ฝ่ายเจ้าคำโสมและพี่น้อง พอทราบข่าวว่าพม่าจับตัวบิดาไปจำคุกไว้ก็ตกใจเกรงว่าพม่าจะฆ่าเจ้ากาวิละให้คิดอ่านแก้ไขแต่เจ้ากาวิละกลับบอกว่า ข้าศึกก็เป็นมนุษย์เดินดินเหมือนกัน เราจะยกทัพไปรบกับมันส่วนบิดาเรานั้นหากว่าบุญเรามีก็คงได้พบกันหากว่าบุญไม่มี ก็แล้วแต่บุญแต่กรรมเถิด นับว่าเจ้ากาวิละเห็นแก่ประโยชน์ของชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าเรื่องส่วนตัว แล้วเจ้ากาวิละก็เร่งเตรียมทัพไปต้อนรับทัพกรุศรีอยุธยาแต่เจ้าคำโสมผู้น้องเป็นห่วงบิดาอยู่ ก็จัดสิ่งของเครื่องบรรณาการแต่งผู้คนที่ฉลาดในการเจรจาไปยังเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับจดหมายถึงโป่มะยุง่วนฉบับหนึ่งมีใจความว่า เจ้ากาวิละเกิดทะเลาะกับจักกายศิริจอสูถึงกับฆ่าฟันกันนั้น ก็เพราะเจ้ากาวิละวิกลจริต พวกข้าพี่น้องทั้งหกหารู้เห็นเป็นใจด้วยไม่ ขออย่าทำโทษฆ่าบิดาของข้าพเจ้าทั้งหกเลย โป่มะยุง่วนก็ให้งดลงอาญาเจ้าฟ้าชายแก้วแต่ให้เอาตัวจำคุกไว้ก่อน ขณะนั้นกองทัพไทยยกมาถึงลำปางแล้ว เจ้ากาวิละจึงแต่งให้เจ้าดวงทิพย์ผู้น้องออกไปรับทัพไทยก่อน ส่วนตัวเจ้ากาวิละนำเสบียงอาหารออกไปต้อนรับทัพหลวงแล้วนำกองทัพหลวงแล้วนำกองทัพหลวงมายังเชียงใหม่ โดยเดินทัพมาทางดอยดินแดงและดอยบา เพื่อสมทบกับกองทัพของพระยากำแพงเพชรและพระสุระที่พญาจ่าบ้านนำขึ้นมา

แต่ถูกกองทหารของโป่มะยุง่วนตีแตกที่ท่าวังตาลนั้นพระยากำแพงเพชร ทราบว่ากองทัพหลวงยกมาก็ยกทัพกลับเข้าตีพม่าที่วังตาลอีก ขณะที่กำลังต่อสู้กันอยู่นั้น กองทัพหน้าของพญาจักรีก็ไปถึง จึงยกตีกระหนาบทัพพม่า พวกพม่าล้มตายเป็นอันมาก เห็นศึกเหลือกำลังนัก พวกพม่าก็ถอยเข้าเมืองเชียงใหม่ กองทัพไทยก็ยกติดตามอย่ากระชั้นชิด ฝ่ายเจ้ากาวิละมีความห่วงใยว่าพม่าจะฆ่าเจ้าฟ้าชายแก้วผู้บิดาเสีย จึงรีบยกกองทัพติดตามเข้าไปในกลางคืนนั้นเอง ความห่วงบิดาทำให้เจ้าชายหนุ่มสามารถยกกองทัพบุกเข้าเมืองได้อย่างรวดเร็ว พวกทหารชาวเมืองซึ่งเป็นพวกเดียวกัน (คงรวมทั้งประชาชนด้วย) ได้คอยเปิดประตูเมืองรับโป่มะยุง่วนแม่ทัพพม่าคิดว่ากองทัพไทยเข้าจู่โจมทุกด้านก็ตกใจ หนีออกประตูทางช้างเผือกพม่ายัดเยียดกันออกประตู เหยียบกันตายหลายร้อยคน เจ้ากาวิละพอเข้าเมืองได้ก็ไม่รอช้า รีบตามหาบิดาซึ่งพม่าเอาตัวจำคุกไว้ไม่ทันฆ่าเพราะเป็นเวลากะทันหันรวดเร็วมาก หากว่าเจ้ากาวิละยกเข้าไปช้าอีกคืนเดียวเท่านั้นเจ้าฟ้าชายแก้วคงถูกพม่าฆ่าตายแน่นอน เจ้ากาวิละถอดบิดาออกจากคุกแล้วนำไปเฝ้าพระเจ้ากรุงธนบุรี ณ กองทัพหลวงนอกเมืองแล้วนำทัพหลวงเข้าเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เพ็ญเดือนห้าเหนือ (เดือนสามใต้) ปีมะเมีย ฉอศก ปี พ.ศ. ๒๓๑๗ ซึ่งนับว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของล้านนาไทย เพราะเป็นวันที่ล้านนาได้รวมกับไทยกลางสำเร็จ เป็นวันที่ล้านนาได้รับอิสรภาพ หลังจากได้ตกอยู่ใต้การยึดครองของต่างชาติมาเป็นเวลานาน ฝ่ายพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อได้ขจัดอิทธิพลของพม่าออกพ้นจากเมืองเชียงใหม่แล้ว ก็ทรงแต่งตั้งพญาจ่าบ้าน เป็นพญาเชียงใหม่ (พญาจ่าบ้านชื่อเดิมว่าบุญมา) นายก้อนแก้วผู้หลานให้เป็นอุปราช ตั้งจักกายแคง เป็นพระยาลำพูนตั้งนายน้อยโพธิ์ ก้อนทอง เป็นพระยาสุรวงศ์ ส่วนพระเจ้ากาวิละนั้นโปรดให้เป็นเจ้าเมืองลำปาง เจ้าธรรมลังกาผู้น้องที่ ๓ เป็นอุปราชเมื่อรับสั่งแต่งตั้งเสร็จแล้วก็เสร็จตราทัพหลวงออกทางเมืองเถิน

“กรมพระราชวังบวร สุระสิงหนาท ได้มาเห็นนางศรีอโนชา ขนิษฐาของเจ้ากาวิละ มีสิริโฉมงดงามก็มีความปฏิพัทธ์รักใคร่และจัดการสู่ขอต่อเจ้าฟ้าชายแก้วผู้บิดาและพี่น้องทั้งเจ็ด ซึ่งเจ้าฟ้ากับเจ้าพี่น้องก็ยินยอมยมให้ เจ้านางศรีอโนชามีราชธิดากับสมเด็จกรมพระราชวังบวร สุรสิงหนาทองค์หนึ่งทรงพระนามว่า เจ้าหญิงพิกุลทอง”

“เจ้าหญิงเชียงใหม่อีกองค์หนึ่ง ที่ไปเป็นชายาของพระปิ่นเกล้า และอีกสององค์ไปเป็นเจ้าจอมและพระราชชายาของพระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว”

“ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒ พระยาวชิรปราการ (พระยาจ่าบ้าน) เจ้าเมืองเชียงใหม่กระทำความผิดฆ่าเจ้าอุปราชก้อนแก้วผู้หลาน ความทราบถึงพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดให้มีท้องตราเรียกลงไปพร้อมเจ้ากาวิละ ซึ่งไปฆ่าพวกข้าหลวงไทยที่ตำบลวังเกิง พระยาวชิรปราการถูกลงอาญาจำขังที่กรุงธนบุรี จนเสียชีวิตในกาลต่อมาส่วนเจ้าพระยากาวิละนั้นให้ตัดขอบหูออกทั้งสองข้างเพราะขัดท้องตรารับสั่งให้เข้าเฝ้าถึงสามครั้งจึงไป แล้วให้กลับไปตีเมืองเชียงแสนเป็นการแก้โทษ”

อันที่จริงเท่าที่ปรากฏในพงศาวดารนั้นพวกข้าหลวงเหล่านี้ออกไปข่มแหงกดขี่ราษฎรชาวเมือง เขาก็พากันมาฟ้องเจ้ากาวิละ เจ้ากาวิละทนไม่ได้ก็เลยจัดการเสียเอง ต่อมาพระเจ้ากรุงธนฯถูกปลงเสียจากราชสมบัติเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินเจ้ากาวิละก็พาเจ้าพี่น้องทั้งหกลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เจ้ากาวิละเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ และตั้งเจ้าอื่นๆเป็นเจ้าเมืองลำปางและเป็นอุปราชตามลำดับตอนนั้น โป่มะยุง่วนยังยกกองทัพมาราบกวนทางเชียงแสนและเชียงใหม่บ่อยๆผู้คนก็อพยพหนีไปอยู่ตามป่าดงบ้านเมืองรกร้าง ต้นไม้เครือเถาวัลย์ขึ้นรกรุงรังจนเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า เจ้ากาวิละก็พยายามสะสมรวบรวมพลเมืองโดยพยายามเกลี้ยกล่อมพลเมืองที่แตกหนีไหใหกลับคืนมาแต่ก็ยังตั้งอยู่อย่างเดิมมิได้เจ้ากาวิละจึงย้ายไปตั้งอยู่ที่เวียงป่าซางสะสมพลเมืองอยู่ที่นั่น พระองค์คิดว่าถ้าจะตั้งเมืองให้มั่นคงได้ก็ต้องปราบพม่าในลานนาไทยให้สิ้นไปเสียก่อนจึงมุ่งบำรุงกำลังและกวาดล้างพม่าอย่างหนัก ได้ยกกองทัพไปตีพม่าที่เชียงแสนหลายครั้ง พม่าถอยไปแล้วกลับเข้ามาอีกหลายครั้งเนื่องจากกำลังไพร่พลทางเจ้ากาวิลัยังมีน้อยแต่ด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวจึงได้ขันสู้กับพม่าจนแตกพ่ายไปได้เจ้ากาวิละและเจ้าพี่น้องต้องผลัดกันออกไปตีบ้านเล็กเมืองน้อยเมื่อตีได้ก็กวาดต้อนครัวลงมาไว้เมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตั้งบ้านเรือนถิ่นฐานกันอยู่เป็นแห่งๆและเรียกหมู่บ้านนั้นตามชื่อเมืองของตน เช่น เมืองวะ เมืองลวง เมืองเลน เมืองขอนซึ่งเป็นตำบลเล็กๆอยู่ในอำเภอสันทรายและอำเภอดอยสะเก็ดทุกวันนี้ “เจ้ากาวิละได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัตรเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดี ศรีสุริยวงศ์องค์อินทรสรศักดิ์ สมญามหาขัติยราช ชาติราไชยสวรรค์ พระเจ้าขันธเสมานครพิงค์ไชยเชียงใหม่ในวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ดหรือ(เดือน ๙ใต้) พ.ศ.๒๕๔๖แต่นิยมเรียกกันว่าพระเจ้ากาวิละ พระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ได้ ๑๙ ปี ลุ พ.ศ.๒๓๓๘ ก็ทรงประชวร งแก่พราลัยศิริรวมชนมายุได้ ๗๓ พรรษา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 04 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 19:05 น.• )