ในอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย มีสถานที่สวยงาม ที่น่าเที่ยวน่าทึ่งมากมาย  หลายคนเคยได้ยิน เรื่องเล่าของแก่งเสือเต้น  ถ้าฝนตกหนักเมืองแพร่ เมื่อใด ก็จะพากันนึกถึงแก่งเสือเต้น  นึกถึงว่าเราน่าจะเก็บน้ำฝนเหล่านั้นไว้ ไม่ให้ไหลล้นตลิ่งแบบนี้    แต่มีคนกี่คน จะเคยเข้าไปถึงแก่งเสือเต้น  เคยเข้าไปสัมผัสว่า แก่งเสือเต้นมีสิ่งสำคัญ สิ่งมหัสจรรย์ อย่างใด เมื่อเราเข้าสู่บริเวณอุทยานแห่งชาติ แม่ยม ซึ่งเป็นสถานที่ที่เรียกว่า แก่งเสือเต้น  หลายคนก็ตั้งคำถามว่า แก่งเสือเต้น คืออะไร  มีเสืออยู่ไหม ทำไมถึงเรียกว่า แก่งเสือเต้น   เสือสำราญอะไรหนักหนาถึงได้มาเต้นอยู่แถวนี้  แน่แหละ ที่นี่ตอนนี้ไม่มีเสืออยู่ แล้วอะไรละที่ทำให้ชื่อว่า เป็นแก่งเสือเต้น ลัดเลาะไปตามลำน้ำ  ต้นน้ำลำน้ำแม่ยม บริเวณอุทยานแห่งชาติแก่งเสือเต้น ผ่านแก่งหินน้อยใหญ่  วางขวางลำน้ำ ทำให้เกิดเสียงน้ำกระทบหิน ชวนน่าฟัง  สองฝั่งน้ำ ก็มีต้นไม้น้อยใหญ่ สะบัดใบแกว่งไปมา เหมือนคอยโบกทักทายตลอดทาง เมื่อเลียบลำน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ห่างออกไปไม่ไกลนัก เราก็จะเห็นโขดหิน ซึ่งมีลักษณะแปลก ซึ่งมองดูแล้ว ชวนให้คิดว่า รอยเท้าอะไรน่ะ  วิ่งผ่านจะหินเป็นรอย  ซึ่งเจ้าหน้าที่นี่บอกว่า นี่แหละ คือ รอเท้าเสือ  ทำให้ที่นี่จึงมีชื่อที่ใครๆ เรียกว่า แก่งเสือเต้น นอกจากนั้น บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ยมนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่ง  และมีคำกล่าว ถึงสถานที่นี้ว่า  “ เมื่อน้ำท่วมหล่มด้งวันใด น้ำจะท่วมปากพญานาคช่อแฮ คนเมืองแพร่ จะตายจมน้ำ”

หล่มด้ง  เป็นสถานที่ที่มีความอัศจรรย์อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งน้ำกว้างขนาดกว่าร้อยตารางเมตร รายรอบด้วยความเขียวขจีของพันธ์ไม้ต่างๆ  มากมาย   ตามหลักทางธรณีวิทยากล่าวว่า เป็นดินแดนอัศจรรย์  แหล่งน้ำธรรมชาติ เกิดจากปรากฎการณ์แผ่นดินยุบบนยอดเขา  มีศูนย์กลางประมาณ ๑๐๐ เมตร มีน้ำขังตลอดปี เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับสัตว์ป่า ได้ใช้ดื่มกินตลอดทั่งมี หล่มด้งยังมีพื้ชน้ำ ที่เรียกว่า ผำ  หรือ ไข่น้ำ ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำทางธรรมชาติ อยู่มาก  และอีกตำนานเล่าไว้ว่า บริเวณนี้เดิมทีมีแร่ธาตุที่เรียกว่า แบไรท์อยู่มากมาย สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ได้นำแร่แบไรท์จากที่แห่งนี้ เป็นส่วนประกอบในการทำอาวุธในสมัยนั้น  ทำให้เกิดเป็นแอ่งขนาดใหญ่  พอฝนตกสะสมมากขึ้น ที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่   และในช่วงที่ฝนตก  ก็จะกลายเครื่องที่วัดปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติ  เมื่อปี ๒๕๓๘  ขณะนั้น น้ำได้ไหลเข้าท่วมเมืองแพร่ทั้งหมด  และบริเวณแห่งนี้ ก็มีน้ำท่วมขึ้นจนเกือบเต็มตลิ่ง   ซึ่งคำกล่าวที่เคยโบราณได้กล่าวไว้ น่าจะมีความเชื่อได้ว่าความสอดคล้องกับหลักการที่พิสูจน์ได้จริง ..........วีณา ศรีทา สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่

หล่มด้ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ยมประมาณ ๑๔ กิโลเมตร และห่างจากจุดชมทะเลภูเขา ๑ กิโลเมตร ใกล้กับหล่มด้งนี้จะมีเหมืองแร่เก่าซึ่งผ่านการทำแร่แบไรต์มาแล้ว มีลานสำหรับกางเต็นท์พักแรมกิจกรรม -แค็มป์ปิ้ง - ชมทิวทัศน์

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 13 •ธันวาคม• 2011 เวลา 12:16 น.• )