เวียงจันทร์จะมีความสัมพันธ์กับเชียงใหม่ในทางใดทางหนึ่งเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่คล้ายกันมาก ผิวพรรณ รูปร่างหน้าตา ตลอดจนภาษาพูดและตัวหนังสือ “หนังสือเมือง” ของภาคเหนือ ของภาคเหนือนั้นมีข้อแม้อยู่นิดหนึ่งต้องอธิบาย เพราะตัวอักษรพื้นเมืองปัจจุบันที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับตัวหนังสือพม่าแต่ตัวหนังสือเวียงจันทน์มีส่วนคล้ายกับ “ตัวหนังสือฝักขาม” อันเป็นตัวอักษรพื้นเมืองแบบเก่ามีผู้รู้ท่านหนึ่งสันนิษฐานว่าตัวหนังสือแบบฝักนั้นมีมาก่อนที่เชียงใหม่จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า “ความสัมพันธ์” ในรัชสมัยของพระเมืองเกษเกล้าเจ้านครเชียงใหม่มีพระธิดาทรงพระนามว่าเจ้าหญิงยอดคำทิพหรืออีกชื่อหนึ่งเรียกกันว่า “พระนางหอสูง” พระบิดาจัดการให้อภิเษกสมรสกับพระโพธิสาราช ผู้เป็นราชโอรสของพระเจ้ากรุงศรีรัตนาคนหุตล้านช้าง พระนางได้ให้กำเนิดโอรสธิดาหลายพระองค์กับเจ้าชายพระองค์นั้นและองค์ที่มีความสำคัญมีชื่อเสียงมากก็เจ้าชายเชษฐวงศ์ ซึ่งเป็นโอรสองค์แรกในจำนวนโอรสและธิดาทั้งหมดรวมห้าองค์

เจ้าชายเชษฐวงศ์ได้รับพระราชทานนามจากพระราชบิดาว่า “พระอุปโยวราชล้านช้าง” มีพระราชมารดาเป็นเจ้าหญิงเชียงใหม่ ต่อมาอีกหลายปี ทางเมืองเชียงใหม่เกิดกบฏแสนดายขึ้นพระเมืองเกษเกล้าพระราชบิดาของพระนางหอสูงสิ้นพระชนม์เพราะพวกกบฎ พระมหาเทวีจีรประภาพพระราชธิดาอีกองค์หนึ่งได้จัดแต่งเสนามาตย์ผู้สูงด้วยวัยวุฒิเชิญพระเครื่องบรรณาการไปถวายต้อนรับพระไชยราชาธิราชพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ซึ่งเสด็จดำเนินพยุหโยธาทัพหลวงมาเพื่อจะช่วยเจ้าหญิงจิรประภาปราบกบฏแสนดาว แต่เผอิญเจ้าเมืองแสนหวีส่งคนมาช่วยได้ต่อสู้กับพวกแสนดาวเป็นสามารถและยังมีเจ้าเมืองอีกหลายเมืองยกทัพมาช่วยปราบกบฎจับได้ตัวหัวหน้าคือแสนดาวและลูกชายรวมทั้งพรรคพวกที่ร่วมในการปลงพระชนม์พระเมืองเกษเกล้าลงโทษประหารชีวิตเสียสิ้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชก็เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล ณ กู่ที่บรรจุอัฐิของพระเมืองเกษเกล้าทีวัดโลกโมฬี (ขณะนี้เป็นวัดร้างอยู่ทางประตูช้างเผือก)พระราชทานเงินกับผ้าทรงและพระราชทานรางวับแก่เสนาข้าราชการที่ไปเฝ้ารับเสด็จทั่วทุกคนจากนั้นได้เสด็จไปประทับแรมที่เวียงเจ็ดริน ตอนก่อนที่แสนดาวจะถูกจับได้นั้น ได้ปรึกษากับเสนามาตย์ที่เป็นพรรคพวกแต่งคนไปเชิญพระยารัฐเมืองเชียงตุงมาครองเมือง พระยาเขมรัฐไม่ยอมรับเชิญแสนดาวก็แต่งคนไปเชิญเจ้าฟ้าเมืองนายอีก แต่ยังไม่ทันจะได้รับคำตอบพวกอำมาตย์ผู้ใหญ่มีเจ้าหมื่นสามล้านเมืองลำปาง หมื่นแก้วเมืองเชียงราย และหมื่นมณีเจ้าเมืองเชียงแสน หมื่นยี่เจ้าเมืองพาน หมื่นหนังสือหลวงกับขุนนางอีกเป็นอันมากได้พากันไปประชุมปรึกษาหารือ ณ ที่เมืองเชียงแสน ได้พร้อมใจกันตกลงที่จะจัดแต่งคนไปเฝ้าพระเจ้าโพธิสาราชเจ้าเมืองล้านช้าง ทูลขอโยวราชล้านช้างซึ่งเป็นราชนัดดาพระเมืองเกษเกล้ามาเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกับที่เจ้าเมืองแสนหวียกทัพมาช่วยและได้ต่อสู้กับแสนดาวดังกล่าวทั้งอำมาตย์อีกพวกหนึ่งกับนางจิรประภาซึ่งบังเอิญได้รู้จักกับ “แขกเมืองชาวกรุงศรีอยุธยา” จึงได้หันไปขอความช่วยเหลือทางด้านโน้น และต่อมาบรรดาอำมาตย์ที่ไปร่วมประชุม ณ เมืองเชียงแสนก็ได้ยกทัพปราบแสนดาวอีกทัพหนึ่ง ทางฝ่ายพระเจ้าโพธิสาราชเจ้าเมืองล้านช้าง รับคำขอที่จะให้พระราชโอรสไปครองเมืองเชียงใหม่แล้วก็ได้ทรงแต่งตั้งแม่ทัพชื่อพระยากลาง พระยาสุระ ยกกองทัพล้านช้างไปเพื่อช่วยเชียงใหม่ให้พ้นจากอำนาจของพวกกบฏที่พระอุปโยวราชจะเสด็จไปถึงระหว่างนั้นทางกรุงสุโขทัยก็เอาเรือบรรทุกขึ้นมาหมายจะต่อรบกับเมืองเชียงใหม่ ครานั้นบรรดาเสนามาตย์ของเมืองเชียงใหม่ได้มีความแตกแยกออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคิดสู้ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งขอให้ไปเจรจาในทางการเมือง พระมหาเทวีจิรประภาทรงตัดสินใจให้เจรจาในทางการเมือง แต่ทางสุโขทัยคิดไม่ซื่อจึงเกิดสู้รบกันอีก เมื่อเกิดสู้รบกันนั้นเป็นเดือนห้า ทางฝ่ายเมืองเชียงใหม่ได้ชัยชนะ ขับไข่ข้าศึกออกไปและได้เชลย อาวุธเป็นจำนวนมากทั้งได้ฆ่าแม่ทัพนายทหารคนสำคัญหลายคน จนกระทั่งเดือนเก้าขึ้นสิบค่ำ พระไชยฐาอุปโยวราชแห่งล้านช้างจึงได้เสด็จถึงเมืองเชียงแสน ประทับอยู่ยี่สิบเอ็ดวัน ได้อุปสมบทกุลบุตรเป็นฤกษ์ แล้วเสด็จออกจากเชียงแสนไปยังเชียงราย จากเชียงรายเสด็จโดยทางสถลมารค มาประทับพลับพลาที่ตำบลเหมืองแก้วเมืองเชียงใหม่ ครั้นแล้วเจ้าแสนพิงไชยแก้ว เจ้าหมืนโลกสามล้าน แสนดาวนนคีรี และอำมาตย์ผู้ใหญ่อีกหลายคนก็พร้อมใจกันจัดเครื่องราชูปโภคและเครื่องแห่แหนสำหรับกษัตริย์ขัตติยวิสัย ออกไปต้อนรับเชิญเสด็จพระอุปโยวราช ดำเนินกระบวนมาถึงนครเชียงใหม่ประทับพลับพลาที่ข่วง (สนาม) วัดเชียงยืน ทรงเปลื้องเครื่องต้นและทรงนมัสการสักการบูชา พระพุทธรูปในวิหารวัดเชียงยืน ครั้งเวลาใกล้เที่ยงจึงได้เสด็จยาตราพลานิกรเข้าประตูช้างเผือกหัวเวียงสู่พระราชมณเฑียร ยามใกล้คำเสด็จไปนมัสการพระมหามณีรัตน์ ณ หอพระเก้า วันรุ่งขึ้นก็เสด็จไปนมัสการพระมหาเจดีย์หลวง ครั้นวันพุธเดือนสิบเอ็ดขึ้นสี่ค่ำ ได้ฤกษ์ ๒๖ นามเที่ยงวันสรงน้ำมุธาภิเษก ณ สวนแร แล้วอภิเษกราชธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่สองพระองค์ทรงนามว่าพระนางตนทิพและพระนางตนคำตั้งไว้ในที่มเหสีฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ต่อจากนั้นได้ไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ และได้เสด็จออกจากหอคำประชุมแต่งตั้งและเลื่อนยศตามฐานันดรโดยทั่วทุกคน ฝ่ายพระเจ้าโพธิสารราชเจ้าเมืองล้านช้าง ภายหลังที่พระราชโอรสได้เสด็จไปครองเมืองในลานนาประเทศได้สองปีพระองค์ได้เสด็จไปทรงช้างต่อออกแซกคล้องช้างเถื่อนที่สนามหัวยอดนครหลวงพระบาง ช้างที่นั่งทานกำลังช้างเถื่อนมิได้ก็ล้มทับพระเจ้าโพธิสาราชสิ้นพระชนม์ชีพในที่นั้น พระชนมายุเพียง ๔๒ พรรษา ครั้งนั้นเสนาข้าราชการในเมืองล้านช้างเกิดแตกกันเป็นสองพวกพวกนึ่งยกท้าวท่าเรือขึ้นเป็นพระเจ้าล้านช้างครองราชย์อาณาเขตตั้งแต่หลวงพระบางไปถึงเมืองเชียงคาน อีกพวกหนึ่งยกท้าวจันทร์ขึ้นเป็นพระเจ้าล้านช้างมีราชอาณาเขตตั้งแต่เวียงจันทน์ลงไปถึงเวียงโขง(สีทันดร) ทั้งสองฝ่ายต่างก็เป็นโอรสร่วมพระราชบิดามารดาเดียวกันกับเจ้าอุปโยวราช เมื่อเป็นเช่นนี้ต่างก็เตรียมการจะยกกองทัพเข้าสัปยุทธ์ทำสงครามชิงราชสมบัติกันความทราบถึงพระเจ้าอุปโยวราชที่ครองเมืองเชียงใหม่ซึ่งเป็นเชษฐาจึงทราบพระดำริที่จะเสด็จกลับไปกรุงล้านช้าง เพื่อจัดการพระศพและระงับข้อพิพาทระหว่างอนุชาทั้งสอง แต่การที่จะเสด็จไปนั้นก็มุ่งจะไปครองราชย์สมบัติสืบสันตติราชวงศ์ดำรงรัฐล้านช้างและคงไม่มีหวังจะได้เสด็จกลับมาครองเชียงใหม่อีกคราทีนั้น พระเจ้าอุปโยวราชล้านช้างก็ได้เก็บรวมรวมสรรพสมบัติสิ่งของอันมีค่าควรเมืองอันเป็นที่ต้องพระทัย เป็นต้น พระมหามณีรัตน์ปฏิมากรแก้วมรกตและพระจันทร์รัตนแก้วขาวกรุงละโว้ พระพุทธสิหิงค์ พระแซกคำและพระอื่น ๆ พาไปยังเมืองหลวงพระบางด้วย ครั้นเสด็จไปถึงเมืองหลวงพระบางแล้ว ก็ได้ปราบปรามชนะพระอนุชาทั้งสองและแสดงขึ้นเถลิงราชสมบัติกรุงศรีสัตนาคนหุตแทนพระราชบิดา ได้รับเฉลิมพระนามว่า “พระอุไภยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช” ต่อมาได้เป็นพระราชบุตรเขยสมเด็จพระมหาจักรพรรดราชาธิราชเจ้ากรุงพระนครศรีอยุธยา

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 29 •มีนาคม• 2012 เวลา 16:05 น.• )