ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้223
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้348
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้571
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3421
mod_vvisit_counterเดือนนี้2804
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว14709
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2265744

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 8
หมายเลข IP : 3.12.161.77
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 06 •พ.ค.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •8 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธเจ้า

เกาะชายสังฆาฏิพระพุทธเจ้ายังไม่ชื่อว่าอยู่ใกล้

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่าภิกษุจับชายสังฆาฏิตามหลัง ย่างเท้าตามทุกก้าว แต่เธอมีความละโมภ มีความติดใจแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจอันเป็นโทษ ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุนั้น ก็ยังอยู่ไกลเราโดยแท้ และเราก็อยู่ไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม ผู้ไม่เห็นธรรม ย่อมไม่เห็นเรา"

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้น อยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์ แต่เธอไม่มีความละโมภ ไม่มีความติดใจแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตไม่พยาบาท มีความดำริแห่งใจอันไม่เป็นโทษ มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าอยู่ใกล้เราโดยแท้ และเราก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะภิกษุนั้นเห็นธรรม ผู้เห็นธรรม ย่อมเห็นเรา"

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 03 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 22:38 น.• )

 

การเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งที่ ๕

วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน ณ สนามบินจังหวัดแพร่ อำเภอเมืองแพร่ เวลา ๑๔.๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ เสด็จฯโดยเครื่องบินพระที่นั่งจากสนามบินจังหวัดเชียงใหม่มายังสนามบินจังหวัดแพร่ เสด็จฯประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังพลับพลางานพิธีลูกเสือชาวบ้าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงจุดธูปเทียน เครื่องนมัสการ พระราชทานให้เจ้าหน้าที่จังหวัดเชิญไปถวายสักการะพระธาตุช่อแฮ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ( ) กราบบังคมทูลถวายรายงานกิจการลูกเสือชาวบ้าน และเบิกประธานรุ่นลูกเสือชาวบ้านจำนวน ๘๖ รุ่น เฝ้าฯ รับพระราชทานธงประจำรุ่น เสร็จแล้วพระราชทานพระบรมราโชวาทและพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้มีจิตศรัทธาเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินเพื่อโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ต่อจากนั้นเสด็จฯ ทรงเยี่ยมลูกเสือชาวบ้านและราษฎรที่เฝ้าฯ อยู่เป็นจำนวนมากในบริเวณนั้นจนสมควรแก่เวลา จึงเสด็จฯประทับเครื่องบินพระที่นั่งกลับจังหวัดเชียงใหม่ ถึงพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เมื่อเวลา ๒๐.๐๐ น.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 10 •กุมภาพันธ์• 2013 เวลา 19:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่

๑. ชื่อหมู่บ้าน บ้านวังหงส์ ตำบลวังหงส์ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ๒. ทิศเหนือของหมู่บ้าน ติดกับ บ้านย่านยาว ตำบลน้ำรัด อำเภอหนองม่วงใข่ ทิศใต้ของหมู่บ้าน ติดกับ บ้านไผ่ล้อมตำบลท่าข้าม อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ติดกับ แม่น้ำยม บ้านสันป่าสัก บ้านบุญเจริญ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ติดกับ.....เทือกเขา และตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ๓. ข้อมูลด้านการปกครอง - เจ้าอาวาสองค์แรกของหมู่บ้าน ครูบาลาน - ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้าน ชื่อ พ่อหลักมูล ทองมาศ ปี.พ.ศ. ๒๔๘๒  - กำนันคนแรกของตำบลวังหงส์ ชื่อ พระยาเผือ ชัยนนถี ปีพ.ศ. ๒๔๔๐ - ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนชื่อ นายเส็ง จินะ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ - ๒๔๗๕ ๔. ประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชื่อหมู่บ้าน ( ภาพประกอบในอดีต ๓ ภาพ และภาพปัจจุบัน ๓ ภาพ  - บ้านวังหงส์ตั้งขึ้นก่อน ปีพ.ศ. ๒๔๔๐ มีอายุนับจนถึงปัจจุบัน กว่า ๒๐๐ ปี ก่อนนั้นมีผู้มาจากตำบลในเวียงคือ บ้านเชตวัน บ้านประตูมาร บ้านน้ำคือ เพื่อจับจองเอาที่ดินเป็นที่ทำกิน ทำไร่ ทำนา ทำสวน บริเวณหนองน้ำอันกว้างใหญ่ ใส ลึก ทุกๆวันชาวบ้านจะเห็นนก สีขาวลำตัวใหญ่ยาว คอยาว คล้ายห่าน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “นกหงส์” จึงได้ตั้งนามบ้านว่า “บ้านหนองหงส์” และต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ จึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านเป็น “บ้านวังหงส์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 25 •มกราคม• 2013 เวลา 22:00 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ชนชาติที่ถูกสาปและชนชาติแห่งการอวยพร

นี่เป็นเรื่องราวที่สืบเนื่องมาจากหลังน้ำท่วม ประมาณมาณว่าท่านก็นึกภาพเอาเองน้ำท่วมโลกเชียวนะครับ บนเรือมีอะไรบ้าง มีโนอาห์ ภรรยาและครอบครัวของลูกๆของเขา และมีสัตว์แต่ละชนิดที่เป็นคู่ ๆ อยู่ในนั้นส่วนสัตว์น้ำก็ไม่ต้องเอาขึ้น เพราะมันว่ายน้ำได้ และหลังจากที่น้ำแห้งแล้ว พวกเขาก็ลงมาจากเรือพร้อมสัตว์ต่าง ๆ มากมายในนั้น แล้วสัตว์เหล่านั้นก็กระจัดกระจายกันไปออกลูกออกหลานที่นี่ก็หันมาสู่เรื่องราวของครอบครัวของโนอาห์ หลังจากน้ำท่วมคุณก็ย่อมรู้ว่าบนโลกมีแต่ครอบครัวโนอาห์เท่านั้น ก็มีแต่ภาษาเดียวเท่านั้นไม่มีคำว่าต่างชาติ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 24 •มกราคม• 2013 เวลา 13:01 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๗

เหล็กจากต่างประเทศเข้ามาแทนที่เหล็กลอง เหล็กมีความสำคัญมากในยุคจารีตเพราะใช้ผลิตทั้งอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เหล็กจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาขึ้นเป็นเมืองหรืออาณาจักร และผู้ผูกขาดก็ได้รับการยอมรับเป็นผู้นำ ดังกรณีปู่เจ้าลาวจก บนดอยปู่เจ้า(ดอยตุง) ผู้ครอบครองเครื่องมือเหล็กจำนวนมากภายหลังได้เป็น “ลวจักราช” ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลาว แคว้นโยนก ที่สร้างฐานอำนาจมาถึงพญามังราย (พ.ศ.๑๘๐๔ - ๑๘๕๔) กษัตริย์ราชวงศ์ลาวลำดับ ๒๕ ที่ต่อมาได้เป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์มังรายผู้รวบรวมเมืองน้อยใหญ่ขึ้นเป็นอาณาจักรล้านนา ด้วยความสำคัญดังนี้ปราชญ์ล้านนาโบราณจึงบัญญัติไว้ว่าเครื่องมือตีเหล็กเป็นของสร้างโลก ถ้าผู้ใดทำลายเรียกว่า “ม้างตีอก” จะเป็นมหาโลกาวินาศใหญ่หนึ่งใน ๗ ประการ  “...ผิแลได้กะทำ.. ในเวียงอันใด เวียงอันนั้น เมืองอันนั้น ก็จิ่งกิ่วเถียวหลิ่งคล้อยหม่นหมองไปบ่ก้านกุ่งรุ่งเรืองงามได้แล ผิว่าบ้านนอกขอกสีมาที่ใดก็จักฉิบหายไปบ่สงไสยชะแล...”

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 22 •มกราคม• 2013 เวลา 10:07 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

รับไฟพระฤกษ์การแข่งขันกีฬา

วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๖ นายวิชชา จิรภิญากุล นายอำเภอสอง ประธานรับไฟพระฤกษ์การแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๔ ประจำปี ๒๕๕๖ "เมืองแพร่เกมส์" จากจังหวัดแพร่ บริเวณหน้าโรงเรียนสองพิทยาคม และส่งมอบไฟพระฤกษ์ให้กำนัน นายก อบต.และนายกเทศบาลเพื่อวิ่งตามเส้นทางในตำบลต่างๆในพื้นที่อำเภอสอง

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผู้สนับสนุนเว็บไซต์ปี ๕๖ ลำดับที่ ๓

ขอบคุณโรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) ที่ให้การสนับสนุนค่าเช่าพื้นที่และชื่อเว็บไซต์ประจำปี ๒๕๕๖ จำนวน ๑,๐๐๐ บาท โดยนายสมบัติ เสนวิรัช ผู้อำนวยการโรงเรียน มอบให้แก่นายสมพล พุ่มพวง กำนันตำบลหัวเมืองเพื่อมอบให้ทางเว็บไซต์ต่อไป เรามีความพยายามอย่างยิ่งที่จะรวบเนื้อหาสาระเกี่ยวกับท้องถิ่นจังหวัดแพร่เพื่อให้นักเรียนหรือผู้สนใจได้ศึกษา โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและบุคคลผู้รู้เป็นอย่างดี โรงเรียนบ้านวังฟ่อน(สิทธิราษฎร์บำรุง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ ๒ หมู่๑๒ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ติดกับถนนสายวังฟ่อน-หัวเมือง อยู่ในเขตหมู่ที่ ๑๒ บ้านวังฟ่อน ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลปีที่ ๑( ๔ ขวบ) ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 26 •มกราคม• 2013 เวลา 11:16 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดพงชัย อำเภอเมือง

แต่เดิมที่ตั้งวัดมีสภาพเป็นป่ามีพื้นที่ราบติดลำห้วยแม่หล่าย บริเวณแถบนี้ปกคลุมด้วยเถาวัลย์นานาชนิดชาวบ้านเรียกว่า “ปง” มีคนอาศัยอยู่ประมาณกว่า ๑๐ หลังคาเรือนประมาณ พ.ศ. ๒๒๘๙ พ่อวงศ์ บัวระเพชร ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านได้เป็นผู้นำในการสร้างวัดและตั้งชื่อว่า “วัดบ้านปง” และมีการสร้างอุโบสถขึ้น แต่ไม่สำเร็จกระทั่งมีคนอพยพมาอยู่มากขึ้นจึงได้สร้างต่อมาถึงปี ๒๔๗๗ ได้รับพระราชทานวิสูงคามสีมาเมื่อปี ๒๔๘๑ และประกอบพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ และเปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่เป็น “วัดพงชัย” ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ชาวบ้านเห็นว่าอุโบสถหลังเดิมทรุดโทรมมาก จึงรื้อและสร้างใหม่เป็นครั้งที่ ๓ แล้วเสร็จและมีงานฉลองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ รวมเวลาก่อสร้างประมาณ ๑๒๕,๗๘๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยแปดสิบบาทถ้วน) ลำดับเจ้าอาวาส ๑. พระอภิวงศ์ ธีรธมฺโม ๒. พระอะภิใจ พุทฺธธมฺโม ๓. พระอุด ธมฺมรงฺสี ๔. พระสี สีลสํวโร ๕. พระป้อม เปมนิโย ๖. พระจ๋อม ๗. พระแก้ว ติสรโณ ๘. พระถนอม ๙. พระเชี่ยว พุทฺธธมฺโม

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •มกราคม• 2013 เวลา 11:40 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ยำม่ะเขือยำม่ะแปบ ครัวแม่จั๋นแก้ว

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

“หัวเมืองเกมส์” ครั้งที่ ๘

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมืองจัดกิจกรรมโครงการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์ “หัวเมืองเกมส์” ครั้งที่ ๘ ประจำปี ๒๕๕๖ วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๖ ณ โรงเรียนบ้านดงเจริญ โดยมีนายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง เป็นประธานในพิธี มีนักกีฬานักเรียนชั้นประถมปีที่ ๑ – ๖ เขตตำบลหัวเมือง เยาวชนและประชาชนในเขตตำบลหัวเมือง ๑๓ หมู่บ้านเข้าร่วมแข่งขันเพื่อสงเสริมการเล่นกีฬา ส่งเสริมสุขภาพ ความสามัคคีในชุมชน ไม่ข้องเกี่ยวกับสิ่งเสพติด โดยมีองค์กรเข้าร่วมดังนี้ โรงเรียนในเขตตำบลหัวเมือง ๕ แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๓ แห่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจจุดตรวจตำบลหัวเมือง อป.พร. บ้านดงเจริญ กำนันตำบลหัวเมืองและผู้นำหมู่บ้าน ๑๓ หมู่บ้าน ขอบคุณภาพขบวนและงานพิธีเปิดจากน้องคิมหนุ่มหล่อแห่งหัวเมืองครับ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 20 •มกราคม• 2013 เวลา 08:19 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การเสด็จพระราชดำเนิน ครั้งที่ ๔

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๑ ตรวจเยี่ยมหัวงานการสร้างถนนสายลำปาง-แพร่ และทรงเยี่ยมราษฎรชาวแพร่ ที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จฯ บ้านแม่แขม ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง เวลา ๑๐.๔๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ถึงสนามหน้าโรงเรียนองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ๓ (สวนป่าแม่เมาะ) ตำบลบ้านดง กิ่งอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯ ต่อไปยังศูนย์ฝึกลูกช้างของฝ่ายทำไม้ภาคเหนือ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จังหวัดลำปาง เสด็จฯเข้าพลับพลาประทับทอดพระเนตรการแสดงลูกช้าง การปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์หลวง แล้วจึงเสด็จฯไปยังสวนป่าแม่แมะ เสวยพระกระยาหารกลางวัน เสร็จแล้วเสด็จฯ ทอดพระเนตรโรงแต่งเหง้าสักสำหรับใช้ปลูกในสวนสักของรัฐบาล ทรงเยี่ยมสมาชิกสวนป่าแม่เมาะที่เฝ้าฯ ณ บริเวณนั้น แล้วเสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่งไปประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง เสด็จฯต่อไปยังโครงการก่อสร้างทางสายลำปาง - เด่นชัย เมื่อเสด็จฯถึงทางสายลำปาง – เด่นชัย ได้ประทับรถยนต์พระที่นั่งต่อไปยังหัวงานโครงการก่อสร้างทางสายลำปาง – เด่นชัย ในเขตพื้นที่บ้านแม่แขม ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงฝ่ายต่าง ๆ และนายช่างโครงการ ชาวออสเตรเลียพร้อมครอบครัว ซึ่งเฝ้าฯ อยู่ ณ ที่นั้นด้วย จากนั้นได้เสด็จฯ ขึ้นพลับพลาทอดพระเนตรแผนที่โครงการฯ แผนผังจำลองสภาพภูมิประเทศของทางหลวงแผ่นดิน ตอนลำปาง – เด่นชัย ทอดพระเนตรการระเบิดหินในการปฏิบัติงานก่อสร้างทาง โดยมีอธิบดีกรมทางหลวงกราบบังคมทูลรายละเอียด การเสด็จ ฯ ในครั้งนี้ ยังความปลาบปลื้มปิติเป็นล้นพ้น ก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ตลอดจนช่างโครงการชาวออสเตรเลียทุกคน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 18 •มกราคม• 2013 เวลา 18:57 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่

ตำบลป่าแดง เดิมเป็นชุมชนเผ่าลัวะ ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อน อยู่เชิงเขาธชัคบรรพต (วัดพระธาตุช่อแฮปัจจุบัน) ก่อนพุทธกาล เท่าที่ปรากฏในตำนานพระธาตุช่อแฮ มีหัวหน้าเผ่าที่ปรากฏชื่อว่า พ่อขุนลัวะอ้ายก้อม (เจ้าพ่อหลวงก้อม) เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ออกบวช ได้ตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงเสด็จโปรดเวเนยสัตว์ ได้ออกประกาศพระพุทธศาสนา มาถึงดินแดนแห่งล้านนา เมืองโกศัยนคร ได้มาพักที่ดอยธชัคบรรพต ได้มีขุนลัวะอ้ายก้อม พร้อมด้วยชาวบ้านขึ้นต้อนรับอุปัฎฐาก พระองค์ทรงมอบพระเกศา ๒ เส้น ให้ขุนลัวะอ้ายก้อมเก็บรักษาไว้ในตัว ณ ที่ดอยธชัคบรรพต พร้อมทั้งได้สร้างเจดีย์ครอบไว้ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า พระธาตุช่อแฮ (พระธาตุประจำคนเกิดปีขาล) (ปียี่) เป็นพระธาตุประจำจังหวัดแพร่จนถึงปัจจุบัน ได้มีตำนานบ้านป่าแดง ตำนานวัดป่าแดง เล่าไว้ว่า เมื่อประมาณ พ.ศ.๑๑๓๙ ประมาณ ๑๔๑๖ ปี ชาวบ้านได้อพยพจากอำเภอเชียงแสน ประมาณ ๕๐ ครอบครัว ได้มาตั้งรกรากสร้างบ้านแป๋งเมือง อยู่ทาง ทิศตะวันออกของแม่น้ำยมประมาณ ๑๐ กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ ดอยธชัคบรรพต (พระธาตุช่อแฮ) ประมาณ ๕ กิโลเมตร อยู่นอกเมืองพลนคร เป็นชุมชน นอกเมือง โดยมีท่านปุณณะเป็นผู้นำ ประกอบกับสถานที่ตั้งเป็นต้นศรีก้ำกันอยู่หนาแน่น จึงเป็นชื่อบ้านสะหลีปุณณะ สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งชื่อว่า วัดลอมศรีก้ำ ต่อมาประชาชนเพิ่มมากขึ้นและย้ายมาจากถิ่นอื่น เช่น เชียงแสน จึงได้ขยายอาณาเขตขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จนถึงดอย ธชัคบรรพต ซึ่งเป็นชุมชนเล็กของชนเผ่าลัวะอยู่ก่อน ชาวบ้านจากบ้านสะหลีปุณณะมีความเจริญรุ่งเรือง ขนานตั้งขึ้นเป็นเมืองๆ หนึ่งชื่อว่าเมืองสะหลีปุณณะ เมื่อขยายบ้านเมืองออกไปทำให้ชนเผ่าลัวะ ได้ร่นถอยออกจากที่อยู่เดิมขึ้นไปอยู่ตามไหล่เขาข้ามดอยผาด่านขึ้นไป ซึ่งเป็นอุปนิสัยของชนเผ่าลัวะที่ชอบความสงบ หนีความเจริญไปอยู่ตามป่าตามเขา ณ ที่นั้นจึงมีชื่อว่า บ้านแม่ลัว คงเพี้ยนมาจากคำว่าลัวะนั่นเอง ส่วนชนเผ่าลัวะบางส่วนก็ปรับตัวเข้ากับสังคมเมือง คือเมืองสะหลีปุณณะ ดังนั้นชาวตำบลป่าแดงจึงมีสายเลือดที่ผสมกันระหว่างชนพื้นราบกับชน เผ่าลัวะ ดังนั้นชาวบ้านตำบลป่าแดงเปรียบเสมือนเป็นลูกหลานเหลนของพ่อขุนลัวะอ้ายก้อม ชาวบ้านของตำบลป่าแดง จึงเคารพนับถือพ่อขุนลัวะอ้ายก้อม เป็นบรรพบุรุษจะมีการบูชาบวงสรวงเป็นประจำปี คือ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ ของทุกปี ตำบลป่าแดงเดิมมีจำนวนหมู่บ้าน ๑๔ หมู่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 17 •มกราคม• 2013 เวลา 13:17 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันโลกาวินาศน้ำท่วมโลก

วันโลกาวินาศน้ำท่วมโลก และจุดเริ่มต้นใหม่แห่งมวลมนุษยชาติ หลังจากที่อาดัมและเอวาสิ้นชีวิตลง ท่านคงจำได้ว่ามีการฆาตรกรรมครั้งแรกเกิด คือ คาอินได้ฆ่าอาเบล และคาอินได้กระเจิดกระเจิงหนีออกไปและเชื้อสายของเขาก็เลวร้ายกว่าเขาเสียอีก แต่อาดัมกับเอวาก็ยังมีลูกชายอีกคนที่ชื่อว่า เสท ผู้ที่นัสการออกพระนามพระเจ้าครั้งแรก แล้วจากนี้เกิดอะไรต่อไปที่มันได้นำไปสู่การพิพากษาคือการทำลายมนุษย์ด้วย “น้ำท่วมโลก” คือ พระคัมภีร์ไบเบิ้ลได้กล่าวถึงเรื่องราวของเชื้อสายของเสทและเชื้อสายของคาอินได้สมสู่กันและทำให้ความบาปเต็มแผ่นดินเต็มไปด้วยความชั่วช้ามากมายที่พระเจ้าทนไม่ได้ *(ในเวลานั้นมนุษย์พูดภาษาเดียวกันหมดและรวมหัวกันทำสิ่งชั่วช้ามากมาย และ ภูมิศาสตร์ของโลกในเวลานั้นยังไม่มีฝนตกเลย คนไม่รู้จักคำว่าฝนตกเป็นยังไง)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 09 •เมษายน• 2013 เวลา 19:39 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๖

การขยายตัวของเศรษฐกิจและเริ่มเปลี่ยนวิถีการผลิต : เมื่อทางรถไฟตัดผ่าน พ.ศ.๒๔๕๗ การสร้างรถไฟสายเหนือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างมากในเมืองลอง ที่นำมาสู่การขยายตัวของเมือง ความหลากหลายของอาชีพ และวิถีการผลิตที่เริ่มเปลี่ยนจากผลิตเพื่ออุปโภคบริโภคเป็นหลักมาเป็นผลิตเพื่อขายมากขึ้น ทางรถไฟเริ่มสร้างหลังจากเกิดการต่อต้านสยามของล้านนา(กบฏเงี้ยว)และสร้างถึงแขวงเมืองลองในพ.ศ.๒๔๕๗ มีทั้งหมด ๖ สถานี คือ สถานีรถไฟบ้านปิน เป็นสถานีหลัก สถานีรถไฟแก่งหลวงและสถานีรถไฟผาคอ เป็นสถานีรอง สถานีรถไฟห้วยแม่ต้า สถานีรถไฟห้วยแม่ลาน และสถานีรถไฟผาคัน เป็นสถานีย่อย ซึ่งสถานีรถไฟบ้านปินเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๗ มีการสร้างทางล้อเกวียนเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟต่างๆ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 15 •มกราคม• 2013 เวลา 09:19 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ผู้สนับสนุนเว็บไซต์ปี ๕๖ ลำดับที่ ๒

ขอบคุณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านวังฟ่อน ที่ให้การสนับสนุนค่าเช่าพื้นที่และชื่อเว็บไซต์ประจำปี ๒๕๕๖ จำนวน ๑,๐๐๐ บาท โดยคุณครูวสันต์ ศรีบุญ เป็นตัวแทนมอบให้แก่ นายสมพล พุ่มพวง กำนันตำบลหัวเมือง เพื่อมอบให้กับทางเว็บไซต์ต่อไป ด้านสุขภาพเราพยายามนำเสนอบทความจากผู้รู้เพื่อนำเสนอให้ผู้อ่านได้หันมาสนใจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านวังฟ่อน หรือ รพ.สต. บ้านวังฟ่อนโดยนางสมคิด ฟูคำมี ผู้อำนวยการ เจ้าพนักงานสาธารณสุขอาวุโส และเจ้าหน้าที่ทุกคน ได้ดำเนินการบริการสาธารณสุข  ผสมผสาน ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และ การฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวชุมชน และสังคม ในพื้นที่บ้านวังฟ่อนมาโดยตลอด ซึ่งระบบงานแบ่งออกเป็นภาพใหญ่ ๆ ดังนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 15 •มกราคม• 2013 เวลา 09:16 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดบุญเจริญ อำเภอเมือง

วัดบุญเจริญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ โดยมี หลวงปู่กันฑะวิชัย นำชาวบ้านบุกเบิกสร้างขึ้น เมื่อสร้างขึ้น เมื่อสร้างวัดใหม่ ๆ ได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดปากหล่าย” ตามชื่อเดิมของหมู่บ้าน ล่วงเลยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ “วัดบุญเจริญ” จนวัดมีความมั่นคงมาถึงปัจจุบัน วัดบุญเจริญตั้งแต่เลขที่ ๑๑๗ บ้านบุญเจริญ หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่หลาย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร และประกอบพิธีผูกพัทธสีมาในปีเดียวกัน ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนด และมีที่ธรณีสงฆ์อีก ๑ แปลง เป็นโฉนดเช่นเดียวกัน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 12 •มกราคม• 2013 เวลา 23:24 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วันเด็กแห่งชาติ ๒๕๕๖

ภาพกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ (Children's Day) โรงเรียนบ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บำรุง) โดยนายสุกิจ ยาพรม รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๑ เยี่ยมชมกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติและมอบของขวัญวันเด็ก ที่ โรงเรียนบ้านวังฟ่อน โดยมีนายสมบัติ เสนวิรัช ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านวังฟ่อน คณะครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษารับมอบและให้การต้อนรับ ซึ่งกิจกรรมวันเด็กทุกปีโรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง และในปีนี้ทาง อบต.หัวเมือง นำโดยนายกสาคร จิตชู ได้จัดส่วนทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่ประพฤติดี ตั้งใจเรียน และทางโรงเรียนร่วมสมทบทุน นำโดยนายสมพล พุ่มพวง ประธานกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้มอบทุนนักเรียนจำนวน ๒๒ ทุน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 13 •มกราคม• 2013 เวลา 21:09 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ศาสดา , หลักธรรม , สาวก

พระผู้มีพระภาคจึงตรัสถึงศาสดา , หลักธรรมคำสอนและสาวก แบ่งออกเป็นประเภทดังนี้

๑. ศาสดาไม่ดี , หลักธรรมไม่ดี , สาวกไม่ดี , ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่าย ใครปฏิบัติตาม ก็ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก.

๒. ศาสดาไม่ดี , หลักธรรมไม่ดี แม้สาวกจะดี คือปฏิบัติตาม ก็เป็นที่ติเตียนทั้งสามฝ่าย ใครทำความเพียรตาม ก็ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก.

๓. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกไม่ดี ศาสดาและหลักธรรมย่อมได้รับสรรเสริญ แต่สาวกถูกติเตียน. ใครปฏิบัติตาม ก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.

๔. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกดี ย่อมได้รับสรรเสริญทั้งสามฝ่าย ใครทำความเพียรตาม ก็ได้ประสบบุญเป็นอันมาก.

๕. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกไม่เข้าใจเนื้อความ ( แห่งธรรม ) แจ่มแจ้ง. เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็เดือดร้อนภายหลัง.

๖. ศาสดาดี , หลักธรรมดี , สาวกเข้าใจเนื้อความ ( แห่งธรรม ) แจ่มแจ้ง . เมื่อศาสดาตายแล้ว สาวกก็ไม่เดือดร้อนภายหลัง.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 19 •มกราคม• 2013 เวลา 21:27 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

จังหวัดแพร่ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาจากสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๕๕ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ ๒๕ และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชนและการเมือง รุ่นที่ ๖ เดินทางมาศึกษาดูงานจังหวัดแพร่ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๔๕ น. ที่ห้องประชุมจดหมายเหตุ ศาลากลางจังหวัดแพร่ นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ได้ให้การต้อนรับ พลตรี ดุษฎี รามสมภพ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ นำนักศึกษาของวิทยาลัยจำนวน ๓ หลักสูตรประกอบด้วยนักศึกษาหลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร หรือ วปอ. รุ่นที่ ๕๕

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 11 •มกราคม• 2013 เวลา 13:15 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ศึกสายเลือดและบุคคลแห่งความหวัง

สิ่งที่ผมกำลังจะเล่าต่อไปนี้ถ้าเป็นสุภาษิตไทย  ก็คงจะประมาณ ความวัวยังไม่ทันหายความควายเข้ามาแซก คือเรื่องราวมันก็เกี่ยวเนื่องกับมาจากเรื่องราว ของมนุษย์คนแรก ก็คืออาดัม กับเอวา ที่ล้มลงในความบาป เพราะการไม่เชื่อฟังสิ่งที่พระเจ้าสั่งไว้ ทำให้เขาต้องถูกเนรเทศจากสวนเอเดนดินแดนแห่งความสุข เปลี่ยนจากความสุขกลายเป็นตรากตรำและเปลี่ยนเสรีภาพกลายเป็นจำเลยผู้ที่เต็มไปด้วยความผิด  และความผิดนี้ทำให้เขาถูกแยกออกจากพระเจ้า มันทำให้ผมหวรนระลึกถึงวันที่ผมได้เดินทางไปทำงานพันธกิจของคริสเตียนด้านการเยี่ยมเยียนคนในเรืองจำ  เป็นเรือนจำที่คุมขังของสตรี  ผมไม่เพียงเห็นแต่กลุ่มนักโทษหญิงเท่านั้น

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 11 •มกราคม• 2013 เวลา 00:18 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 14 จาก 33•