กฏอิทัปปัจจยตา : หัวใจปฏิจจสมุปบาท.

อิมัสสะมิง สะติ อิทัง โหติ           เมื่อมีสิ่งนี้"มี" สิ่งนี้ ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ    เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัสสะมิง อะสะติ อิทัง นะโหติ    เมื่อสิ่งนี้"ไม่มี" สิ่งนี้ ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ     เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

มม. ๑๓๓๕๕๓๗๑, นิทาน. สํ. ๑๖๘๔๑๕๔

ปฏิจจสมุปบาท แห่ง ความสิ้นสุดของโลก

นะติยา อะสะติ อาคะติคะติ นะ โหติ เมื่อความน้อมไป ไม่มี, การมาและการไป ย่อมไม่มี

อาคะติคะติยา อะสะติ จุตูปะปาโต นะ โหติ เมื่อการมาและการไป ไม่มี, การเคลื่อนและการเกิดขึ้น ย่อมไม่มี

จุตูปะปาเต อะสะติ เนวิธะ นะ หุรัง นะ อุภะยะมันตะเร เมื่อการเคลื่อนและการเกิดขึ้น ไม่มี, อะไรๆ ก็ไม่มีในโลกนี้

ไม่มีในโลกอื่น ไม่มีในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง เอเสวันโต ทุกขัสสะนั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ละ.

อุทานขุ. ๒๕๒๐๘๑๖๑

ปฏิจจสมุปบาท

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ?”

ภิกษุทั้งหลาย :

เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย;

เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ;

เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป;

เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ;

เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ;

เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา;

เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา;

เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน;

เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ;

เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ;

เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย, ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ

โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.

 

เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้น นั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร;

เพราะมีความดับ แห่ง สังขาร จึงมีความดับ แห่ง วิญญาณ;

เพราะมีความดับ แห่ง วิญญาณ  จึงมีความดับ แห่ง นามรูป;

เพราะมีความดับ แห่ง นามรูป จึงมีความดับ แห่ง สฬายตนะ;

เพราะมีความดับ แห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับ แห่ง ผัสสะ;

เพราะมีความดับ แห่ง ผัสสะ จึงมีความดับ แห่ง เวทนา;

เพราะมีความดับ แห่ง เวทนา จึงมีความดับ แห่ง ตัณหา;

เพราะมีความดับ แห่ง ตัณหา จึงมีความดับ แห่ง อุปาทาน;

เพราะมีความดับ แห่ง อุปาทาน  จึงมีความดับ แห่ง ภพ;

เพราะมีความดับ แห่ง ภพ จึงมีความดับ แห่ง ชาติ;

เพราะมีความดับ แห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย  จึงดับสิ้น :

ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้.

นิทาน. สํ. ๑๖/๑/๑.

 

สิ้นนันทิ สิ้นราคะ

สัมมา ปัสสัง นิพพินทะติ; เมื่อเห็นอยู่โดยถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย

นันทิกขะยา ราคักขะโย; เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ(คือความเพลิน) จึงมีความสิ้นไปแห่งราคะ(คือความพอใจ)

ราคักขะยา นันทิกขะโย; เพราะความสิ้นไปแห่ง ราคะ จึงมีความสิ้นไปแห่ง นันทิ

นันทิราคักขะยา จิตตัง สุวิมุตตันติ วุจจะติ. เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ กล่าวได้ว่า “จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี” ดังนี้.

(สฬา.สํ. ๑๘/๑๗๙/๒๔๕-๖.)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 08 •กรกฏาคม• 2013 เวลา 10:52 น.• )