ค้นหาบทความ
ราคาน้ำมันวันนี้
จำนวนนับผู้เข้าเยี่ยมชม
mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้229
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้348
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้577
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว3421
mod_vvisit_counterเดือนนี้2810
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว14709
mod_vvisit_counterรวมผู้เข้าชม2265750

ออนไลน์ (20 นาทีที่แล้ว): 11
หมายเลข IP : 3.135.190.232
MOZILLA 5.0,
วันที่ : 06 •พ.ค.•, 2024
ขณะนี้มีผู้เข้าชม
• เรามี• •12 บุคคลทั่วไป• •ออนไลน์•
ล้านนาแพร่ประชาสัมพันธ์
Vinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo SliderVinaora Nivo Slider

นารีคู่อุปถัมภ์และหายนะเพราะการไม่เชื่อ ๑

สวัสดีครับพี่น้องชาวจังหวัดแพร่ที่รักทุกท่านและพี่น้องที่ติดตามบทความของผมวันนี้ตามที่สัญญาครับ ผมจะมาพูดถึงบทความในหัวข้อที่ว่า นารีคู่อุปถัมภ์และหายนะเพราะการไม่เชื่อ ตอนที่ ๑ ขณะนั้นพระเจ้าได้ทรงให้อาดัมมนุษย์คนแรกนั้นได้ดำเนินอยู่ในสวนเอเดน(หรือสวนของพระเจ้า) และพระเจ้าได้ทรงสร้างสรรพสิ่งให้มนุษย์ครอบครอง และในสวนนั้นพระเจ้าพระเจ้าได้ทรงสร้างต้นไม้ที่ออกผลไว้อย่างมากมาย แต่พระเจ้าสร้างต้นไม้ไว้สองต้นที่เรียกว่า “ต้นไม้แห่งการรู้ดีรู้ชั่ว และ ต้นไม้แห่งชีวิต”

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๒

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๒ ด้านสังคม สังคมเมืองลองได้เปลี่ยนเป็นยุคใหม่ มีเงื่อนไขสำคัญคือการสถาปนาระบบราชการแบบใหม่โดยรวมศูนย์อำนาจไว้ที่กษัตริย์สยาม พร้อมกับยกเลิกเจ้านาย ขุนนาง ไพร่ และทาส ที่เป็นโครงสร้างเดิมของเมืองลองยุคจารีต ในเมืองนครประเทศราชทั้ง ๕ สยามได้ลิดรอนอำนาจอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่กรณีหัวเมืองขึ้นอย่างเมืองลองเป็นลักษณะ “ริบอำนาจ” แทนการ “ลิดรอนอำนาจ” กลุ่มผู้ปกครองเมืองลองโดยเฉพาะเค้าสนามได้ถูกกันออกจากระบบราชการของสยาม จึงเท่ากับเป็นการถอดออกจากตำแหน่งทั้งโครงสร้าง แล้วให้มีกลุ่มข้าราชการสยามทำหน้าที่ปกครองบ้านเมืองแทน กลุ่มผู้ปกครองเมืองลองจึงถูกลดสถานะลงอย่างฉับพลัน ประกอบกับ “ไพร่” หรือ “ชาวเมือง” กลายเป็นพสกนิกรของกษัตริย์สยามไม่ได้เป็นไพร่ของเจ้าเมืองลองอีกต่อไป ซึ่งก็แสดงถึงสถานะ การเป็น “เจ้าชีวิต” ความมีอำนาจราชศักดิ์ของเจ้าเมืองลองได้ล่มสลายลงไปในชั่วพริบตาอีกด้วย

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 04 •ธันวาคม• 2012 เวลา 10:33 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อ้วนลงพุงกับโรคหัวใจ

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๒๐ อ้วนลงพุงกับโรคหัวใจ: หรือทางการแพทย์มีชื่อว่า โรคเมตาบอลิกบกพร่อง(Metabolic syndrome)  โรคอ้วนลงพุง...คืออะไร ? เป็นคนพุงใหญ่ โดยวัดรอบเอวในผู้ชาย > ๓๖ นิ้ว ในผู้หญิง > ๓๒ นิ้ว ร่วมกับปัจจัย ต่อไปนี้ ๒ จาก ๔ ข้อคือ (๑.) วัดความดันโลหิตตัวบนได้มากกว่า ๑๓๐ ม.ม.ปรอท หรือตัวล่าง มากกว่า ๘๕ ม.ม.ปรอท หรือทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว (๒.) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ๘ ชั่วโมง มากกว่า ๑๐๐ มก% หรือรักษาโรคเบาหวานอยู่แล้ว (๓.) ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า ๑๕๐ มก % (๔.) ระดับไขมันชนิด เอช ดี แอล (HDL) น้อยกว่า ๔๐ มก%ในผู้ชาย หรือน้อยกว่า ๕๐ มก% ในผู้หญิง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 03 •ธันวาคม• 2012 เวลา 09:23 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ศาลเจ้าปุ้งเถ่ากง จังหวัดแพร่

ศาลเจ้าปุ้งเถ่ากง จังหวัดแพร่ เดิมชื่อ “ศาลเจ้าฮั่วเฮงหักเหา” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของเมืองและแสดงถึงการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพค้าขายของชาวจีนที่บริเวณหน้าเมือง หรือถนนเจริญเมือง ที่ต่อมามีการสร้างศาลเจ้าเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และศูนย์รวมความศรัทธาในพิธีกรรมทางวัฒนธรรมของชาวจีนทุกกลุ่มตระกูลแซ่ ในจังหวัดแพร่ มานานกว่า ๑๐๐ ปี เพราะปรากฏหลักฐานว่าจัดตั้งขึ้นก่อนที่ทางอำเภอเมืองแพร่ จะทำการบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไว้อย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.๒๔๖๔ โดยมีพระยาคงคาสมุทรเพชร บริจาคที่ดินให้เป็นที่ตั้งของศาลเจ้า และมีหลวงศรีนัครานุกูล บุตรเขย เป็นผู้ดูแลความเรียบร้อย ลักษณะเดิมของศาลเจ้า เป็นอาคารไม้ ที่มีโรงเรียนสอนภาษาจีนอยู่ในที่เดียวกันต่อมาโรงเรียนสอนภาษาจีนได้ขยับขยายและย้ายไปตั้งชื่อใหม่ว่า “โรงเรียนเจริญศิลป์”

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัอร่องซ้อ อำเภอเมือง

วัดร่องซ้อผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ช่วงปี ๒๕๔๓ กล่าวว่า วัดร่องซ้อไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใดและใครเป็นคนสร้าง อาณาเขตบริเวณวัดเป็นป่าไผ่หนาทึบ ห่างจากบริเวณวัดทางทิศตะวันตก ๕๐ เมตร มีร่องน้ำ(ชาวบ้านเรียก ฮ่องน้ำ) ที่มีต้นซ้อขึ้นตามแนวเขตร่องน้ำ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปมีทางเดินเรียบแนวตลอดทาง ผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ส่วนมากเป็นพ่อค้าวัวต่างจากอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ พ่อค้าวัวต่างจากจังหวัดพระเยาตลอดจนถึงชาวบ้านปงศรีสนุก (ชุมชนวัดหลวง, วัดพงษ์สุนันท์ ในปัจจุบัน) ที่อยู่ในตัวเมืองแพร่ที่ย้ายออกมาทำไร่ ทำสวน ได้ถางดงไผ่กับพ่อค้าวัวต่างโดยจัดบริเวณตรงกลางของดงไผ่โล่ง และให้ส่วนหนึ่งเป็นรั้วล้อมบริเวณนี้ไว้สร้างเป็นที่พักและผูกวัวควายได้ ครั้งแรกเป็นแบบพักชั่วคราว ต่อมาได้ย้ายมาอยู่เป็นการถาวร ใช้เป็นสถานที่ทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน พ่อค้าวัวต่างเมื่อเดินทางมาถึงบริเวณนี้ก็หยุดพักอาบน้ำ หุงหาอาหาร และพักแรมเป็นประจำทำการให้การประกอบอาชีพไปมาค้าขายสะดวกสบาย จนมีฐานะความเป็นอยู่ดีขึ้น ทุกคนต่างมีความสำนึกในบุญคุณของบริเวณที่ได้พักพิงเพื่อไปค้าขายเป็นอย่างมาก จึงคิดถึงเรื่องการสร้างบุญสร้างกุศลให้แก่ตัวเองและครอบครัว จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างศาลาหลังเล็กมุงด้วยหญ้าคาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นที่พักของสงฆ์และเป็นสถานที่ให้พระสงฆ์มารับบิณฑบาตรับจตุปัจจัยไทยทานเป็นครั้งคราว จากป่าไผ่ป่าไม้ซ้อ แปรเปลี่ยนสภาพเป็น หมู่บ้าน มีสถานที่ทำบุญเป็นสัดส่วน ชาวบ้านที่อยู่ในเมืองและต่างถิ่นก็มาจับจองเป็นเจ้าของที่ดินมากขึ้น ในจำนวนชาวบ้านที่อาศัยพื้นที่ส่วนนี้ โดยมากเป็นต้นตระกูล “ร่องซ้อ” และ “อินต๊ะนอน” ต่างก็ได้เชิญชวนผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาช่วยกันออกแนวคิดร่วมแรงร่วมใจและกำลังทรัพย์ขยายที่ทำบุญสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น โดยเชิญชวนชาวบ้านและพ่อค้าวัวต่างมาร่วมสนับสนุนด้านกำลังเงิน กำลังกายช่วยกันสร้างถาวรวัตถุที่มั่นคงถาวรเพิ่มเติม เช่น สร้างกุฏิ วิหาร ศาลา บ่อน้ำ และเรียกชื่อสถานที่ทำบุญว่า “วัดฮ่องซ้อ” ตามสภาพภูมิประเทศที่เป็นร่องน้ำและมีต้นไม้ซ้อขึ้นโดยทั่วไปชื่อ “วัดฮ่องซ้อ” เรียกขานกันมาเท่าใดไม่ปรากฏและบ้านเรือนที่อยู่บริเวณโดยรอบก็เรียกขาน ตามชื่อวัดไปด้วยว่า “บ้านฮ่องซ้อ” ซึ่งมีความหมายว่าร่องน้ำที่มีต้นซ้ออยู่นั้นเอง แล้วกลายมาเป็นคำว่า “ร่องซ้อ” ในที่สุด

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 01 •ธันวาคม• 2012 เวลา 15:05 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

การละหมาด นมัสการต่อพระเจ้า

หลังจากที่เราได้รับทราบพอสังเขปกับหลักปฏิบัติทั้ง ๕ ประการแล้ว ต่อไปเราจะมาเจาะลึกลงไปในหลักการปฏิบัติที่สำคัญที่สุด อันเปรียบเสมือนเสาหลักของศาสนาอิสลาม นั่นคือ การละหมาด.. ทำละหมาด คือการนมัสการต่อพระเจ้า ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระคือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 04 •ธันวาคม• 2012 เวลา 22:12 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ตำบลร่องฟอง อำเภอเมือง

ตำบลร่องฟอง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ดั่งเดิมหมู่บ้านร่องฟองเป็นชาวไทยใหญ่ ชาวบ้านตั้งหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ที่ ที่มีห้วยน้ำไหลผ่านหมู่บ้าน ห้วยน้ำนั้นถูกเรียกชื่อว่าห้วยฮ่องฟอง ซึ่งคำว่า “ฮ่องฟอง” เป็นภาษาพื้นเมือง ที่บรรพบุรุษได้ตั้งชื่อไว้เนื่องมาจากเมื่อถึงฤดูฝน จะมีน้ำไหลลงมาจากภูเขาด้านตะวันออก น้ำที่ไหลลงมาจะกระทบกับโขดหินตามลำห้วย แตกกระเซ็นเป็นฟองเต็มลำห้วยทุก ๆ ปี จึงเรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า “ห้วยร่องฟอง” และด้วยความอุดมสมบูรณ์ของลำห้วยแห่งนี้ บรรพบุรุษจึงตั้งรกรากตามแนวลำห้วย และเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ตามชื่อของลำห้วยว่า “หมู่บ้านร่องฟอง” ตั้งแต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๑ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่ที่ ๓ ของตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มีประชากรประมาณ ๓๐ กว่าหลังคาเรือน โดยมีบ่หลักเสนา เสนาธรรม เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านร่องฟอง (ผู้ใหญ่บ้านแต่เดิมเรียก “บ่หลัก”) อาชีพหลักคือการเกษตร อาชีพเสริมคือรับจ้างเย็บผ้าที่ตำบลทุ่งโฮ้ง นอกจากนี้ยังมีอาชีพทำล้อเกวียนจำหน่าย เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนในขณะนั้น และได้ร่วมกันสร้างวัดร่องฟองขึ้นมี ตุ๊หลวงสุรินทร์ เป็นเจ้าอาวาส หลังจากนั้นประชากรก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 29 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 10:51 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อนัตตลักขณสูตร

"ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์ ๕ มีดังนี้ ๑. รูป คือ ร่างกาย ๒. เวทนา คือ ความรู้สึกสุข ความทุกข์ ๓. สัญญา คือ ความจำมั่นหมาย ๔. สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง ๕. วิญญาณ คือ ความรู้อารมณ์ต่างๆ ภิกษุทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเขา สิ่งเหล่านี้มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา" ในวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 30 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 09:51 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ยกเสาร์เอกกุฏิภิกษุ วัดวังฟ่อน

วันพุธที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๙.๑๙ น. นายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธียกเสาเอกกุฏิภิกษุ สามเณร วัดวังฟ่อน หมู่บ้านวังฟ่อน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ พิธียกเสาเอกจะทำให้งานก่อสร้างมีความราบรื่นไม่มีปัญหาและอุปสรรคและเมื่อได้เข้าอยู่บ้านหลังที่สร้างแล้วจะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมา พิธียกเสาเอกเพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย  กุศลในการสมทบทุนสร้างกุฏิไม่ว่าจะเกิดภพชาติใด มีบ้านเรือนเป็นของตนเอง ไม่ต้องไปเช่าบ้านอยู่หรือเร่ร่อนพเนจร มีความร่มเย็นเป็นสุข เหมือนดังกุฏิที่เราได้สร้างถวายย่อม คุ้มแดดคุ้มฝน เป็นที่พำนักพักพิงให้แก่ ภิกษุทั้งหลายและยังส่งอานิสงส์ใหญ่ให้แก่ญาติที่เสียชีวิตไปแล้วหรือแม้ตน เองเมื่อจากโลกนี้ไปก็จะมีวิมานทิพย์ เสวยสุขในภูมินั้น ๆ แก้กรรมให้กับผู้ที่ ไม่มีที่อยู่เป็นของตนเอง ระเหเร่ร่อน ต้องเช่าเขาอยู่ เช่าเขาทำมาหากิน บางครั้งก็ถูกเขาไล่ที่บ้าง ขึ้นค่าเช่าบ้าง หรือพวกที่โดนเขาโกงบ้าน โกงที่อยู่ ที่ทำมาหากิน

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 28 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 16:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สิทธิ์ที่มนุษย์พึงได้ในฐานะคนที่ถูกสร้าง

สวัสดีครับพี่น้องชาวจังหวัดแพร่ที่รัก และพี่น้องผู้ติดตามบทความของผมผ่านทางเว็บไซต์นี้ทุกท่าน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เราได้รู้แล้วว่ามนุษย์นั้นมีคุณค่ามากมายขนาดไหน แต่ให้เรามาดูกันว่า สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างที่เราเรียกว่า มนุษย์ ได้รับสิทธิ์อะไรบ้างในฐานะสิ่งที่ถูกสร้าง ถ้าจะพูดกันให้ถูกมันคือ สิ่งที่ถูกสร้างจะมีคุณลักษณะเฉพาะและจะมีความสามารถบางอย่างที่ผู้สร้างจะให้มันสามารถเป็นได้ และในฐานะที่เราเป็นผู้ที่ถูกสร้างเราควรจะเข้าใจถึงสิทธิ์ในฐานะมนุษย์ว่าเราควรมี ควรเป็นอะไรบ้าง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 28 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 17:44 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ขอบคุณสำนักงานวัฒนธรรม

ทีมงานเว็บไซต์ขอบคุณสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ เราจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมศิลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ต่อไป

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 27 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 16:50 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๑

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๑ ด้านการคลังและภาษีอากร การปกครองแบบใหม่ มีลักษณะรวบอำนาจและดึงดูดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้าสู่สยาม มีการแทรกซึมวางโครงสร้างไว้อย่างมั่นคงจนทำให้ทั้ง “นครประเทศราช” “เมืองขึ้น” รวมถึงเมืองลองที่เป็นเมืองขนาดเล็กไร้อำนาจการต่อรองต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม ผลประโยชน์ทั้งหลายที่เจ้าเมืองและกลุ่มผู้ปกครองเมืองลองเคยได้รับในอดีตต้องหมดไปโดยปริยาย เช่น ค่าไม้ขอนสัก เก็บค่าขุดเหล็ก เก็บค่าตอไม้ เก็บค่าล่องสินค้าผ่านเมือง และผลประโยชน์บางอย่างจากเมืองต้า ฯลฯ อีกทั้งไม่ได้รับเงินเดือนเหมือนเจ้าผู้ครองนครลำปางและเจ้านายบุตรหลาน เพราะเจ้าเมืองลองและขุนนางเค้าสนามถูกกันออกจากระบบราชการ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อังคาร•ที่ 27 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 07:47 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

โรคทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ

สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๑๙ โรคทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ สวัสดีครับวันนี้ผมมีเนื้อหาสาระดีๆมาเล่าให้ฟังอีกเรื่องครับ เป็นเรื่องร้ายๆจากความอ้วนคือโรคทางเดินหายใจอุดตันขณะหลับ [Obstructive sleep apnea] Obstructive = อุดตัน, Sleep = นอนหลับ, Apnea = หยุดหายใจ เมื่อแปลจากภาษาอังกฤษแล้วเราสามารถสังเกตอาการของโรคได้ดังนี้ ๑.มีการหยุดหายใจขณะนอนหลับนานกว่า ๑๐ วินาที โดยการหยุดหายใจนั้นเกิดจากทางเดินหายใจอุดตัน ซึ่งมักเกิดในคนอ้วนเพราะ จะคอสั้น, มีไขมันบริเวณโพรงคอมาก และเกิดลิ้นตกไปอุดทางเดินหายใจขณะหลับ คนใกล้ตัวสามารถสังเกตอาการนี้ได้โดยดู คนอ้วนขณะนอนหลับว่ามี  -นอนกรนดังมากๆ ต่อมาเสียงกรนจะเงียบหายไปนานกว่า ๑๐ วินาที -แล้วผู้ป่วยจะสะดุ้ง มีเสียงในลำคอเหมือนสำลัก

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 26 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 08:48 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

วัดชัยมงคล อำเภอเมือง

วัดชัยมงคล ตั้งอยู่ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมือง ห่างจากสี่แยกบ้านทุ่งประมาณ ๔๐ เมตร อยู่ระหว่างถนนช่อแฮกับถนนเหมืองแดงต่อกัน บริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๖๒ ตารางวา ตาโฉนดที่ดินเลขที่ ๗๑ ถนนช่อแฮ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ ๐๕๔ – ๕๑๑๓๙๕ แต่เดิมบริเวณวัดชัยมงคลเป็นที่รกร้างว่างเปล่า มีพฤกษาชาตินานาพันธ์ขึ้นปกคลุมโดยทั่วไป อาทิ ไม้สะแก ไม้ไผ่หลากหลายพันธุ์ ฯ เป็นที่ชุ่มชื้นไปด้วยน้ำ แอ่งน้ำสำหรับเป็นแหล่งอาศัยของโค กระบือ และช้างของชาวบ้าน สมัยเมื่อสร้างวัดใหม่ ๆ ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดชัยมงคลโป่งจ้าง” เพราะบริเวณนี้เป็นดินโป่ง (ดินที่มีรสเค็มและหอม) เป็นธาตุอาหารสำหรับสัตว์โดยเฉพาะช้างชอบกิน วัดชัยมงคลเป็นวัดใหญ่แห่งหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองแพร่ มีศรัทธาอุปถัมภ์กว่า ๔๐๐ ครอบครัว เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจที่สำคัญเพราะรองรับจำนวนพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ผู้นำในการเข้ามาสร้างครั้งแรกคือท่านพระครูวงศาจารย์ (ทองคำ พุทฺธวํโส) เป็นชาวบ้านสีลอ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ บุตรของพระยาแขกเมือง นางแว่นแก้ว ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดพระบาทมิ่งเมือง และเป็นเจ้าคณะจังหวัดแพร่ ได้ชักชวนพระธรรมธรการินตา (บางแห่งว่าพระวินัยธรรม) วัดน้ำคือ (วัดเมธังกราวาส)

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 24 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 12:53 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคเหนือ ๕๕

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคเหนือ ครั้งที่ ๖๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ โดยทางโรงเรียนวังฟ่อนวิทยาได้รับคัดเลือกระดับจังหวัดให้เป็นตัวแทน ให้เข้าร่วมงานศิลปหัตถกรรมระดับภาคเหนือ ในกลุ่มสาระการงานอาชีพ ฯ (งานอาชีพ) ในการแข่งขันการประดิษฐ์ของใช้จากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ม.๑ - ม.๓ ณ.สนามกีฬาสมโภช ๗๐๐ ปีเชียงใหม่ ผลการแข่งขันคือ ได้ระดับที่ ๕ ได้คะแนน ๙๐.๒ ได้เหรียญทอง จากโรงเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด ๔๔ โรงเรียนทั่วภาคเหนือ และเป็นโรงเรียนพระปริยัติโรงรียนเดียวของจ.แพร่ ที่เข้าร่วมในครั้งนี้

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•เสาร์•ที่ 24 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 20:28 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

หลักการอิสลาม ๕ ประการ

หลักปฏิบัติ ๕ ประการ การยืนยันความศรัทธาด้วยการปฏิบัติ ความศรัทธาทั้ง ๖ ประการที่กล่าวมาก่อนหน้านี้เป็นหลักการสำคัญพื้นฐานของอิสลามที่มุสลิมจะต้องมีอยู่ประจำใจแต่ความศรัทธาเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เป็นการเพียงพอเพราะในอิสลามความศรัทธาที่แท้จริงจะต้องแสดงผลของมันออกมาให้เห็นเป็นการปฏิบัติในชีวิตประจำวันและเพื่อให้แน่ใจว่าคนที่มีความศรัทธาในหลักการ๖ประการดังกล่าวยังคงยืนยันในความศรัทธานั้นอย่างมั่นคงอัลลอฮ์. ก็ได้ทรงวางภารกิจสำคัญให้เขาต้องปฏิบัติ ๕ ประการหรือที่เรียกกันว่าหลักการอิสลาม ๕ ประการนั่นคือ

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พุธ•ที่ 28 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 17:43 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

อำเภอเมืองแพร่

อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยสำนักงานอำเภอเมืองแพร่ มกราคม ๒๕๕๕ โทร ๐-๕๔๕๑-๑๐๕๔ ที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ สถานที่ตั้ง ที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่เดิม ตั้งอยู่บริเวณที่ดินข้างถนนไชยบูรณ์ ห่างจากประตูใหม่ (กำแพงเมืองเก่าของเมืองแพร่) ประมาณ ๓๐๐ เมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ประมาณ ๓๐ เมตร (ตรงข้ามกับสำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ปัจจุบัน) เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองไปตั้งที่ดินบริเวณข้างสนามบิน (หน้าโรงพยาบาลแพร่ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเหมืองหม้อ) เหตุที่ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอ ก็เพราะเกรงว่าน้ำจะท่วม เนื่องจากอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำยม ครั้นปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ทางราชการเห็นว่า สถานที่ที่ย้ายมาใหม่ห่างไกลจากชุมนุมชนตลาดการค้าประกอบกับกระทรวงสาธารณสุขต้องการที่ดินจัดสร้างโรงพยาบาลด้วย จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่กลับไปตั้ง ณ สถานที่เดิม คือ ที่ดินบริเวณถนนไชยบูรณ์ ตำบลในเวียง จนถึงปัจจุบันอำเภอเมืองแพร่ มีพระคัณทคีรี พัฒนเสนา เป็นนายอำเภอคนแรก ต่อมาอาคารเก่าถูกไฟไหม้หมดทั้งหลัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้สร้างอาคารที่ว่าการอำเภอเมืองขึ้นมาใหม่เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น ตั้งอยู่ติดถนนไชยบูรณ์ ตรงกันข้ามกับเทศบาลเมืองแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ในปัจจุบันได้สร้างเป็นอาคารคอนกรีต ๒ ชั้น ณ สถานที่เดิม โดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๑ เวลา ๑๐ นาฬิกา ๒๙ นาที และพิธีเปิดอาคารที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๔๓ เนื้อที่ของอำเภอเมืองแพร่รวมทั้งสิ้น ประมาณ ๘๒๖ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๕๑๖,๒๑๐ ไร่

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 24 •มกราคม• 2013 เวลา 11:58 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

สิ่งที่ดีที่สุดของการทรงสร้าง

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้รู้แล้วว่าการทรงสร้างของโลกนั้นมีความหมายอย่างไรบ้าง และทุกสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง พระเจ้าก็เห็นว่าดี คำว่าดีในมุมมองของเราก็อาจคิดว่า การที่เราได้แค่นี้ก็ดีแล้ว แต่ถ้าสำหรับของพระราชทานในช่วงน้ำท่วมคำว่าดีของพระเจ้าอยู่หัวนั้น สำหรับเราซึ่งเป็นพระสกนิกรของพระองค์ท่าน สิ่งที่พระองค์บอกว่าดีนั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามาก เพราะฉะนั้นสรรพสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างไม่ว่า ภูเขา ต้นไม้ หรือลำธาร ท้องฟ้า ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดวงดาว สิ่งเหล่านี้และอื่นๆอีกมากมายเมื่อเรามองและชื่นชมมันบางทีเราก็อดที่จะร้อง ว้าวไม่ได้ถึงการทรงสร้างของพระเจ้าที่แสนจะอัศจรรย์ แต่มันยังขาดสิ่งหนึ่งที่พระองค์ปรารถนาสร้างสิ่งที่ดีที่สุดในบรรดาที่พระองค์ทรงสร้างนั้น คือมนุษย์

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 30 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 09:49 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

รักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน

วันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เวลา ๑๙.๐๐ น. นายวิชชา จิรภิญญากุล นายอำเภอสอง เป็นประธานเปิด ชุดรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน และผู้เกี่ยวข้อง ณ กองบังคับการควบคุมการปฏิบัติ บ้านวังดิน หมู่ที่ ๙ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ถือเป็นการดำเนินการเชิงรุก โดยการสร้างแนวร่วมในการดำเนินการสร้างความปลอดภัยและการปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่อย่างต่อเนื่องของอำเภอสอง จังหวัดแพร่

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๐

ประวัติศาสตร์เมืองลอง ตอนที่ ๒๐ การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของเมืองลองในยุคจารีต การปฏิรูปการปกครองสงฆ์เมืองลอง เดิมพระสงฆ์ในเมืองลองมีอำนาจปกครองเป็นการภายใน โดยมี “พระสังฆราชา” หรือ “มหาครูบาหลวง” มีสมณศักดิ์สูงสุดภายในเมือง ที่ได้รับการสถาปนาจากเจ้าเมืองลอง ขุนนางและชาวเมือง มีโครงสร้างการปกครอง คือ ตุ๊เจ้า(พระสงฆ์)และพระ(สามเณร)ภายในวัดอยู่ในความปกครองของตุ๊หลวงหรือครูบาเจ้าวัด(เจ้าอาวาส)และตุ๊บาละก๋า(รองเจ้าอาวาส) ครูบาเจ้าวัดขึ้นอยู่กับครูบาเจ้าหมวดอุโบสถ และครูบาเจ้าหมวดอุโบสถขึ้นกับมหาครูบาหลวงเมือง พระสงฆ์จะมีแนวทางปฏิบัติที่หลากหลายตามที่ได้รับมาจากครูบาอาจารย์ เช่น วัดพระธาตุไฮสร้อย วัดบ้านบ่อแก้ว วัดต้าม่อน วัดน้ำริน มีพระสงฆ์และศรัทธาส่วนใหญ่มาจากเชียงตุงจึงมีจารีตปฏิบัติแบบ “เงี้ยว” หรือหัววัดที่มีครูบาเจ้าอินทวิไชยอรัญวาสี วัดดอนมูล เป็นพระอุปัชฌาย์ก็รับแนวปฏิบัติสายครูบามหาป่าเกสรปัญโญอรัญวาสี วัดไหล่หิน เมืองลำปาง ฯลฯ ซึ่งขณะนั้นเฉพาะเมืองนครเชียงใหม่ก็มีแนวปฏิบัติกลุ่มใหญ่แบ่งออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย เช่น นิกายเชียงใหม่, นิกายเชียงแสน, นิกายน่าน, นิกายลัวะ, นิกายเม็ง(มอญ), นิกายม่าน(พม่า), นิกายเงี้ยว, นิกายเขิน(เชียงตุง), นิกายเลน, นิกายคง และนิกายงัวลาย เป็นต้น แต่พระสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ได้มีความขัดแย้งกันสามารถร่วมทำสังฆกรรมกันได้ คง และนิกายงัวลาย เป็นต้น แต่พระสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ได้มีความขัดแย้งกันสามารถร่วมทำสังฆกรรมกันได้ เมื่อสยามทำการปฏิรูปการปกครอง ได้ขยายอิทธิพลเข้ามาปฏิรูปการปกครองฝ่ายสงฆ์ด้วย สยามมองว่าพระสงฆ์สามเณรในล้านนาไม่เคร่งครัดและมีแนวการปฏิบัติที่แตกต่างกัน จึงจะจัดให้มีรูปแบบเดียวกันกับส่วนกลาง เพื่อให้คณะสงฆ์อำนวยต่อการจัดการศึกษาที่กำลังปฏิรูป เพราะขณะนั้นวัดยังเป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ในสังคม และเป็นกลุ่มที่เข้าถึงราษฎรได้มากที่สุด

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•จันทร์•ที่ 19 •พฤศจิกายน• 2012 เวลา 22:48 น.• )

•อ่านเพิ่มเติม...•

 

<< •เริ่มแรก• < •ย้อนกลับ• 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 •ถัดไป• > •สุดท้าย• >>

•หน้า 17 จาก 33•