินได้ ผักหวานบ้าน และมะเขือขาวก็เป็นอาหารของแม่กำเดือนได้ทั้งนี้ห้ามกินกะปิ ปลาร้า และนั้าปลา เมื่อต้มผักเพื่อเป็นอาหารของแม่กำเดือน นั้น ก็เพียงแต่ใส่ผักใส่เกลือแล้วทุบกระเทียมใส่ด้วยเท่านั้น

ในช่วงที่กำลังอยู่เดือนนื้ที่จะต้องระวังมากก็คือเกรงว่า แม่กำเดือนนั้นจะผิดเดือน คือการที่หญิงหลังจากคลอดอยู่ เดือนมีอาการไม่สบาย เช่น วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดอ่อนเพลีย ซูบซีดผอมเหลือง กินไม่ได้นอนไม่หลับ ซึ่งบางท่านเรียกว่า เป็นลมผิดเดือน ถ้าแก้ไขหรือรักษาไม่ดีแล้ว ภายหลังจะมี อาการเหมือนกับคนเสียสติเป็นบ้าไปก็มีการผิดเดือนแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือการผิดกิน และการผิดสาบ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กินผิด สาบผิด ผิดกินคือการที่แม่กำเดือนเหลือคำคือไม่เชื่อฟังพ่อแม่ผู้เฒ่า ผู้แก่ แอบกินอาหารที่แสลง เช่น จำพวกหน่อไม้ดอง หรือเนื้อวัว เป็นด้น เมื่อรู้ตัวว่ากินอาหารแสลงให้รีบรักษาโดยการหา สมุนไพรที่รักษาเกี่ยวกับโรคนี้ เช่น ยาแก้กินผิด ซึ่งประกอบ ด้วย หัวรางคาว หัวตะไคร้แห้งคากอ และหัวไพลฝนใส่นํ้าข้าว จ้าวสาร ๗ เม็ด ใช้กินและชโลมหัว การผิดสาบคือการที่แม่กำเดือนได้กลิ่นที่เหม็นสาบ เช่น กลิ่นการเผายาง การทอด กลิ่นอาหารจากบ้านใกล้เคียง เมื่อไต้รับกลิ่นเหม็นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว แม่กำเดือนจะ ปวดหัว นอนไม่หลับ ใจสั่น หน้าซีด ก็ต้องรีบรักษา แต่ว่าการ ผิดสาบ จะรักษาได้ยากกว่าและหายช้ากว่าการผิดกิน เพราะ กลิ่นที่ได้สูดเข้าไปนั้นจะซึมเข้าในเส้นเลือดและกลิ่นแสลง จะฝังลึกอยู่ในร่างกาย ทั้งนื้จะป้องกันได้โดยเมื่อถึงเวลาที่ ชาวบ้านปรุงอาหารหรือการเผาขยะในตอนหัวค่ำ แม่กำเดือนจะต้องเข้าไปอยู่ในห้องในมุ้ง และบ้านที่อยู่ใกล้เคียงก็จะให้ ความร่วมมือในเรื่องกลิ่นของอาหาร จะไม่นำอาหารที่มีกลิ่นแรง และเป็นกลิ่นแสลงมาปรุง หรือถ้ามีการสุมไฟตอนค่ำจะระวังไม่ให้มีวัตถุที่มีกลิ่นเหม็นติดเข้าไปในกองไฟ  เมื่อเขาจำเป็นที่ จะปรุงอาหารที่มีกลิ่นแรง เขาจะตะโกนบอกให้แม่กำเดือน เข้าไปอยู่ในห้องในมุ้งเสียก่อน ในช่วงที่ลูกที่คลอดออกมายังเป็นเด็กแดงอยู่นั้น ผ้าอ้อมเป็นอุปกรณ์ในการเลี้ยงลูกน้อยที่จะต้องดูแลให้สะอาด การชักผ้าอ้อมในสมัยก่อนนั้นมักจะซักตามแม่นํ้าลำคลอง ดังนั้นผู้ซักต้องระวังอย่าให้ผ้าอ้อมขาดหายจากจำนวนที่นำไปชักถ้าผ้าอ้อมหาย เด็กเจ้าของผ้าอ้อมจะร้องไห้ในเวลากลางคืน ไม่เป็นอันหลับอันนอน ก็คงเกี่ยวด้วยเรื่องผีที่ไปทำอะไรต่อผ้าอ้อมที่หายไปนั้น เมื่อรู้ว่าผ้าอ้อมขาดหายไป ผู้ชักจะตามหาให้พบ ผ้าอ้อม¬ที่ตากให้แห้งแล้วนั้นก็ต้องเก็บแต่วันอย่าให้ค่ำให้มืด ไม่ควรทิ้งไว้จนแสงตะวันส่องขี้หม่าคือน้ำครำที่แช่อยู่ใต้ถุนครัวไฟ โดย ทั่วไปจะอยู่ทางทิศตะวันตกของเรือน เมื่อแสงตะวันส่องขี้หม่า ก็แสดงว่าใกล้จะค่ำแล้ว ถ้าตากผ้าอ้อมไว้จนถึงมืดหรือตากไว้ค้างคืน เชื่อว่านกเค้าและผีกละจะมาเอาขวัญเด็กที่ติดและ ผูกพันอยู่กับผ้าอ้อมหรือพวกฝึกละจะมาเลียที่ผ้าอ้อมบางแห่ง ก็ว่าเมื่อผีได้กินเลือดหรือกินสิ่งสกปรกในเวลากลางคืนแล้วจะเอาผ้าอ้อมที่ตากค้างคืนไว้เช็ดปาก ซึ่งล้าดูตอนเช้ามักจะเห็นรอยเป็นวงที่ผ้าอ้อมเหล่านั้น แม่กำเดือนนั้นไม่ใช่ว่าจะอาบนั้าได้ทุกวัน คงอาบได้สิบวันต่อหนึ่งครั้งเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นฤดูร้อนที่มีเหงึ่อไหลทั้งวันก็ตาม ส่วนการสระผม แม่กำเดือนจะสระผมไม่ได้เลย จะสระผมได้ก็ต่อเมื่อออกเดือนแล้วเท่านั้น น้ำที่ใช้อาบจะต้อง เป็นนํ้าต้มสมุนไพร เวลาที่อาบจะขัดถูเนื้อตัวไม่ได้ อนุญาตด้ เพียงแต่ลูบเท่านั้น ถ้าไม่ปฏิบัติตาม คือยังแอบขัดถูที่ผิวกายแล้ว ต่อไปภายหน้าจะท่าให้เอ็นตามร่างกายปูดขึ๊น โดยเฉพาะ ตามแขนและขาจะปูดออกมาให้มองเห็นได้ชัดเจน เรียกกันว่า เอ็นฟู และเอ็นขอด สมุนไพรที่ใช้ต้มอาบเวลาอยู่เดือน มี ใบเปล้า ใบหรือเปลือกมะขาม เปลือกต้นมะกอก และหัวไพล ยาต้มสำหรับแม่กำเดือนอีกตำรับหนึ่งว่า ใบเปล้าหลวง ๗ ใบ รายกล้วยตีบ ๑ กำมือ ใบบัวบก ๑ กำมือ ฝอยลม ๑ กำมือ สะเพาลม ๑ กำมือ เทียนดำอีกหนึ่งหยิบมือ ใส่หม้อต้มอาบ

นอกจากที่แม่กำเดือนจะดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดแล้ว ยังต้องดูแลลูกอ่อนด้วยความระมัดระวังอย่างสูง โดยเฉพาะในตอนกลางคืนในห้องจะต้องจุดตะเคียงไว้ตลอดเวลา ดูเหมือนพวกผีต่างๆ จะกลัวไฟหรือกลัวความสว่าง ผู้ที่เป็นแม่'จะมัวแต่หลับเพลินไม่ได้ ถ้าได้ยินเสียงลูกตื่นแม่ก็ต้องตื่นด้วย สิ่งที่ควร มีไว้ในห้อง เช่น มีหัวขมิ้นไว้ใช้ทาเมื่อลูกถูกยุงหรือแมลงกัดต่อย มหาหิงคุ์มีไว้สำหรับทาท้องเด็กและให้เด็กดมในเวลาที่เด็กปวดท้องหรือท้องเสีย ตะกรุดป้องกันผี ไม้กวาดมีไว้สำหรับปัดไล่สิ่งร้ายทต่างๆ ที่มองไม่เห็นตัว เพราะมีผีหลายชนิดที่รังเกียจไม้กวาดผู้ที่น่ารังเกียจมากในช่วงอยู่เดือนก็คือคนที่เป็นผีกละหรือมีผีกละแฝงอยู่ด้วย ซึ่งก็มักจะมีอยู่บ่อยครั้งที่คนที่คนที่รู้จักกันว่าเป็นผีกละหรือผีปอบมักจะมาเยี่ยมเยือนในเวลาที่อยู่เดือน แม่ญาติพี่น้องของเด็กจะไม่พอใจถือว่าเป็นคนที่เรืยกกันว่า ตนบ่หมด คือไม่บริสุทธิ์นั้นเอง แต่ก็ไม่รู้จะทำประการใด จะแสดงอาการไม่พอใจออกไปก็กลัวคนที่เป็นผีกละจะโกรธ เมื่อคนที่เป็นเจ้าของผีโกรธ ผีของเขาก็จะโกรธไปด้วย ดังนั้น เมื่ออยู่ต่อหน้าจึงทำเป็นพูดดืกับเขาไว้ก่อน หลังจากที่เขาลงเรือนไปแล้วเจ้าของบ้านจะใช้ไม้กวาด กวาดไล่ตามที่ๆ เขายืน และนั่ง ปากก็พูดเบาๆ ว่า "ไป ไป" เป็นการไล่ภัยไล่ผี เพราะถ้าไม่ระวังเมื่อมีคนที่เป็นผีกละมาเยี่ยม เด็กมักจะร้องในเวลากลางคืนโดยไม่ยอมนอน เป็นเพราะว่าผีกละมาเลียมมาเหล้นเด็กคือหยอกล้อเด็กให้กลัว  เมื่อทารกมีอายุเกิน ๓ วันไปแล้ว เด็กควรจะได้นอนอู่จะสานด้วยไม้ไผ่โดยผู้เป็นพ่อจะเป็นฝ่ายจัดหา ถ้าสานเองไม่เป็นก็ต้องไปจ้างวานผู้อื่นให้สาน การสานอู,นั้นเขามีกฎเกณฑ์ของเขาที่เรียกว่าให้ได้โฉลก ผู้สานต้องนับตาของอู่ให้ดี ให้เริ่มนับตั้งแต่ที่อยู่ตรงกลางของก้นอู่นับขึ้นไปทางปาก พร้อมกับ กล่าวคำโฉลกว่า ตาหลับ ตามืน อย่าให้ตรงกับตามืนคือลืมตา จะทำให้เด็กไม่ค่อยหลับหรือหลับไม่สนิทต้องสานไปให้ได้โฉลก ตาหลับ เด็กที่นอนถึงจะหลับดี สายอู่นั้นจะใช้เชือกผูกวัว ผูกไม่ได้ เพราะจะทำให้เด็กคนนั้นเป็นคนที่กินอะไรไม่รู้จักหยุดจักหย่อนและทำให้เด็กดื้ออีกด้วย ทั้งนี้คงดูตามลักษณะการกินหญ้าของวัวควายที่กินทั้งวันไม่มีหยุด เหตุผลที่ ห้ามเอาเชือกวัวเชือกควายมาทำสายอู่ คงเป็นเพราะว่าเชือก ล่ามวัวนั้นถูกน้ำถูกแดดมาก่อน เมื่อนำมาทำเป็นสายอู่จะทำให้ง่ายซึ่งเป็นอันตรายแก่เด็ก เมื่อครั้งแรกที่จะนำเด็กนอนอู่มีเคล็ดอยู่ว่า ให้ผู้ที่อุ้มเด็กกล้นหายใจหลับตาแล้วจึงค่อยเอาเด็กลงนอน เด็กจะนอนหลับดีไม่สะดุ้งงตลอดไป เมื่อเด็กร้องไห้นานๆ ในเวลากลางคืน ทำให้คนในบ้านไม่ต้งเป็นหลับอันนอนกัน ก็ว่าผีมารบกวนเด็ก เชื่อว่าเด็ก จะเห็นหน้าหรือตัวของผีที่มาหยอกล้อหรือมาหลอก เพียงแต่ว่าผู้ใหญ่จะมองไม่เห็น ท่านให้แก้ไขโดยนำหมาก ๑ คำ พลู ๑ ใบและด้ายไปพลีคือไปบอกกล่าวแก่ผีปู่ดำย่าดำคือ ผีประจำหม้อนึ่งและไหข้าว ทั้งนี้ให้จัดเอาหม้อนึ่งไหข้าวช้อน กันไว้แล้วเอาเครื่องพลีคือหมากคำพลูใบที่เตรียมไว้นั้นวางไว้ ใกล้ๆ แล้วกล่าวว่า "ขอปูดำย่าดำช่วยรักษาอย่าหื้อลูกของข้าเจ้าร้องไห้ ช่วยดูแลอย่าหื้อสิ่งอันใดมาหลอกมาหลอน หื้อ ลูกข้าเจ้าจุ่งอยู่ดีเทอะ" เพื่อขอให้ผีป่ดำย่าดำช่วยดูแลเด็กอีก แรงหนึ่ง เมื่อกระทำพิธีดังกล่าวแล้ว เด็กยังชอบร้องไห้ในเวลากลางคืนอีก ก็ต้องไปหาตะกรุดกันผีจากพระหรืออาจารย์วัด หรือหนานที่มีความรู้ด้านนี้ เอามาแขวนที่อู่หรือกลัดเสื้อของเด็ก หรืออาจหาวิธีการอี่นๆ เช่น การขอให้ผีป่ดำย่าดำหรือผี ประจำหม้อนึ่งไหข้าวเข้าทรงเพื่อถามสาเหตุและอื่น ๆ เป็นต้น ในช่วงการอยู่เดือนของแม่กำเดือนนั้น สามีจะเป็น ผู้รับภาระทุกสิ่งทุกอย่างในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นงานของหญิง เช่น การตักน้ำ ตำข้าว เลื้ยงหมู ทำอาหาร ซักผ้า ฯลฯ โดย ให้แม่ลูกหน้อยอยู่ไฟโดยนั่งนอนพักผ่อนตามสะดวก การณ์ เช่นนี้สตรีล้านนาถือว่าได้ทำให้สามีต้องลำบากและเกรงจะเป็น บาปเป็นกรรมตกแก่ตน ดังนั้นเมื่อออกเดือนหรือพ้นจากเขต การอยู่ไฟแล้ว อาจารย์เจ้ากำหนดให้ภรรยาเตรียมพานข้าวตอก ดอกไม้ไปขอขมาสามี โดยนำเอาพานข้าวตอกดอกไม้ไปหาสามี ที่นั่งอยู่ แล้วกล่าวคำเช่นว่า "ข้าเจ้าขอสูมาอ้าย ที่ไต้ปากลํ้าคำ เหลือ ได้ใช้อ้ายเยียะการหนักหนา ขอหื้ออ้ายได้สูมาลาโทษแก่ข้าเจ้า เพื่อบ่หื้อเปนกัมม์เปนเวรแก่ข้าเจ้าด้วยเทอะ"  แล้วยื่นพานนั้นแก่สามี สามีจะรับเอาพานแล้วกล่าวยกโทษให้ ถือว่า เป็นเสร็จพิธีเมื่อเด็กเกิดใหม่นั้นมักจะร้องไห้และผวาสะดุ้งง่าย เมื่อ อาบน้ำเด็กแล้ว คนล้านนาใช้ผ้าห่อตัวทารกนั้นโดยรวบสองแขน ให้แนบกับลำตัว เมื่อดื่มนมแล้วก็จะให้นอนในกระด้งหรีอ ผ้า ปึง (อ่าน "ผ้าปึ๋ง") คือเบาะที่ยัดนุ่นอย่างหลวมๆ แล้วเอา ผ้าห่มมาทำเป็นวงรอบตัวเด็กและมีผ้าโปร่งคลุมอยู่ด้านบนเมื่อเด็กมีอายุประมาณ ๓ เดือนแล้วก็จะเริ่มแข็งแรง มากขึ้น เด็กจะพลิกตัวควรได้ มารดาจะม่ำเข้า หรือม่ามเข้า คือเคี้ยวข้าวอย่างละเอียดป้อนเด็ก หรืออาจผสมกล้วยนํ้าว้า บดด้วยก็ได้ เด็กจะกินอาหารอ่อนนี้โดยเพิ่มส่วนผสมอื่น ๆ มากขึ้นตามลำดับ กว่าเด็กจะหย่านมนั้น บางคนมีอายุเกินขวบ ไปแล้ว

ขอบคุณวารสารจาก สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่แับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ จากบทความวารสารปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒๐ ประจำเดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๕๔ ครับผม

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2011 เวลา 12:08 น.• )