วันเสาร์ ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๕๕ วัดวังฟ่อนจัดประเพณีขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดของประชาชนวังฟ่อนมีมาแต่การก่อตั้งหมู่บ้านแต่โบราณแล้ว สาเหตุแห่งการขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดมีสาเหตุหลายประการคือ วัด มีการก่อสร้างถาวรวัตถุ เช่น โบสถ์ วิหาร เป็นต้น สมภารจึงขอแรงชาวบ้านที่ยังหนุ่มและสาวช่วยกันขนทรายเข้ามากองไว้ในคราว เทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นวันที่ชาวบ้านว่างงานการทั้งหลาย และน้ำในแม่น้ำแต่ละสายแห้งขอดเขินเนินทรายสามารถนำทรายขึ้นฝั่งได้ง่าย คนสมัยก่อนไม่นิยมสวมรองเท้าเข้าวัดทิ้งรองเท้าไว้นอกวัด ต้องเดินเท้าเปล่าเข้าวัด ขึ้นไปบนวิหาร วัดที่มีทรายมากย่อมไม่เปื้อนเท้าเพราะทรายมากย่อมไม่เปื้อนเท้าเพราะทราย เป็นเครื่องเช็ดถูเปอะตมได้เป็นอย่างดี ให้ภายในวัดวาอารามไม่เป็นเปอะตมเฉอะแฉะ ประชาชนสามารถเดินเข้าไปมาได้สะดวก ในคราวมาทำบุญ วัดเป็นสถานที่รื่นรมย์ที่เรียกกันว่าอาราม การมีทรายอยู่ในวัดมาก ทำให้วัดสะอาดน่าอยู่ ประชาชนจึงนิยมขนทรายเข้าไปในวัดกันเสมอมา วัดที่มีทรายมากป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น หรือมีหญ้าขึ้นบ้างก็ถอนง่ายกว่าหญ้าที่ขึ้นบนดินล้วน ๆ วัดทุกวัดของล้านนาจึงนิยมนำทรายเข้าวัดเพื่อป้องกันหญ้าขึ้น โซดาถ่ายภาพ

ประวัติและตำนานเกี่ยวกับเจดีย์ทราย ในตำนานเมืองหริภุญชัยกล่าวถึงการที่พระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทไว้บนที่หาด ทรายเป็นวาลุกเจดีย์ ณ แม่น้ำมนที ในคัมภีร์ธรรมของล้านนาไทยกล่าวว่า “ในสมัยที่พระพุทธเจ้าเป็นชายสามัญมีนามว่า ติสสะ เป็นคนเข็ญใจยากไร้ หาเช้ากินค่ำ เลี้ยงชีวิตด้วยการรับจ้างตัดฟืนขาย แต่เป็นผู้มีศีลธรรมดี เป็นที่รักของประชาชนชาวบ้านมาก วันนี้ติสสกุมารเดินทางออกจากบ้านไปสู่กลางป่าแห่งหนึ่ง มีลำธารไหลผ่านมีหาดทรายขาวงดงามนัก มีจิตปสาทะอยากจะทำบุญจึงได้เอาทรายมาก่อเป็นเจดีย์ ฉีกเสื้อที่ตนสวมอยู่นั้นเป็นยอดธงปักลงบนพระเจดีย์ทรายนั้น และตั้งอธิษฐานว่า อิมินา ปุญญกมเมนาหํ วาลุกเจติยํ กตรา สุขีอตตานํ ปริหรนโต นิพพานปจจโยมหิ เม นิจจํ ด้วยอำนาจบุญกรรมกุศลการก่อพระเจดีย์ทรายนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้บริหารตนให้มี ความสุขและเป็นปัจจัยแห่งพระนิพพานเจ้าเถิด และขอให้ข้าพเจ้านั้นได้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลก เมื่อพระโพธิสัตว์ติสสะบำเพ็ญบารมีเต็มที่เต็มถ้วนแล้ว ก็ได้มาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 15 •เมษายน• 2012 เวลา 08:46 น.• )