พญาจ่าบ้านคนนี้มีศักดิ์เป็นน้าชายเจ้ากาวิละ และเป็นผู้ต้นคิดชักชวนให้เจ้ากาวิละกระทำการกอบกู้อิสรภาพจากการปกครองของพม่า เพราะความเจ็บช้ำน้ำใจที่ถูกพม่ากดขี่ข่มเหงประชาชนตามวิสัย “ใครมาเป็นเจ้าปกครอง คงจะต้องบังคับขับไส” ขณะที่ทางกรุงศรีอยุธยาก็ถูกกองทัพอันเกรียงไกรของอะแซหวุ่นกี้รุกเข้าตีแตก เผาผลาญบ้านเมือง กวาดต้อนเอาครอบครัวและทรัพย์สมบัติไปเป็นอันมาก ทางเชียงใหม่ก็หวานอมขมกลืนอยู่ใต้อำนาจของพม่าอย่างน้ำตาตกใน เมื่ออภัยคามินีที่ครองเมืองเชียงใหม่ถึงแก่กรรม โป่มะยุง่วนที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า “โป่หัวขาว” เพราะชอบโพกศีรษะด้วยผ้าขาว ได้มาครองเมืองเชียงใหม่แทน โป่หัวขาวผู้นี้โหดร้ายใจอำมหิตชอบกดขี่ทำทารุณกรรมต่อชาวเมืองอยู่เสมอจึงเกิดปะทะกันขึ้นบ่อย ๆ ระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่ผู้รักษาเกียรติศักดิ์เสรี ดังเช่นครั้งแรกก็มีจักกายน้อยพรม ซึ่งหาญเข้าปะทะกับพม่ากลางเมืองกระทั่งตัวเองต้องถึงแก่ชีวิตในการต่อสู้ ครั้งที่สองก็คือพญาจ่าบ้านปะทะกับโป่มะยุง่วนในขณะที่ตัวเองอยู่ในสภาพเปรียบเหมือนลูกแกะน้อยที่อยู่ในอำนาจของราชสีห์ การต่อสู้กันอย่างดุเดือดกลางเมืองครั้งนั้น พญาจ่าบ้านเป็นฝ่ายแพ้และนีไปหาโป่สุพลาที่เมืองล้างช้างพร้อมกับทหารคู่ใจจำนวนหนึ่ง “ตอนนั้นกองทัพไทยก็ตั้งอยู่ที่กำแพงเพชรแต่การจะหนีไปแค่กำแพงเพชร พญาจ่าบ้านท่านก็คงคิดแล้วว่าโป่มะยุง่วนคงไปตามจับตัวได้แน่ๆจึงตัดสินใจหนีไปหาโป่สุพลา ซึ่งโป่มะยุง่วนยำเกรงมากพอไปอยู่กับโป่สุพลาไม่นานพระเจ้าตากสินก็ยกกองทัพเข้าไปประชิดเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๓๑๔ ทรงตั้งค่ายล้อมอยู่ได้ ๙ วันก็ถอยทัพกลับไป

การถอยทัพของพระเจ้าตากสินครั้งนั้นถ้าดูตามพงศาวดารอย่างเผินๆก็ไม่มีอะไรแต่เมื่อพิเคราะห์ดูว่าพระเจ้าตากฯของเราเป็นนักรบผู้เก่งกาจในทางกลยุทธพิชัยสงครามถึงขนาดที่เมื่อตีเมืองจันทบุรีก็สั่งให้ทุบหม้อข้าวเสียก่อนดังนั้น ซึ่งนับเป็นกษัตริย์ที่เชี่ยวชาญการสงครามชนาดนั้น การยกกองทัพมาประชิดถึงเชียงใหม่ซึ่งเป็นเมืองใหญ่และอยู่ในอิทธิพลของพม่าข้าศึก หากพระองค์ไม่คิดการหนีทีไล่จนรอบคอบแล้ว ก็คงไม่ยกทัพมาแน่ กองทัพของพระเจ้าตากสินถอยกลับ เพราะขัดสนเสบียงอาหารนั้นคงไม่ใช่ เข้าใจว่าต้องมีเบื้องหลังและเบื้องหลังที่ว่าก็คือ พระองค์อาจมีการติดต่อกับชาวบ้านกับชาวล้านนาผู้ที่คิดกู้บ้านเมืองของตัว  และเมื่อเห็นว่าชาวลานนายังไม่ทันเตรียมตัวให้พร้อมเสียก่อน เมื่อกองทัพไทยยกมาตีเชียงใหม่รู้ถึงหูโป่สุพลาก็คิดยกกองทัพไปสู้รบกับไทย นี่เองที่พญาจ่าบ้านเริ่มคิดการใหญ่ ติดต่อกับหลานชาย คือเจ้ากาวิละ กระทำแผนการสู้รบพม่า หลังจากเจ้ากาวิละยกกองทัพเข้าเชียงใหม่และขับไล่ถอยออกไปได้แล้ว พญาจ่าบ้านได้รับแต่งตั้งเป็นพญาวชิรปราการ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์แรกในยุคนั้น ส่วนน้อยก้อนผู้หลานได้รับตำแหน่งเป็นอุปราชตอนนั้นเสร็จศึกพม่าใหม่ ๆ บ้านเมืองยังไม่สงบราบคาบ พม่ายังคอยมาราวีอยู่เสมอ ผู้คนราษฎรมัวรบต่อสู้ข้าศึกจนไม่มีเวลาทำมาหากิน เสบียงอาหารก็ขัดสน เชียงใหม่ขณะนั้นมีกำลังป้องกันบ้านเมืองเพียง ๑,๙๐๐ คยเท่านั้น เมื่อเกิดศึกใหญ่ก็ต้องขอกำลังทางลำปางและกรุงศรีอยุธยามาช่วย การรบกับพม่าบ่อยครั้ง ยุคนั้นเป็นยุคที่ชาวเมืองเชียงใหม่ได้กระทำการสู้รบกับพม่าอย่างทรหดอดทนและกล้าหาญที่สุด เพื่อผืนแผ่นดินอันเป็นที่รัก การรบกับพม่าก็บ่อยครั้ง ยุคนั้นเป็นยุคที่ชาวเมืองเชียงใหม่ได้กระทำการสู้รบกับพม่าอย่างทรหดอดทนและกล้าหาญที่สุด เพื่อผืนแผ่นดินอันเป็นที่รัก การรบพุ่งของบรรพบุรุษของเราสมัยโน้น ถ้าไม่กล้าแข็งจริง ๆ แล้ว จะต้องพ่ายแพ้อย่าเด็ดขาด เพราะกำลังพลฝ่ายข้าศึกมีมากกว่าหลายเท่า การยุทธ์ครั้งสำคัญที่เกิดหลังจากขับไล่พม่าออกไปได้เพียง ๑ ปี โป่มะยุง่วนซึ่งแตกหนีไปเชียงแสน ได้ยกมาตั้งค่ายล้อมเมืองไว้ พญาจ่าบ้านก็ยกรี้พลเพียง ๑,๙๐๐ คน ต่อสู้ป้องกันรักษาเมืองไว้ พญาจ่าบ้านก็ยกรี้พลเพียง ๑,๙๐๐ คนต่อสู้ป้องกันรักษาเมือง พร้อมกับส่งคนไปขอทัพกรุงและกองทัพเจ้ากาวิละให้ยกมาช่วย ตอนนั้นพม่าล้อมเชียงใหม่ไว้ถึงแปดเดือน กองทัพพญาจ่าบ้านและกองทัพกาวิละได้รับความอดอยากมากเสบียงอาหารก็หมดไป พม่าก็ปิดล้อมเมืองไว้ ชาวเมืองเชียงใหม่อยู่ในภาวะคับขันที่สุด จึงในวันหนึ่งไพร่พลของพญาจ่าบ้านกับของพญากาวิละหมดเสบียงอาหารจึงคิดจับพม่ามาฆ่าแทนอาหารกัน ทีนี้ก็มีพม่าเคราะห์ร้ายปีนกำแพงเมืองเข้ามาทางแจ่ง (มุม) ศรีภูมิ พญาจ่าบ้านขับพลออกรบพม่าแล้วถอยคืน พม่าก็ถลำเข้ามาให้พญาจ่าบ้านจับฆ่าตายเจ็ดคน พวกเจ็ดคนเลยกลายเป็นอาหารยามอัตคัดของทหารเชียงใหม่ พม่าตั้งล้อมพวกเราอยู่แปดเดือน กองทัพไทยจึงยกมาถึง เข้าตีทัพพม่าแตกพ่ายไป การกินเนื้อมนุษย์นี้ ถือกันว่าเป็นการกระทำของชาติป่าเถื่อน แต่มนุษย์ในกรณีที่ถูกความหิวโหยบังคับ อย่าว่าแต่ชนชาติป่าเถื่อนเลย แม้แต่กลุ่มชนชาติที่เจริญแล้วก็ตามที เมื่อตกอยู่ใต้อำนาจของความหิวก็มักจะทำสิ่งที่ไม่เคยทำและไม่น่าจะทำได้เหมือนกัน เมื่อพม่าถอยทัพพ่ายไปแล้ว พญาจ่าบ้านก็พาไพร่พลไปอาศัยอยู่นครลำปางเพราะเชียงใหม่หมดสิ้นเสบียงอาหารทั้งไพร่พลอิดโรยบอบช้ำ ครั้นทำนุบำรุงไพร่พลพอหายอิดโรยแล้วก็ยกทัพกลับเข้าเชียงใหม่อีก ตอนนั้นเชียงใหม่ร้างผู้คน บ้านเมืองรกร้างกลายเป็นดงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ต่าง ๆ พญาจ่าบ้านถอยทัพกลับไปตั้งที่ท่าพร้าว (หรือรังพร้าว) เตรียมการจะยกไปตีพม่าที่ตั้งอยู่เมืองเชียงแสน พอยกไปถึงแม่รัวแดง ก็ทราบว่าโป่แลทอแม่ทัพพม่ายกทัพมามีจำนวนพลเก้าพันคนยกมาถึงเชียงใหม่ พญาจ่าบ้านจึงยกทัพกลับมาปะทะกับกองทัพพม่าหน่วยหนึ่งที่ตำบลสันตะวาน กองทัพพญาจ่าบ้านมีน้อยกว่าก็ต้านทานไม่ได้ถอยหนีไปจนถึงเมืองระแหง โป่แลทอก็ยกไปประชิดเมืองลำปางเจ้ากางิละกับพี่น้องคุมพลเพียง ๗๐๐ คนเข้าต่อสู้ซึ่งเป็นการต่อสู้ขนาดสิบต่อหนึ่งเพราะพม่าที่เข้าตีจำนวนถึง๗,๐๐๐ คน ในที่สุดเจ้ากาวิละต้องทิ้งเมืองลำปาง หนีไปอยู่เมืองสวรรคโลก กองทัพพม่าจึงคง “ได้แต่ปฐพีไม่มีคน” อยู่ไม่นานนัก เห็นว่าจะต้องอดตายจึงถอยไปตั้งอยู่เมืองเยงแสน พญาจ่าบ้านก็คิดกลับมาเมืองเชียงใหม่แต่ขณะนั้นบ้านเมืองก็ขัดสน พญาจ่าบ้านก็สั่งให้อุปราชก้อนแก้วยกมาสะสมสะเบียงไว้คอยท่าทีที่ตำบลท่าวังพร้าวก่อน แล้วพญาจ่าบ้านก็ยกตามมา ครั้นมาถึง เจ้าอุปราชก้อนแก้วหายอมแบ่งปันเสบียงอาหารที่สะสมไว้ไม่ พญาจ่าบ้านขัดใจจึงได้ฆ่าเจ้าอุปราชก้อนแก้วเสีย อันที่จริงแล้วเจ้าอุปราชก้อนแก้ว เป็นคนสำคัญคนหนึ่งในการสู้รบพม่า เป็นผู้ที่ทหารรักใคร่ยำเกรงมาก เป็นผู้มีฝีมือเข้มแข็ง ทั้งยังมีกองทหารส่วนตัวอยู่กองหนึ่งเรียกว่ากองทหารโพกผ้าแดงเพราะใช้ผ้าโพกหัวแดงเป็นสัญลักษณ์ เมื่อเจ้าอุปราชก้อนแก้วถูกฆ่า ทหารพวกนี้ก็หลบหนีไปคนละทิศละทางต่อเมื่อเจ้ากาวิละขึ้นครองเมืองเชียงใหม่จึงได้ไปเกลี้ยกล่อมมาไว้เป็นกำลังอีก ปรากฏว่าพวกกรรมการเมืองหวาดเกรง หลบหนีไปเสียก็มี แต่คิดไปอีกทีก็น่าเห็นใจท่านพญาต้องพจญกับข้าศึกศรัตรูมามาก ทั้งต้องลำบากยากแค้นแสนสาหัสเลยกลายเป็นคนเจ้าโทโส ใครขัดใจไม่ได้ ภายหลังที่ฆ่าเจ้าอุปราชก้อนแก้วแล้วพญาจ่าบ้านก็ถอยไปอยู่ตำบลหนองจ้องและย้ายไปตั้งอยู่เมืองลำพูนแล้วล่องไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงธนบุรี กลับมาตั้งอยู่เมืองลำพูนอีก ย้ายไปตั้งอยู่ตำบลวังสะแกง ปากน้ำลี้ ได้สู้รบกับพม่าอีกหลายครั้ง และในปี พ.ศ. ๒๓๒๓ พญาจ่าบ้านก็ถูกพระเจ้ากรุงธนบุรีมีท้องตรามาเรียกให้ลงไปเฝ้าพร้อมกับพระเจ้ากาวิละ พญาจ่าบ้านถูกพิพากษาลงโทษที่ฆ่าเจ้าอุปราชก้อนแก้ว โดยถูกเฆี่ยนร้อยที แล้วถูกจำคุกไว้จนสิ้นชีวิตในคุกในปีต่อมา น้ำใจอันกล้าเด็ดเดี่ยวของพญาจ่าบ้านในวีรกรรมอันกระเดื่องเลื่องลือนั้นจนนิดเดียว ถ้าเราจะคิดเสียว่า คนที่ไม่เลยทำผิดก็คือคนที่ไม่เคยทำอะไรเลย แต่การกระทำความผิดของพญาจ่าบ้าน อาจจะเป็นความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในฐานะเป็นขุนศึกผู้มีหน้าที่รับผิดชอบชีวิตทหาร การขัดขืนคำสั่งของเจ้าอุปราชก้อนแก้วจึงเป็นสิ่งที่ต้องจัดการให้เด็ดขากลงไปก็เป็นได้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 15 •พฤษภาคม• 2012 เวลา 10:05 น.• )