สัปดาห์นี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับความสะอาด และการทำความสะอาดกันครับ เพราะอิสลามเน้นหนักในเรื่องของความสะอาด

ความสะอาด ( اَلطَّهَارَةُ ) เป็นหลักการสำคัญในศาสนาอิสลาม เป็นกึ่งหนึ่งหรือครึ่งหนึ่งของการศรัทธา เป็นเอก ลักษณ์และลักษณะนิสัยที่โดด เด่นของมุสลิมผู้ศรัทธา อิสลามได้กำหนดบทบาทหน้าที่ประจำวันของมุสลิม ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนให้ครอบคลุมและผูกพันกับ การรักษา ความสะอาด ทั้งร่างกาย,เสื้อผ้า,อาหารและอื่น ๆ ทั้งส่วนตัวและสาธารณะ และอิสลามยังกำหนดให้ความสะอาดนั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่มี ผลผูกพันกับการ ปฏิบัติศาสนกิจของผู้ศรัทธาหลายประการ เช่น การละหมาดและการฏอวาฟเป็นต้น ท่านอาบูมาลิกกะอฺ บินอาศิมอัลอัช อะรีย์ ร่อฎิยัลลอ ฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า الطُّهُورُ شَطْرُالإِيْمَانِ “ การทำความสะอาด–ตามศาสนบัญญัติ–เป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา ” บันทึกโดยมุสลิม

ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า لاَ تُقْبَلُ صَلاَةٌ بِغَيْرِ طُهُوْرٍ “ การละหมาดโดยไม่มีการทำความสะอาด –ตามศาสนบัญญัติ– จะไม่ถูกตอบรับ ” บันทึกโดยอัดติรมิซีย์

ส่วนข้อความที่มักกล่าวถึงกันบ่อยๆครั้งว่า النَّظَافَةُ مِنَ الإِيْمَانِ “ การรักษาความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ”

แล้วอ้างว่าเป็นหะดีษจากท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้น แท้จริงแล้วเป็นหะดีษเมาฎั๊วะ ไม่สามารถตรวจสอบที่มาได้ ไม่มีสาย รายงานที่ถูกต้องรับรองยืนยันว่าเป็นหะดีษจากคำพูดของท่านรอซูลุล ลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่อย่างใด อาจมีบางบทที่มีเนื้อหาใจ ความใกล้เคียงกัน เช่น หะดีษจากท่าน อับดุลลอฮ์อิบนิมัสอูด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งบันทึกโดยอัดฏ็อบรอนีย์ว่า وَالنَّظَافَةُ تَدْعُوْ إَلَى الإِيْمَانِ “และการรักษาความสะอาดนั้นจะนำไปสู่การมีศรัทธา”

ก็เป็นหะดีษฎออีฟ ( ضَعِيْفٌ ) หรือฎออีฟญิดดัน ( ضَعِيْفٌ جِدًّا ) อ่อนมาก ๆ และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของนัก วิชาการศาสตร์อัลหะดีษ

ความสะอาดที่เป็นเงื่อนไขสำคัญผูกพันกับการปฏิบัติศาสนกิจนั้น เรียกว่า ( الشّرْعِيَّةُ اَلطَّهَارَةُ ) การทำความ สะอาดตามศาสนบัญญัติ แตกต่าง จากการทำความสะอาดด้วยวิธีการล้างหรือเช็ดถูปกติทั่วไป ในหลักการของ ศาสนาอิสลามได้จำแนกประเภทความสะอาดที่เป็นเงื่อนไขเกี่ยวข้อง กับการปฏิบัติศาสนกิจออกเป็น 2 ประเภท คือ

(1) ความสะอาดจากหะดัษ และ

(2) ความสะอาดจากนะยิส

หะดัษ

หะดัษ ( الْحَدَثُ ) คือ สภาพความไม่สะอาดของร่างกายที่มีผลทำให้ไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจบางประการได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.หะดัษเล็ก (الْحَدَثُ الأَصْغَرُ ) คือ สภาพความไม่สะอาดของร่างกายที่เกิดขึ้นจากการถ่ายอุจาระ ถ่ายปัสสาวะ ผายลม ฯลฯ หะดัษเล็กนี้สามารถ ชำระได้ด้วยการอาบน้ำละหมาด ( الوُضُوْءُ )

2.หะดัษใหญ่ (الْحَدَثُ الأَكْبَرُ ) คือ สภาพความไม่สะอาดของร่างกายที่เกิดขึ้นจากการหลั่งอสุจิ (ญะนาบะฮ์) การมีเลือดระดูหรือเลือดประเดือน (เฮฎ) เลือดจากการคลอดบุตร (นิฟาส) หะดัษใหญ่นี้สามารถชำระได้ด้วย การอาบน้ำฆุสลฺ ( الْغُسْلُ ) อาบน้ำชำระให้สะอาดหมดจดทั่วทั้งร่างกาย ตามลักษณะวิธีที่ศาสนาบัญญัติ

ทั้งนี้การทำความสะอาดในขั้นตอนปกตินั้นจำเป็นต้องใช้น้ำ เพราะอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงประทาน น้ำสะอาดลงมาเพื่อใช้ชำระสิ่งสก ปรกต่าง ๆ ให้สะอาด อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงมีรับสั่งไว้ว่า وَأَنْزَلْنَا مِنَ السَّمَاءِ مَاءً طَهُورًا “ และเราประทานน้ำที่สะอาด -มีประสิทธิภาพชำระสิ่งสกปรกได้- ลงมาจากท้องฟ้า ” ซูเราะฮ์อัลฟุรกอน อายะฮ์ที่ 48

แต่ในกรณีของบุคคลที่ไม่มีน้ำหรือไม่สามารถใช้น้ำชำระหะดัษทั้งสองประเภทด้วยลักษณะวิธีปกติได้ ก็ให้ใช้ วิธีทำตะยัมมุม( التَّيَمُّمُ ) ใช้ดินฝุ่น ทำความสะอาดชำระหะดัษแทนการใช้น้ำได้

นะยิส

นะยิส ( النَّجَاسَةُ ) คือสิ่งสกปรกโสโครก อันเป็นที่น่ารังเกียจตามศาสนบัญญัติ เช่น อุจาระ ปัสสาวะ เลือด น้ำลาย สุนัข ซากสัตว์ เป็นต้น บรรดานัก วิชาการได้แบ่งหรือจำแนกนะยิสออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. นะยิสมุค็อฟะฟะฮ์ ( الْمُخَفَّفَةُ ) ชนิดเบา คือ นะยิสที่เกิดจากปัสสาวะของเด็กทารกเพศชายที่อายุไม่เกิน 2 ขวบ ไม่ได้กินและดื่มสิ่งอื่นใดที่ ทำให้อิ่ม–หมายถึงเป็นอาหาร–นอกจากน้ำนมของมารดาเท่านั้น นางอุมมุกุรซฺ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า بَوْلُ الْغُلاَمِ يُنْضَحُ وَبَوْلُ الْجَارِيَةِ يُغْسَلُ “ ปัสสาวะเด็กทารกเพศชายให้พรมน้ำ ปัสสาวะของเด็กทารกเพศหญิงให้ล้างด้วยน้ำ ” บันทึกโดยอิบนุมาญะฮ์

และมีรายงานจากนางอุมมุก็อยส์ว่า“ นางนำบุตรชายของนางที่ไม่ได้กินอาหารอะไรเลยไปหาท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัล ลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็อุ้มเด็กนั่งไว้บนตัก ต่อมาเด็กนั้นปัสสาวะเปื้อนที่ผ้า ของท่านฯ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัล ลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงเรียกให้นำน้ำสะอาดมาแล้วพรมลงบน รอยปัสสาวะนั้นโดยไม่ได้ล้างแต่อย่างใด” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม

วิธีชำระ หากนะยิสนั้นมีจำนวนมากเจิ่งนองที่พื้นให้เช็ดคราบนะยิสนั้นออกให้หมดเสียก่อน แล้วใช้น้ำสะอาดพรมลงบน คราบหรือรอยนะยิสนั้นให้ทั่ว โดย ไม่ต้องให้น้ำไหลผ่านก็ถือว่าบริเวณที่เปื้อนนะยิสนั้นสะอาดแล้ว หรือหากว่า นะยิสนั้นมีจำนวนน้อยไม่เจิ่งนอง เช่นมีเพียงคราบเปื้อนที่เสื้อผ้าหรือ พื้นเท่านั้น ก็ให้ใช้น้ำสะอาด พรมลงบน คราบหรือรอยนะยิสนั้นให้ทั่วได้เลย แล้วเช็ดให้สะอาด

2.นะยิสมุตะวัสซิเฏาะฮ์ ( الْمُتَوَسِّطَةُ ) ชนิดปานกลาง คือ นะยิสที่เกิดจากอุจาระ ปัสสาวะ เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อาเจียน สิ่งที่ออกมาจาก ทวารทั้งสองยกเว้นอสุจิ ซากสัตว์ที่ตายเองโดยไม่ได้เชือดหรือเชือดโดย ไม่ถูกวิธี และมูลของสัตว์ที่รับประทานไม่ได้เป็นต้น

วิธีชำระ หากนะยิสนั้นเปื้อนบริเวณที่สามารถล้างออกได้โดยง่าย เช่น ตามร่างกายหรือสิ่งของ ให้ขจัดนะยิสนั้น ออกให้ หมดเสียก่อนทั้งสี,กลิ่นและรส (อัยนฺ) แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด โดยให้น้ำไหลผ่านจนนะยิสนั้นหมดคราบ อย่างน้อย 1 ครั้ง ที่ดีควรล้าง 3 ครั้ง หากปรากฏว่ายังมีสี,กลิ่นหรือรส อย่างหนึ่งอย่างใดเหลืออยู่ ซึ่งได้พยายามล้างให้ เกลี้ยงอย่างเต็มที่แล้วแต่ยังคงเหลือร่องรอยอยู่ ศาสนาถือว่าสามารถผ่อนผันหรืออนุโลมให้มี หุก่มสะอาดตาม ศาสนบัญญัติได้ // และหากนะยิสนั้นเปื้อนบริเวณที่ไม่สามารถชำระโดยการให้น้ำไหลผ่านได้ เช่น บนพื้นบ้าน ที่ไม่มีล่องหรือ ร่องพื้น ก็ให้ขจัดนะยิสนั้นให้หมดเช่นเดียวกันเสียก่อน แล้วจึงใช้น้ำสะอาดราดลงบนคราบนะยิส นั้นจนท่วม (หมายถึงให้มีพื้นที่กว้างกว่ารอยคราบ นะยิสนั้น) โดยพยายามราดน้ำไปในทางเดียวกัน แล้วใช้ผ้า สะอาดซับน้ำนั้นจนแห้ง ให้ทำ 3 ครั้งติดต่อกันหรือจนมั่นใจว่าสะอาดแล้ว // หากไม่สามารถรดน้ำให้ท่วมบน พื้นได้ เช่นนะยิส เปื้อนที่ฝาผนัง ก็ให้ขจัดนะยิสนั้นออกให้หมดเสียก่อนเหมือนกับกรณีก่อนๆที่ผ่านมา แล้วใช้ผ้า ชุบน้ำสะ อาดเช็ดคราบนะยิสที่เหลืออยู่จนหมดคราบ โดยเช็ดไปทางเดียวเท่านั้น อย่าเช็ดเป็นวง กลับไปกลับ มาหรือวนไปวนมา ให้ทำ 3 ครั้งหรือจนมั่นใจ ว่าสะอาดหรือเกลี้ยงแล้ว

3. นะยิสมุฆ็อลละเซาะฮ์ ( الْمُغَلَّظَةُ ) ชนิดหนัก คือ นะยิสที่เกิดจากน้ำลายของสุนัขที่เลียภาชนะหรือสิ่งอื่นๆ นักวิชาการเห็นพ้องเป็นมติร่วมกัน ว่า น้ำลายสุนัขเป็นนะยิสโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้ง ส่วนขนและอวัยวะอื่นๆนั้นเป็น นะยิสด้วยหรือไม ? เรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงโต้แย้งในหมู่นัก วิชาการ มัสฮับชาฟิอีย์และฮันบะลีย์ใน บางรายงานถือว่าสุนัขเป็นนะยิสทั้งตัว มัสฮับหะนะฟีย์และมาลิกีย์ถือว่าเป็นนะยิสเฉพาะน้ำลายเท่านั้น ส่วนขน และอวัยวะอื่นๆที่ถูกเลียนั้นถือว่าเปื้อนนะยิส และเมื่อล้างอย่างถูกวิธีก็สะอาดตามเดิม ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า طَهُورُ إِنَاءِ أَحَدِكُمْ إِذَا وَلَغَ فِيهِ الْكَلْبُ أَنْ يَغْسِلَهُ سَبْعَ مَرَّاتٍ أُوْلاَهُنَّ بِالتُّرَابِ “การทำความสะอาดภาชนะของคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านเมื่อสุนัขเลียภาชนะ คือให้เขาล้าง ภาชนะด้วยน้ำสะอาด 7 ครั้ง โดย ครั้งแรกเป็นดิน” บันทึกโดยมุสลิม

วิธีชำระ ให้ขจัดนะยิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วจึงล้างด้วยน้ำสะอาด 7 ครั้ง โดย 1 ใน 7 ครั้งนั้นต้องเป็นดิน(น้ำปนดิน)ที่ สะอาด และควรเป็นครั้งที่แรก (อัฟฎ็อล) เพื่อให้น้ำสะอาดที่เหลืออีก 6 ครั้งนั้นช่วยชำระคราบดินให้สะอาดไป พร้อมๆกันด้วย และมีบางรายงานระบุว่า إِحْدَاهُنَّ بِالتُّرَابِ “ครั้งหนึ่งครั้งใดก็ได้ด้วยดิน”

และมีอีกบางรายงานระบุว่า أُخْرَاهُنَّ بِتُرَابٍ “ครั้งสุดท้ายด้วยดิน”

และในบางรายงานก็ระบุว่าให้ใช้ดินเป็นครั้งที่ 8 นอกเหนือจากใช้น้ำ 7 ครั้งแล้ว เช่นรายงานของท่านอับดุลลอฮ์ บินอัลมุฆ็อฟฟัล ร่อฎิยัลลอฮุ อันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า إِذَا وَلَغَ الْكَلْبُ فِي الإِنَاءِ فَاغْسِلُوْهُ سَبْعَ مَرَّاتٍ وَعَفِّرُوهُ الثَّامِنَةَ فِي التُّرَابِ “เมื่อสุนัขเลียภาชนะ พวกท่านจงล้าง 7 ครั้ง (ด้วยน้ำสะอาด) และพวกท่านจงเคล้ามันครั้งที่ 8 ในดิน” บันทึกโดยอันนะซาอีย์

มีนักวิชาการบางกลุ่ม เช่น อุละมาอฺมัสฮับชาฟิอีย์ส่วนใหญ่ นับสุกรหรือหมูเป็นนะยิสชนิดเดียวกับน้ำลายสุนัข จำเป็นต้องล้าง 7 ครั้งเหมือนน้ำ ลายสุนัข แต่กระนั้นนักวิชาการระดับแนวหน้าในมัสฮับขาฟิอีย์เองหลายคน ก็ไม่ยอมรับและเห็นด้วยกับทรรศนะนี้ โดยถือว่าสุกรไม่เป็นนะยิสมุฆ็อล ละเซาะฮ์ ไม่ต้องล้างน้ำ 7 ครั้ง แต่เป็น นะยิสมุตะวัสซิเฏาะฮ์ธรรมดา ล้างน้ำให้สะอาดเพียงครั้งเดียวก็ถือว่าสะอาดใช้ได้แล้ว เช่น ท่านอิหม่ามอัล มุตะวัล ลีย์และอิหม่ามอัรรอฟิอีย์ และรวมถึงอิหม่ามอันนะวะวีย์ที่กล่าวว่าเป็นทรรศนะของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ เองด้วย )

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 09 •ธันวาคม• 2012 เวลา 16:54 น.• )