ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้424
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้798
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้3421
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3948
mod_vvisit_counterเดือนนี้9602
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว14709
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2272542

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 7
หมายเลข IP : 3.15.141.206
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 18 •พ.ค.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •7 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

พระเจ้าไชยศิริ

สืบเนื่องมาจากพระเจ้าพรหมมหาราชที่เคยลงเว็บไซต์ พระเจ้าพรหมมหาราชยับยั้งพักพลอยู่เพียงนั้นชั่วคราว ต่อมาพระเจ้าพรหมก็เลิกทัพกลับไปยังโยนกมหานคร อัญเชิญพระองค์พังคราชพระราชบิดาขึ้นครองราชย์ตามเดิม แล้วทรงตั้งเจ้าชายทุกขิตกุมารผู้พี่ขึ้นเป็นมหาอุปราช ขนานนามพระนครว่า นครไชยบุรี ส่วนพระองค์เสด็จไปสร้างเมืองขึ้นอีกเมืองหนึ่ง เพราะไม่ไว้ใจข้าศึก เกรงจะยกทัพมารุกรานอีก เมืองที่พระเจ้าพรหมทรงสร้างครั้งนี้ เป็นทำเลริมน้ำ แม่น้ำนั้นมีรูปร่างคล้ายฝักฝาง ไหลติดต่อกับแม่น้ำกก เป็นทางที่พวกข้าศึกอาจยกมา เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ขนานนามพระนครใหม่กว่านี้ เมืองไชยปราการ ปัจจุบันนี้กลายเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่เรียกสั้น ๆ ว่าอำเภอฝาง พระเจ้าพรหมก็เสด็จมาครองราชย์ อยู่ที่นครไชยปราการตอนนั้น แว่นแคว้นโยนกมีสี่มหานครด้วยกัน คือ ไชยบุรีโยนกนครหลวง ๑ เวียไชยนารายน์แคว้นขวา ๑ เวียงไชยปราการแคว้นซ้าย ๑ และเวียงพางคำอีก ๑ พระเจ้าพรหมมหาราช ครั้นได้อภิเษกกับพระนางแก้วสุภา แล้สก็ได้พระราชโอรส ทรงพระนามว่าพระเจ้าไชยศิริกุมาร

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดพระธาตุปูแจ

วัดพระธาตุปูแจ ตั้งอยู่ที่บ้านบุญเริง หมู่ที่ ๔ บ้านบุญเริง ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งชาติ พระธาตุปูแจประดิษฐานในเจดีย์สี่เหลี่ยมจตุรัส ยาวด้านละ ๔ เมตร สูง ๔ เมตร บรรจุพระธาตุตาตุ่มข้างขวา (กระดูกข้อเท้า)ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธาตุปูแจ เป็นโบราณสถานที่สำคัญอยู่ที่จังหวัดแพร่ สร้างมาแต่โบราณนานหลายร้อยปี หลายยุคหลายสมัย และมีเจ้าผู้ครองนครแพร่หลาย ๆ พระองค์ได้ บูรณะปฏิสังขรณ์เป็นประจำเสมอมา งานนมัสการพระธาตุปูแจ หรืองานขึ้นพระธาตุ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ - ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี (เดือน๕ เหนือ) ประวัติพระธาตุปูแจ ในสมัยที่พระโพธิ์สัตว์เสวยพระชาติเป็นเนื้อทรายทองได้ถูกนายพรานติดตามรอยเป็นเวลานาน เมื่อเดินทางมาถึงเขาลูกนี้เกิดอาการบาดเจ็บ ขัดเบา (อาการของโรคปัสสาวะไม่ออก)ได้รับทุกข์ทรมานอยู่เป็นเวลานาน ๓ วัน จึงถึงแก่ความตาย การเกิดขัดเบา(อาการของโรคปัสสาวะไม่ออก) ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ปวดแจ เมื่อพระโพธิ์สัตว์ได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ได้เสด็จมาเผยแพร่ธรรมให้ประชาชนถึงดอยม่วงคำ (อำเภอเมืองพะเยา)เสด็จตามรอยทางเดิมถึงเขาลูกนี้ ก็ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์ซึ่งเสด็จตามจึงทูลถามว่า มีอะไรเกิดขึ้นที่นี่ ก็ทรงตรัสเล่าถึงความหลังให้ฟังโดยตลอด พระอานนท์ก็ทูลขอว่าแห่งนี้ควรเป็นที่สักการะแห่งพุทธศาสนิกชนทั้งหลายในกาลภายหน้าสืบไป พระพุทธเจ้าจึงพระราชทานเกศาเส้นหนึ่งให้แก่พระอานนท์ ณ บัดนั้นพระอินทร์ก็เนรมิตรผอบมารองรับบรรจุพระเกศาไว้ นำไปประดิษฐ์ในอุโมงค์เขาลูกนี้ และต่อมาได้สร้างพระธาตุปูแจ ไว้ให้ประชาชนได้กราบไว้สักการะบูชา (ท่านสามารถอ่านบทความทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับพระธาตุปูแจได้ที่ประวัติพระธาตุหนองจันทร์เมนูอำเภอสอง)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 15 •มีนาคม• 2012 เวลา 16:17 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

“ขุนฟ้า” จารบุรุษของพระเจ้าเม็งราย

“ขุนฟ้า” จารบุรุษของพระเจ้าเม็งราย ครั้งหนึ่ง พระเจ้าเม็งรายผู้ครองนครเงินยาง ทรงพระราชดำริว่า ราชอาณาจักรล้านนาไทยประเทศนี้ มีท้าวพระยาหัวเมืองซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ดำรงราชครองนครอยู่เป็นสัดส่วนย่อมมีการวิวาทแย่งชิงดินแดน และส่วยไร่ ตลอดจนไพร่พลต่อกันมิได้ขาด หาทางสามัคคีปรองดองกันมิได้ พระเจ้าเม็งรายทรงรำพึงต่อไปอีกว่า ประเทศราชธานีใดถ้ามากเจ้าหลายนาย ไพร่บ้านพลเมืองก็เป็นทุกข์ เนื่องจากมีความระแวงสงสัยซึ่งกันและกันระหว่างผู้เป็นใหญ่ จำตูจะประปรามพระยามหานครทั้งหลายเหล่านี้เข้ารวมกันเข้าเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้เป็นความผาสุกแก่ราษฎรภายหน้า ด้วยฉะนี้ พระเจ้าเม็งรายก็ส่งคนไปยังเมืองต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือในการรวมอาณาจักร ที่เมืองใดไม่เห็นด้วยก็จะแต่งกองทัพไปปราบปราม ถอดเจ้าเมืองออกเสียจากตำแหน่งและตั้งขุนนางของตนขึ้นรั้งตำแหน่งแทน แต่นั้นมาหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหลายต่างอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้นแต่พระเจ้าเม็งราย ครั้นแล้วผู้ครองนครเงินยางก็คิดจะปราบปรามหัวเมืองฝ่ายใต้ต่อไป ได้ยกกองทัพไปที่ตำบลเต่าร้อย และได้ไปสร้างเมืองเชียงราย ประทับอยู่เมืองใหม่นี้ได้สามปีก็ยกจากมืองเชียงรายไปประทับอยู่ที่เมืองฝางเนื่องด้วยเมืองฝางอยู่ติดกับเมืองหริภุญไชย

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันมาฆบูชา ปี ๒๕๕๕

พิธีตักบาตรตอนเช้า เนื่องในวันมาฆบูชา เหตุที่พุทธศาสนิกชนถือว่า "วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน ๔ ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า "จาตุรงคสันนิบาต" อันเป็นประดุจการปฐมนิเทศในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เพราะเป็นการประชุมของผู้บริสุทธิ์ล้วน ๆ และเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมเพื่อรับฟังทิศทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จุดโคมมาฆประทีปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในวันมาฆบูชา เหตุอัศจรรย์ในวันมาฆบูชา ๔ ประการ คือ ๑. เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ ดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันเพ็ญเดือน ๓ ) , ๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมโดยมิได้นัดหมาย, ๓. ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ทรงอภิญญา, ๔. พระภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ที่ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา ซึ่งพระบรมศาสดาทรงประทานการบวชให้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 07 •มีนาคม• 2012 เวลา 22:04 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดพระธาตุจอมแจ้ง

ตำนานพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พุทโธ ภะคะวา อะหัง วันทามิ สิระสา เทฺว(เทวะ) เกสาธาตุ ปะติฏฐิตา เสสะ ปัพพะตัง อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ สัพพะโส สะทาโสตถิ ภะวันตุเม “ว่า ๓ หน” พระธาตุจอมแจ้งมีประวัติการณ์เป็นมาดังนี้ กล่าวคือ ในสมัยปัจฉิมโพธิกาลก่อนที่พระสัพพัญญูตญาณเจ้าจะเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน พระองค์ทรงพิจารณาใคร่ครวญจินตนาการพึงหมู่สัตว์ที่ตกค้างอยู่ในวัฏฏะสงสารแห่งห้องอันกันดารกล่าวคือ การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะสงสารให้เขาได้ไปสู่สถานที่อันเกษมจากโยคะ กล่าวคือ พระนิพพานอันเป็นสถานอันปราศจากเสียซึ่งความเวียนว่ายตายเกิดต่อไป ล้วนเต็มไปด้วยความสุขไม่มีทุกข์เจือปนเป็นยอดปราถนาของปวงขนผู้ใฝ่สันติสุขทั้งหลายเมื่อพระองค์ประทับอยู่ในเขตมหาวิหารของนายอนาถบิณฑิกะมหาเศรษฐีสร้างถวายในกรุง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 05 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:50 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

“กาดโถม” นายช่างพระเจ้าเม็งราย

“อันชาติใดไร้ช่างชำนาญศิลป์ เหมือนนารินไร้โฉมประโลมสง่า” ผู้เอ่ยคำนั้นออกมาเป็นชายหนุ่ม ซึ่งศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคนิคแผนกอุตสาหกรรมศิลป และจากคำว่า “ช่าง” นี้เองทำให้นึกไปถึง “ช่างเอก” ในรัชสมัยพระเจ้าเมงรายมหาราช ซึ่งเป็นยุคที่ราชสำนักพระเจ้าเมงรายกำลังรุ่งเรืองด้วยเดชานุภาพอันเกรียงไกรของกษัตริย์แห่งล้านนาประเทศ พระองค์ทรงสร้างความเจริญให้แก่ล้านนาไทยเป็นอันมาก แม้จะทรงเป็นนักรบผู้แกร่งกล้า ก็มิได้ทรงหลงลืมที่จะสร้างความเจริญในด้านศิลปวิทยา ด้านศาสนา และในด้านสร้างสรรค์บ้านเมือง รวมทั้งการแสวงหาผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาการต่าง ๆ เข้ามาในบ้านเมืองเป็นจำนวนมาก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 05 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:55 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เลี้ยงผีเจ้าบ้าน

หมู่บ้านวังฟ่อนได้จัดประเพณีเลี้ยงผีเจ้าบ้านประจำปี ๒๕๕๕ ตรงกับ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๖ เหนือ ปีนี้ตรงกับวันทร์จันทร์ ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ซึ่งได้จัดกับมาตั้งแต่ป่อใหญ่ราษ ใจกุมได้มาตั้งหมู่บ้าน เป็นประเพณีที่ชาวเหนือสืบทอดกันมาก่อนหน้านั้น สาเหตุที่มีการเลี้ยงผีเจ้าบ้าน เนื่องจากสมัยก่อนชาวเหนือเชื่อกันว่าผีเจ้าบ้านที่ได้อัญเชิญมาแต่ละหมู่บ้านนั้น เชิญให้ท่านมาปกป้องรักษาหมู่บ้านรวมถึงประชากรในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข รอดพ้นจากภัยทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย หรือวาตภัย ภูตผีปีศาจ สิ่งเร้นลับที่มองไม่เห็น ทางจิตวิทยาเป็นการสร้างเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ชาวบ้านมั่นใจว่าจะไม่มีภัยอันตรายใด ๆ เข้ามา อีกทั้งทำให้คนในชุมชนเกิดความรักษาสามัคคี อยู่กันฉันพี่น้อง เด็กให้เคารพผู้ใหญ่ และเป็นการร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาถิ่นที่อยู่ของตัวเองต่อไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 07 •มีนาคม• 2012 เวลา 11:03 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประชุมงานงานบรรพชาอุปสมบท

ภาพประชุมวันศุกร์ ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. ผู้นำหมู่บ้านวังฟ่อนจัดการประชุมคณะกรรมการวัดและหมู่บ้าน  เรื่อง “งานบรรพชาอุปสมบทภาคฤดูร้อน วันที่ ๑ - ๔ เมษายน  ๒๕๕๕”  การประชุมได้มีมติให้จัดการแสดงมหรสพ รำวงในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๕ การแสดงซอพื้นบ้าน ช่วงกลางวัน – กลางคืนทุกวัน การแสดงบนเวทีของโรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) และมอบหมายให้แต่ละหมู่บ้านรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ในด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาให้ทางวัดวังฟ่อนและคณะครูโรงเรียนวังฟ่อนวิทยาเป็นประจำทุกปี การงานบรรพชาอุปสมบทภาคฤดูร้อนได้จัดเป็นประจำทุกปีโดยครั้งแรกท่านพระครูอินทปัญญาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่ได้จัดการบวชขึ้นมาจนเป็นประเพณีสืบต่อกันมาของหมู่บ้านวังฟ่อน ท่านที่สนใจบวชทดแทนบุญคุณพ่อ แม่ หรือบวชเรียนระดับมัธยมศึกษา สามารถติดต่อได้ทาง โรงเรียนวังฟ่อนวิทยา โทร ๐๕๔-๖๕๒๑๔๒

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 26 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 18:46 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

เจ้าแสนภู – ผู้รักสันติ

ครั้นนั้นพระยาไชยสงครามหรือขุนคราม ราชบุตรพระเจ้าเมงรายได้ขึ้นครองเมืองนครพิงค์เพียงสี่เดือน ทรงจัดการทุกสิ่งทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มอบราชสมบัติให้แก่เจ้าแสนภูราชโอรสปกครองแล้วจัดให้พ่อท้าวน้ำท่วมราชบุตรองค์กลางให้ไปครองเมืองฝางส่วนเจ้าท้าวงั่วราชบุตรองค์น้องโปรดให้ไปครองเมืองเชียงของส่วนพระองค์ก็เสด็จไปครองเมืองเชียงรายอย่างเก่า กาลก็ล่วงไปได้ปีหนึ่งไม่มีอะไรเกิดขึ้นต่างทางฝ่ายเจ้าขุนเครื่องซึ่งเป็นอนุชาของพระยาไชยสงครามครองเมืองนายอยู่ครั้งยกเมืองเชียงใหม่ให้ราชนัดดาคือเจ้าแสนภูขึ้งครอบครองดังนั้นก็ไม่พอพระทัยจึงจัดแต่งรี้พลไทยใหญ่ของพระองค์เตรียมพร้อมจะยกมาชิงราชสมบัติ เข้าขุนเครือยกพลมาถึงเวียงกุมกามพักพลอยู่ ณ ทุ่งข้าวสาร ทำเป็นเครื่องบรรณาการของฝากส่งไปถึงเจ้าแสนภูและสั่งบอกไปว่า “อาแต่งเครื่องสักการะมาสำหรับพระบรมศพเสด็จพ่อคือเจ้าเมงรายมหาราชเจ้าอย่าได้สงสัยในตัวอาเลยขอจงให้คนเปิดประตูเวียงเพื่อจักได้ไปบูชาพระบรมศพดังกล่าวแล้วขอให้เจ้าหลานแสนภูจงอยู่เป็นสุขเถิด”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 24 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 22:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อำเภอยิ้มที่นาหลวง

ภาพกิจกรรม วันศุกร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ นายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง มอบให้นายวิทิต เที่ยงไทย ปลัดอำเภอ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง  เป็นประธานเปิดโครงการอำเภอยิ้มเคลื่อนที่ ณ.วัดนาหลวง ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ หมู่บ้านนาหลวงเป็นหมู่บ้านที่อยู่ทางเหนือของอำเภอสอง สร้างเมืองเมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๙  พ่อเฒ่าทาซึ่งเป็นพรานป่าจากบ้านทุ่งวัวแดง  อำเภอสาจังหวัดน่านได้เดินทางเข้ามาล่าสัตว์ ได้มาเห็นบริเวณที่ราบของห้วยเอียบ ห้วยเป้า และห้วยแม่เต้น ที่มีผืนป่าอุดมสมบูรณ์ จึงได้ชักชวนพรรคพวก และญาติพี่น้องประมาณ ๑๐ ครอบ ครัว  เข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน ทำการบุกเบิกพื้นที่ทำไร่ ทำนา ทำสวน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 23 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 15:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

มัสยิดเด่นชัย

มัสยิดเด่นชัย มีชื่อเป็นภาษาอาหรับว่า มัสยิดกามาลุ้ลอิสลาม ตั้งอยู่เลขที่ ๓๙๒/๑ หมู่ที่ ๒ ตำบล เด่นชัย อำเภอ เด่นชัย จังหวัด แพร่ ครับ มุสลิมคนแรกที่อพยพเข้ามาในจังหวัดแพร่คือ ท่านอุดมาน อุดม ชาวศรีลังกา โดยทำงานให้กับบริษัทบอเนียว ต่อมาก็มีชาวปากีสถาน บังกลาเทศ พม่า มลายู และมุสลิมไทย จากจังหวัดต่างๆเข้ามาในจังหวัดแพร่ กระจายอยู่หลายอำเภอนะครับ เมื่อมุสลิมมีมากขึ้นนะครับ ท่านอุดมานจึงเชิญชวนผู้คนมาละหมาดที่บ้านของท่าน เมื่อท่านเริ่มมีฐานะดีขึ้น ท่าน และคนในครอบครัวจึงบริจาคที่ดิน จำนวน ๑ ไร่ ๒ งาน และร่วมกันสร้างมัสยิดจนสำเร็จในปี ๒๕๓๖ จุดเด่นของมัสยิดเด่นชัยอยู่ที่ ภายนอกเป็นปูนก่อฉาบ แต่ส่วนประกอบภายในเป็นไม้สักทองทั้งหลังนะครับ มัสยิดเด่นชัย เป็นชุมชนมุสลิมเล็กๆนะครับ แต่ให้ความสำคัญกับการปลูกฝัง คุณธรรม และจริยธรรม โดยในส่วนของการเรียนการสอนศาสนาทั้งเยาวชน และผู้ใหญ่ ที่มีการใฝ่รู้นะครับ จะจัดให้มีการเรียนการสอน ในวันเสาร์ และอาทิตย์ครับ และระหว่างปิดภาคเรียนจะมีการเรียนการสอนทุกวัน หยุดวันพฤหัส กับวันศุกร์ครับ โดยจะมีครูสอนศาสนาจากภาคกลาง และภาคใต้มาสอน ปัจจุบันคือ ตัวผมเองทำหน้าที่นำละหมาด และครูสอนศาสนา ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบัน และนี่คือประวัติของมัสยิดเด่นชัย พอสังเขปครับ ขอบคุณนะครับ ที่ท่านให้ความสนใจ ในมัสยิดเด่นชัยครับ มูหะหมัดรอซี อีหวี

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 22 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 14:48 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

หมื่นโลกสามล้าน – ยอดขุนศึก

วีรกรรมอันโดดเด่นเต็มไปด้วยความจงรักภักดีของหมื่นโลกสามล้านที่มีต่อราชบัลลังก์ของพระเจ้าติโลกราช ถ้าพระเจ้าติโลกราชไม่ได้ยอดขุนศึกอย่างหมื่นโลกสามล้านคงรักษาราชสมบัติไว้ได้โดยยาก หมื่นโลกสามล้านได้รับพระราชทานอำนาจอาชญาสิทธิ์ดั่งขงเบ้งได้รับจากพระเจ้าเล่าปี่ จึงสามารถบัญชาการรบอย่างเด็ดขาดสามารถรบกับท้าวซ้อยพระอนุชาของพระเจ้าติโลกราชในการแย่งชิงอำนาจการปกครอง จนกระทั่งท้าวซ้อยสิ้นพระชนม์ในสนามรบ  หมื่นเทิงสามขนานเป็นคนชักศึกเข้าบ้านซึ่งนับเป็นมหันตโทษร้ายแรง หมื่นโลกสามล้านก็ได้พิจารณาโทษด้วยตนเอง พอเจ้าหมื่นโลกสามล้านเลิกทัพกลับถึงนครพิงค์ พอดีถึงย่ำค่ำยังไม่ทันจะได้พักผ่อนให้หายเหนื่อย พระเจ้าเหนือหัวมีรับสั่งให้เข้าเฝ้าปรึกษาราชการเรื่องศึกกรุงศรีอยุธยาที่กำละงจะยกทัพมาทันที พระเจ้าติโลกราชทรงปรารภว่า พระองค์ก็เพิ่งจะปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ใหม่ บ้านเมืองก็ยังไม่เรียบร้อย เมื่อมีศึกติดพระนครดังนี้ จะทำประการใดดี หมื่นโลกสามล้านซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าเหนือหัวติโลกราชก็กราบทูลว่า “ขอเจ้าเหนือหัวอย่าได้ร้อนพระทัยไปเลย ข้าพระพุทธเจ้าจะขออาสายกกองทัพออกไปตั้งรบกองทัพอโยธยาไว้แต่ไกล มิทันให้ล่วงล้ำถึงนครพิงค์ได้ เบื้องว่าเจ้าอยู่หัวได้ขึ้นครองราชย์ใหม่ ผู้ใดจะรักบ้างชังบ้างมิรู้ทีจึงขอให้รักษาพระองค์อยู่ในเวียง และแต่งการป้องกันศัตรูภายในไว้ให้จงมั่น และขอจงโปรดพระราชทานบำเหน็จรางวัลให้แก่ผู้ไปราชการทัพ ในเมืองฝางให้ทั่วถึง จะได้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจทหารหาญให้มีใจภักดียิ่งขึ้น พระเจ้าติโลกราชก็ปฏิบัติตามคำแนะนำทุกประการ”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 17 •มีนาคม• 2012 เวลา 17:58 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พระชนนีออกศึก

ครั้งนั้นเจ้าท้าวลกได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ ทรงพระนามว่าพระเจ้าติโลกราช เป็นบุตรองค์ที่หกของพระเจ้าสามฝั่งแกนในราชวงศ์เมงราย เป็นเจ้าเหนือหัวเมืองเชียงใหม่ที่ทรงพระปรีชาสามารถและมีบุญญาธิการยิ่งนัก ในรัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยเหตุการณ์อันน่าสนใจหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งในด้านการเมืองและการศาสนา และการศึกสงครามซึ่งยุคนั้นไทยยังไม่ได้รวมกันเป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะในแว่นแคว้นแดนล้านนาไทยเองก็ยังแยกกันครอบครองนครเป็นเอกเทศไม่ขึ้นต่อกันที่ตำหนักของพระมหาเทวีซึ่งดำรงตำแหน่งพระราชชนนีรัชกาลพระเจ้าติโลกราชคงร่ำตลบอบอวลไปด้วยกลิ่นน้ำอบน้ำปรุงและกลิ่นสุคนธรสเฟื่องฟุ้งขจรขจายนางข้าหลวงปะรจำพระองค์ต่างก็สาละวนกับการปักสะดึงตรึงไหมบ้างก็ปั่นด้ายบ้างก็ทอผ้าบ้างก็ปักลวดลายลงพื้นไหมปนกำมะหยี่เป็นลวดลายอันบรรเจิดตระการตา

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

แสดงโขน - ศาลาเฉลิมกรุง

ด้วย จังหวัดแพร่ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ และเทศบาลเมืองแพร่ สภาวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ โดยความร่วมมือของมูลนิธิศาลาเฉลิมกรุง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กำหนดจัดการแสดงโขน - ศาลาเฉลิมกรุง ชุด "หนุมานชาญกำแหง" ขึ้น ในที่ ๑๔ - ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. ณ บริเวณสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินตามรอยพระพุทธบาทในการอนุรักษ์ ทำนุบำรุง และสืบสานนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยให้คงอยู่สืบไป และเป็นการสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนชาวไทย เกิดความรัก และหวงแหนศิลปะการแสดงชั้นสูง

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วีรสตรีแห่งลุ่มน้ำระมิงค์

เชียงใหม่คือถิ่นไทยงามคือแดนดอกเอื้องเมืองแหน่งวัฒนธรรมเชียงใหม่ที่สันกำแพงและลำพูนมีเครื่องเงินเครืองเขินและช่างไม้ มีร่ม มีกุหลาบ มีลำไย ประวัติศาสตร์ก็มีวีรสตรีชาวเชียงใหม่ชื่อนางเมือง นางเมืองคนนี้เป็นภรรยาของเจ้าหมื่นโลกนครแม่ทัพคนสำคัญของพรเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์แห่งนครพิงค์ พระเจ้าแสนเมืองมามีพระชนมายุเพียงสิบสี่พรรษาก็ได้ขึ้นเถลิงราชสมบัติสืนสนองพระราชบิดาคือท้าวกือนาซึ่งเสด็จทิวงคตที่นครพิงค์เชียงใหม่ มีเจ้าทาวมหาพรหมผู้ครองเมืองเชียงรายซึ่งเป็นพระอนุชาของพ่อท้าวกือนาได้ทราบข่าวพระเชษฐาทิวงคตและพระราชบุตรได้สืบราชสมบัติก็ไม่พอพระทัยจักแจงยกรี้พลมาเป็นอันมากเพื่อจะแย่งราชสมบัติจากเจ้าแสนเมืองมา เจ้าท้าวมหาพรหมยกโยธาไปตั่งอยูที่หนองพะชีแล้วให้ใช้คนไปบอกแก่อัครมหาเสนาที่ชื่อแสนผานอง ว่าจะขอเข้าไปถวายบังคมพระบรมศพพระเจ้ากือนา แสนผานองนั้นทราบระแคะระคายมาแล้วก็ตอบไปว่า จะได้จัดพิธีรับรองให้สมพระเกียติยศแล้วท่านอัครมหาเสนาแสนผานองก็จัดกำลังพลหมื่นหนึ่งขึ้นประจำรักษาพระนครและจัดอีกกองหนึ่งตั้งไว้นอกเมืองให้ตีฆ้องกลองโห่ร้องเอิกเกริกไปเป็นโกลาหลเจ้าท้าวมหาพรหมรู้ทันเหมือนกันว่าเขาเตรียมรับมือก็เลยถอยทัพไปลงไปทางใต้กวาเอาครัวชาวเวียงกุมกามไปด้วยมีผู้หญิงเด็กแล้วก็ข้าวของเงินทองอีกบ้างยกเลยไปตั้งที่ริมน้ำแม่ขานเดี๋ยวนี้อยู่เขตอำเภอจอมทองแสนผานองก็ให้หมื่นนครคุมทหารอยู่รักษาเมืองตัวเองคุมพลเจ็ดพันยกตามไปต่อตีกับเจ้าท้าวมหาพรหมไปทันกันเวลาเที่ยงคืนต่อสู้กัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 13 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 16:15 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดพระหลวง

จากตำนานวัดพระหลวง ซึ่งเรียบเรียงขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยพระครูปัญญาภิชัย เจ้าอาวาสรูปที่ ๑๓ ได้กล่าวว่า แต่เดิมหมู่บ้านและวัดพระหลวงแห่งนี้ เคยเป็นป่าใหญ่ดงหลวงมาก่อน มีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นหนาทึบ มีสัตว์ป่าชุกชุม ในจำนวนนั้นก็มีงูใหญ่อยู่ตัวหนึ่ง จะคอยจับสัตว์ต่าง ๆ กินเป็นอาหาร แม้แต่สัตว์เลี้ยงของชาวบ้าน หากพลัดหลงเข้าไปก็จะถูกงูกัดกินทุกคราวไป ครั้งหนึ่งมีพวกพ่อค้าชาวฮ่อ (จีนฮ่อ) นำสินค้าบรรทุกหลังม้ามาขายและพากันพักแรมที่บ้านสูงเม่น โดยปล่อยม้าให้เที่ยวหากินบริเวณใกล้เคียง ม้าบางตัวที่ล่วงล้ำเข้าไปในดงหลวงก็จะถูกงูใหญ่รัดกินเป็นอาหาร เมื่อเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง ก็ทำความโกรธแค้นให้แก่พ่อค้าชาวจีนฮ่อเป็นอย่างมาก จึงช่วยกันหาวิธีกำจัดงูนั้นเสีย โดยช่วยกันตัดไม้ไผ่มาผ่า แล้วเหลาเอาผิวไม้มาสานขัดแตะเป็นตาแสง ๖ เหลี่ยม ซึ่งชาวเมืองเหนือเรียกว่า “ตาแหลว” กะให้รูบ่วงตาแหลวมีขนาดกว้างพอ ๆ กับขนาดขนาดตัวงู แล้วนำไปปิดปากรู ตอกหลักยึดเงื่อนตาแหลวไว้ให้ตรึงแน่นหนา รุ่งขึ้นอีกวันก็พากันมาดูพบว่างูใหญ่ติดบ่วงตาแหลวงอยู่ จึงช่วยกันฆ่างูนั้นเสีย แล้วตัดซากงูออกเป็นท่อน ๆ กองไว้ใกล้ ๆ รูงูนั้น หลังจากวันนั้นพ่อค้าชาวจีนฮ่อก็นำสินค้าไปขายตามปกติ ครั้นเมื่อขายสินค้าหมดก็เดินทางกลับ และพากันไปดูซากงูที่กองไว้ ปรากฏว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะซากงูกลายเป็นท่อนเงินท่อนทอง จึงแบ่งท่อนเงินท่อนทองนั้นออกเป็น ๓ ส่วน พวกพ่อค้าเอาไป ๑ ส่วน นำไปถวายเจ้าฟ้า (เจ้าเมือง) ๑ ส่วน และฝังไว้บริเวณรูงูนั้น ๑ ส่วน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 12 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 08:57 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดสูงเม่น

วัดสูงเม่น สันนิฐานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงธนบุรีต่อเนื่องสมัยกรุงรัตน โกสินทร์ตอนต้น ถึงแม้ว่าจะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่ก็ถือว่าอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างสมัยที่พม่าปกครองล้านนาและในช่วงที่ชาว ล้านนาร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินขับไล่พม่า ซึ่งเป็นช่วงเริ่มมีการพลิกฟื้นอารยธรรมล้านนาให้กลับมามีบทบาทในการพัฒนา บ้านเมือง และการค้ำชูพระพุทธศาสนา ซึ่งจากหลักฐานตามประวัติของครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถรซึ่งท่านเป็นเจ้า อาวาสระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๓๒-๒๔๐๙ ก็พบว่า มีวัดสูงเม่นมาก่อนหน้านั้นนานแล้ว

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 07 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 13:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

กำเนิดติโลกราช

ในสมัยโบราณราชบัลลังก์ก็มักจะเปรอะเปื้อนด้วยความโลหิตและบ่อยครั้งทีเดียวที่พี่แย่งสมบัติของน้อง อาแย่งสมบัติหลานมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่คิดคดทรยศต่อเจ้าเหนือหัว แต่นครพิงค์มีกษัตริย์องค์หนึ่งแย่งราชสมบัติจากพระราชบิดาของพระองค์เองผู้นั้นคือ เจ้าท้าวลก (เป็นชื่อภาษาไทยแท้ๆบริสุทธิ์ไม่มีภาษาแขก ภาษาเขมรมาเจือปน) พระเจ้าสามฝั่งแกนกษัตริย์นครพิงค์พระองค์นี้มีราชบุตรถึงสิบพระองค์ องค์แรกชื่อท้าวอ้าย แล้วก็ท้าวยี่ ท้าวสาม ท้าวไส ท้าวงั่ว ท้าวลก ท้าวเจ็ด ท้าวแปด ท้าวเก้า และท้าวสิบหรือท้าวซ้อยเป็นองค์สุดท้าย แรกก็ทรงตั้งท้าวอ้ายผู้พี่เป็นอุปราชเป็นรัชทายาทผู้จะสืบสันติวงศ์ ส่วนท้าวอ้ายบุญน้อยดำรงตำแหน่งอุปราชอยู่มาได้สองปีก็สิ้นพระชนม์

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 06 •กุมภาพันธ์• 2012 เวลา 00:13 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประเพณีกำฟ้าไทยพวน

ความเป็นมาและ/หรือความเชื่อของการจัดงานประเพณี ไทยพวน เดิมตั้งรากฐานอยู่ที่ เมืองพวนแขวงเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว ต่อมาเมื่อฝรั่งเศสเปิดศึกอินโดจีน  ทำให้ไทยจ้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง คือ ประเทศลาวทั้งหมดรวมถึงเมืองพวนด้วย ชาวลาวพวนกลุ่มหนึ่งไม่สามารถทนต่อการบังคับบัญชา ของฝรั่งเศสได้ จึงได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้ทรงกำหนดพื้นที่ ให้ลาวพวนตั้งถิ่นฐานตามพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงจังหวัดแพร่ด้วย

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

พ่อขุนงำเมืองผู้ครองแผ่นดินโดยธรรม

มีบ้างไหมที่เจ้านครได้สดับข่าวศึกประชิดชายแดนแล้วกลับตั้งพระทัยอยู่ในความสงบ ดำริที่จะต่อรบด้วยธรรมยุทธและแล้วก็ได้ชัยชนะด้วยธรรมยุทธนั้น นามของท่านคือ “พ่อขุนงำเมือง” หรือ “พ่อขุนงำเมือง ธรรมิกราช” แห่งอาณาจักรพะเยา อันที่จริง วีรบุรุษแห่งการสงครามนั้นมีมาก แต่วีรบุรุษผู้พยายามรักษาไว้ซึ่งแสนยานุภาพนั้น เรามักไม่ค่อยเห็นหรือไม่ค่อยได้ยินเท่าไหร่นัก ยุคนั้นเป็นยุคของการแสวงหาอำนาจ ชาวไทยแตกเป็นก๊ก ล้านนาไทยเราแบ่งออกเป็น ๓ ก๊ก หรือ ๓ รัฐ มีรัฐหิรัญนครเงินยาง ปกครองโดยพระเจ้าเม็งรายมหาราช รัฐพะเยา มีพ่อขุนงำเมืองปกครอง รัฐหริภุญไชย ปกครองโดย พญายี่บา แห่หริภุญไชยตอนหลังถูกพระเจ้าเม็งรายยาตราทัพมาบุกตะลุยและยึดครองเสียเอง จึงเหลือเพียง ๒ รัฐ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 30 •มกราคม• 2012 เวลา 16:35 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 26 จาก 33•